ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๒. มหัปผลสูตร
ว่าด้วยการเจริญอิทธิบาทมีผลานิสงส์มาก
[๘๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม จิตให้สว่างอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๔๗๔-๔๗๘/๒๐๗-๒๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๙๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]

๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๓. ฉันทสมาธิสูตร

๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ ๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ ๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม จิตให้สว่างอยู่ ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้ มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
มหัปผลสูตรที่ ๒ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๙๔-๓๙๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=19&A=10697&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=266              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6701&Z=6724&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1147              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1147&items=3              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1147&items=3              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]