ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๑. ปฐมวินยธรสูตร

๘. วินยวรรค
หมวดว่าด้วยวินัย๑-
๑. ปฐมวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๑
[๗๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ๒- ๕. มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์๓- เพียบพร้อมด้วยอาจาระ @เชิงอรรถ : @ พระสูตรที่ ๑-๘ ในวรรคนี้ ดูเปรียบเทียบกับคัมภีร์บริวาร (วิ.ป. ๘/๓๒๗/๒๘๘-๒๙๑) @ รู้จักอาบัติ หมายถึงรู้อาบัติที่ท่านแสดงไว้ในสิกขาบทและสิกขาบทวิภังค์ (อธิบายสิกขาบท) @รู้จักอนาบัติ หมายถึงสามารถวินิจฉัยเรื่องที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับอาบัติแต่ไม่ถึงกับต้องอาบัติ เช่น นางภิกษุณี @อุบลวรรณาถูกข่มขืน ท่านไม่ยินดี จึงไม่ต้องอาบัติ ดู วิ.มหา (แปล) ๑/๖๘/๕๖-๕๗ @รู้จักลหุกาบัติ หมายถึงรู้ว่าอาบัติ ๕ อย่าง คือ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต จะพ้น @ได้ด้วยวินัยกรรมเบาคือการแสดงอาบัติ(เทสนาวิธี) @รู้จักครุกาบัติ หมายถึงรู้ว่าสังฆาทิเสสจะพ้นได้ด้วยวินัยกรรมหนักคือวุฏฐานวิธี (ระเบียบเครื่องออกจาก @อาบัติ ๔ อย่าง คือ ปริวาส มานัต อัพภาน และปฏิกัสสนา) และรู้ว่าปาราชิกไม่สามารถจะพ้นได้ด้วยวินัย @กรรมอะไรๆ (วิ.อ. ๓/๓๒๑/๔๔๒) @ สังวรในปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา @ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ = รักษา + โมกขะ = ความ @หลุดพ้น) (วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๓. ตติยวินยธรสูตร

และโคจร๑- มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตาม ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ปฐมวินยธรสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๒
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ @เชิงอรรถ : @ อาจาระ หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและทาง @วาจา หรือการสำรวมศีลทั้งหมด คือ การไม่เลี้ยงชีพด้วยอาชีพที่ผิดที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ เช่น ไม่ @เลี้ยงชีพด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ เครื่องสาน ไม้สีฟัน ไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำตนต่ำกว่า @คฤหัสถ์ ด้วยการพูดเล่นเป็นแกงถั่ว(จริงบ้างไม่จริงบ้าง) ไม่เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงเด็ก และการรับส่งข่าว @(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๘) @โคจร หมายถึงสถานที่เที่ยวไปของภิกษุซึ่งไม่มีหญิงแพศยา(โสเภณี) ไม่มีหญิงหม้าย ไม่มีสาวเทื้อ (สาวแก่) @ไม่มีบัณเฑาะก์ ไม่มีภิกษุณี ไม่มีร้านสุรา ไม่เป็นสถานที่ต้องคลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ และพวก @เดียรถีย์ ตรงกันข้าม ต้องเป็นสถานที่ของตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นดุจบ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวะ @อบอวลด้วยกลิ่นฤาษี มุ่งหวังความผาสุกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นสถานที่ที่ภิกษุสำรวม @อินทรีย์ ๖ งดเว้นการขวนขวายในการดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกต่อกุศล เช่น การฟ้อน ขับร้อง ประโคมดนตรี @อนึ่ง คำว่า โคจร นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ สติปัฏฐาน ๔ @(ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๖/๕๗๑-๕๗๒, วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗-๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๓. ตติยวินยธรสูตร

๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสอง๑- ได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ๒- ๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ทุติยวินยธรสูตรที่ ๒ จบ
๓. ตติยวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๓
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ @เชิงอรรถ : @ ปาติโมกข์ทั้งสอง ในที่นี้หมายถึงวิภังค์ ๒ คือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยภิกขุปาติโมกข์ กล่าวคือสิกขาบทใน @ปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุ ๒๒๗ ข้อ และภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยภิกขุนีปาติโมกข์ กล่าวคือสิกขาบทฝ่ายภิกษุณี @๓๑๑ ข้อ (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙) @ วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร ในที่นี้หมายถึงวินิจฉัยได้ดีด้วยคัมภีร์ขันธกะและปริวารแห่งพระวินัยปิฎก วินิจฉัยได้ @ดีโดยอนุพยัญชนะ หมายถึงวินิจฉัยบทอักษรให้สมบูรณ์ ไม่ตกหล่น (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๔.จตุตถวินยธรสูตร

๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. เป็นผู้ตั้งมั่น ไม่ง่อนแง่นในวินัย๑- ๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ตติยวินยธรสูตรที่ ๓ จบ
๔. จตุตถวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๔
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักลหุกาบัติ @เชิงอรรถ : @ ตั้งมั่นไม่ง่อนแง่น หมายถึงหนักแน่นมั่นคงและมั่นใจในเรื่องที่ตนวินิจฉัยไว้ดีแล้ว ไม่กวัดแกว่งโอนเอียง @คล้อยตามความคิดของผู้อื่น เมื่อถูกถามในเรื่องบาลี อรรถกถาตอนต้น ตอนปลาย ตามลำดับบท ก็ไม่ @หวั่นไหวสะทกสะท้าน สามารถยืนยันได้ด้วยว่า ‘ข้าพเจ้าพูดอย่างนี้ อาจารย์ของข้าพเจ้าพูดอย่างนี้’ แยก @ตอบเป็นประเด็นได้ชัดเจน ดุจการใช้แหนบถอนขนที่ละเส้น (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๗๕-๘๒/๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๕. ปฐมวินยธรโสภณสูตร

๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑- ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ อย่างนี้ ๖. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ๒- รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้ ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
จตุตถวินยธรสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๑
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๓ ในเล่มนี้ @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๖. ทุติยวินยธรโสภณสูตร

๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. มีศีล ฯลฯ๑- สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๖. ได้ฌาน ๔ ฯลฯ ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม
ปฐมวินยธรโสภณสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๒
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๗๕ (ปฐมวินยธรสูตร) หน้า ๑๗๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๗. ตติยวินยธรโสภณสูตร

๖. ได้ฌาน ๔ ฯลฯ ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม
ทุติยวินยธรโสภณสูตรที่ ๖ จบ
๗. ตติยวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๓
[๘๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. เป็นผู้ตั้งมั่น ไม่ง่อนแง่นในวินัย ๖. ได้ฌาน ๔ ฯลฯ ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม
ตติยวินยธรโสภณสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๙. สัตถุสาสนสูตร

