ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๒. ทุกนิบาต]

๒. ทุติยวรรค ๑๒. ทิฏฐิคตสูตร

๑๒. ทิฏฐิคตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๔๙] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ต่างก็ถูกทิฏฐิ ๒ อย่างครอบงำ คือ เทวดา และมนุษย์พวกหนึ่งยึดติดอยู่ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป๒- ส่วนเทวดา และมนุษย์ผู้มีปัญญาจักษุ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งยึดติดอยู่ เป็นอย่างไร คือ เทวดาและมนุษย์พอใจ ยินดี เพลิดเพลินอยู่ในภพ เมื่อตถาคตแสดงธรรม เพื่อความดับแห่งภพ จิตของเทวดาและมนุษย์นั้นย่อมไม่ยอมรับ ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมใจเชื่อ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งยึดติดอยู่ เป็นอย่างนี้แล เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป เป็นอย่างไร คือ เทวดาและมนุษย์อึดอัด ระอา รังเกียจ ไม่ยินดีภพนั่นแล จึงหลงเพลิดเพลิน ความขาดสูญโดยทำนองว่า ท่านทั้งหลาย ทราบว่า อัตตาของเรานี้ เมื่อตายไป ย่อมขาดสูญพินาศไป หลังจากตายแล้วจะไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ชื่อว่าเป็นธรรมชาติ สงบ ประณีต ถ่องแท้ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ พวกหนึ่งยึดติดอยู่ หมายถึงพวกสัสสตทิฏฐิ (ขุ.อิติ.อ. ๔๙/๒๐๒) @ พวกหนึ่งแล่นเลยไป หมายถึงพวกอุจเฉททิฏฐิ (ขุ.อิติ.อ. ๔๙/๒๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๒. ทุกนิบาต]

๒. ทุติยวรรค ๑๒. ทิฏฐิคตสูตร

เทวดาและมนุษย์ผู้มีปัญญาจักษุย่อมเห็นตามความเป็นจริง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ โดยสภาวะแท้จริง ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้วก็ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับสิ่ง ที่เป็นจริง โดยความเป็นจริงนั้น เทวดาและมนุษย์ผู้มีปัญญาจักษุย่อมเห็นตาม ความเป็นจริง เป็นอย่างนี้แล” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า อริยสาวกพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วตามความเป็นจริง และธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ย่อมน้อมจิตไปในนิพพานตามความเป็นจริง เพราะความสิ้นไปแห่งภวตัณหา ถ้าอริยสาวกผู้กำหนดรู้ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ปราศจากตัณหาในภพน้อยและใหญ่ไซร้ ชื่อว่าภิกษุ ย่อมไม่กลับมาสู่ภพอีก เพราะขันธ์ ๕ เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ทิฏฐิคตสูตรที่ ๑๒ จบ
ทุติยวรรค จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๒. ทุกนิบาต]

๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วิตักกสูตร ๒. เทสนาสูตร ๓. วิชชาสูตร ๔. ปัญญาปริหีนสูตร ๕. สุกกธัมมสูตร ๖. อชาตสูตร ๗. นิพพานธาตุสูตร ๘. ปฏิสัลลานสูตร ๙. สิกขานิสังสสูตร ๑๐. ชาคริยสูตร ๑๑. อาปายิกสูตร ๑๒. ทิฏฐิคตสูตร (ในทุกนิบาตแห่งอิติวุตตกะนี้ ท่านพระเถระผู้ทำปฐมสังคายนา ประกาศพระสูตร ไว้ ๒๒ สูตร คือ ในปฐมวรรค ๑๐ สูตร และในทุติยวรรคนี้ ๑๒ สูตร ดังกล่าวมาฉะนี้แล)
ทุกนิบาต จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๐๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๐๐-๔๐๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=10575&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=164              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=5363&Z=5402&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=227              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=227&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=227&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]