บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
| |
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
๗. กุกกุรวติกสูตร ว่าด้วยการประพฤติวัตรเลียนแบบสุนัข [๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกลิยะชื่อหลิททวสนะ แคว้นโกลิยะ ครั้งนั้นแล บุตรของชาวโกลิยะชื่อปุณณะผู้ประพฤติโควัตร๑- และ ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร๒- ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ นายปุณณะ โกลิยบุตร ผู้ประพฤติโควัตร ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ สมควร ส่วนชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่ บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ก็แสดงท่าตะกุยดุจสุนัขแล้วนั่ง ณ ที่สมควร นายปุณณะ โกลิยบุตรผู้ประพฤติโควัตรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า @เชิงอรรถ : @๑ ผู้ประพฤติโควัตร หมายถึงผู้ประพฤติเลียนแบบโค คือ ผูกเขา ผูกหางเที่ยวไปกับฝูงโค @(ม.ม.อ. ๒/๗๘/๗๕) @๒ ผู้ประพฤติกุกกุรวัตร หมายถึงผู้ประพฤติเลียนแบบสุนัข หรือทำกิริยาอาการเหมือนสุนัขทุกอย่าง @(ม.ม.อ. ๒/๗๘/๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๗๕}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]
๗. กุกกุรวติกสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชีเปลือยชื่อเสนิยะ ผู้ประพฤติกุกกุรวัตรนี้ ทำสิ่งที่ ผู้อื่นทำได้ยาก กินอาหารที่เขากองไว้บนพื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรนั้นอย่าง สมบูรณ์แบบมานานแล้ว คติของเขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย ปุณณะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถาม เราถึงเรื่องนี้เลย แม้ครั้งที่ ๒ นายปุณณะ โกลิยบุตรผู้ประพฤติโควัตรก็ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชีเปลือยชื่อเสนิยะนี้ ผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ทำสิ่งที่ ผู้อื่นทำได้ยาก กินอาหารที่เขากองไว้บนพื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรอย่าง สมบูรณ์แบบมานานแล้ว คติของเขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย ปุณณะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถาม เราถึงเรื่องนี้เลย แม้ครั้งที่ ๓ นายปุณณะ โกลิยบุตรผู้ประพฤติโควัตร ก็ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ทำสิ่งที่ผู้อื่น ทำได้ยาก กินอาหารที่เขากองไว้บนพื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรอย่างสมบูรณ์ แบบมานานแล้ว คติของเขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไรคติของบุคคลผู้ประพฤติโควัตรและกุกกุรวัตร [๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณะ เราห้ามเธอไม่ได้แน่ว่า อย่าเลย ปุณณะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงเรื่องนี้เลย แต่เราจักชี้แจงให้เธอฟัง บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญกุกกุรวัตร บำเพ็ญตนตามปกติแบบสุนัข บำเพ็ญจิต แบบสุนัข บำเพ็ญกิริยาอาการแบบสุนัขอย่างสมบูรณ์ไม่ขาดสาย ครั้นบำเพ็ญกุกกุรวัตร บำเพ็ญตนตามปกติแบบสุนัข บำเพ็ญจิตแบบสุนัข บำเพ็ญกิริยาอาการแบบสุนัข อย่างสมบูรณ์ไม่ขาดสายแล้ว หลังจากตายไป เขาย่อมไปเกิดในหมู่สุนัข อนึ่ง ถ้าเขา มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๗๖}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]
๗. กุกกุรวติกสูตร
พรหมจรรย์นี้ ทิฏฐิของเขานั้นจัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า คติของผู้มีมิจฉาทิฏฐิ มี ๒ อย่าง คือ (๑) นรก (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปุณณะ กุกกุรวัตรเมื่อใครประพฤติสมบูรณ์ ย่อมนำไปเกิดในหมู่สุนัข เมื่อ ประพฤติบกพร่อง ย่อมนำไปเกิดในนรก ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ถึงกับร้องไห้น้ำตานองหน้า ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับนายปุณณะ โกลิยบุตร ผู้ประพฤติโควัตร ว่า ปุณณะ เราห้ามเธอไม่ได้แน่ว่า อย่าเลย ปุณณะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถาม เราถึงเรื่องนี้เลย ชีเปลือยชื่อเสนิยะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้ ถึงเรื่องที่พระผู้มีพระภาคตรัสกับข้าพระองค์ แม้ข้าพระองค์จะสมาทานกุกกุรวัตรนี้ อย่างสมบูรณ์แบบมาช้านานแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นายปุณณะ โกลิยบุตร ผู้ประพฤติโควัตร สมาทานโควัตรนั้นอย่างสมบูรณ์แบบมานานแล้ว คติของเขาจักเป็น อย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลย เสนิยะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถามเรา ถึงเรื่องนี้เลย แม้ครั้งที่ ๒ ชีเปลือยชื่อเสนิยะก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ก็ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นายปุณณะ โกลิยบุตร สมาทานโควัตรนั้น อย่างสมบูรณ์แบบมาช้านานแล้ว คติของเขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็น อย่างไร [๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เสนิยะ เราห้ามเธอไม่ได้แน่ว่า อย่าเลย เสนิยะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงเรื่องนี้เลย แต่เราจักชี้แจงให้เธอฟัง บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญโควัตร บำเพ็ญตนตามปกติแบบโค บำเพ็ญจิตแบบโค บำเพ็ญกิริยาอาการแบบโคอย่างสมบูรณ์ไม่ขาดสาย ครั้นบำเพ็ญโควัตร บำเพ็ญตน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๗๗}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]
