ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

สิ่งไรๆ ในไตรโลกธาตุนี้ พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้น ไม่เห็น ไม่มีเลย อนึ่ง ธรรมชาติอะไรๆ ที่ควรรู้ พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่ พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีสมันตจักขุ๑- พระผู้มีพระภาค ชื่อว่ามีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยสมันตจักขุ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ได้ทรงแสดง คำว่า ธรรมที่เป็นพยาน ในคำว่า ธรรมที่เป็นพยาน อันเป็นเครื่องกำจัด อันตราย อธิบายว่า ธรรมที่พระองค์ทรงทราบเอง ธรรมที่ประจักษ์แก่พระองค์เอง มิใช่โดยการเชื่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยการเล่าลือ มิใช่ โดยการถือสืบๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรก มิใช่โดยการอนุมาน มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รวมความว่า ธรรมที่เป็นพยาน
ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง
คำว่า อันตราย ในคำว่า อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ (๑) อันตรายที่ปรากฏ (๒) อันตรายที่ไม่ปรากฏ อันตรายที่ปรากฏ คืออะไร คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า โค กระบือ ช้าง งู แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ได้ก่อกรรมไว้ หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้ โรคทางตา โรคทางหู โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคศีรษะ โรคหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้พิษ ไข้เชื่อมซึม โรคท้อง เป็นลมสลบ ลงแดง จุกเสียด @เชิงอรรถ : @ ขุ.จู. ๓๐/๘๕/๑๙๖, ขุ.ป. ๓๑/๑๒๑/๑๓๖-๑๓๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

อหิวาตกโรค โรคเรื้อน ฝี กลาก มองคร่อ ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน หิด หูด โรคละลอก โรคดีซ่าน โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวงทวาร ความเจ็บ ป่วยที่เกิดจากดี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ไข้สันนิบาต ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียรเกินกำลัง ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ อันตรายที่ไม่ปรากฏ คืออะไร คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ๑- กิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความกระวนกระวายทุกอย่าง ความเร่าร้อนทุกสถาน ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ไม่ปรากฏ คำว่า อันตรายทั้งหลาย อธิบายว่า ชื่อว่าอันตราย เพราะมีความหมายอย่างไร ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ เป็นอย่างไร คือ อันตรายเหล่านั้นย่อมเข้าครอบครอง ยึดครอง ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีบุคคลนั้น ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ เป็นอย่างนี้ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็นอย่างไร คือ อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม คือ ความสูญไปแห่งกุศล- ธรรมทั้งหลาย กุศลธรรมอะไรบ้าง อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม คือ @เชิงอรรถ : @ ดูคำแปลในข้อ ๕/๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

เพื่อความสูญไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การ ปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติไม่คลาดเคลื่อน การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวม อินทรีย์ทั้ง ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ ความหมั่นเจริญ สติปัฏฐาน ๔ ความหมั่นเจริญสัมมัปปธาน ๔ ความหมั่นเจริญอิทธิบาท ๔ ความ หมั่นเจริญอินทรีย์ ๕ ความหมั่นเจริญพละ ๕ ความหมั่นเจริญโพชฌงค์ ๗ ความ หมั่นเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็น อย่างนี้ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างไร คือ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น มีอัตภาพเป็นที่อาศัย เปรียบเหมือนสัตว์ที่อาศัยรูย่อมอยู่ในรู สัตว์ที่อาศัยน้ำย่อมอยู่ในน้ำ สัตว์ที่อาศัยป่า ย่อมอยู่ในป่า สัตว์ที่อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่บนต้นไม้ ฉันใด บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดในอัตภาพนั้น มีอัตภาพเป็นที่อาศัย ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่กับกิเลสที่ นอนเนื่องอยู่ภายใน ผู้อยู่กับกิเลสที่ฟุ้งขึ้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่กับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน ผู้อยู่กับกิเลสที่ฟุ้งขึ้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะตาเห็นรูป บาปอกุศล- ธรรมทั้งหลาย ย่อมอยู่ ย่อมซ่านไปภายในของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียก ภิกษุนั้นว่า ‘ผู้อยู่กับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน’ บาปอกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมฟุ้ง ขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้อยู่กับกิเลสที่ฟุ้งขึ้น’ ภิกษุทั้งหลาย อีกนัยหนึ่ง บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะหูได้ยินเสียง... เพราะจมูกได้กลิ่น... เพราะลิ้นได้ลิ้มรส... เพราะกายได้รับสัมผัส... เพราะใจรู้ธรรมารมณ์ บาปอกุศล- ธรรมทั้งหลาย ย่อมอยู่ ย่อมซ่านไปภายในของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียก ภิกษุนั้นว่า ‘ผู้อยู่กับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน’ บาปอกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น๑- เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้อยู่กับกิเลสที่ฟุ้งขึ้น’ ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุผู้อยู่กับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน ผู้อยู่กับกิเลส ที่ฟุ้งขึ้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย”๒- ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่ อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นมลทินภายใน
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาตภายใน เป็น ข้าศึกภายใน ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. โลภะ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาต ภายใน เป็นข้าศึกภายใน ๒. โทสะ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาต ภายใน เป็นข้าศึกภายใน ๓. โมหะ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาต ภายใน เป็นข้าศึกภายใน ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นมลทินภายใน เป็นอมิตร ภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน” (พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า) โลภะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ โลภะทำให้จิตกำเริบ โลภะเป็นภัยที่เกิดภายใน คน(ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น คนโลภไม่รู้จักผล คนโลภไม่รู้จักเหตุ ความโลภครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดบอดย่อมมีเมื่อนั้น @เชิงอรรถ : @ สํ. สฬา. ๑๘/๑๕๑/๑๒๗ @ สํ.สฬา. ๑๘/๑๕๑/๑๒๖-๑๒๗, ขุ.จู. ๓๐/๑๒๘/๒๖๒-๒๖๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

โทสะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ โทสะทำให้จิตกำเริบ โทสะเป็นภัยที่เกิดภายใน คน (ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น คนโกรธไม่รู้จักผล คนโกรธไม่รู้จักเหตุ ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดบอดย่อมมีเมื่อนั้น โมหะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ โมหะทำให้จิตกำเริบ โมหะเป็นภัยที่เกิดภายใน คน (ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น คนหลงไม่รู้จักผล คนหลงไม่รู้จักเหตุ ความหลงครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดบอดย่อมมีเมื่อนั้น๑- ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ เมื่อเกิดขึ้น ภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อ ความอยู่ไม่ผาสุก ธรรม ๓ ประการอะไรบ้าง คือ ๑. โลภธรรมเมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็น ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ๒. โทสธรรมเมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็น ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ๓. โมหธรรมเมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็น ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล เมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อม เกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก” @เชิงอรรถ : @ ขุ.อิติ. ๒๕/๘๘/๓๐๕, ขุ.จู. ๓๐/๑๒๘/๒๖๓-๒๖๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า) โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมทำร้ายบุรุษผู้มีจิตเลวทราม เหมือนขุยไผ่กำจัดต้นไผ่ ฉะนั้น๑- ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ราคะและโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นต้นเหตุ ความไม่ยินดีกุศลธรรม ความยินดีกามคุณซึ่งทำให้ขนลุก เกิดจากอัตภาพนี้ บาปวิตกในใจ เกิดขึ้นจากอัตภาพนี้ ย่อมผูกใจคนไว้ เหมือนพวกเด็กผูกตีนกาไว้ ฉะนั้น๒- ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง คำว่า อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย ได้แก่ เป็นเครื่องกำจัดอันตราย คือ เป็นเครื่องละอันตราย สงบอันตราย สลัดทิ้งอันตราย ระงับอันตราย เป็นอมต- นิพพาน รวมความว่า ธรรมที่เป็นพยาน อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปฏิปทา อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศปฏิปทา ได้แก่ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติ ที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ @เชิงอรรถ : @ สํ.ส. ๑๕/๑๑๓/๘๕, ขุ.อิติ. ๒๕/๕๐/๒๗๒, ขุ.จู. ๓๐/๑๒๘/๒๖๔ @ สํ.ส. ๑๕/๒๓๗/๒๕๐, ขุ.สุ. ๒๕/๒๗๔/๓๘๗, ขุ.จู. ๓๐/๑๒๘/๒๖๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปฏิปทา คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นคำที่พระพุทธเนรมิตตรัสเรียกพระผู้มี- พระภาคพุทธเจ้า อีกนัยหนึ่ง พระองค์ตรัสบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศธรรมใด ธรรมนั้นทั้งหมด เป็นธรรมดี เจริญ งาม ไม่มีโทษ ควรซ่องเสพ รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัส บอกปฏิปทา คำว่า ปาติโมกข์๑- ในคำว่า คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ ได้แก่ ศีลอันเป็น ที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธานเพื่อความถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล คำว่า หรือแม้สมาธิ ได้แก่ ความตั้งมั่น ความดำรงมั่น ความไม่คลอนแคลน ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ รวมความว่า คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ได้ทรงแสดงธรรมที่เป็นพยาน อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปฏิปทา คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ [๑๕๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก พึงป้องกันหู มิให้ได้ยินคามกถา ไม่พึงติดใจในรส และไม่พึงยึดถืออะไรๆ ในโลกว่าเป็นของเรา @เชิงอรรถ : @ ปาติโมกข์ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๐/๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยเรื่องผู้มีตาลอกแลก
คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีตาลอกแลก คือ เป็นผู้ประกอบด้วย ความเป็นคนมีตาลอกแลกด้วยคิดว่า “รูปที่ยังไม่เคยดู เราควรดู รูปที่เราเคยดูแล้ว ควรผ่านไปเลย” จึงเป็นผู้ขวนขวายการเที่ยวนาน และการเที่ยวไปไม่แน่นอน จาก อารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีกอุทยานหนึ่ง จากบ้านหนึ่งไป สู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีกนครหนึ่ง จากรัฐ หนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบท(ประเทศ)หนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง เพื่อดูรูป ภิกษุชื่อ ว่าเป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนไม่สำรวม เดินมองช้าง มองม้า มองรถ มองพลเดินเท้า มองสตรี มองบุรุษ มองเด็กชาย มองเด็กหญิง มองร้านตลาด มองหน้ามุขเรือน มองข้างบน มองข้างล่าง มองทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มี ตาลอกแลก เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้รวบถือ เป็นผู้แยกถือ(อวัยวะส่วน ต่างๆ) ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาป อกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมไม่ถึง ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยัง ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้อยู่ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมดนตรี การดูมหรสพ การเล่านิทาน การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง การสร้างฉากบ้านเมืองให้สวยงาม การละเล่นของคนจัณฑาล การ เล่นกระดานหก การละเล่นหน้าศพ การแข่งชนช้าง การแข่งม้า การแข่งชนกระบือ การแข่งชนโค การแข่งชนแพะ การแข่งชนแกะ การแข่งชนไก่ การแข่งชนนกกระทา การรำกระบี่กระบอง การชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพลสวนสนาม การจัด กระบวนทัพ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ภิกษุไม่เป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าสู่ละแวกบ้าน เดินทางไปตามถนน ก็เดินอย่าง สำรวม ไม่มองช้าง ไม่มองม้า ไม่มองรถ ไม่มองพลเดินเท้า ไม่มองสตรี ไม่มอง บุรุษ ไม่มองเด็กชาย ไม่มองเด็กหญิง ไม่มองร้านตลาด ไม่มองหน้ามุขเรือน ไม่มองสูง ไม่มองต่ำ ไม่มองทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุชื่อว่าไม่เป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ โทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุชื่อว่า ไม่เป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้งดเว้นจากความขวนขวายในการดูการละเล่นอันเป็น ข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ เหมือนอย่างสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหาร ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ก็ไม่พากันขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เห็นปานนี้อยู่ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมดนตรี การดูมหรสพ การเล่า นิทาน... ภิกษุชื่อว่าไม่เป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างนี้บ้าง คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก อธิบายว่า พึงละ บรรเทา ทำให้หมด สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเป็นผู้มีตาลอกแลก คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้มีตาลอกแลก มีใจเป็น อิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก คำว่า พึงป้องกันหูมิให้ได้ยินคามกถา อธิบายว่า เดรัจฉานกถา๑- ๓๒ อย่าง ตรัสเรียกว่า คามกถา คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องยาน เรื่องที่นอน เรื่องระเบียบ ดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมือง เรื่องชนบท เรื่อง @เชิงอรรถ : @ เดรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์ นิพพาน หมายถึงเรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อ @ถกเถียงสนทนากัน โดยไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรม อันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากัน @หลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม (ที.สี.อ. ๑๗/๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

สตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม คำว่า พึงป้องกันหูมิให้ได้ยินคามกถา อธิบายว่า พึงป้องกัน คือ ห้าม กั้น รักษา คุ้มครอง ปิด ตัดขาดหูมิให้ได้ยินคามกถา รวมความว่า พึงป้องกันหูมิให้ได้ ยินคามกถา คำว่า รส ในคำว่า ไม่พึงติดใจในรส ได้แก่ รสจากราก รสจากลำต้น รสจาก เปลือก รสจากใบ รสจากดอก รสจากผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน สมณพราหมณ์ บางพวก ยินดีในรส สมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวแสวงหารสเลิศด้วยปลายลิ้น ได้ รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว... ได้ของ เย็นแล้วก็แสวงหาของร้อน ได้ของร้อนแล้วก็แสวงหาของเย็น สมณพราหมณ์เหล่า นั้นได้รสใดๆ แล้วก็ไม่ยินดีด้วยรสนั้นๆ ยังแสวงหารสอื่นๆ ต่อไปอีก เป็นผู้กำหนัด ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในรสที่ชอบใจ ตัณหาในรสนี้ ภิกษุใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว... เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ภิกษุนั้นพิจารณาแล้ว โดยแยบคาย จึงฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อตบแต่ง มิใช่เพื่อ ประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อขจัด ความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยตั้งใจว่า... และ อยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ คนทาแผลเพียงเพื่อปลูกเนื้อเยื่อ หยอดเพลาเพียงเพื่อจะขนภาระไป หรือ กินอาหารที่ปรุงจากเนื้อบุตรเพียงเพื่อจะเดินทางออกจากทางกันดารให้พ้นเท่านั้น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น... ความไม่มีโทษ และอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหาในรส เป็นผู้งดแล้ว งดเว้นแล้ว เว้นขาดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับตัณหาในรส มีใจเป็นอิสระ(จาก กิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่พึงติดใจในรส คำว่า และไม่พึงยึดถืออะไรๆ ในโลกว่าเป็นของเรา อธิบายว่า คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ ภิกษุละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความยึดถือ ว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฎฐิได้แล้ว ไม่พึงยึดถือ คือ ไม่ยึด ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ตาว่าเป็นของเรา... ไม่ถือมั่นหู... จมูก... ลิ้น... กาย... รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ตระกูล... หมู่คณะ... อาวาส... ลาภ... ยศ... สรรเสริญ... สุข... จีวร... บิณฑบาต... เสนาสนะ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร... กามธาตุ... รูปธาตุ... อรูปธาตุ... กามภพ... รูปภพ... อรูปภพ... สัญญาภพ... อสัญญาภพ... เนวสัญญานาสัญญาภพ... เอกโวการภพ๑- ... จตุโวการภพ๒- ... ปัญจโวการภพ๓- ... อดีต... อนาคต... ปัจจุบันว่า เป็นของเรา ไม่พึงยึดถือ คือ ไม่ยึด ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งว่าเป็นของเรา คำว่า อะไรๆ ได้แก่ อะไรที่เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก... อายตนโลก รวมความว่า และไม่พึงยึดถือ อะไรๆ ในโลกว่า เป็นของเรา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก พึงป้องกันหูมิให้ได้ยินคามกถา ไม่พึงติดใจในรส และไม่พึงยึดถืออะไรๆ ในโลกว่าเป็นของเรา [๑๕๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า) เมื่อใด ภิกษุถูกผัสสะกระทบ เมื่อนั้นเธอก็ไม่พึงทำความคร่ำครวญในที่ไหนๆ ไม่พึงคาดหวังภพ และไม่พึงกระสับกระส่าย ในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว @เชิงอรรถ : @ เอกโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๐-๑๑ @ จตุโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๒ @ ปัญจโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยโรคต่างๆ
คำว่า เมื่อใด ภิกษุถูกผัสสะกระทบ อธิบายว่า ภิกษุถูกผัสสะกระทบ คือถูก โรคกระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบเข้า ได้แก่ ถูกโรคทางตากระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบเข้า โรคทางหู... โรคทางจมูก... โรคทางลิ้น... โรคทางกาย... โรคศีรษะ... โรคหู... โรคปาก... โรคฟัน... โรคไอ... โรคหืด... ไข้หวัด... ไข้พิษ... ไข้เชื่อมซึม... โรคท้อง... เป็นลมสลบ... ลงแดง... จุกเสียด... อหิวาตกโรค... โรคเรื้อน... ฝี... กลาก... มองคร่อ... ลมบ้าหมู... หิดเปื่อย... หิดด้าน... หิด... หูด... โรคละลอก... โรคดีซ่าน... โรคเบาหวาน... โรคเริม... โรคพุพอง... โรคริดสีดวงทวาร... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ... ความเจ็บป่วยที่เกิด จากลม... ไข้สันนิบาต... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดู... ความเจ็บป่วยที่ เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความ พากเพียรเกินกำลัง... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม... ความหนาว... ความร้อน... ความหิว... ความกระหาย... ปวดอุจจาระ... ปวดปัสสาวะ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจาก สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน กระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบเข้า รวมความว่า เมื่อใด ภิกษุถูกผัสสะกระทบ คำว่า เมื่อนั้นเธอก็ไม่พึงทำความคร่ำครวญในที่ไหนๆ อธิบายว่า ไม่พึงทำ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ คือ กิริยาที่บ่นเพ้อ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่ คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่ พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ คำว่า ในที่ไหนๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหนๆ ที่ไรๆ ภายใน ภายนอก หรือทั้งภายในและภายนอก รวมความว่า เมื่อนั้นเธอก็ไม่พึงทำความคร่ำครวญ ในที่ไหนๆ คำว่า ไม่พึงคาดหวังภพ ได้แก่ ไม่พึงหวัง ไม่พึงมุ่งหวัง ไม่พึงคาดหวัง กามภพ รูปภพ อรูปภพ รวมความว่า ไม่พึงคาดหวังภพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยภัยและความขลาดกลัว
คำว่า และไม่พึงกระสับกระส่ายในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว อธิบายว่า คำว่า ความน่ากลัว ได้แก่ ทั้งภัยและความขลาดกลัว มีความหมายอย่าง เดียวกันนั่นเอง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภัย ความขลาดกลัวนั้น คือ สิ่งนี้เป็นแน่ บุคคลไม่พึงละเสีย มันก็จะมาหา ภัยนั้นเรียกว่า มีวัตถุภายนอกเป็นอารมณ์ คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า โค กระบือ ม้า ช้าง งู แมงป่อง ตะขาบ โจร หรือ คนที่ได้ก่อกรรมไว้ หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้ อีกนัยหนึ่ง โดยความหมายต่างกัน ความกลัว อาการกลัว ความหวาดหวั่น ขนพองสยองเกล้า ความหวาดเสียว ความสะดุ้งแห่งจิต ที่เกิดขึ้นภายใน มีจิตเป็น สมุฏฐาน เรียกว่า ภัย คือ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย อัตตานุวาทภัย(ภัยเกิดจากการติเตียนตน) ปรานุวาทภัย(ภัยเกิดจากการ ติเตียนของผู้อื่น) ทัณฑภัย(ภัยจากอาญา) ทุคติภัย(ภัยในทุคติ) อูมิภัย(ภัยจากคลื่น) กุมภีลภัย(ภัยจากจระเข้) อาวัฏฏภัย(ภัยจากน้ำวน) สุงสุการภัย(ภัยจากปลาร้าย) อาชีวิกภัย(ภัยจากการหาเลี้ยงชีพ) อสิโลกภัย(ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง) ปริสสายสารัชชภัย(ภัยจากความครั่นคร้ามในชุมชน) ทุคติภัย เหตุที่น่ากลัว ความ หวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า ใจหวาดเสียว ความสะดุ้ง คำว่า และไม่พึงกระสับกระส่ายในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว อธิบายว่า ภิกษุ เห็น หรือได้ยินสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว ก็ไม่พึงหวั่นไหว ไม่พึงสั่นเทา ไม่พึงกระสับกระส่าย คือ ไม่หวาดเสียว ไม่ครั่นคร้าม ไม่เกรงกลัว ไม่หวาดกลัว ไม่ถึงความสะดุ้ง ได้แก่ พึงเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี พึงเป็นผู้ละภัยและความขลาดกลัว ได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เมื่อใด ภิกษุถูกผัสสะกระทบ เมื่อนั้นเธอก็ไม่พึงทำความคร่ำครวญในที่ไหนๆ ไม่พึงคาดหวังภพ และไม่พึงกระสับกระส่าย ในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

[๑๕๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุได้ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของขบเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดีแล้ว ไม่ควรทำการสะสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นเหล่านั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง
ว่าด้วยข้าวน้ำและของขบเคี้ยว
คำว่า ข้าว ในคำว่า... ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของขบเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดี ได้แก่ ข้าวสุก ขนมกุมมาส (ขนมสด) ข้าวผง (สัตตุ) ปลา เนื้อ คำว่า น้ำ ได้แก่ น้ำปานะ ๘ อย่าง คือ ๑. น้ำมะม่วง ๒. น้ำหว้า ๓. น้ำกล้วยมีเมล็ด ๔. น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด ๕. น้ำมะซาง ๖. น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น ๗. น้ำเหง้าบัว ๘. น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่ น้ำปานะอีก ๘ อย่าง คือ ๑. น้ำสะคร้อ ๒. น้ำผลเล็บเหยี่ยว ๓. น้ำพุทรา ๔. น้ำเปรียง ๕. น้ำผสมน้ำมัน ๖. น้ำข้าวยาคู ๗. น้ำนม ๘. น้ำรส คำว่า ของขบเคี้ยว ได้แก่ ของขบเคี้ยวทำด้วยแป้ง ของขบเคี้ยวทำเป็นขนม ของขบเคี้ยวทำด้วยหัว (ราก) ของขบเคี้ยวทำด้วยเปลือกไม้ ของขบเคี้ยวทำด้วยใบไม้ ของขบเคี้ยวทำด้วยดอกไม้ ของขบเคี้ยวทำด้วยผลไม้ คำว่า ผ้า ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด คือ ๑. โขมะ (ผ้าเปลือกไม้) ๒. กัปปาสิกะ (ผ้าฝ้าย) ๓. โกเสยยะ (ผ้าไหม) ๔. กัมพละ (ผ้าขนสัตว์) ๕. สาณะ (ผ้าป่าน) ๖. ภังคะ (ผ้าที่ทำด้วยวัสดุผสมกัน) รวมความว่า ... ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของขบเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

