ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ยมกวรรค ๑๐. ทุติยกถาวัตถุสูตร

๑๐. ทุติยกถาวัตถุสูตร
ว่าด้วยกถาวัตถุ สูตรที่ ๒
[๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ภิกษุจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตใน เวลาหลังภัตตาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาติรัจฉานกถาต่างๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา เรื่องมหา- อำมาตย์ ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้ ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่องอะไรที่เธอ ทั้งหลายสนทนากันค้างไว้” ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตตาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาติรัจฉานกถาต่างๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่สมควรเลยที่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุล บุตรมีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตสนทนาติรัจฉานกถาต่างๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ ประการนี้ ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ตนเองเป็นผู้มักน้อย และแสดงคุณของความเป็นผู้มักน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้มักน้อย และแสดงคุณของความเป็นผู้มักน้อยแก่ ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๕๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ยมกวรรค ๑๐. ทุติยกถาวัตถุสูตร

๒. ตนเองเป็นผู้สันโดษ และแสดงคุณของความสันโดษแก่ภิกษุทั้งหลายข้อ ที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สันโดษ และแสดงคุณของความสันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ ๓. ตนเองเป็นผู้สงัด และแสดงคุณของความสงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ ว่า‘ภิกษุเป็นผู้สงัดและแสดงคุณของความสงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็น ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๔. ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และแสดงคุณของความเป็นผู้ไม่คลุกคลีแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ไม่คลุกคลี และแสดงคุณของความไม่ คลุกคลีแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ ๕. ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และแสดงคุณของการปรารภความเพียร แก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร และแสดงคุณ ของการปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ ๖. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย ศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และแสดงคุณ ของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ ๗. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และ แสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็น ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๘. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้ เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ ๙. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และ แสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็น ฐานะที่ควรสรรเสริญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ยมกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และแสดงคุณของความ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และแสดงคุณของความเป็นผู้ สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควร สรรเสริญ ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ ประการนี้แล
ทุติยกถาวัตถุสูตรที่ ๑๐ จบ
ยมกวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อวิชชาสูตร ๒. ตัณหาสูตร ๓. นิฏฐังคตสูตร ๔. อเวจจัปปสันนสูตร ๕. ปฐมสุขสูตร ๖. ทุติยสุขสูตร ๗. ปฐมนฬกปานสูตร ๘. ทุติยนฬกปานสูตร ๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร ๑๐. ทุติยกถาวัตถุสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๕๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๕๓-๑๕๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=4359&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=68              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=3064&Z=3116&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=70              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=70&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=70&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]