ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. ติกัณฑกีวรรค ๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร

๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต๑- สูตรที่ ๑
[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ผู้เป็นสมยวิมุต ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน๒- ๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย ๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ผู้เป็นสมยวิมุต ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ผู้เป็นสมยวิมุต ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน ๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย @เชิงอรรถ : @ ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต หมายถึงภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นชั่วคราว) ซึ่งหมายถึง @สมาบัติ ๘ เป็นโลกิยวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายที่ข่มได้ในขณะที่จิตแน่วแน่เป็นครั้งคราวตรง @ข้ามกับภิกษุผู้เป็นอสมยวิมุตคือ ภิกษุขีณาสพผู้หลุดพ้นด้วยอสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่ไม่ขึ้นต่อสมัย @คือยั่งยืนเรื่อยไป) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๙/๕๘) และดู ม.มู. ๑๒/๓๑๑/๒๗๘-๒๘๐, @องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๔๒๐ @ การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือ การก่อสร้างต่างๆ เช่น การก่อสร้างวิหารเป็นต้น ความเป็นผู้ @ยินดีแต่การก่อสร้างที่ถือว่าเป็นความเสื่อมเพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๔-๑๕/๑๑๘) และดู อภิ.ก. ๓๗/๒๖๗/๘๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๔๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. ติกัณฑกีวรรค ๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร

๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ผู้เป็นสมยวิมุต
ปฐมสมยวิมุตตสูตรที่ ๙ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๔๖-๒๔๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=6956&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=149              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4042&Z=4055&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=149              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=149&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=149&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]