ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๓. เสขปฏิปทาสูตร

ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม นี้เป็นการทำลายกิเลสด้วยญาณข้อที่ ๒ ของพระ อริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้ ฉะนั้น (๒) เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑- ปัญญาวิมุตติ๒- อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นการทำลายกิเลส ด้วยญาณข้อที่ ๓ ของพระอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้ ฉะนั้น (๓)
ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
[๒๙] เจ้ามหานามะ การที่พระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแม้นี้ ก็เป็น จรณะ๓- ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายแม้นี้ ก็เป็นจรณะ ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคแม้นี้ ก็เป็นจรณะของ พระอริยสาวกประการหนึ่ง @เชิงอรรถ : @ เจโตวิมุตติ หมายถึงสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล ที่ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากราคะ(ที่เป็นปฏิ- @ปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ ดู ม.มู.ฏีกา ๑/๖๙/๓๓๔)ในที่นี้หมายถึง @ความหลุดพ้นด้วยมีสมถกัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน (ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗, เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตผลนั้น ที่ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจาก @อวิชชา(ที่เป็นปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ @ดู ม.มู.ฏีกา ๑/๖๙/๓๓๔) ในที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน @(ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗, เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ จรณะ หมายถึงธรรมเป็นเครื่องประพฤติของภิกษุผู้มีศีล เช่น จรณะ ๑๕ ประการมีศีลเป็นต้น แต่ในที่นี้ @หมายถึงการไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไป (หรือการบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ) (ม.ม.อ. ๒/๒๙/๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๓. เสขปฏิปทาสูตร

การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่องแม้นี้ ก็เป็นจรณะของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการแม้นี้ ก็เป็นจรณะ ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากแม้นี้ ก็เป็นจรณะของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑- เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ แม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ๒- ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เธอรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมแม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระ อริยสาวกประการหนึ่ง เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนี้บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้เพียบพร้อมด้วย วิชชาแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๔ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้ @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๕ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗-๑๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๓. เสขปฏิปทาสูตร

คาถาของพรหมชื่อสนังกุมาร
[๓๐] เจ้ามหานามะ แม้พรหมชื่อสนังกุมาร ก็ได้กล่าวคาถานี้ว่า ‘ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่ กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์‘๑- เจ้ามหานามะ พรหมชื่อสนังกุมารกล่าวคาถานั้นไว้ชอบ ไม่ใช่ไม่ชอบ กล่าวไว้ ถูกต้อง ไม่ใช่ไม่ถูกต้อง มีประโยชน์ ไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ พระผู้มีพระภาคทรง เห็นด้วยแล้ว” จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงลุกขึ้น แล้วตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ดีจริง อานนท์ เธอได้กล่าวเสขปฏิปทาแก่เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครอง กรุงกบิลพัสดุ์” ท่านพระอานนท์ได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาก็ทรงยินดี เจ้าศายกะ ทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ก็ทรงมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระอานนท์ ดังนี้แล
เสขปฏิปทาสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดู ที.สี. (แปล) ๙/๒๗๗/๙๙, ที.ปา. ๑๑/๑๔๐/๘๔, สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๘๒/๒๕๓, สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒๔๕/๓๓๘, @องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๐/๔๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๓๒-๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=896&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=3              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=480&Z=659&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=24              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=24&items=12              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=24&items=12              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]