ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๔. วัชชิยมาหิตสูตร

๔. วัชชิยมาหิตสูตร
ว่าด้วยวัชชิยมาหิตคหบดี
[๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ริมฝั่งสระคัคคราโบกขรณี เขตกรุงจำปา ครั้งนั้น วัชชิยมาหิตคหบดีออกจากกรุงจำปาแต่ยังวัน เพื่อเฝ้า พระผู้มีพระภาค ได้มีความคิดว่า “ยังไม่ใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพราะ พระองค์ยังทรงหลีกเร้นอยู่ ยังไม่ใช่เวลาที่จะเยี่ยมเยือนภิกษุทั้งหลายผู้อบรมจิต เพราะภิกษุเหล่านั้นยังหลีกเร้นอยู่ ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของอัญเดียรถีย์ ปริพาชก” ครั้งนั้นแล วัชชิยมาหิตคหบดีเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก สมัยนั้นแล พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกกำลังร่วมประชุมกัน ส่งเสียงเอ็ดอึง นั่งสนทนา กันถึงติรัจฉานกถา๑- มีประการต่างๆ ได้เห็นวัชชิยมาหิตคหบดีผู้กำลังเดินมาจากที่ไกล จึงชวนกันให้หยุดว่า “จงเงียบเสียงเถิด ท่านทั้งหลายอย่าได้ส่งเสียงเลย วัชชิย- มาหิตคหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังเดินมายังอาราม วัชชิยมาหิต- คหบดีนี้ เป็นสาวกคนหนึ่งบรรดาคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวของพระสมณโคดม ซึ่ง อาศัยอยู่ในกรุงจำปา พวกเขาชอบเสียงเบา ถูกฝึกให้มีเสียงเบา กล่าวชมผู้พูดเสียง เบา ทำอย่างไร เขาทราบว่าบริษัท๒- เงียบเสียง ก็จะสำคัญว่าควรเข้าหา” ครั้นแล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจึงพากันนิ่งเงียบ ลำดับนั้น วัชชิยมาหิต- คหบดีเข้าไปหาอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศัยพอเป็นที่ บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น จึงถามว่า “คหบดี นัยว่า พระสมณโคดมทรงติเตียนตบะทั้งหมด กล่าวโทษผู้มีตบะ เลี้ยงชีพเศร้าหมอง๓- โดยส่วนเดียว จริงหรือ” @เชิงอรรถ : @ ติรัจฉานกถา ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๙ (ปฐมกถาวัตถุสูตร) หน้า ๑๕๐ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๙๓ (กิงทิฏฐิกสูตร) หน้า ๒๑๖ ในเล่มนี้ @ เลี้ยงชีพเศร้าหมอง ในที่นี้หมายถึงประกอบทุกกรกิริยา ดำรงชีวิตอย่างฝืดเคือง ทรมานตนให้ลำบาก @(องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๔/๓๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๒๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๔. วัชชิยมาหิตสูตร

วัชชิยมาหิตคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคจะได้ทรงติเตียนตบะ ทั้งหมดก็หามิได้ จะได้กล่าวโทษผู้มีตบะทุกคนผู้เลี้ยงชีพเศร้าหมองโดยส่วนเดียวก็ หามิได้ พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนตบะที่ควรติเตียน สรรเสริญตบะที่ควรสรรเสริญ เมื่อทรงติเตียนสิ่งที่ควรติเตียน สรรเสริญสิ่งที่ควรสรรเสริญ จึงชื่อว่าวิภัชชวาที(มีปกติ ตรัสจำแนก) ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคมิใช่เอกังสวาที(มีปกติตรัสโดยส่วนเดียว)” เมื่อวัชชิยมาหิตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกคนหนึ่งจึงได้กล่าวกับวัชชิย- มาหิตคหบดีดังนี้ว่า “ประเดี๋ยวก่อน คหบดี พระสมณโคดมผู้ที่ท่านสรรเสริญ เป็นผู้ แนะนำในทางฉิบหาย๑- เป็นผู้ไม่มีบัญญัติ๒-” “ท่านผู้เจริญ แม้ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกับท่านทั้งหลายโดยชอบธรรม พระผู้ มีพระภาคทรงบัญญัติว่า ‘นี้กุศล นี้อกุศล’ พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงบัญญัติกุศลและ อกุศลอย่างนี้ จึงชื่อว่าทรงมีบัญญัติ มิใช่ผู้ทรงแนะนำในทางฉิบหาย ไม่ใช่ผู้ไม่มี บัญญัติ” เมื่อวัชชิยมาหิตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกทั้งหลายพากันนั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ วัชชิยมาหิตคหบดีทราบว่าปริพาชกเหล่านั้น นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ จึงลุกจากที่นั่ง เข้าไปเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่สนทนา ปราศัยกับอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นแด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทุกประการ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อย่างนั้นแหละ คหบดี ท่านสามารถข่ม โมฆบุรุษเหล่านั้นได้อย่างแนบเนียนตามกาลอันควร โดยชอบธรรม เราไม่กล่าวตบะ ทั้งหมดว่า ‘ควรบำเพ็ญ หรือไม่ควรบำเพ็ญ’ เราไม่กล่าวการสมาทานทั้งหมดว่า ‘ควรสมาทาน หรือไม่ควรสมาทาน’ เราไม่กล่าวความมุ่งมั่น๓- ทั้งหมดว่า ‘ควรมุ่งมั่น @เชิงอรรถ : @ เป็นผู้แนะนำในทางฉิบหาย ในที่นี้หมายถึงให้สัตว์ถึงความพินาศ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๔/๓๖๗) @ เป็นผู้ไม่มีบัญญัติ หมายถึงไม่สามารถบัญญัติอะไร หรือบัญญัตินิพพานที่ไม่สามารถจะเห็นประจักษ์ได้ @(องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๔/๓๖๗) @ มุ่งมั่น หมายถึงทำความเพียรเป็นหลักใหญ่ (องฺ.เอกก.อ. ๔/๓๙๔/๔๔๐) ได้แก่สัมมัปปธาน ๔ @(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖๙/๘๔-๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๔. วัชชิยมาหิตสูตร

หรือไม่ควรมุ่งมั่น’ เราไม่กล่าวการสละคืนทั้งหมดว่า ‘ควรสละคืน หรือไม่ควร สละคืน’ เราไม่กล่าวความหลุดพ้นทั้งหมดว่า ‘‘ควรหลุดพ้น หรือไม่ควรหลุดพ้น’ ตบะใด เมื่อบุคคลบำเพ็ญอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรม ทั้งหลาย เสื่อมไป ตบะเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรบำเพ็ญ’ ส่วนตบะใด เมื่อบุคคล บำเพ็ญอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น ตบะเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ควรบำเพ็ญ’ การสมาทานใด เมื่อบุคคลสมาทานอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศล ธรรมทั้งหลายเสื่อมไป การสมาทานเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรสมาทาน’ ส่วน การสมาทานใด เมื่อบุคคลสมาทานอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรม ทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น การสมาทานเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ควรสมาทาน’ ความมุ่งมั่นใด เมื่อบุคคลมุ่งมั่นอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศล ธรรมทั้งหลายเสื่อมไป ความมุ่งมั่นเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรมุ่งมั่น’ ส่วนความมุ่ง มั่นใด เมื่อบุคคลมุ่งมั่นอยู่ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น ความมุ่งมั่น เช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ควรมุ่งมั่น’ การสละคืนใด เมื่อบุคคลสละคืนอยู่ อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป การสละคืนเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรสละคืน’ ส่วนการสละคืนใด เมื่อบุคคลสละ คืนอยู่ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น การสละคืนเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ควรสละคืน’ ความหลุดพ้นใด เมื่อบุคคลหลุดพ้นอยู่ อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรม เสื่อมไป ความหลุดพ้นเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรหลุดพ้น’ ส่วนความหลุดพ้นใด เมื่อบุคคลหลุดพ้นอยู่ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น ความหลุดพ้นเช่น นั้น เรากล่าวว่า ‘ควรหลุดพ้น’ ลำดับนั้นแล วัชชิยมาหิตคหบดีผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริงด้วยธรรมมีกถาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วหลีกไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๒๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๕. อุตติยสูตร

เมื่อวัชชิยมาหิตคหบดีหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีธุลีคือกิเลสใน นัยน์ตาน้อยตลอดกาลนาน แม้ภิกษุนั้นก็พึงข่มอัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายได้ อย่างแนบเนียน โดยชอบธรรมอย่างนี้เหมือนวัชชิยมาหิตคหบดีข่มได้แล้ว”
วัชชิยมาหิตสูตรที่ ๔ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๒๐-๒๒๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=6307&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=92              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=4345&Z=4422&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=94              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=94&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=94&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]