คำว่า ได้แล้ว ในคำว่า ได้... แล้ว ไม่ควรทำการสะสม ได้แก่ ได้แล้ว คือ ได้รับแล้ว สมหวังแล้ว ประสบแล้ว ได้เฉพาะแล้ว มิใช่ด้วยการโกหก มิใช่ด้วยการ พูดเลียบเคียง มิใช่ด้วยการทำนิมิต มิใช่ด้วยการกำจัดคุณเขา มิใช่ด้วยการต่อลาภ ด้วยลาภ มิใช่ด้วยการให้ไม้ มิใช่ด้วยการให้ไม้ไผ่ มิใช่ด้วยการให้ใบไม้ มิใช่ด้วยการ ให้ดอกไม้ มิใช่ด้วยการให้ผลไม้ มิใช่ด้วยการให้น้ำอาบ มิใช่ด้วยการให้แป้งจุรณ์ มิใช่ด้วยการให้ดินสอพอง มิใช่ด้วยการให้ไม้สีฟัน มิใช่ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก มิใช่ ด้วยคำพูดมุ่งให้เขารู้จักตน มิใช่ด้วยคำพูดเหลาะแหละเหมือนแกงถั่ว มิใช่ด้วยกิริยา ประจบ มิใช่ด้วยการขัดตั่งตีสนิทเขา มิใช่ด้วยวิชาดูพื้นที่ มิใช่ด้วยเดรัจฉานวิชา มิใช่ด้วยวิชาทำนายลักษณะอวัยวะ มิใช่ด้วยวิชาดูฤกษ์ยาม มิใช่ด้วยการเดินทำ หน้าที่ทูต มิใช่ด้วยการเดินเป็นคนรับใช้ มิใช่ด้วยการเดินสื่อสาร มิใช่ด้วยเวชกรรม มิใช่ด้วยนวกรรม มิใช่ด้วยการใช้ก้อนข้าวตอบแทนก้อนข้าว มิใช่ด้วยการให้และ การเพิ่มให้ แต่ได้แล้ว คือ ได้รับแล้ว สมหวังแล้ว ประสบแล้ว ได้เฉพาะแล้ว โดย ชอบธรรม โดยยุติธรรม รวมความว่า ได้แล้ว คำว่า ไม่ควรทำการสะสม ได้แก่ ไม่ควรทำ คือ ไม่ควรให้เกิด ไม่ควรให้ เกิดขึ้น ไม่ควรให้บังเกิด ไม่ควรให้บังเกิดขึ้น ซึ่งการสะสมข้าวสุก การสะสมน้ำดื่ม การสะสมผ้า การสะสมยาน การสะสมที่นอน การสะสมของหอม การสะสมอามิส รวมความว่า ได้...แล้ว ไม่ควรทำการสะสม คำว่า เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นเหล่านั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง อธิบายว่า ภิกษุไม่พึง หวาดเสียว ไม่พึงครั่นคร้าม ไม่พึงเกรงกลัว ไม่พึงหวาดกลัว ไม่พึงถึงความสะดุ้ง กลัวว่า เราไม่ได้ข้าวสุก ไม่ได้น้ำดื่ม ไม่ได้ผ้า ไม่ได้ตระกูล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้ผู้พยาบาลเวลาเจ็บป่วย ไม่เป็นผู้มีชื่อเสียง ปรากฏ คือ พึงเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี พึงเป็นผู้ละภัยและ ความขลาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้าอยู่ รวมความว่า เมื่อไม่ได้ข้าว เป็นต้นเหล่านั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ภิกษุได้ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของขบเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดีแล้ว ไม่ควรทำการสะสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นเหล่านั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง [๑๖๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท และพึงอยู่ในที่นั่งที่นอนที่มีเสียงน้อย
ว่าด้วยผู้มีฌาน
คำว่า พึงเป็นผู้มีฌาน ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ ไม่สุข อธิบายว่า เป็นผู้มีฌาน ด้วยปฐมฌานบ้าง ด้วยทุติยฌานบ้าง ด้วยตติยฌาน บ้าง ด้วยจตุตถฌานบ้าง ด้วยฌานที่มีวิตกและวิจารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มี วิตกมีเพียงวิจารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มีวิตกและวิจารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่มีปีติเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มีปีติเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ สหรคตด้วยปีติบ้าง ด้วยฌานที่สหรคตด้วยความแช่มชื่นบ้าง ด้วยฌานที่สหรคต ด้วยสุขบ้าง ด้วยฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง ด้วยฌานที่เป็นสุญญตะบ้าง ด้วย ฌานที่เป็นอนิมิตตะบ้าง ด้วยฌานที่เป็นอัปปณิหิตะบ้าง ด้วยฌานที่เป็นโลกิยะบ้าง ด้วยฌานที่เป็นโลกุตตระบ้าง คือ เป็นผู้ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมี อารมณ์หนึ่งเดียว หนักในประโยชน์ของตน รวมความว่า พึงเป็นผู้มีฌาน คำว่า ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ ประกอบด้วยความ เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข จึงเป็นผู้ขวนขวายในการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีจุดหมาย แน่นอน จากอารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีกอุทยานหนึ่ง จากบ้านหนึ่งไปสู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีก นครหนึ่ง จากรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบทหนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข เป็นอย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง ภิกษุประกอบด้วยความเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุขภายในสังฆาราม มิใช่ เพราะเหตุแห่งประโยชน์ มิใช่เพราะเหตุแห่งการกระทำ แต่เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตใจ ไม่สงบ เดินจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง จากวิหารหนึ่งไปสู่อีกวิหารหนึ่ง จาก เรือนหลังคาด้านเดียวไปสู่เรือนหลังคาด้านเดียวอีกแห่งหนึ่ง จากปราสาทหนึ่งไปสู่อีก ปราสาทหนึ่ง จากเรือนโล้นหลังหนึ่งไปสู่เรือนโล้นอีกหลังหนึ่ง จากถ้ำหนึ่งไปสู่อีกถ้ำ หนึ่ง จากที่หลีกเร้นแห่งหนึ่งไปสู่ที่หลีกเร้นอีกแห่งหนึ่ง จากกุฎีหนึ่งไปสู่อีกกุฎีหนึ่ง จากเรือนยอดแห่งหนึ่งไปสู่เรือนยอดอีกแห่งหนึ่ง จากป้อมหนึ่งไปสู่อีกป้อมหนึ่ง จากปะรำหนึ่งไปสู่อีกปะรำหนึ่ง จากเรือนที่พักแห่งหนึ่งไปสู่เรือนที่พักอีกแห่งหนึ่ง จากโรงเก็บของแห่งหนึ่งไปสู่โรงเก็บของอีกแห่งหนึ่ง จากโรงฉันแห่งหนึ่งไปสู่โรงฉัน อีกแห่งหนึ่ง จากมณฑลแห่งหนึ่งไปสู่มณฑลอีกแห่งหนึ่ง จากโคนต้นไม้แห่งหนึ่งไป สู่โคนต้นไม้อีกแห่งหนึ่ง เดินไปที่ที่พวกภิกษุนั่งกันอยู่ เป็นที่ ๒ ของภิกษุ ๑ รูป เป็นที่ ๓ ของภิกษุ ๒ รูป หรือเป็นที่ ๔ ของภิกษุ ๓ รูป ในที่นั้นๆ พูดเรื่องเพ้อเจ้อมาก มายในที่นั้น คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องยาน เรื่องที่นอน เรื่องระเบียบดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมือง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่อง บุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข เป็นอย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยเรื่องผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
คำว่า ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า พึงละ บรรเทา ทำให้หมด สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข มีใจเป็น อิสระ(จากกิเลส) อยู่ คือ ประพฤติ ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังมีชีวิตให้ดำเนินไป พึงเป็นผู้พอใจในความหลีกเร้น ยินดีในความหลีกเร้น หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง๑- มีฌาน เป็นผู้ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิต มีอารมณ์หนึ่งเดียว หนักในประโยชน์ของตน รวมความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คำว่า ความคะนอง ในคำว่า พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท อธิบายว่า ความคะนองมือ ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญ ในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความคะนอง กิริยาที่คะนอง ภาวะที่คะนอง ความ เดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความคะนอง อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) เพราะทำ (๒) เพราะไม่ทำ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างไร คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราทำแต่กาย ทุจริต ไม่ทำกายสุจริต... เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต... เราทำแต่มโนทุจริต ไม่ ทำมโนสุจริต... เราทำแต่ปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต... เราทำ แต่อทินนาทาน ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน... เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร... เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจาก มุสาวาท... เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา... เราทำแต่ ผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา... เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำความงด เว้นจากสัมผัปปลาปะ... เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ... เราทำแต่พยาบาท ไม่ทำอัพยาบาท... เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ” ความคะนอง ความเดือด ร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง ในที่นี้หมายถึง ภิกษุเรียนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้วเข้าไป @ยังเรือนว่าง นั่งอยู่ตลอดคืนและวัน (ขุ.ม.อ. ๑๖๐/๔๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เรามิได้ รักษาศีลให้บริบูรณ์... ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖... ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค อาหาร... ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ... ไม่หมั่นประกอบ สติสัมปชัญญะ... ไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔... ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔... ไม่เจริญ อิทธิบาท ๔... ไม่เจริญอินทรีย์ ๕... ไม่เจริญพละ ๕... ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗... ไม่ เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘... ไม่กำหนดรู้ทุกข์... ไม่ละสมุทัย... ไม่เจริญมรรค” ความ คะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราไม่ทำนิโรธให้ประจักษ์แจ้ง” คำว่า พึงเว้นจากความคะนอง อธิบายว่า พึงงดเว้น เว้นขาดจากความ คะนอง คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความคะนอง ได้แก่ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความคะนอง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า พึงเว้นจากความคะนอง
ว่าด้วยความไม่ประมาท
คำว่า ไม่พึงประมาท อธิบายว่า พึงเป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ละความพอใจ ไม่ทอดธุระ ชื่อว่าไม่ประมาทใน กุศลธรรมทั้งหลาย คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงทำ สีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาสีลขันธ์ ที่บริบูรณ์ในข้อนั้นๆ โดยอุบายอย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย... ว่า “เราพึงทำสมาธิขันธ์... ปัญญาขันธ์... วิมุตติขันธ์... วิมุตติ- ญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ โดยอุบายอย่างไร”... คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังมิได้กำหนดรู้ พึงละ กิเลสที่ยังมิได้ละ พึงเจริญมรรคที่ยังมิได้เจริญ หรือพึงทำให้แจ้งนิโรธที่ยังมิได้ทำ ให้แจ้ง โดยอุบายอย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

คำว่า และ ในคำว่า และ...พึงอยู่ในที่นั่ง ที่นอนที่มีเสียงน้อย เป็นคำ เชื่อมบท... ที่เป็นที่นั่งของภิกษุ ตรัสเรียกว่า ที่นั่ง ได้แก่ เตียง ตั่ง เบาะ เสื่อ แผ่นหนัง เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้า เครื่องปูลาดทำด้วยใบไม้ เครื่องปูลาดทำด้วยฟาง เสนาสนะ ตรัสเรียกว่า ที่นอน ได้แก่ วิหาร เรือนหลังคาด้านเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ รวมความว่า ในที่นั่ง ที่นอน คำว่า ภิกษุ... พึงอยู่... ที่มีเสียงน้อย อธิบายว่า ภิกษุพึงเที่ยวไป พึงอยู่ คือ เคลื่อนไหว เป็นไป รักษาชีวิต เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปในเสนาสนะ ที่มีเสียงน้อย คือ มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น รวมความว่า ภิกษุ... และพึงอยู่ ในที่นั่ง ที่นอนที่มีเสียงน้อย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท และพึงอยู่ในที่นั่งที่นอนที่มีเสียงน้อย [๑๖๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุไม่พึงหลับมาก มีความเพียรเครื่องเผากิเลส พึงประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความหลอกลวง เรื่องชวนหัว การเล่น เมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง
ว่าด้วยเรื่องการแบ่งเวลา
คำว่า ภิกษุไม่พึงหลับมาก อธิบายว่า พึงแบ่งกลางคืนและกลางวันออก เป็น ๖ ส่วน ตื่นเสีย ๕ ส่วน นอนหลับเสีย ๑ ส่วน รวมความว่า ภิกษุไม่พึง หลับมาก คำว่า มีความเพียรเครื่องเผากิเลส พึงประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วย การเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน คือ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้น ด้วยการจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

