ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๖. อนิจจานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม ของโลก บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง @เชิงอรรถ : @ เจโตวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตซึ่งเป็นผลแห่งสมาธิ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการกำจัดอวิชชาได้ซึ่งเป็นผลแห่งปัญญา @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ คำว่า “โผล่ขึ้น” ในสูตรนี้ หมายถึงมีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา บุคคลจำพวกที่ ๗ นี้ @หมายถึงผู้ข้ามโอฆะคือกิเลสทั้งปวงได้ ดำรงตนอยู่บนบกคือนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๕/๑๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๖. อนิจจานุปัสสีสูตร

เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้ควร แก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควร แก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขามีปัญญาหยั่งรู้ความสิ้น อาสวะและความสิ้นชีวิต ไม่ก่อนไม่หลังกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น บุคคลจำพวกที่ ๒ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอันตราปรินิพพายี๑- ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๓ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของ ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอด เยี่ยมของโลก @เชิงอรรถ : @ อันตราปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือเกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว @อายุยังไม่ถึงกึ่งของอายุผู้เกิดในชั้นสุทธาวาสก็ปรินิพพานเสียในระหว่าง แต่ละชั้นมี ๓ จำพวก เช่นในชั้น @อวิหามีอายุ ๑,๐๐๐ กัป มี ๓ จำพวก ดังนี้ คือ @พวกที่ ๑ บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิด ถ้าไม่บรรลุในวันที่เกิดได้ก็บรรลุไม่เกินภายใน ๑๐๐ กัป @พวกที่ ๒ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิดหรือบรรลุภายใน ๑๐๐ กัปได้ ก็บรรลุภายใน @๒๐๐ กัป @พวกที่ ๓ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลภายใน ๒๐๐ กัปได้ ก็บรรลุไม่เกินภายใน ๔๐๐ กัป @ส่วนในสุทธาวาสชั้นอื่นๆ คือ ชั้นอตัปปาที่มีอายุ ๒,๐๐๐ กัป ชั้นสุทัสสาที่มีอายุ ๔,๐๐๐ กัป ชั้นสุทัสสี @ที่มีอายุ ๘,๐๐๐ กัป ชั้นอกนิฏฐาที่มีอายุ ๑๖,๐๐๐ กัป ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) และ @ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๐๒๗/๖๗๓-๖๗๔ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๖. อนิจจานุปัสสีสูตร

๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี๑- ฯลฯ ๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี๒- ฯลฯ ๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี๓- ฯลฯ ๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี๔- ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๗ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน ยอดเยี่ยมของโลก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม ของโลก
อนิจจานุปัสสีสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ อุปหัจจปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว มีอายุพ้นกึ่งจึงปรินิพพาน @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) เช่น ในชั้นอวิหาซึ่งมีอายุ ๑,๐๐๐ กัป พระอนาคามีจำพวกนี้มีอายุพ้นกึ่งคือ @พ้น ๕๐๐ กัปแล้วจึงปรินิพพาน ส่วนในสุทธาวาสชั้นอื่นที่เหลือซึ่งมีอายุแตกต่างกันไปก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้ @ อสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้บรรลุพระอรหัตปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ สสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งบรรลุพระอรหัตปรินิพพาน @โดยต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อุทธังโสตอกนิฏฐคามี หมายถึงพระอนาคามีผู้มีกระแสสูงขึ้นไปจนถึงชั้นอกนิฏฐภพคือเกิดในสุทธา- @วาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็จะเกิดเลื่อนต่อไปจนถึงชั้นอกนิฏฐภพ แล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๔-๒๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=604&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=279&Z=316&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=16              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=16&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=16&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]