ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๓. นคโรปมสูตร

๓. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา ๔. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ ภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราถอนภวตัณหา ได้แล้ว ภวเนตติ๑- สิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก” พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า พระโคดมผู้มียศตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรม แก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง พระศาสดาผู้มีพระจักษุ๒- ทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ ปรินิพพาน๓- แล้ว
สัตตสุริยสูตรที่ ๒ จบ
๓. นคโรปมสูตร
ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนคร(เมืองชายแดน)ของพระราชา เป็นนครที่ป้องกันไว้ดีด้วยเครื่องป้องกันนคร ๗ ประการ และได้อาหาร ๔ อย่าง ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกปัจจันต- นครของพระราชานี้ว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอะไรไม่ได้ @เชิงอรรถ : @ ภวเนตติ เป็นชื่อของตัณหา หมายถึงเชือกผูกสัตว์ไว้ในภพ (ภวรชฺชุ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙) @ จักษุ ในที่นี้หมายถึงจักษุ ๕ คือ (๑) จักษุ (ตาเนื้อ) (๒) ทิพพจักษุ (ตาทิพย์) (๓) ปัญญาจักษุ (ตาปัญญา) @(๔) พุทธจักษุ (ตาพระพุทธเจ้า) (๕) สมันตจักษุ (ตาเห็นรอบ) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๖/๑๙๙) @ ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้สิ้นเชิง (ที.ม.อ. ๒/๑๘๖/๑๖๙, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๓๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๓๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=3721&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=63              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=2162&Z=2259&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=63              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=63&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=63&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]