(สีหไสยาสน์) โดยตะแคงด้านขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนด เวลาตื่นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้วชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม เครื่องกางกั้นด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี คำว่า พึงประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ได้แก่ พึงประกอบ คือ ประกอบ ด้วยดี เสพ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะความเพียรเครื่องตื่นอยู่ รวมความว่า พึงประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ คำว่า มีความเพียรเครื่องเผากิเลส อธิบายว่า ความเพียร ตรัสเรียกว่า ความเพียรเครื่องเผากิเลส คือ การปรารภความเพียร การก้าวออก การก้าวไป ข้างหน้า การย่างขึ้นไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมั่นคง ความทรงไว้ ความบากบั่นไม่ย่อหย่อน ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคองธุระไว้ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันเป็นไปทางใจ ภิกษุผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยความเพียรเครื่องเผากิเลส นี้ตรัสเรียกว่า ผู้มีความเพียรเครื่อง เผากิเลส รวมความว่า มีความเพียรเครื่องเผากิเลส พึงประกอบความเพียรเครื่อง ตื่นอยู่
ว่าด้วยความเกียจคร้าน
คำว่า ความเกียจคร้าน ในคำว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความ หลอกลวง เรื่องชวนหัว การเล่น เมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง ได้แก่ ความเกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน ภาวะที่เกียจคร้าน ความเป็นผู้มีใจเกียจคร้าน ความขี้เกียจ กิริยาที่ขี้เกียจ ภาวะที่ขี้เกียจ นี้ตรัสเรียกว่า ความเกียจคร้าน คำว่า ความหลอกลวง อธิบายว่า ความประพฤติหลอกลวง ตรัสเรียกว่า ความหลอกลวง คนบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ แล้วตั้งความปรารถนา ชั่วทราม เพราะการปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือปรารถนาว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย” ดำริว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย” กล่าววาจาด้วยคิดว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย” พยายามทางกายด้วยคิดว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ความหลอกลวง ความเป็นผู้มีความหลอกลวง ความเสแสร้ง ความลวง ความล่อลวง การปิดบัง การหลบเลี่ยง การหลีกเลี่ยง การซ่อน การซ่อนเร้น การปิด การปกปิด การไม่เปิดเผย การไม่ทำให้แจ่มแจ้ง การปิดสนิท การทำ ความชั่วเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความหลอกลวง คำว่า เรื่องชวนหัว อธิบายว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ หัวเราะเกินประมาณ หัวเราะจนเห็นฟัน สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ในวินัยของพระอริยะ การ หัวเราะเกินประมาณ หัวเราะจนเห็นฟัน นี้เป็นกิริยาของเด็ก”
ว่าด้วยการเล่น ๒ อย่าง
คำว่า การเล่น ได้แก่ การเล่น ๒ อย่าง คือ ๑. การเล่นทางกาย ๒. การเล่นทางวาจา การเล่นทางกาย เป็นอย่างไร คือ คนย่อมเล่นกีฬาบังคับช้างบ้าง เล่นกีฬาบังคับม้าบ้าง เล่นรถ เล่นธนู เล่น หมากรุกแถวละ ๘ ตา หรือเล่นหมากแถวละ ๑๐ ตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่น หมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ เล่นสะกา เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถเล็กๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถเล็กๆ เล่นธนูเล็กๆ เล่นเขียนทราย เล่นทายใจ เล่นล้อเลียนคนพิการ นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย การเล่นทางวาจา เป็นอย่างไร คือ การทำเสียงกลองด้วยปาก ทำเสียงพิณพาทย์ด้วยปาก เล่นรัวกลองด้วย ปาก ผิวปาก กะเดาะปาก เป่าปาก ซ้อมเพลง โห่ร้อง ขับร้อง เล่นตลก นี้ชื่อว่าการ เล่นทางวาจา ธรรมเนียมของอสัตบุรุษ คือ ธรรมเนียมของชาวบ้าน ธรรมเนียมชั้นต่ำ ธรรมเนียมที่เลวทราม ธรรมเนียมที่มีน้ำเป็นที่สุด ธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันในที่ลับ ธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติกันเป็นคู่ๆ ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม เพราะธรรมนั้นเป็นธรรมเนียมของคนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม กลัดกลุ้มด้วยราคะ ถูกราคะครอบงำจิตเสมอกันทั้ง ๒ คน เพราะเหตุนั้น จึงตรัส เรียกว่า เมถุนธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

คน ๒ คนก่อการทะเลาะกัน... คน ๒ คนก่อการบาดหมางกัน... คน ๒ คนก่อ เรื่องอื้อฉาวกัน... คน ๒ คนก่อการวิวาทกัน... คน ๒ คนก่ออธิกรณ์กัน... คน ๒ คนสนทนากัน... คน ๒ คนเจรจากัน เรียกว่า คู่เจรจา ฉันใด ธรรมนั้นเป็น ธรรมเนียมของคนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม กลัดกลุ้มด้วยราคะ ถูกราคะครอบงำจิตเสมอกันทั้ง ๒ คน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม
ว่าด้วยการประดับตกแต่ง ๒ อย่าง
คำว่า การประดับตกแต่ง ได้แก่ การประดับตกแต่ง ๒ อย่าง คือ ๑. การประดับตกแต่งของคฤหัสถ์ ๒. การประดับตกแต่งของบรรพชิต การประดับตกแต่งของคฤหัสถ์ เป็นอย่างไร คือ การแต่งผม การแต่งหนวด การทัดดอกไม้ การประพรมเครื่องหอม การย้อมผิว การใช้เครื่องประดับ การใช้เครื่องแต่งตัว การนุ่งผ้าสวยงาม การประดับข้อมือ การโพกผ้าโพกศีรษะ การอบตัว การนวดตัว การอาบน้ำ การดัดตัว การส่องกระจก การทาเปลือกตา การสวมพวงดอกไม้ การทาปาก การเจิมหน้า การผูกข้อมือ การ เกล้าผม การใช้ไม้เท้า การใช้ทะนาน การใช้พระขรรค์ การใช้ร่ม การสวมรองเท้า สวยงาม การติดกรอบหน้า การปักปิ่น การใช้พัด การนุ่งผ้าขาว การนุ่งผ้าชายยาว นี้ชื่อว่าการประดับตกแต่งของคฤหัสถ์ การประดับตกแต่งของบรรพชิต เป็นอย่างไร คือ การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตร การตกแต่งเสนาสนะ การตกแต่ง การ ประดับประดา การเล่นสนุกในการประดับ ความเพลิดเพลินในการประดับ ความ ปรารถนาการประดับ ความเป็นผู้ปรารถนาการประดับ กิริยาที่ประดับ ความเป็น กิริยาที่ประดับร่างกายอันเน่าเปื่อยนี้ หรือบริขารอันเป็นภายนอก นี้ชื่อว่าการ ประดับตกแต่งของบรรพชิต คำว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความหลอกลวง เรื่องชวนหัว การเล่น เมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง อธิบายว่า พึงละเว้น คือ บรรเทา ทำให้ หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเกียจคร้าน ความหลอกลวง เรื่องชวนหัว การเล่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

และเมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง คือ พร้อมทั้งบริวาร พร้อมทั้งบริภัณฑ์ พร้อมทั้งบริขาร รวมความว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความ หลอกลวง เรื่องชวนหัว การเล่น เมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุไม่พึงหลับมาก มีความเพียรเครื่องเผากิเลส พึงประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความหลอกลวง เรื่องชวนหัว การเล่น เมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง [๑๖๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ผู้นับถือพระรัตนตรัย ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทำนายลักษณะ หรือแม้การดูฤกษ์ยาม ไม่พึงเรียนการทำนายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการบำบัดรักษาโรค
ว่าด้วยการทำอาถรรพณ์
คำว่า ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์๑- การทำนายฝัน การทำนายลักษณะ หรือแม้การดูฤกษ์ยาม อธิบายว่า นักทำอาถรรพณ์ย่อมพากันประกอบอาถรรพณ์ เมื่อนครถูกล้อม หรือเมื่อสงครามตั้งประชิดกัน ก็ทำให้เสนียดจัญไรเกิดขึ้น ทำให้ อันตรายเกิดขึ้น ทำให้โรคเกิดขึ้น ทำให้มีอาการจุกเสียด ทำให้มีอาการลงราก ทำให้มีอาการเซื่องซึม ทำให้เกิดโรคบิดในหมู่คนที่เป็นข้าศึก เป็นศัตรูกัน นักทำ อาถรรพณ์พากันประกอบอาถรรพณ์อย่างนี้
ว่าด้วยการทำนายฝัน
พวกนักทำนายฝัน ย่อมทำนายฝันว่า “คนฝันเวลาเช้าจะมีผลอย่างนี้ คนฝัน เวลาเที่ยงจะมีผลอย่างนี้ คนฝันเวลาเย็นจะมีผลอย่างนี้ คนฝันเวลาปฐมยาม... ฝัน เวลามัชฌิมยาม... ฝันเวลาปัจฉิมยาม... คนนอนตะแคงขวาฝัน... คนนอนตะแคง @เชิงอรรถ : @ อาถรรพณ์ หมายถึงคาถาอาคมทางไสยศาสตร์ หรือเวทมนตร์ที่ใช้เพื่อให้ดีหรือร้าย เป็นคัมภีร์อีกเล่ม @หนึ่งในคัมภีร์พระเวท (ขุ.ม.อ. ๑๖๒/๔๑๗) ดูเชิงอรรถข้อ ๑๒๕/๓๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ซ้ายฝัน... คนนอนหงายฝัน... คนนอนคว่ำฝัน... คนฝันเห็นดวงจันทร์... คนฝันเห็น ดวงอาทิตย์... คนฝันเห็นมหาสมุทร... คนฝันเห็นขุนเขาสิเนรุ... คนฝันเห็นช้าง... คนฝันเห็นม้า... คนฝันเห็นรถ... คนฝันเห็นพลเดินเท้า... คนฝันเห็นกระบวนทัพ... คนฝันเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์... คนฝันเห็นป่าที่น่ารื่นรมย์... คนฝันเห็นพื้นที่ที่น่ารื่นรมย์... คนฝันเห็นสระน้ำที่น่ารื่นรมย์ จะมีผลอย่างนี้” พวกนักทำนายฝันย่อมทำนายฝัน อย่างนี้
ว่าด้วยการทำนายลักษณะ
พวกนักทำนายลักษณะ ย่อมทำนายลักษณะ คือ ลักษณะแก้วมณี ลักษณะ ไม้พลอง ลักษณะผ้า ลักษณะดาบ ลักษณะศร ลักษณะธนู ลักษณะอาวุธ ลักษณะ สตรี ลักษณะบุรุษ ลักษณะเด็กหญิง ลักษณะเด็กชาย ลักษณะทาสหญิง ลักษณะ ทาสชาย ลักษณะช้าง ลักษณะม้า ลักษณะกระบือ ลักษณะโคอุสภะ ลักษณะโคสามัญ ลักษณะแพะ ลักษณะแกะ ลักษณะไก่ ลักษณะนกกระทา ลักษณะเหี้ย ลักษณะตุ้มหู ลักษณะเต่า ลักษณะมฤค พวกนักทำนายลักษณะย่อมทำนายลักษณะอย่างนี้
ว่าด้วยการดูฤกษ์ยาม
พวกนักทำนายฤกษ์ยาม ย่อมทำนายฤกษ์ยามว่า ฤกษ์มี ๒๘ ฤกษ์๑- ควรทำ งานมงคลขึ้นบ้านใหม่โดยฤกษ์นี้ ควรทำงานมงคลผูกเครื่องประดับโดยฤกษ์นี้ ควร ทำงานมงคลแต่งงานโดยฤกษ์นี้ ควรทำงานมงคลปลูกพืชโดยฤกษ์นี้ ควรทำงาน มงคลครองเรือนโดยฤกษ์นี้ พวกนักทำนายฤกษ์ยาม ย่อมทำนายฤกษ์ยามอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ฤกษ์ ๒๘ เป็นชื่อฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ จะประกอบอะไรก็ตาม @จะต้องมีเรื่องฤกษ์ยามเข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ทุกอย่างจะขาดเรื่องฤกษ์ยามไปมิได้ แม้ฤกษ์ @ยามตามที่ปรากฏนี้ ก็เกี่ยวข้องกับฤกษ์ยามการเกิดจนถึงตาย และพิธีกรรมทุกอย่าง อันเป็นความเชื่อ @ในทางศาสนาพราหมณ์ เช่น หญิงชายใดเกิดมาในขณะพระจันทร์เสวยอัสวนีฤกษ์ จะเป็นคนมีปัญญารู้ @ศิลปศาสตร์มาก เป็นต้น ฤกษ์ ๒๘ ได้แก่ @(๑) อัสวนี ดาวม้า มี ๗ ดวง รูปเหมือนม้า @(๒) ภรณี ดาวแม่ไก่ รูปสามเส้า @(๓) กัตติกา ดาวลูกไก่ มี ๘ ดวง มีรูปเหมือนฝูงไก่ @(๔) โรหิณี ดาวจมูกม้า มี ๗ ดวง รูปเหมือนไม้ค้ำเกวียน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทำนายลักษณะ หรือแม้การดูฤกษ์ยาม อธิบายว่า ไม่พึงประกอบ คือ ไม่พึงประพฤติ ไม่พึง ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงสมาทานประพฤติ การทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทำนายลักษณะ หรือแม้การดูฤกษ์ยาม อีกนัยหนึ่ง ไม่ควรเรียน ไม่ควรท่อง ไม่ควรทรงจำ ไม่ควรเข้าไปทรงจำ ไม่ควรเข้าไปกำหนด ไม่ควรประกอบการทำอาถรรพณ์ เป็นต้น รวมความว่า ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทำนายลักษณะ หรือแม้การดู ฤกษ์ยาม @เชิงอรรถ : @(๕) มิคสิระ ดาวหัวเนื้อ มี ๓ ดวง รูปเหมือนหัวเนื้อ @(๖) อัททา ดาวฉัตร รูปเหมือนแก้วปัทมราช @(๗) ปุนัพสุ ดาวสำเภา มี ๓ ดวง รูปเหมือนสำเภา @(๘) ปุสยะ ดาวปุยฝ้าย มี ๕ ดวง รูปเหมือนรูปหีบ @(๙) อิสิเลสะ ดาวพ้อม มี ๕ ดวง รูปเหมือนคู้ข้อศอก @(๑๐) มาฆะ ดาววานร-ไถ มีรูปเหมือนงอนไถ @(๑๑) ปุพพผัคคุณี ดาวเพดานหน้า มีรูปเหมือนเพดาน @(๑๒) อุตตผัคคุณี ดาวเพดานหลัง มีรูปเหมือนดาวเพดานเรียงกัน @(๑๓) หัตถะ ดาวฝ่ามือ มี ๕ ดวง มีรูปเหมือนเหนียงสัตว์และฝ่ามือ @(๑๔) จิตตะ ดาวตาจระเข้ มีรูป มีวรรณเหมือนแก้วไพฑูรย์ @(๑๕) สาติ ดาวช้างพัง มีรูปเหมือนเหนียงผูกคอสุนัข @(๑๖) วิสาขา ดาวเขากระบือ-แขนนาง มีรูปเหมือนแขนนาง @(๑๗) อนุราธะ ดาวหมี-หน้าไม้ มี ๔ ดวง มีรูปเป็นเหมือนหน้าไม้ @(๑๘) เชฏฐา ดาวแพะ-ช้างใหญ่ มีรูปคดๆ @(๑๙) มูละ ดาวช้างน้อย มี ๙ ดวง มีรูปเหมือนช้างน้อย @(๒๐) ปุพพาสาฬหะ ดาวแรดตัวผู้ มี ๓ ดวง เป็นเหมือนปากนก @(๒๑) อุตตราสาฬหะ ดาวแรดตัวเมีย มี ๕ ดวง เป็นเหมือนรูปครุฑ @(๒๒) สาวนะ ดาวคนจำศีล มี ๓ ดวง เป็นเหมือนหลักชัย @(๒๓) ธนิฏฐะ ดาวกา มี ๔ ดวง เป็นเหมือนรูปไซ @(๒๔) สตภิสกะ ดาวมังกร มี ๔ ดวง เป็นเหมือนรูปหางพิมพ์ทอง @(๒๕) ปุพพาภัททะ ดาวราชสีห์ตัวผู้ มี ๒ ดวง มีรูปเหมือนเพดาน @(๒๖) อุตตราภัททะ ดาวราชสีห์ตัวเมีย มี ๒ ดวง มีรูปเหมือนเพดาน @(๒๗) เรวตี ดาวปลาตะเพียน มี ๓๖ ดวง มีรูปเหมือนรูปไซและปลาตะเพียน @(๒๘) ฤกษ์พานาที ระยะเวลาที่เป็นฤกษ์ (เทพ สาริกบุตร. พระคัมภีร์ฤกษ์, โรงพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, @กรุงเทพฯ, พ.ศ.๒๐๕๓, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

