ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อันธกวินทวรรค ๒. ปัจฉาสมณสูตร

๒. ปัจฉาสมณสูตร
ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะ๑-
[๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่ควรพาไป เป็นปัจฉาสมณะ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เดินห่างนัก หรือใกล้นัก ๒. ไม่รับบาตรหรือของในบาตร๒- ๓. เมื่อพระอุปัชฌาย์พูดใกล้อาบัติก็ไม่ห้าม๓- ๔. เมื่อพระอุปัชฌาย์กำลังพูดอยู่ก็พูดแทรกขึ้น ๕. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ๔- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรพาไปเป็น ปัจฉาสมณะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ จึงควรพาไปเป็น ปัจฉาสมณะ @เชิงอรรถ : @ ปัจฉาสมณะ หมายถึงพระผู้ติดตาม เช่น พระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะของพระพุทธเจ้า @ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๒๖/๓๘๓ @ หมายถึงเมื่ออุปัชฌาย์บิณฑบาตกลับมา ก็ไม่ให้บาตรเปล่าของตนแล้วรับบาตรของท่าน หรือไม่รับสิ่งของ @ที่ท่านให้จากบาตรนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘) @ หมายถึงไม่รู้ว่า คำพูดนี้ทำให้ต้องอาบัติ หรือแม้รู้ก็ไม่ห้ามว่า ไม่ควรพูดอย่างนี้ @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘) @ เป็นคนเซอะ แปลจากบาลีว่า ‘เอฬมูโค’ อรรถกถาอธิบายว่า ‘ปคฺฆริตเขฬมูโค’ แปลว่าเป็นใบ้มีน้ำลายไหล @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘) แต่ในฎีกาอภิธานัปปทีปิกา อธิบายว่า หมายถึงผู้ไม่ฉลาดพูดและไม่ฉลาดฟัง @(วตฺตุ ํ โสตุญฺจ อกุสโล, วจเน สวเน จ อกุสโล) และแยกอธิบายอีกว่า เอโฬ หมายถึง พธิโร (คนหูหนวก) @มูโค หมายถึง อวจโน (พูดไม่ได้) หรือหมายถึงคนโอ้อวด (สเฐปิ เอฬมูโค) (อภิธา.ฏีกา คาถา ๗๓๔) @พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” ให้ความหมายว่า idiot (โง่, บ้า, @จิตทราม) หรือ lack-wit (ขาดสติ) (The Book of the Gradual Sayings, VOL.III, PP. 106,132) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๙๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อันธกวินทวรรค ๓. สัมมาสมาธิสูตร

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เดินไม่ห่างนัก ไม่ใกล้นัก ๒. รับบาตรหรือของในบาตร ๓. เมื่อพระอุปัชฌาย์พูดใกล้อาบัติก็ห้ามเสีย ๔. เมื่อพระอุปัชฌาย์กำลังพูดอยู่ก็ไม่พูดแทรกขึ้น ๕. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล จึงควรพาไปเป็น ปัจฉาสมณะ
ปัจฉาสมณสูตรที่ ๒ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๙๐-๑๙๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=5404&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=112              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=3174&Z=3187&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=112              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=112&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=112&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]