ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๖. โสขุมมสูตร
ว่าด้วยโสขุมมญาณ
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย โสขุมมญาณ๒- (ญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้ลักษณะละเอียด) ๔ ประการนี้ โสขุมมญาณ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ @เชิงอรรถ : @ กามโภคีบุคคล หมายถึงคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ในที่นี้หมายถึงพระเจ้ามันธาตุผู้บริโภคกามคุณ ๕ ทั้งที่ @เป็นทิพย์และเป็นของมนุษย์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๕/๒๙๓) @ โสขุมมญาณ หมายถึงญาณที่เป็นเครื่องกำหนดรู้ลักษณะละเอียด เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖/๒๙๔, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๖/๓๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. จรวรรค ๖. โสขุมมสูตร

๑. เป็นผู้ประกอบด้วยรูปโสขุมมญาณ๑- ไม่เห็นรูปโสขุมมญาณอื่น ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่ารูปโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนา รูปโสขุมมญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่ารูปโสขุมมญาณนั้น ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยเวทนาโสขุมมญาณ ไม่เห็นญาณอื่นที่ยิ่งกว่าหรือ ประณีตกว่าเวทนาโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนาเวทนาโสขุมม- ญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าเวทนาโสขุมมญาณนั้น ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยสัญญาโสขุมมญาณ ไม่เห็นญาณอื่นที่ยิ่งกว่าหรือ ประณีตกว่าสัญญาโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนาสัญญาโสขุมม- ญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสัญญาโสขุมมญาณนั้น ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยสังขารโสขุมมญาณ ไม่เห็นสังขารโสขุมมญาณอื่น ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสังขารโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนา สังขารสขุมมญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสังขารโสขุมม- ญาณนั้น ภิกษุทั้งหลาย โสขุมมญาณ ๔ ประการนี้แล ภิกษุใดรู้ความละเอียดแห่งรูปขันธ์ รู้แดนเกิดแห่งเวทนาขันธ์ รู้เหตุเกิดและที่ดับแห่งสัญญาขันธ์ รู้สังขารขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง๒- เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ภิกษุนั้นแลเห็นชอบ สงบ ยินดีในสันติบท๓- ชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร ธำรงร่างกายชาติสุดท้ายไว้
โสขุมมสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ รูปโสขุมมญาณ ในที่นี้หมายถึงญาณที่กำหนดลักษณะอันละเอียดอ่อนในรูป (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖/๒๙๔) @ รู้สังขารขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง ในที่นี้หมายถึงอนิจจานุปัสสนา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖/๒๙๔) @ สันติบท หมายถึงนิพพาน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖/๒๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๗-๒๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=805&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=432&Z=453&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=16              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=16&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=16&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]