คำว่า ผู้นับถือพระรัตนตรัย... ไม่พึงเรียนการทำนายเสียงสัตว์ร้อง การ ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการบำบัดรักษาโรค อธิบายว่า เสียงเนื้อ(มฤค) และเสียง นกร้อง ตรัสเรียกว่า เสียงสัตว์ร้อง พวกนักทำนายเสียงเนื้อและเสียงนกร้องย่อม ทำนายเสียงเนื้อและเสียงนกร้อง คือ รู้จักเสียงร้อง เสียงเจรจากันของพวกนก หรือ พวกสัตว์ ๔ เท้า พวกนักทำนายเสียงเนื้อและเสียงนกร้องย่อมทำนายเสียงเนื้อและ เสียงนกร้องอย่างนี้ พวกคนปรุงยาให้ตั้งครรภ์ได้ ก็ทำให้ตั้งครรภ์ขึ้น ครรภ์ย่อมตั้ง อยู่ไม่ได้ เพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) เพราะเชื้อโรค (๒) เพราะลมกำเริบ พวกคน ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ย่อมให้ยาเพื่อกำจัดเชื้อโรค หรือบำบัดลมกำเริบ พวกคนปรุงยา ให้ตั้งครรภ์ได้ ก็ทำให้ตั้งครรภ์ขึ้นอย่างนี้
ว่าด้วยการบำบัดรักษาโรค
คำว่า การบำบัดรักษาโรค ได้แก่ การบำบัดรักษาโรค ๕ อย่าง คือ ๑. การรักษาด้วยการเสกเป่า ๒. การรักษาด้วยการผ่าตัด ๓. การรักษาทางยา ๔. การรักษาทางภูติผี ๕. การรักษาโรคเด็ก (กุมารเวช) คำว่า ผู้นับถือพระรัตนตรัย ได้แก่ ผู้นับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ผู้นั้นนับถือพระผู้มีพระภาคว่าของเรา พระผู้มีพระภาคก็ทรงรับรองบุคคลนั้น สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้คดโกง แข็งกระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่มั่นคง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้น มิใช่ผู้นับถือเรา เป็นผู้ไปจากธรรมวินัยนี้แล้ว และภิกษุเหล่านั้นจะไม่ถึง ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ส่วนภิกษุเหล่าใด ไม่คดโกง ไม่พูด พล่อย เป็นนักปราชญ์ ไม่แข็งกระด้าง มีจิตมั่นคง ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้นับถือเรา เป็นผู้ไม่ไปจากธรรมวินัยนี้ และภิกษุเหล่านั้นจะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้” (พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ภิกษุทั้งหลาย ผู้คดโกง แข็งกระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่มั่นคง ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแล้ว (ส่วน)ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดพล่อย เป็นนักปราชญ์ ไม่แข็งกระด้าง มีจิตมั่นคง ย่อมงอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแล้ว๑- คำว่า ผู้นับถือพระรัตนตรัย... ไม่พึงเรียนการทำนายเสียงสัตว์ร้อง การ ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการบำบัดรักษาโรค อธิบายว่า ผู้นับถือพระรัตนตรัย ไม่พึง เรียน คือ ไม่พึงเล่าเรียน ไม่พึงเสพพร้อม ไม่พึงเสพเฉพาะ ไม่พึงประพฤติ ไม่พึง ประพฤติเอื้อเฟื้อ ไม่พึงสมาทานประพฤติการทำนายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้ง ครรภ์ และการบำบัดรักษาโรค อีกนัยหนึ่ง ไม่ควรเรียน ไม่ควรท่อง ไม่ควรทรงจำ ไม่ควรเข้าไปทรงจำ ไม่ควร เข้าไปกำหนด ไม่ควรประกอบการทำนายเสียงสัตว์ร้องเป็นต้น รวมความว่า ผู้นับถือพระรัตนตรัย... ไม่พึงเรียนการทำนายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการบำบัดรักษาโรค ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้นับถือพระรัตนตรัย ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทำนายลักษณะ หรือแม้การดูฤกษ์ยาม ไม่พึงเรียนการทำนายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการบำบัดรักษาโรค [๑๖๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวเพราะการนินทา ได้รับการสรรเสริญแล้วก็ไม่พึงลำพองตน พึงบรรเทาความโลภพร้อมทั้งความตระหนี่ ความโกรธและวาจาส่อเสียด @เชิงอรรถ : @ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๒๖/๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ
คำว่า ไม่พึงหวั่นไหวเพราะการนินทา อธิบายว่า คนบางพวกในโลกนี้ พากันนินทา คือ ติเตียน ว่าร้ายภิกษุ ด้วยชาติบ้าง ด้วยโคตรบ้าง ด้วยความเป็น บุตรของผู้มีตระกูลบ้าง ด้วยความเป็นคนมีรูปงามบ้าง ด้วยทรัพย์บ้าง ด้วยการ ศึกษาบ้าง ด้วยหน้าที่การงานบ้าง ด้วยหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง ด้วยวิทยฐานะบ้าง ด้วยความคงแก่เรียนบ้าง ด้วยปฏิภาณบ้าง ด้วยสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ภิกษุผู้ถูกนินทา ติเตียน ว่าร้ายแล้ว ก็ไม่พึงหวั่นไหว ไม่พึงสั่นเทา ไม่พึงกระสับ กระส่าย ไม่พึงหวาดเสียว ไม่พึงครั่นคร้าม ไม่พึงเกรงกลัว ไม่พึงหวาดกลัว ไม่พึง ถึงความสะดุ้งกลัว คือ ไม่พึงขลาด ไม่พึงหวาดเสียว ไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึงหนีไป เพราะการนินทา เพราะการติเตียน เพราะการว่าร้าย เพราะความเสื่อมเสียเกียรติ เพราะถูกกล่าวโทษ พึงเป็นผู้ละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพอง สยองเกล้าอยู่ รวมความว่า ไม่พึงหวั่นไหวเพราะการนินทา คำว่า ภิกษุ... ได้รับการสรรเสริญแล้วก็ไม่พึงลำพองตน อธิบายว่า คนบาง พวกในโลกนี้พากันสรรเสริญ คือ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณภิกษุ ด้วยชาติบ้าง... ด้วยสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ภิกษุได้รับการสรรเสริญ คือ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณแล้วก็ไม่พึงทำความ ลำพองตน คือ ไม่พึงทำความเย่อหยิ่ง ไม่พึงทำความถือตัว ไม่พึงทำความหัวดื้อ ไม่ พึงให้เกิดความถือตัว ไม่พึงเป็นคนจองหอง ปั้นปึ่ง หัวสูง เพราะการสรรเสริญ การ ชมเชย การยกย่อง การพรรณนาคุณนั้น รวมความว่า ภิกษุ... ได้รับการสรรเสริญ แล้วก็ไม่พึงลำพองตน คำว่า ความโลภ ในคำว่า พึงบรรเทาความโลภพร้อมทั้งความตระหนี่ ความโกรธและวาจาส่อเสียด ได้แก่ ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความ กำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ภาวะที่กำหนัดนัก อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ (๑) อาวาสมัจฉริยะ... ความยึดถือ ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