๗. กุกกุรวติกสูตร
ตามปกติแบบโค บำเพ็ญจิตแบบโค บำเพ็ญกิริยาอาการแบบโคอย่างสมบูรณ์ไม่ขาด สายแล้ว หลังจากตายไป ย่อมไปเกิดในหมู่โค อนึ่ง ถ้าเขามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เราจัก เป็นเทวดาหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ทิฏฐิของ เขานั้นจัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า คติของผู้มีมิจฉาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ (๑) นรก (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เสนิยะ โควัตรเมื่อใครประพฤติสมบูรณ์ ย่อมนำไปเกิดในหมู่โค เมื่อประพฤติ บกพร่อง ย่อมนำไปเกิดในนรก ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายปุณณะ โกลิยบุตรผู้ประพฤติโควัตร ถึงกับร้องไห้น้ำตานองหน้า จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตรว่า เสนิยะ เราห้ามเธอไม่ได้แน่ว่า อย่าเลย เสนิยะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถาม เราถึงเรื่องนี้เลย นายปุณณะ โกลิยบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้ ร้องไห้ถึงเรื่องที่พระผู้มีพระภาคตรัสกับข้าพระองค์ แม้ข้าพระองค์จะสมาทานโควัตร นี้อย่างสมบูรณ์แบบมาช้านานแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสใน พระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเท่านั้นทรงสามารถแสดงธรรมโดยวิธีที่ ข้าพระองค์จะพึงละโควัตรนี้ได้ และชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตรจะพึงละ กุกกุรวัตรนั้นได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปุณณะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว นายปุณณะ โกลิยบุตร ผู้ประพฤติโควัตร ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๗๘}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]
๗. กุกกุรวติกสูตร
กรรม ๔ ประการ [๘๑] ปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม กรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กรรมดำมีวิบากดำ๑- ๒. กรรมขาวมีวิบากขาว๒- ๓. กรรมทั้งดำและขาว มีวิบากทั้งดำและขาว๓- ๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว๔- เป็นไปเพื่อ ความสิ้นกรรม กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่ง๕- กายสังขาร๖- ที่มีความเบียดเบียน๗- ปรุงแต่ง วจีสังขาร๘- ที่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขาร๙- ที่มีความเบียดเบียน เขา @เชิงอรรถ : @๑ กรรมดำ หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีวิบากดำ หมายถึงเป็นเหตุให้เกิดในอบาย @(ม.ม.อ. ๒/๘๑/๗๗) @๒ กรรมขาว หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีวิบากขาว หมายถึงเป็นเหตุให้เกิดในสวรรค์ @(ม.ม.อ. ๒/๘๑/๗๗) @๓ มีวิบากทั้งดำและขาว หมายถึงกรรมมีวิบากทั้งเป็นสุขและเป็นทุกข์ (ม.ม.อ. ๒/๘๑/๗๗) @๔ มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว หมายถึงเจตนากรรมในมรรคทั้ง ๔ ซึ่งทำให้สิ้นกรรม (ม.ม.อ. ๒/๘๑/๗๗) @๕ ปรุงแต่ง ในที่นี้หมายถึงการสั่งสมพอกพูน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๐) @๖ กายสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางกายหรือกายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย @(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) @๗ มีความเบียดเบียน หมายถึงมีทุกข์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๐) @๘ วจีสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร หรือวจีสัญเจตนา คือ ความ @จงใจทางวาจา (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) @๙ มโนสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา หรือมโนสัญเจตนา คือ @ความจงใจทางใจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๗๙}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]
๗. กุกกุรวติกสูตร
ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่มีความเบียดเบียนย่อม ถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความเบียดเบียน กระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เหมือน สัตว์นรกทั้งหลาย ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้น เพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม นี้เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ (๑) กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง วจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน เขา ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่ไม่มีความ เบียดเบียนกระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เหมือนเทพทั้งหลายชั้นสุภกิณหะ ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้น เพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว (๒) กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ เบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาครั้น ปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้า ถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๘๐}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]
