ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๔. สุภูติสูตร

ความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษาแล้วจึงเข้าถึง กายมโนมัยอย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ ควรทำของตน หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว เปรียบเหมือนภิกษุผู้เป็น อสมยวิมุต๑- ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของตนหรือการสั่งสมกิจที่ตน ทำแล้ว นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นภายในปรารภเทวดาอย่างนี้เถิด นันทิยะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล ย่อมละ ไม่ยึดมั่น บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้ ย่อมละ ไม่ยึดมั่นบาปอกุศล- ธรรมทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่คว่ำ ย่อมไม่กลับมาบรรจุของที่หกแล้ว และ เปรียบเหมือนไฟที่ลามพ้นไปจากหญ้าแล้ว ย่อมไหม้ของที่ควรไหม้เท่านั้น ย่อมไม่ กลับมาไหม้ของที่ไหม้แล้ว
นันทิยสูตรที่ ๓ จบ
๔. สุภูติสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงแก่พระสุภูติ
[๑๔] ครั้งนั้น ท่านพระสุภูติกับภิกษุผู้มีศรัทธาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสุภูติ ดังนี้ว่า “สุภูติ ภิกษุนี้๒- ชื่อไร” @เชิงอรรถ : @ ภิกษุผู้เป็นอสมยวิมุต หมายถึงพระขีณาสพผู้หลุดพ้นด้วยอสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่ไม่ขึ้นต่อสมัย @หรือชั่วคราวคือยั่งยืนเรื่อยไป) หมายถึงอริยผลโดยเฉพาะอรหัตตผลเป็นโลกุตตรวิมุตติ บางแห่งใช้คำว่า @อสมยวิโมกข์ ตรงกันข้ามกับสมยวิมุตติ หรือสมยวิโมกข์ ซึ่งหมายถึงสมาบัติ ๘ เป็นโลกิยวิมุตติ @(องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๓/๓๘๔) และดู ม.มู. ๑๒/๓๑๑/๒๗๘-๒๘๐ @ หมายถึงภิกษุผู้เป็นบุตรของอนาถบิณฑิกคหบดี ซึ่งมีศรัทธาออกบวชในสำนักของท่านพระสุภูติเถระผู้เป็นอาว์ @ต่อมาพระเถระนำเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แม้พระองค์จะทรงทราบดีว่า ภิกษุนี้เป็นใคร ชื่ออะไร แต่ก็ทรง @ตรัสถามเพื่อปรารภเหตุที่จะแสดงพระธรรมเทศนา (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๔/๓๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๒๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๔๒๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=11809&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=209              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=8125&Z=8186&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=220              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=220&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=220&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]