คำว่า ความโกรธ ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต คำว่า วาจาส่อเสียด ได้แก่ คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ฟังจาก ข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไปบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ด้วยวิธีนี้ ก็ทำคนที่สามัคคีให้แตกแยก หรือ สนับสนุนผู้ที่ แตกแยกกันแล้ว ชอบการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยินดีการแบ่งพวกแบ่งเหล่า สนุกกับ การแบ่งพวกแบ่งเหล่า พูดแต่เรื่องก่อให้เกิดการแบ่งพวกแบ่งเหล่า นี้ตรัสเรียกว่า วาจาส่อเสียด อีกนัยหนึ่ง บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) ด้วย ประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก (๒) ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างไร คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รักด้วยคิดว่า “เราจักเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่คุ้นเคย เป็นที่สนิทสนม เป็นที่ดีใจของผู้นี้” บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างนี้ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างไร คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยคิดว่า “ทำอย่างไร ชนเหล่านี้ พึง เป็นคนแปลกแยก แตกต่าง เป็นพรรคเป็นเหล่า เป็น ๒ พวก เป็น ๒ ฝัก ๒ ฝ่าย แตกแยก ไม่ปรองดองกัน อยู่ลำบาก ไม่สบาย” บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไป ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างนี้ คำว่า พึงบรรเทาความโลภพร้อมทั้งความตระหนี่ ความโกรธและวาจา ส่อเสียด อธิบายว่า พึงทุเลา พึงบรรเทา คือ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง ความไม่มีอีกซึ่งความโลภ ความตระหนี่ ความโกรธ และวาจาส่อเสียด รวมความว่า พึงบรรเทาความโลภพร้อมทั้งความตระหนี่ ความโกรธและวาจาส่อเสียด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวเพราะการนินทา ได้รับการสรรเสริญแล้วก็ไม่พึงลำพองตน พึงบรรเทาความโลภพร้อมทั้งความตระหนี่ ความโกรธและวาจาส่อเสียด [๑๖๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุไม่พึงดำรงชีวิตในการซื้อขาย ไม่พึงก่อกิเลสเป็นเหตุว่าร้ายในที่ไหนๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน และไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคน เพราะอยากได้ลาภ คำว่า ไม่พึงดำรงชีวิตในการซื้อขาย อธิบายว่า การซื้อขายที่ทรงห้ามไว้ ในวินัย ไม่ทรงประสงค์เอาในเนื้อความนี้ ภิกษุดำรงชีวิตในการซื้อขาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุเมื่อทำความล่อลวง หรือปรารถนากำไร แลกเปลี่ยนบาตร จีวร หรือบริขารอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งกับสหธรรมิก ๑ จำพวก ภิกษุชื่อว่าดำรงชีวิตในการ ซื้อขาย เป็นอย่างนี้ ภิกษุไม่ดำรงชีวิตในการซื้อขาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุเมื่อไม่ทำความล่อลวง หรือ ไม่ปรารถนากำไร ไม่แลกเปลี่ยนบาตร จีวร หรือบริขารอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งกับสหธรรมิก ๕ จำพวก๑- ภิกษุชื่อว่าไม่ดำรงชีวิตใน การซื้อขาย เป็นอย่างนี้ คำว่า ไม่พึงดำรงชีวิตในการซื้อขาย อธิบายว่า ไม่พึงดำรงชีวิต คือ ไม่พึง ดำรงตนในการซื้อขาย ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งการซื้อขาย พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้นไม่เกี่ยวข้อง กับการซื้อขาย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่พึงดำรงชีวิตในการ ซื้อขาย @เชิงอรรถ : @ สหธรรมิก ๕ ได้แก่ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี (ขุ.ม.อ. ๑๖๔/๔๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยกิเลส
คำว่า ภิกษุ... ไม่พึงก่อกิเลสเป็นเหตุว่าร้ายในที่ไหนๆ อธิบายว่า กิเลส เป็นเหตุก่อการว่าร้าย เป็นอย่างไร สมณพราหมณ์บางพวก มีฤทธิ์ มีทิพพจักขุ รู้ใจคนอื่น สมณพราหมณ์เหล่านั้น เห็น (รูป) ได้แต่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ก็ไม่ปรากฏ (แก่ผู้อื่น) บ้าง รู้ใจ(ผู้อื่น) ด้วยใจ(ตน) บ้าง เทวดา ผู้มีฤทธิ์ มีทิพพจักขุ รู้ใจคนอื่น เทวดาเหล่านั้น เห็น (รูป) ได้แต่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ก็ไม่ปรากฏ(แก่ผู้อื่น)บ้าง รู้ใจ(ผู้อื่น)ด้วยใจ(ตน)บ้าง ชนทั้งหลาย พึงว่าร้าย สมณพราหมณ์ และเทวดาทั้งหลายนั้นด้วยกิเลสอย่างหยาบบ้าง ด้วยกิเลสอย่าง กลางบ้าง ด้วยกิเลสอย่างละเอียดบ้าง กิเลสอย่างหยาบ เป็นอย่างไร คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เหล่านี้เรียกว่า กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง เป็นอย่างไร คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เหล่านี้เรียกว่า กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด เป็นอย่างไร คือ ความตรึกถึงญาติ ความตรึกถึงชนบท ความตรึกเพื่อความเป็นผู้ไม่ตาย ความตรึกที่ประกอบด้วยความเอ็นดูผู้อื่น ความตรึกที่ประกอบด้วยลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ความตรึกที่ประกอบด้วยความไม่ดูหมิ่น เหล่านี้ เรียกว่า กิเลสอย่างละเอียด ภิกษุ ไม่พึงว่าร้ายสมณพราหมณ์และเทวดาเหล่านั้นด้วยกิเลสอย่างหยาบบ้าง ด้วยกิเลสอย่างกลางบ้าง ด้วยกิเลสอย่างละเอียดบ้าง ไม่พึงก่อกิเลสเป็นเหตุว่าร้าย คือ ไม่พึงก่อ ไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดขึ้น ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิดขึ้น ซึ่งกิเลส เป็นเหตุว่าร้าย ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลส เป็นเหตุว่าร้าย พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง กับกิเลสเป็นเหตุว่าร้าย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ คำว่า ในที่ไหนๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหนๆ ที่ไรๆ ภายใน ภายนอก หรือทั้งภายในและภายนอก รวมความว่า ภิกษุ... ไม่พึงก่อกิเลสเป็นเหตุว่าร้ายในที่ ไหนๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน อธิบายว่า ภิกษุเกี่ยวข้องในบ้าน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกี่ยวข้องอยู่กับพวกคฤหัสถ์ในบ้าน เพลิดเพลิน ร่วมกัน เศร้าโศกร่วมกัน เมื่อพวกเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อพวกเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อ พวกเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ลงมือช่วยเหลือด้วยตนเอง ภิกษุชื่อว่าเกี่ยวข้อง ในบ้าน เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เวลาเช้า ภิกษุนุ่งห่มแล้วถือบาตรจีวรเข้าหมู่บ้าน หรือนิคมเพื่อ บิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต ไม่ตั้งสติ ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเกี่ยวข้องในที่นั้นๆ รับในที่นั้นๆ ติดอยู่ในที่นั้นๆ ถึงความเสื่อมเสียในที่นั้นๆ ภิกษุ ชื่อว่าเกี่ยวข้องในบ้าน เป็นอย่างนี้บ้าง ภิกษุไม่เกี่ยวข้องในบ้าน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เกี่ยวข้องอยู่กับพวกคฤหัสถ์ในบ้าน ไม่เพลิดเพลิน ร่วมกัน ไม่เศร้าโศกร่วมกัน เมื่อพวกเขาสุข ก็มิได้สุขด้วย เมื่อพวกเขาทุกข์ ก็มิได้ ทุกข์ด้วย เมื่อพวกเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็มิได้ลงมือช่วยเหลือด้วยตนเอง ภิกษุ ชื่อว่าไม่เกี่ยวข้องในบ้าน เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เวลาเช้า ภิกษุนุ่งห่มแล้วถือบาตรจีวรเข้าหมู่บ้าน หรือนิคมเพื่อ บิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต ตั้งสติ สำรวมอินทรีย์ เธอไม่เกี่ยวข้อง ในที่นั้นๆ ไม่รับในที่นั้นๆ ไม่ติดอยู่ในที่นั้นๆ ไม่ถึงความเสื่อมเสียในที่นั้นๆ ภิกษุ ชื่อว่าไม่เกี่ยวข้องในบ้าน เป็นอย่างนี้บ้าง คำว่า ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน อธิบายว่า ไม่พึงเกี่ยวข้อง คือ ไม่พึงรับ ไม่พึง ติดอยู่ ไม่พึงพัวพันในบ้าน ได้แก่ พึงเป็นผู้ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่น พึงเป็นผู้คลายความยินดี ปราศจากความยินดี สลัดทิ้งความยินดีในบ้านเสียได้... มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยการพูดเลียบเคียง
คำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคนเพราะอยากได้ลาภ อธิบายว่า การพูดเลียบเคียง เป็นอย่างไร คือ การพูดหว่านล้อม พูดเลียบเคียง พูดเลียบเคียงอย่างดี การพูดยกย่อง พูดยกย่องอย่างดี การพูดผูกพัน พูดผูกพันอย่างดี การพูดอวดอ้าง พูดอวดอ้าง อย่างดี การพูดคำเป็นที่รัก ความเป็นผู้พูดมุ่งให้คนรัก ความเป็นผู้พูดเหลวไหล ความเป็นผู้พูดประจบ ความเป็นผู้พูดแคะไค้ (กัดกินเนื้อหลังของผู้อื่น) ความเป็นผู้ พูดอ่อนหวาน พูดไพเราะ พูดปลูกไมตรี เป็นผู้ไม่พูดคำหยาบแก่คนอื่น ของภิกษุ ผู้มั่นหมายลาภ สักการะ และความสรรเสริญ มีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยาก ครอบงำ เห็นแก่อามิส หนักในโลกธรรม นี้ตรัสเรียกว่า การพูดเลียบเคียง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุพูดเลียบเคียงกับคนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) เมื่อวางตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกับคน (๒) เมื่อยกตนสูง วางผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกับคน ภิกษุเมื่อวางตนต่ำยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกับคน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุกล่าวว่า พวกท่านมีอุปการะมากแก่ฉัน ฉันอาศัยพวกท่านแล้ว ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะอาศัยพวกท่าน เห็น แก่ท่าน คนเหล่าอื่นจึงสำคัญเพื่อให้ หรือเพื่อทำแก่ฉัน ชื่อเก่า ที่บิดามารดาตั้งให้ ฉันก็เลือนหายไปแล้ว ฉันมีคนรู้จักก็เพราะพวกท่านว่า เป็นพระประจำตระกูล ของอุบาสกโน้น เป็นพระประจำตระกูลของอุบาสิกาโน้น ภิกษุชื่อว่าวางตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกับคน เป็นอย่างนี้บ้าง ภิกษุเมื่อยกตนสูงวางผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกับคน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุกล่าวว่า ฉันมีอุปการะมากแก่พวกท่าน พวกท่านอาศัยฉันแล้วก็ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาด จากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจาก สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ฉันให้อุทเทส ให้ปริปุจฉาแก่พวกท่าน บอกอุโบสถ อำนวยการนวกรรมแก่พวกท่าน ก็แต่พวกท่านทอดทิ้งฉันแล้วไปสักการะ ทำความ เคารพ นับถือ บูชาผู้อื่น ภิกษุชื่อว่ายกตนสูงวางผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกับคน เป็น อย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคนเพราะอยากได้ลาภ อธิบายว่า ภิกษุมุ่ง หวังลาภ ไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคน เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งการเกิดแห่งลาภโดยเฉพาะ คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการพูดเลียบเคียง ได้แก่ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการพูดเลียบเคียง มีใจเป็น อิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคนเพราะอยากได้ลาภ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุไม่พึงดำรงชีวิตในการซื้อขาย ไม่พึงก่อกิเลสเป็นเหตุว่าร้ายในที่ไหนๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน และไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคน เพราะอยากได้ลาภ [๑๖๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุไม่พึงเป็นคนมักอวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง
ว่าด้วยผู้ไม่โอ้อวด
คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นคนมักอวด อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อวด เป็นผู้โอ้อวด เธอย่อมอวด โอ้อวดว่า “เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลบ้าง สมบูรณ์ด้วยวัตร บ้าง สมบูรณ์ด้วยศีลพรตบ้าง สมบูรณ์ด้วยชาติบ้าง สมบูรณ์ด้วยโคตรบ้าง สมบูรณ์ ด้วยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง สมบูรณ์ ด้วยทรัพย์บ้าง สมบูรณ์ด้วยการศึกษาบ้าง สมบูรณ์ด้วยหน้าที่การงานบ้าง สมบูรณ์ ด้วยหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง สมบูรณ์ด้วยวิทยฐานะบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้คง แก่เรียนบ้าง สมบูรณ์ด้วยปฏิภาณบ้าง สมบูรณ์ด้วยสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ออกบวชจากตระกูลสูงบ้าง ออกบวชจากตระกูลมีทรัพย์มากบ้าง ออกบวช จากตระกูลมีโภคสมบัติมากบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง... เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน- สมาบัติบ้าง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ภิกษุนี้ไม่พึงอวด ไม่โอ้อวดอย่างนี้ คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง ความไม่มีอีกซึ่งความโอ้อวด ได้แก่ เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับความโอ้อวด มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ภิกษุไม่ พึงเป็นคนมักอวด
ว่าด้วยการกล่าววาจามุ่งได้
คำว่า ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ อธิบายว่า วาจามุ่งได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ กล่าววาจามุ่งได้จีวร กล่าววาจามุ่งได้บิณฑบาต กล่าววาจามุ่งได้เสนาสนะ กล่าววาจามุ่งได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร นี้ตรัสเรียกว่า วาจามุ่งได้ อีกนัยหนึ่ง เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่ง เสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุก็พูดจริงบ้าง พูดเท็จบ้าง พูดส่อเสียดบ้าง พูดไม่ส่อเสียดบ้าง พูดหยาบบ้าง พูดไม่หยาบบ้าง พูดเพ้อเจ้อบ้าง พูดไม่เพ้อเจ้อบ้าง พูดด้วยปัญญาบ้าง แม้นี้ก็ตรัสเรียกว่า วาจามุ่งได้ อีกนัยหนึ่ง ภิกษุมีจิตเลื่อมใสแสดงธรรมแก่คนพวกอื่น ด้วยคิดว่า “โอหนอ ขอคนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสในธรรม และผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ก็พึงแสดงอาการเลื่อมใสเรา” นี้ก็ตรัสเรียกว่า วาจามุ่งได้ คำว่า ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ อธิบายว่า ภิกษุไม่พึงกล่าว คือ ไม่พึงพูด ไม่พึงบอก ไม่พึงแสดง ไม่พึงชี้แจงวาจามุ่งได้ โดยที่สุดจนถึงวาจาแสดงธรรม ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งวาจามุ่งได้ ได้แก่ เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับวาจามุ่งได้ มีใจเป็น อิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง
คำว่า ความเป็นผู้คะนอง ในคำว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง ได้แก่ ความคะนอง ๓ อย่าง คือ ๑. ความคะนองทางกาย ๒. ความคะนองทางวาจา ๓. ความคะนองทางใจ ความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ก็แสดงความคะนองทางกาย อยู่ในหมู่คณะ... อยู่ในศาลาโรงฉัน ... อยู่ในเรือนไฟ ... อยู่ที่ท่าน้ำ... กำลังเข้าสู่ ละแวกบ้าน... เข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว ก็แสดงความคะนองทางกาย ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ก็ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียด เสียดภิกษุเถระบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะ สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดง ความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่คณะก็ไม่ทำความยำเกรง เมื่อภิกษุ เถระไม่สวมรองเท้าเดินจงกรมอยู่ ก็สวมรองเท้าเดินจงกรม เมื่อภิกษุเถระเดิน จงกรมบนลานจงกรมต่ำ ก็เดินจงกรมบนลานจงกรมสูง เมื่อภิกษุเถระเดินจงกรม บนพื้นดินก็เดินจงกรมบนลานจงกรม ยืนเบียดเสียดบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ ภิกษุอยู่ในศาลาโรงฉันแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในศาลาโรงฉันก็ไม่ทำความยำเกรง นั่งแทรกภิกษุเถระบ้าง นั่งกีดกันอาสนะภิกษุนวกะบ้าง ยืนเบียดเสียดบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุม ศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในศาลาโรงฉัน แสดงความคะนอง ทางกาย เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในเรือนไฟไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียด เสียดภิกษุเถระบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะ สูงบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วปิดประตูบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ท่าน้ำไม่ทำความยำเกรง ลงเบียดเสียด ภิกษุเถระบ้าง ลงข้างหน้าบ้าง อาบเบียดเสียดบ้าง อาบข้างหน้าบ้าง อาบเหนือน้ำ บ้าง ขึ้นเบียดเสียดบ้าง ขึ้นข้างหน้าบ้าง ขึ้นเหนือน้ำบ้าง ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดง ความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ ภิกษุกำลังเข้าสู่ละแวกบ้านแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ กำลังเข้าสู่ละแวกบ้าน ไม่ทำความยำเกรง เดินเบียดเสียดภิกษุเถระบ้าง เดินข้างหน้าบ้าง เดินแซงขึ้นหน้าภิกษุเถระบ้าง ภิกษุกำลังเข้าสู่ละแวกบ้านแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว เมื่อเขาบอกว่า “ขออย่าเข้าไปครับท่าน” ก็ยังเข้าไป เมื่อเขาบอกว่า “อย่ายืนครับท่าน” ก็ยังยืนขึ้น เมื่อเขาบอกว่า “ขออย่านั่งครับท่าน” ก็ยังนั่งลง เข้าไปสู่ที่เป็นโอกาสไม่สมควรบ้าง ยืนในที่เป็นโอกาสไม่สมควรบ้าง นั่งในที่เป็นโอกาสไม่สมควรบ้าง ผลุนผลันเข้าไป ในห้องเล็กที่ซ่อนเร้นปกปิดของตระกูลบ้าง ในห้องที่กุลสตรี กุลธิดา สะใภ้ของ ตระกูล กุมารีของตระกูลนั่งอยู่บ้าง ลูบศีรษะเด็กเล่นบ้าง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความคะนองทางกาย ความคะนองทางวาจา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ แสดงความคะนองทางวาจาบ้าง อยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางวาจาบ้าง เข้าสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนอง ทางวาจาบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ไม่ทำความยำเกรง ไม่เรียนแจ้ง ภิกษุเถระหรือไม่ได้รับอาราธนา ก็แสดงธรรม วิสัชนาปัญหา สวดปาติโมกข์แก่ภิกษุ ที่อยู่ในอาราม ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดงความคะนอง ทางวาจา เป็นอย่างนี้ ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่คณะไม่ทำความยำเกรง ไม่เรียนแจ้ง ภิกษุเถระหรือไม่ได้รับอาราธนา ก็แสดงธรรม วิสัชนาปัญหา แก่ภิกษุที่อยู่ในอาราม ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง แสดงธรรม วิสัชนาปัญหาแก่ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่อยู่ในอาราม ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนอง ทางวาจา เป็นอย่างนี้ ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว พูดกับสตรีหรือเด็กหญิง อย่างนี้ว่า “แม่หนูชื่อนี้ นามสกุลนี้ มีอะไรบ้างล่ะ ข้าวต้มมีไหม ข้าวสวยมีไหม ของขบเคี้ยวมีบ้างไหม พวกอาตมาจักดื่มอะไร จักฉันอะไร จักเคี้ยวอะไร มีอะไรบ้าง หรือพวกเธอจักถวายอะไรแก่อาตมาบ้างล่ะ” พูดพร่ำเพ้อไป ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความคะนองทางวาจา ความคะนองทางใจ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มิใช่ออกบวชจากตระกูลสูง ก็มีจิตวางตัวเช่น เดียวกับภิกษุผู้ออกบวชจากตระกูลสูง มิใช่ออกบวชจากตระกูลที่มีโภคสมบัติมาก ... มิใช่ออกบวชจากตระกูลที่มีโภคสมบัติยิ่งใหญ่... มิใช่เป็นผู้ทรงจำพระสูตร... มิใช่ เป็นผู้ทรงจำพระวินัย... มิใช่เป็นพระธรรมกถึก... มิใช่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ... มิใช่ เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร... มิใช่เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร... มิใช่เป็นผู้ทรง ไตรจีวรเป็นวัตร... มิใช่เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร... มิใช่เป็นผู้ งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตร... มิใช่เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร... มิใช่เป็นผู้ถือการอยู่ใน เสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร... มิใช่เป็นผู้ได้ปฐมฌาน... มิใช่เป็นผู้ได้ทุติยฌาน... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