๘. จตุตถวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๔
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ อย่างนี้ ๖. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้ชัดถึง หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้ ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม
จตุตถวินยธรโสภณสูตรที่ ๘ จบ
๙. สัตถุสาสนสูตร
ว่าด้วยสัตถุศาสน์
[๘๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม โดยย่อแก่ข้าพระองค์ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๑๐.อธิกรณสมถสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า ‘ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน’ เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้ให้ดีว่า ‘นี้ไม่ใช่ธรรม นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่ใช่สัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดา)’ แต่เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า ‘ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน’ เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้ให้ดีว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์”
สัตถุสาสนสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อธิกรณสมถสูตร
ว่าด้วยอธิกรณสมถธรรม
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณสมถธรรม(ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์) ๗ ประการนี้ เพื่อระงับ เพื่อดับอธิกรณ์๑- ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ธรรม ๗ ประการ๒- อะไรบ้าง คือ ๑. สงฆ์พึงให้สัมมุขาวินัย ๒. สงฆ์พึงให้สติวินัย ๓. สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัย ๔. สงฆ์พึงให้ปฏิญญาตกรณะ @เชิงอรรถ : @ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การถกเถียงกันเกี่ยว @กับพระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง @อาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ @เช่น การให้อุปสมบท การให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๓) และดู วิ.จู. ๖/๒๑๕/๒๔๕-๒๔๖ @ สัมมุขาวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าคือต้องพร้อมทั้ง ๔ พร้อมดังนี้ (๑) พร้อมหน้าสงฆ์ @ได้แก่ ภิกษุเข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี (๒) พร้อมหน้าบุคคล ได้แก่ คู่กรณี @หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้า (๓) พร้อมหน้าวัตถุได้แก่ ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมาวินิจฉัย @(๔) พร้อมหน้าธรรม ได้แก่ วินิจฉัยถูกต้องตามธรรมวินัย @สติวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยประกาศสมมติให้ว่าพระอรหันต์เป็นพระอริยะผู้มีสติสมบูรณ์ เป็นวิธี @ระงับโดยเอาสติเป็นหลักในกรณีที่มีผู้โจทพระอรหันตขีณาสพ เป็นการบอกให้รู้ว่าใครจะโจทพระอรหันต์ไม่ได้ @อมูฬหวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์แก่ภิกษุที่หายเป็นบ้าแล้วในกรณีที่มีผู้โจทภิกษุนั้น @ด้วยอาบัติที่ต้องในขณะเป็นบ้า สงฆ์จะสวดประกาศสมมติเพื่อไม่ให้ใครๆ โจทเธอด้วยอาบัติ @ปฏิญญาตกรณะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยปรับอาบัติตามคำรับสารภาพของภิกษุผู้ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๕. สงฆ์พึงให้เยภุยยสิกา ๖. สงฆ์พึงให้ตัสสปาปิยสิกา ๗. สงฆ์พึงให้ติณวัตถารกะ ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณสมถธรรม ๗ ประการนี้แล เพื่อระงับเพื่อดับอธิกรณ์ ที่เกิดขึ้นแล้วๆ
อธิกรณสมถสูตรที่ ๑๐ จบ
วินยวรรคที่ ๘ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมวินยธรสูตร ๒. ทุติยวินยธรสูตร ๓. ตติยวินยธรสูตร ๔. จตุตถวินยธรสูตร ๕. ปฐมวินยธรโสภณสูตร ๖. ทุติยวินยธรโสภณสูตร ๗. ตติยวินยธรโสภณสูตร ๘. จตุตถวินยธรโสภณสูตร ๙. สัตถุสาสนสูตร ๑๐. อธิกรณสมถสูตร @เชิงอรรถ : @เยภุยยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินตามเสียงข้างมาก สงฆ์จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่บุคคลหลาย @ฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน @ตัสสปาปิยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินลงโทษแก่ผู้กระทำผิด เมื่อสงฆ์พิจารณาตามหลักฐาน @พยานแล้วเห็นว่ามีความผิดจริง แม้เธอจะไม่รับสารภาพก็ตาม @ติณวัตถารกะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยให้ทั้ง ๒ ฝ่ายประนีประนอมกัน เปรียบเหมือนเอาหญ้ากลบไว้ @ไม่ต้องชำระสะสางความ วิธีนี้ใช้ระงับอธิกรณ์ที่ยุ่งยาก เช่น กรณีพิพาทกันของภิกษุชาวกรุงโกสัมพี @ดู กงฺขา.ฏีกา ๔๗๐ (วิ.อ. ๓/๑๙๕/๒๙๒-๒๙๓, ๒๐๒/๒๙๓, ๒๐๗/๒๙๔, ๒๑๒/๒๙๔-๒๙๕, @๓๔๐/๔๘๗, ๔๘๓/๕๔๘) และดู วิ.จู. ๖/๑๘๕-๒๑๒/๒๑๘-๒๔๓, วิ.ป. ๘/๒๗๕/๒๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๘๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๗๑-๑๘๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=4697&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=72              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=2900&Z=2984&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=72              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=72&items=10              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=72&items=10              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]