๗. กุกกุรวติกสูตร
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่มีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกัน เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก๑- และวินิปาติกะ๒- บางพวก ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อม เกิดขึ้นเพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าว อย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำและขาว มีวิบาก ทั้งดำและขาว (๓) กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ สิ้นกรรม เป็นอย่างไร คือ บรรดากรรมเหล่านั้น เจตนา๓- เพื่อละกรรมดำที่มีวิบากดำ เจตนาเพื่อละ กรรมขาวที่มีวิบากขาว และเจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำและขาว ที่มีวิบากทั้งดำและขาว ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้น เพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม นี้เรียกว่า กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้ง ไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วจึง ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม (๔) @เชิงอรรถ : @๑ เทวดาบางพวก ในที่นี้หมายถึงกามาวจรเทวดา ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี @และปรนิมมิตวสวัตดี (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๐) @๒ วินิปาติกะ หมายถึงเวมานิกเปรต ได้แก่ เปรตผู้อยู่ในวิมาน เสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรม @เสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมานมีร่างสวย @เป็นทิพย์สวยงาม แต่เวลาจะเสวยทุกข์ก็ต้องออกจากวิมานนี้ไป และร่างกายก็กลายเป็นร่างที่น่าเกลียด @น่ากลัว (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๑) @๓ เจตนา ในที่นี้หมายถึงเจตนาในอริยมรรค ที่เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงวิวัฏฏะคือพระนิพพาน @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๘๑}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]
๗. กุกกุรวติกสูตร
นายปุณณะแสดงตนเป็นอุบาสกและเสนิยะชีเปลือยขอบวช [๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายปุณณะ โกลิยบุตร ผู้ประพฤติ โควัตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรง ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและ พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต ส่วนชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรง ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดี จักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เสนิยะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชา อุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ อนึ่ง ในเรื่องนี้ เราคำนึงถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคลด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๘๒}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]
๗. กุกกุรวติกสูตร
เขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะ บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส๑- ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน ล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ ข้าพระองค์จักขออยู่ ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จงให้บรรพชาอุปสมบท เป็นภิกษุเถิด ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาค เมื่อบวชแล้วไม่นาน จากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์๒- ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๓- ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๔- ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป จึงเป็นอันว่า ท่านพระเสนิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ ทั้งหลาย ดังนี้แลกุกกุรวติกสูตรที่ ๗ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ปริวาส ในพระสูตรนี้เรียกว่า ติตถิยปริวาส ได้แก่ ข้อบังคับนักบวชนอกพระพุทธศาสนาที่หันมาเลื่อมใส @พระธรรมวินัยแล้วประสงค์จะบวชเป็นภิกษุ ให้ขอปริวาสต่อสงฆ์ และดำรงตนอย่างสามเณรครบ ๔ เดือน @จนสงฆ์พอใจจะขออุปสมบทเป็นภิกษุได้ (ที.สี.อ. ๑/๔๐๕/๒๙๙) @๒ ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ หมายถึงจุดสุดท้ายของการประพฤติธรรม ในที่นี้หมายเอาพระอรหัตตผลอันเป็น @จุดหมายสูงสุดของมรรคพรหมจรรย์ (ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐, ที.สี.อ. ๑/๔๐๕/๓๐๐) @๓-๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๒ ข้อ ๒ (กันทรกสูตร) หน้า ๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๘๓}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๗๕-๘๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=2106&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=7 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=1478&Z=1606&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=84 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=84&items=7 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=84&items=7 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13
บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]