ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. สารณียวรรค ๑. ปฐมสารณียสูตร

๒. สารณียวรรค
หมวดว่าด้วยสารณียธรรม
๑. ปฐมสารณียสูตร
ว่าด้วยสารณียธรรม สูตรที่ ๑
[๑๑] ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการนี้ สารณียธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๑- ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม ๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม ๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม ๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๒- ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มา โดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหม- จารีทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม ๕. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อน พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม @เชิงอรรถ : @ เมตตากายกรรม หมายถึงกายกรรมที่พึงทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา และเมตตาวจีกรรม เมตตามโน- @กรรมก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกันนี้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๗) @ ไม่แบ่งแยก หมายถึงไม่แบ่งแยกอามิสโดยคิดว่า “จะให้เท่านี้ๆ” และไม่แบ่งแยกบุคคลโดยคิดว่า @“จะให้แก่คนนั้น ไม่ให้แก่คนนี้” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๙, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๑/๑๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. สารณียวรรค ๒. ทุติยสารณียสูตร

๖. มีอริยทิฏฐิ๑- อันเป็นธรรมเครื่องนำออก๒- เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม ๖ ประการนี้แล
ปฐมสารณียสูตรที่ ๑ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๒๖-๔๒๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=11921&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=262              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=6838&Z=6858&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=282              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=282&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=282&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]