มิใช่เป็นผู้ได้ตติยฌาน... มิใช่เป็นผู้ได้จตุตถฌาน... มิใช่เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตน- สมาบัติ... มิใช่เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ... มิใช่เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตน- สมาบัติ... มิใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็มีจิตวางตัวเช่นเดียวกับ ภิกษุผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าความคะนองทางใจ คำว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง อธิบายว่า ภิกษุไม่พึงศึกษา คือ ไม่พึงประพฤติ ไม่พึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงสมาทานประพฤติความเป็นผู้คะนอง ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเป็นผู้คะนอง คือ เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้คะนอง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง คำว่า ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง อธิบายว่า ถ้อยคำแก่งแย่ง เป็นอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กระทำถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า “ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้... หรือหากท่านสามารถก็จงแก้ไขเถิด” สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “โมคคัลลานะ เมื่อมีถ้อยคำแก่งแย่ง ก็พึงหวังการต้องพูดกันมาก เมื่อมีการพูดกันมาก ก็พึงหวังความฟุ้งซ่าน คนฟุ้งซ่าน ก็มีความไม่สำรวม จิตของผู้ไม่สำรวมก็ห่างไกลจากสมาธิ”๑- คำว่า ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง อธิบายว่า ไม่พึงกล่าว คือ ไม่พึงพูด ไม่พึงบอก ไม่พึงแสดง ไม่พึงชี้แจงถ้อยคำแก่งแย่ง ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมด สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งถ้อยคำแก่งแย่ง คือ เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับถ้อยคำแก่งแย่ง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุไม่พึงเป็นคนมักอวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง [๑๖๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ เมื่อรู้ตัวก็ไม่พึงทำความโอ้อวด และไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่น ด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร @เชิงอรรถ : @ องฺ.สตฺตก. ๒๓/๖๑/๗๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยมุสาวาท
คำว่า ภิกษุไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ อธิบายว่า มุสาวาท ตรัส เรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ คนบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท... พูดเท็จทั้งที่รู้... เพราะเหตุคือ เห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ อีกนัยหนึ่ง มุสาวาท มีได้ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ ๒. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๓. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่าง... ด้วยอาการ ๕ อย่าง... ด้วยอาการ ๖ อย่าง... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๘ อย่าง คือ ๑. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ ๒. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๓. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว ๔. ปิดบังทิฏฐิ ๕. ปิดบังความพอใจ ๖. ปิดบังความชอบใจ ๗. ปิดบังความสำคัญ ๘. ปิดบังความจริง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๘ อย่างเหล่านี้ คำว่า ภิกษุไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ ได้แก่ ไม่พึงดำเนินไป ไม่พึง มุ่งมั่น คือ ไม่พึงพาไป ไม่พึงนำ(ตน) เข้าไปในความเป็นคนพูดเท็จ ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเป็นคนพูดเท็จ คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นคนพูดเท็จ มีใจ เป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ภิกษุไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

คำว่า เมื่อรู้ตัวก็ไม่พึงทำความโอ้อวด อธิบายว่า ความโอ้อวด เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนโอ้อวด มักอวดอ้าง ความโอ้อวด กิริยาที่โอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด กิริยาที่ฟุ้งเฟ้อ ความเป็นคนฟุ้งเฟ้อ กิริยาที่เห่อ ความเป็นคนเห่อ นี้ตรัสเรียกว่า ความโอ้อวด คำว่า เมื่อรู้ตัวก็ไม่พึงทำความโอ้อวด อธิบายว่า เมื่อรู้ตัวก็ไม่พึงทำความ โอ้อวด คือ ไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดขึ้น ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้ความโอ้อวด บังเกิดขึ้น ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความโอ้อวด คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความ โอ้อวด มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า เมื่อรู้ตัวก็ไม่พึงทำความโอ้อวด คำว่า และ ในคำว่า และไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร เป็นคำเชื่อมบท... คำว่า และ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลัง เข้าด้วยกัน อธิบายว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อยู่เศร้าหมอง ก็ดูหมิ่นภิกษุ อื่น ซึ่งเป็นอยู่ประณีตว่า “ทำไมภิกษุนี้จึงเป็นอยู่ฟุ่มเฟือย ฉันไปหมดทุกอย่าง คือ หัวพืช ต้นพืช ผลพืช ยอดพืช เมล็ดพืชเป็นที่ ๕ เพราะมีความเพียรของสมณะแบบ สายฟ้าแลบและพะเนินเหล็ก” ภิกษุนั้นชื่อว่าดูหมิ่นภิกษุอื่น ผู้เป็นอยู่ประณีตด้วย ความเป็นอยู่เศร้าหมองนั้น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นอยู่ประณีต ก็ดูหมิ่นภิกษุอื่น ผู้เป็นอยู่เศร้าหมองว่า “ทำไมภิกษุนี้จึงมีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- ปัจจัยเภสัชบริขารเลย” ภิกษุนั้นชื่อว่าดูหมิ่นภิกษุอื่น ผู้เป็นอยู่เศร้าหมองด้วย ความเป็นอยู่ประณีตนั้น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ สมบูรณ์ด้วยปัญญา ถูกถามก็ตอบปัญหาได้ ภิกษุ นั้นก็มีความคิดอย่างนี้ว่า “เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ มิใช่ผู้ สมบูรณ์ด้วยปัญญา” ภิกษุนั้นชื่อว่าดูหมิ่นภิกษุอื่นด้วยความสมบูรณ์ด้วยปัญญานั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สำรวมด้วยการสังวรใน ปาติโมกข์ สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร มองเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย ย่อม สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายอยู่ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราเป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยศีล ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ เป็นผู้ทุศีล เป็นผู้เลวทราม” ภิกษุนั้นชื่อว่าดูหมิ่นภิกษุ อื่นด้วยความสมบูรณ์ด้วยศีลนั้น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร คือ เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็น วัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร เป็นผู้งดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตร เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า “เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้มิใช่ผู้สมบูรณ์ ด้วยวัตร” ภิกษุนั้นชื่อว่าดูหมิ่นภิกษุอื่นด้วยความสมบูรณ์ด้วยวัตรนั้น คำว่า และไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร อธิบายว่า ไม่พึงดูหมิ่น คือ ไม่พึงดูแคลนผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่เศร้าหมอง ความ เป็นอยู่ประณีต ความสมบูรณ์ด้วยปัญญา ความสมบูรณ์ด้วยศีล หรือด้วยความ สมบูรณ์ด้วยวัตร ได้แก่ ไม่พึงให้ความถือตัวเกิดด้วยเหตุนั้น ไม่พึงเป็นคนแข็ง กระด้าง หัวสูง ด้วยเหตุนั้น รวมความว่า และไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ เมื่อรู้ตัวก็ไม่พึงทำความโอ้อวด และไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่น ด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร [๑๖๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ยินคำพูดมากของพวกสมณะ หรือพวกคนพูดมาก ไม่พึงโต้ตอบคนเหล่านั้นด้วยคำหยาบ เพราะผู้สงบย่อมไม่สร้างศัตรู {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

