ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๒. ภัณฑนสูตร

ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการไป ในเรื่องนี้เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการอย่างแน่นอน ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม) ๒. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท) ๓. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน) ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการนี้ ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม) ๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท) ๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน) ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ทิศนี้ แม้เพียงคิดก็ไม่เป็นที่สำราญแก่เรา ไม่จำเป็น ต้องพูดถึงการไป ในเรื่องนี้ เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการอย่างแน่นอน ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ทิศนี้ แม้ไปเยือนก็เป็น ที่สำราญแก่เรา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการคิด ในเรื่องนี้ เราสันนิษฐานได้ว่า ท่าน เหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการอย่างแน่นอน ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามวิตก ๒. พยาบาทวิตก ๓. วิหิงสาวิตก ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เนกขัมมวิตก ๒. อพยาบาทวิตก ๓. อวิหิงสาวิตก ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๓. โคตมกเจติยสูตร

ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ทิศนี้ แม้ไปเยือนก็เป็นที่ สำราญแก่เรา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการคิด ในเรื่องนี้ เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านเหล่านั้น ได้ละธรรม ๓ ประการนี้ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการนี้อย่างแน่นอน
ภัณฑนสูตรที่ ๒ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๗๒-๓๗๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=10580&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=169              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7243&Z=7268&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=564              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=564&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=564&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]