ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒. อัปปมาทวรรค ๙. นิคมวาสีติสสเถรวัตถุ

๗. มฆวัตถุ
เรื่องท้าวมัฆวาน
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ ดังนี้) [๓๐] ท้าวมัฆวานประเสริฐสุดในหมู่เทวดาเพราะความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลาย สรรเสริญความไม่ประมาท และติเตียนความประมาททุกเมื่อ
๘. อัญญตรภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดังนี้) [๓๑] ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท เผาสังโยชน์๑- น้อยใหญ่ได้หมด เหมือนไฟเผาเชื้อน้อยใหญ่ให้หมดไป ฉะนั้น
๙. นิคมวาสีติสสเถรวัตถุ
เรื่องพระติสสเถระผู้อยู่ในนิคม
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระติสสเถระผู้อยู่ในนิคม ดังนี้) [๓๒] ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือมีปกติเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่เสื่อม๒- ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้
อัปปมาทวรรคที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์มี ๑๐ อย่าง คือ (๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน @(๒) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต (๔) กามราคะ ความกำหนัดในกาม @(๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ (๖) รูปราคะ ความกำหนัดในรูป (๗) อรูปราคะ ความกำหนัดในอรูป @(๘) มานะ ความถือตัว (๙) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน (๑๐) อวิชชา ความไม่รู้ (ขุ.ธ.อ. ๒/๑๑๒, ขุ.อิติ.อ. ๓๔/๑๒๑) @ ไม่เสื่อม หมายถึงไม่เสื่อมจากสมถและวิปัสสนา มรรคและผลที่ได้บรรลุแล้ว และทั้งยังจะได้บรรลุมรรค @ผลที่ยังไม่ได้บรรลุ (ขุ.ธ.อ. ๒/๑๑๕, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๗/๓๖๗) และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๗/๖๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=910&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=11              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=330&Z=365&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=12&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=12&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]