คำว่า ถูกประทุษร้าย ในคำว่า ภิกษุถูกประทุษร้ายได้ยินคำพูดมากของพวก สมณะหรือพวกคนพูดมาก อธิบายว่า ถูกประทุษร้าย คือ ถูกด่า ถูกเสียดสี ถูกเหยียดหยาม ถูกติเตียน ถูกว่าร้าย คำว่า ของพวกสมณะ ได้แก่ นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง ผู้เข้าถึงการบวช ยินยอมบวชในภายนอกจากศาสนานี้ คำว่า พวกคนพูดมาก ได้แก่ พวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์ คนเหล่านั้น พึงด่า บริภาษ ติเตียน สาปแช่ง เบียดเบียน ย่ำยี ทำร้าย รุกราน สั่งฆ่า เข่นฆ่า ทำการเข่นฆ่า ด้วยวาจาที่ไม่พึงปรารถนา ไม่น่ารัก ไม่น่าพอใจ มากมาย ได้ยิน คือ ได้สดับ เรียน ทรงจำ เข้าไปกำหนดวาจาที่ไม่พึงปรารถนา ไม่น่ารัก ไม่น่าพอใจมากมาย ของคนพวกนั้น รวมความว่า ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ยินคำพูดมากของพวกสมณะหรือพวกคนพูดมาก คำว่า ด้วยคำหยาบ ในคำว่า ไม่พึงโต้ตอบคนเหล่านั้นด้วยคำหยาบ อธิบายว่า ไม่พึงโต้ตอบ คือ ไม่พึงกล่าวตอบด้วยคำหยาบ ได้แก่ คำกักขฬะ คือ ไม่ พึงด่าตอบผู้ด่า ไม่พึงสาปแช่งตอบผู้สาปแช่ง ไม่พึงขัดเคืองตอบผู้ขัดเคือง ไม่พึงก่อ การทะเลาะกัน ไม่พึงก่อการบาดหมางกัน ไม่พึงก่อการแก่งแย่งกัน ไม่พึงก่อการ วิวาทกัน ไม่พึงก่อการมุ่งร้ายกัน ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มีอีกซึ่งการทะเลาะ ความขัดเคือง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย พึงเป็น ผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการทะเลาะ การ บาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาทและการมุ่งร้าย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่พึงโต้ตอบคนเหล่านั้นด้วยคำหยาบ คำว่า ผู้สงบ ในคำว่า เพราะผู้สงบย่อมไม่สร้างศัตรู อธิบายว่า ชื่อว่าผู้สงบ เพราะเป็นผู้สงบราคะ ชื่อว่าผู้สงบ เพราะสงบโทสะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ชื่อว่าผู้สงบ เพราะสงบโมหะ ชื่อว่าผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ ระงับได้แล้วเพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับโกธะ... อุปนาหะ... อกุสลาภิสังขารทุก ประเภท รวมความว่า ผู้สงบ คำว่า เพราะผู้สงบย่อมไม่สร้างศัตรู อธิบายว่า ผู้สงบย่อมไม่สร้าง คือ ไม่ให้ เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งศัตรู คือ ข้าศึก เสี้ยนหนาม ฝ่ายตรงข้าม รวมความว่า เพราะผู้สงบย่อมไม่สร้างศัตรู ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ยินคำพูดมากของพวกสมณะ หรือพวกคนพูดมาก ไม่พึงโต้ตอบคนเหล่านั้นด้วยคำหยาบ เพราะผู้สงบย่อมไม่สร้างศัตรู [๑๖๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุรู้ธรรมนี้แล้วเลือกสรรอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาทุกเมื่อ รู้ความดับกิเลสว่า เป็นความสงบแล้ว ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม คำว่า นี้ ในคำว่า รู้ธรรมนี้แล้ว ได้แก่ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศไว้แล้ว อธิบายว่า รู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งธรรม รวมความว่า รู้ธรรม นี้แล้ว อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง รู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง แล้วซึ่งธรรมทั้งที่เสมอและไม่เสมอ ทั้งที่เป็นทางและมิใช่ทาง ทั้งที่มีโทษและไม่มีโทษ ทั้งทรามและประณีต ทั้งดำและขาว ทั้งที่วิญญูชนติเตียนและที่วิญญูชนสรรเสริญ รวมความว่า รู้ธรรมนี้แล้ว อย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง รู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ซึ่งธรรม คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การ ปฏิบัติไม่คลาดเคลื่อน การปฏิบัติเอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพานและปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า รู้ธรรมนี้แล้ว อย่างนี้บ้าง คำว่า เลือกสรรอยู่ ในคำว่า ภิกษุ... เลือกสรรอยู่ พึงเป็นผู้มีสติศึกษา ทุกเมื่อ อธิบายว่า เลือกสรรอยู่ คือ เลือกเฟ้น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งอยู่ ได้แก่ เลือกสรรอยู่ คือ เลือกเฟ้น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้ กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งอยู่ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง... สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า ภิกษุ... เลือกสรรอยู่ คำว่า ทุกเมื่อ ได้แก่ ทุกเมื่อ คือ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง... ปัจฉิมวัย คำว่า เป็นผู้มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อ เจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย... ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า เป็น ผู้มีสติ คำว่า ศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา... นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา สิกขา ๓ เหล่านี้ เมื่อภิกษุนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา... ชื่อว่าพึงศึกษา คือพึง ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ รวมความว่า ภิกษุ... เลือกสรรอยู่ พึงเป็นผู้มีสติศึกษาทุกเมื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

คำว่า รู้ความดับกิเลสว่า เป็นความสงบแล้ว อธิบายว่า รู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งความดับราคะว่า เป็นความสงบ... ความดับโทสะ ... ความดับโมหะ ... ความดับอกุสลาภิสังขารทุกประเภทว่า เป็น ความสงบแล้ว รวมความว่า รู้ความดับว่า เป็นความสงบแล้ว คำว่า ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม ได้แก่ ในศาสนาของ พระโคดม คือ ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ในศาสนาของพระชินเจ้า ในศาสนาของ พระตถาคต ในศาสนาของพระผู้เป็นดุจเทพ ในศาสนาของพระอรหันต์ คำว่า ไม่พึงประมาท อธิบายว่า พึงเป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ละความพอใจ ไม่ทอดธุระ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมี เรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงทำสีลขันธ์ ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร”... ว่า “เราพึงทำสมาธิขันธ์... ปัญญาขันธ์... วิมุตติขันธ์... วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร” คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียร แรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ ยังมิได้กำหนดรู้ พึงละกิเลสที่ยังมิได้ละ พึงเจริญมรรคที่ยังมิได้เจริญ หรือพึงทำให้ แจ้งนิโรธที่ยังมิได้ทำให้แจ้งโดยอุบายอย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในกุศล ธรรมทั้งหลาย รวมความว่า ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุรู้ธรรมนี้แล้วเลือกสรรอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาทุกเมื่อ รู้ความดับกิเลสว่า เป็นความสงบแล้ว ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

[๑๖๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้) ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ได้เห็นธรรมที่เป็นพยาน ซึ่งไม่ต้องเชื่อใคร เพราะฉะนั้น เธอพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนา ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น นอบน้อมอยู่ พึงหมั่นศึกษาทุกเมื่อ คำว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ อธิบายว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ ครอบงำรูป ครอบงำเสียง ครอบงำกลิ่น ครอบงำรส ครอบงำโผฏฐัพพะ ครอบงำ ธรรมารมณ์ ไม่ถูกกิเลสไรๆ ครอบงำเลย ภิกษุพึงเป็นผู้ครอบงำบาปอกุศลธรรม เหล่านั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป รวมความว่า ภิกษุนั้นเป็น ผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ คำว่า ธรรมที่เป็นพยาน ในคำว่า ได้เห็นธรรมที่เป็นพยาน ซึ่งไม่ต้อง เชื่อใคร อธิบายว่า ได้เห็น คือ ได้แลเห็น ได้ ได้แทงตลอดธรรมที่ประจักษ์แก่ตน ธรรมที่รู้ด้วยตนเอง มิใช่โดยอาการเชื่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยการเล่าลือ มิใช่โดยการถือสืบๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรก มิใช่โดยการอนุมาน มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับ ทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รวมความว่า ได้เห็นธรรมที่เป็นพยาน ซึ่งไม่ต้องเชื่อใคร คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น... ในศาสนาของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น คำว่า ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น อธิบายว่า ในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น คือ ในศาสนาของพระโคดม ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ในศาสนาของพระชินเจ้า ในศาสนาของพระตถาคต ในศาสนาของพระผู้เป็นดุจเทพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ในศาสนาของพระอรหันต์ รวมความว่า เพราะฉะนั้น... ในศาสนาของพระผู้มีพระ- ภาคพระองค์นั้น คำว่า เธอพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ในคำว่า พึงเป็นผู้ไม่ประมาท... นอบน้อม อยู่ พึงหมั่นศึกษาทุกเมื่อ ได้แก่ พึงเป็นผู้กระทำต่อเนื่อง... ชื่อว่าไม่ประมาทใน กุศลธรรมทั้งหลาย คำว่า ทุกเมื่อ ได้แก่ ทุกเมื่อ คือ ในกาลทั้งปวง... ปัจฉิมวัย คำว่า นอบน้อมอยู่ ได้แก่ นอบน้อมอยู่ คือ สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ด้วยกาย วาจา ใจ ปฏิบัติเอื้อประโยชน์ ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม คำว่า พึงหมั่นศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา... นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา สิกขา ๓ เหล่านั้นเมื่อภิกษุนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา... เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควร ทำให้แจ้ง ชื่อว่าพึงศึกษา คือ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ... คำว่า พระผู้มี- พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า เธอพึงเป็นผู้ไม่ประมาท... นอบน้อมอยู่ พึงหมั่นศึกษาทุกเมื่อ (พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้) เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ได้เห็นธรรมที่เป็นพยาน ซึ่งไม่ต้องเชื่อใคร เพราะฉะนั้น เธอพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนา ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น นอบน้อมอยู่ พึงหมั่นศึกษาทุกเมื่อ
ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๗๙}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๔๓๑-๔๗๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=12819&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=14              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=7639&Z=9093&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=699              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=699&items=89              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=699&items=89              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]