ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๓. อกตัญญุตาสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้ไม่รู้คุณและความเป็นผู้รู้คุณ
[๒๑๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต ๓. มโนทุจริต ๔. อกตัญญุตา อกตเวทิตา๑- ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายสุจริต ๒. วจีสุจริต ๓. มโนสุจริต ๔. กตัญญุตา กตเวทิตา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ ในสวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อกตัญญุตาสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ อกตัญญุตา หมายถึงความไม่รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นทำแก่ตน อกตเวทิตาหมายถึงความไม่กระทำปฏิการคุณ @ตอบแทนและไม่ประกาศเกียรติคุณให้ปรากฏ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๓/๓๑, ๑๒๐/๖๕, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๓๓/๓๖, ๑๒๐/๖๙-๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๓๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. โสภณวรรค ๕. ปฐมมัคคสูตร

๔. ปาณาติปาตีสูตร
ว่าด้วยผู้ฆ่าสัตว์และผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
[๒๑๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ๑-
ปาณาติปาตีสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมมัคคสูตร
ว่าด้วยมรรค สูตรที่ ๑
[๒๑๕] ฯลฯ๑- ๑. มีมิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มีมิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) ๓. มีมิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มีมิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ฯลฯ๑- ๑. มีสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. มีสัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. มีสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. มีสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ฯลฯ๑-
ปฐมมัคคสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๑๒ (ทิฏฐิสูตร) หน้า ๓๓๒-๓๓๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. โสภณวรรค ๗. ปฐมโวหารปถสูตร

๖. ทุติยมัคคสูตร
ว่าด้วยมรรค สูตรที่ ๒
[๒๑๖] ฯลฯ๑- ๑. มีมิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๒. มีมิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ๓. มีมิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๔. มีมิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) ฯลฯ๑- ๑. มีสัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๒. มีสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๓. มีสัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๔. มีสัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ฯลฯ๑-
ทุติยมัคคสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมโวหารปถสูตร
ว่าด้วยครรลองแห่งโวหาร สูตรที่ ๑
[๒๑๗] ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น ๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้ ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ฯลฯ๑-
ปฐมโวหารปถสูตรที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๑๒ (ทิฏฐิสูตร) หน้า ๓๓๒-๓๓๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. โสภณวรรค ๙. อหิริกสูตร

๘. ทุติยโวหารปถสูตร
ว่าด้วยครรลองแห่งโวหาร สูตรที่ ๒
[๒๑๘] ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น ๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้ ฯลฯ๑-
ทุติยโวหารปถสูตรที่ ๘ จบ
๙. อหิริกสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่มีหิริและผู้มีหิริ
[๒๑๙] ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ทุศีล ๓. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๔. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล ๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ฯลฯ๑-
อหิริกสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๑๒ (ทิฏฐิสูตร) หน้า ๓๓๒-๓๓๓ ในเล่มนี้ (ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๓/๒๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. โสภณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. ทุสสีลสูตร
ว่าด้วยผู้ทุศีลและผู้มีศีล
[๒๒๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ทุศีล ๓. เป็นผู้เกียจคร้าน ๔. เป็นผู้มีปัญญาทราม ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล ๓. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๔. เป็นผู้มีปัญญา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ทุสสีลสูตรที่ ๑๐ จบ
โสภณวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปริสาสูตร ๒. ทิฏฐิสูตร ๓. อกตัญญุตาสูตร ๔. ปาณาติปาตีสูตร ๕. ปฐมมัคคสูตร ๖. ทุติยมัคคสูตร ๗. ปฐมโวหารปถสูตร ๘. ทุติยโวหารปถสูตร ๙. อหิริกสูตร ๑๐. ทุสสีลสูตร @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๑๒ (ทิฏฐิสูตร) หน้า ๓๓๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๓๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๓๓-๓๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=9942&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=138              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=6073&Z=6133&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=211              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=211&items=10              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=211&items=10              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]