ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๓. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๑
[๙๘๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ มีอยู่หรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ มีอยู่” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร” “อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้ มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๗๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้ สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจ ออกยาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า จะพิจารณา เห็นความสละคืน หายใจออก ๑. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือ เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็ รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น ฯลฯ สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า จะระงับ กายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวกายอย่างหนึ่ง คือ ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ หายใจออก ฯลฯ จะรู้แจ้งสุข ... จะรู้แจ้งจิตตสังขาร ... สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ เรากล่าวเวทนาอย่างหนึ่ง คือ การมนสิการให้ดีถึงลมหายใจ เข้าและลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๗๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ฯลฯ จะตั้งจิตมั่น ... สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น จิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวการ เจริญอานาปานสติสมาธิไว้สำหรับผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ฯลฯ จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ ... จะพิจารณาเห็นความ ดับไป ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เธอเห็น การละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญาแล้ววางเฉยอย่างดี เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกได้ อานนท์ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ คือ ๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ สมัยนั้น สติของเธอ ตั้งมั่น ไม่หลงลืม (๑) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น สติ- สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ- สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๗๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

(๒) เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้น ด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหา พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมม- วิจยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญ เต็มที่แก่ภิกษุ (๓) เมื่อเธอค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนชื่อว่าเป็นอันปรารภแล้ว สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุผู้ค้นคว้าพิจารณาสอด ส่องธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริย- สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญวิริย- สัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ (๔) ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยใด ปีติไม่มีอามิสเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญปีติ- สัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ (๕) แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัยใด แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัย นั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสิทธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความ เจริญเต็มที่แก่ภิกษุ (๖) จิตของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิ สัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสมาธิ สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๗๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

(๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ ๒. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ๓. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ๔. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ สมัยนั้น สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม (๑) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ- สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ (พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนสติปัฏฐานข้อต้น) (๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๗๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๔. ทุติยอานันทสูตร

๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ อานนท์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”
ปฐมอานันทสูตรที่ ๓ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๗๓-๔๗๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=19&A=12907&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=311              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=8010&Z=8110&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1380              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1380&items=19              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1380&items=19              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]