ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท นิทานวัตถุ

ภิกษุทั้งหลายพอทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่ ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก” จึงปรารถนาเข้าเฝ้า ได้ละทิ้งสันถัตพากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์ ปิณฑปาติกธุดงค์ และบังสุกูลิกธุดงค์๑- ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมภิกษุจำนวนมากเสด็จประพาสตามเสนาสนะ ทอดพระเนตรเห็นสันถัตถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้นๆ รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย สันถัตที่ถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้นๆ เป็นของใคร” ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูล เรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ ทั้งหลายโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว ๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @ “อารัญญิกธุดงค์” คือข้อปฏิบัติขัดเกลากิเลสของผู้ถืออยู่ในป่า ห่างจากหมู่บ้านอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู @คือประมาณ ๒๕ เส้น (ดูข้อ ๖๕๔ หน้า ๑๗๔) “บิณฑปาติกธุดงค์” ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่รับนิมนต์ @“ปังสุกุลิกธุดงค์” ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ไม่รับถวายจีวร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๙๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๕๖๗] ก็ ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตรองนั่ง พึงเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดย รอบมาปนเพื่อทำให้เสียสี ถ้าไม่เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปนใช้ให้ ทำสันถัตรองนั่งใหม่ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๘] ที่ชื่อว่า รองนั่ง พระองค์ตรัสมุ่งเอาผ้ามีชาย ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ คำว่า ผู้ใช้ให้ทำ คือ ทำเองหรือใช้ให้ทำ ที่ชื่อว่า สันถัตเก่า คือ ที่ใช้ปูนั่งบ้าง ใช้ปูนอนบ้าง แม้คราวเดียว คำว่า พึงเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปนเพื่อทำให้เสียสี คือ ตัด เป็นรูปทรงกลม หรือรูปสี่เหลี่ยม แล้วจึงลาดในส่วนหนึ่ง หรือสางออกแล้วจึงลาด เพื่อความคงทน คำว่า ถ้าไม่เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ความว่า ไม่ถือเอา สันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบ ทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำสันถัตรองนั่งใหม่ ต้องอาบัติ ทุกกฏเพราะพยายาม สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละ แก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตรองนั่งผืนนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๙๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

กระผมไม่ได้เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผม สละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตรอง นั่งผืนนี้กระผมไม่ได้เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตรองนั่งผืนนี้กระผมไม่ได้เอา สันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้ แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๙๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๖๙] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๗๐] ๑. ภิกษุเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาทำ ๒. ภิกษุหาสันถัตเก่าไม่ได้จึงเอาแต่น้อยมาทำ ๓. ภิกษุหาสันถัตเก่าไม่ได้เลยไม่เอามาทำ ๔. ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ๕. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือปลอกหมอน ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
นิสีทนสันถตสิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๙๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๙๒-๙๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=2355&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=2114&Z=2265&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=91              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=91&items=6              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=91&items=6              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]