ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๖. ปิยวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
๑. ตโยชนปัพพชิตวัตถุ
เรื่องบรรพชิต ๓ รูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่บรรพชิต ๓ รูป ดังนี้) [๒๐๙] บุคคลทำตัวให้หมกมุ่นในกิจที่ไม่ควรหมกมุ่น๒- และไม่หมกมุ่นในกิจที่ควรหมกมุ่น ละเลยสิ่งที่เป็นประโยชน์๓- ติดอยู่ในปิยารมณ์๔- ทะเยอทะยานตามบุคคลผู้ปฏิบัติตนดี @เชิงอรรถ : @ มีวัตร หมายถึงมีศีลวัตร และธุดงควัตร ๑๓ ประการ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๓๗) @ กิจที่ไม่ควรหมกมุ่น หมายถึงการเสพอโคจร ๖ อย่าง มีหญิงแพศยาเป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๐) @ สิ่งที่เป็นประโยชน์ หมายถึงไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๐) @ ปิยารมณ์(อารมณ์ที่น่ารัก) หมายถึงกามคุณ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๖. ปิยวรรค ๓. วิสาขาวัตถุ

[๒๑๐] ไม่ว่าเวลาใด บุคคลไม่ควรติดพันกับสิ่งเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก เพราะการไม่เห็นสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์ การพบเห็นสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ [๒๑๑] เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรทำสิ่งไรๆ ให้เป็นที่รัก เพราะการพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์ระทม ผู้ที่ไม่มีสิ่งเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ย่อมไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
๒. อัญญตรกุฏุมพิกวัตถุ
เรื่องกุฎุมพีคนใดคนหนึ่ง
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่กุฎุมพี ดังนี้) [๒๑๒] ความโศกเกิดจากสิ่งเป็นที่รัก ภัยก็เกิดจากสิ่งเป็นที่รัก ผู้พ้นจากสิ่งเป็นที่รักได้เด็ดขาด ย่อมไม่มีความโศกและภัยจากที่ไหนเลย
๓. วิสาขาวัตถุ
เรื่องนางวิสาขา
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่นางวิสาขามิคารมาตาผู้เศร้าโศกเพราะหลานสาว ชื่อสุทัตตีเสียชีวิต ดังนี้) [๒๑๓] ความโศกเกิดจากความรัก ภัยก็เกิดจากความรัก ผู้พ้นจากความรักได้เด็ดขาด ย่อมไม่มีความโศกและภัยจากที่ไหนเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๖. ปิยวรรค ๖. อัญญตรพราหมณวัตถุ

๔. ลิจฉวีวัตถุ
เรื่องเจ้าลิจฉวี
(พระผู้มีพระภาคทรงปรารภพวกเจ้าลิจฉวีที่แย่งหญิงผู้งดงามในเมืองจนถึงขั้น ชกต่อยกัน จึงตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๒๑๔] ความโศกเกิดจากความยินดี๑- ภัยก็เกิดจากความยินดี ผู้พ้นจากความยินดีได้เด็ดขาด ย่อมไม่มีความโศกและภัยจากที่ไหนเลย
๕. อนิตถิคันธกุมารวัตถุ
เรื่องอนิตถิคันธกุมาร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่อนิตถิคันธกุมาร ดังนี้) [๒๑๕] ความโศกเกิดจากกาม๒- ภัยก็เกิดจากกาม ผู้พ้นจากกามได้เด็ดขาด ย่อมไม่มีความโศกและภัยจากที่ไหนเลย
๖. อัญญตรพราหมณวัตถุ
เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พราหมณ์ ดังนี้) [๒๑๖] ความโศกเกิดจากตัณหา ภัยก็เกิดจากตัณหา ผู้พ้นจากตัณหาได้เด็ดขาด ย่อมไม่มีความโศกและภัยจากที่ไหนเลย @เชิงอรรถ : @ ความยินดี หมายถึงความยินดีในกามคุณ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๕) @ กาม ในที่นี้หมายถึงวัตถุกามและกิเลสกาม (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๖. ปิยวรรค ๘. อนาคามิเถรวัตถุ

๗. ปัญจสตทารกวัตถุ
เรื่องเด็กน้อย ๕๐๐ คน
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่เด็กน้อย ๕๐๐ คน ดังนี้) [๒๑๗] บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล๑- และทัสสนะ๒- ดำรงอยู่ในธรรม๓- กล่าวคำสัตย์๔- ทำหน้าที่ของตน๕- ย่อมเป็นที่รักของประชาชน
๘. อนาคามิเถรวัตถุ
เรื่องพระอนาคามีเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ของพระผู้บรรลุ อนาคามิผล ดังนี้) [๒๑๘] ภิกษุผู้เกิดฉันทะในธรรม๖- ที่ใครๆ บอกไม่ได้ มีใจได้สัมผัสแล้ว๗- และมีจิตไม่เกาะเกี่ยวในกามทั้งหลาย๘- เราเรียกว่า ผู้มีกระแสในเบื้องบน๙- @เชิงอรรถ : @ ศีล หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๕๒) @ ทัสสนะ หมายถึงสัมมาทัสสนะ (เห็นชอบ) ที่ประกอบด้วยมรรคและผล (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๕๒) @ ดำรงอยู่ในธรรม หมายถึงบรรลุโลกุตตรธรรม ๙ ประการ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๕๒) @ กล่าวคำสัตย์ หมายถึงแสดงอริยสัจ ๔ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๕๒) @ ทำหน้าที่ของตน หมายถึงบำเพ็ญสิกขา ๓ ให้บริบูรณ์ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๕๒-๑๕๓) @ ธรรม หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๕๔) @ มีใจได้สัมผัสแล้ว หมายถึงมีใจได้สัมผัสมรรคผลเบื้องต่ำ คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค @สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๕๔) @ ด้วยอำนาจอนาคามิมรรค จึงมีจิตไม่เกาะเกี่ยวในกามทั้งหลาย (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๕๔) @ ผู้มีกระแสในเบื้องบน หมายถึงจะบังเกิดในสุทธาวาสชั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ คือบังเกิดในชั้นอวิหาจนถึง @ชั้นอกนิฏฐา (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๗. โกธวรรค ๑. โรหิณีขัตติยกัญญาวัตถุ

๙. นันทิยวัตถุ
เรื่องนายนันทิยะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระมหาโมคคัลลานะผู้เห็นทิพยสมบัติของ นายนันทิยะในเทวโลก ดังนี้) [๒๑๙] ญาติ มิตร และผู้มีใจดีทั้งหลาย เห็นคนที่จากบ้านไปนาน กลับจากที่ไกลมาถึงโดยสวัสดิภาพ ย่อมยินดีว่ามาแล้ว [๒๒๐] เช่นเดียวกันนั้น บุญทั้งหลาย ย่อมต้อนรับคนที่ทำบุญไว้ ซึ่งจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้า เหมือนญาติต้อนรับญาติผู้เป็นที่รักที่กลับมาบ้าน ฉะนั้น
ปิยวรรคที่ ๑๖ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๙๗-๑๐๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=2500&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=25              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=830&Z=861&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=26              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=26&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=26&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]