ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต]

๑๔. ปทุมปุปผสูตร

๑๔. ปทุมปุปผสูตร
ว่าด้วยดอกบัว
[๒๓๔] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น ภิกษุนั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ลงสู่สระโบกขรณี สูดดมกลิ่นดอกบัว ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดี ต่อภิกษุนั้น ประสงค์จะให้ภิกษุนั้นสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าว กับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า ท่านสูดดมกลิ่นดอกบัว ที่เกิดในน้ำ ซึ่งใครๆ ไม่ได้ถวายแล้ว นี้เป็นองค์อันหนึ่งแห่งความเป็นขโมย ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้ขโมยกลิ่น ภิกษุนั้นได้กล่าวด้วยคาถาว่า เราไม่ได้นำไป เราไม่ได้หัก เราเพียงแต่ดมกลิ่นดอกบัวที่เกิดในน้ำห่างๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจะเรียกเราว่า เป็นผู้ขโมยกลิ่น ด้วยเหตุอะไรเล่า ส่วนบุคคลที่ขุดเหง้าบัว หักดอกบัวปุณฑริก เป็นผู้มีการงานอันไม่บริสุทธิ์อย่างนี้ ทำไมท่านจึงไม่เรียกเขาว่าเป็นขโมยเล่า เทวดากล่าวด้วยคาถาว่า บุรุษผู้มีบาปหนา แปดเปื้อนด้วยกิเลส มีราคะเป็นต้นเกินเหตุ เราไม่พูดถึงคนนั้น แต่เราควรจะกล่าวกับท่าน บาปประมาณเท่าปลายขนเนื้อทราย ย่อมปรากฏประดุจเท่าก้อนเมฆในนภากาศ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๓๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต]

รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

แก่บุรุษผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ผู้มักแสวงหาความสะอาด๑- เป็นนิตย์ ภิกษุนั้นกล่าวด้วยคาถาว่า ยักษ์ ท่านต้องรู้จักเราแน่ และท่านคงอนุเคราะห์เรา ยักษ์ ท่านเห็นกรรมเช่นนี้ในกาลใด ขอท่านพึงกล่าวในกาลนั้นอีกเถิด เทวดากล่าวด้วยคาถาว่า เราไม่ได้อาศัยท่านเป็นอยู่เลย และเราก็ไม่ได้มีความเจริญเพราะท่าน ภิกษุ ท่านนั่นแหละ พึงไปสู่สุคติด้วยกรรมที่ท่านพึงรู้เถิด ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว
ปทุมปุปผสูตรที่ ๑๔ จบ
วนสังยุต จบบริบูรณ์
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. วิเวกสูตร ๒. อุปัฏฐานสูตร ๓. กัสสปโคตตสูตร ๔. สัมพหุลสูตร ๕. อานันทสูตร ๖. อนุรุทธสูตร ๗. นาคทัตตสูตร ๘. กุลฆรณีสูตร ๙. วัชชีปุตตสูตร ๑๐. สัชฌายสูตร ๑๑. อโยนิโสมนสิการสูตร ๑๒. มัชฌัณหิกสูตร ๑๓. ปากตินทริยสูตร ๑๔. ปทุมปุปผสูตร @เชิงอรรถ : @ ความสะอาด ในที่นี้หมายถึงศีล สมาธิ และปัญญาอันสะอาด (สํ.ส.อ. ๑/๒๓๔/๒๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๓๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๓๕-๓๓๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=8992&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=234              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=6591&Z=6626&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=795              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=795&items=6              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=795&items=6              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]