ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสเรียกว่ามุนิมุนี (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) บุคคลโง่เขลาไม่รู้อะไร เพียงแต่นั่งนิ่งๆ หาชื่อว่าเป็นมุนีไม่ ส่วนบุคคลผู้ฉลาด เลือกชั่งเอาแต่สิ่งที่ดี ละทิ้งสิ่งที่ชั่ว เหมือนบุคคลชั่งสิ่งของ จึงจะชื่อว่าเป็นมุนีแท้ ผู้ที่รู้โลกทั้ง ๒ ก็เรียกว่า เป็นมุนี (เช่นกัน)๑- ผู้รู้ธรรมทั้งของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ ทั้งภายในและภายนอก ในโลกทั้งปวง เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง๒- และตัณหาดุจตาข่าย๓- ได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๔- คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ (๑) ความติดด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความติดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความ ติดด้วยอำนาจทิฏฐิ มุนีละความติดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ได้แล้ว ไม่ติด คือ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย คือ เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้อง แล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากความติด)อยู่ รวมความว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือ ทั้งหลาย คำว่า ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ อธิบายว่า @เชิงอรรถ : @ ขุ.ธ. ๒๕/๒๖๘-๒๖๙/๖๓, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๘ @ เครื่องข้อง ๗ อย่าง คือโลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และทุจริต @ ตาข่าย มี ๒ อย่างคือตัณหาและทิฏฐิ @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๓/๔๓๘, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

คำว่า ลูกศร ได้แก่ ลูกศร ๗ ชนิด คือ (๑) ลูกศรคือราคะ (๒) ลูกศรคือโทสะ (๓) ลูกศรคือโมหะ (๔) ลูกศรคือมานะ (๕) ลูกศรคือทิฏฐิ (๖) ลูกศรคือโสกะ (๗) ลูกศรคือความสงสัย ลูกศรเหล่านั้นผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้ถอนลูกศรได้แล้ว คือ ถอนลูกศรออกแล้ว ดึงลูกศรขึ้นแล้ว ดึงลูกศรออกแล้ว ฉุดลูกศรออกแล้ว กระชากลูกศรออกแล้ว สละลูกศรแล้ว คายลูกศรแล้ว ปล่อย ลูกศรแล้ว ละลูกศรแล้ว สลัดทิ้งลูกศรแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ถอนลูกศรได้แล้ว คำว่า ประพฤติอยู่ ได้แก่ ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป
ว่าด้วยความไม่ประมาท
คำว่า ไม่ประมาท อธิบายว่า ผู้ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ละความพอใจ ไม่ทอดธุระ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความไม่ ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความ ตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงทำสีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาสีลขันธ์ที่บริบูรณ์ในข้อนั้นๆ โดย อุบายอย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ... ว่าเราพึงทำสมาธิขันธ์ ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาสมาธิขันธ์ที่ บริบูรณ์ในข้อนั้นๆ โดยอุบายอย่างไรดังนี้ ... ว่าเราพึงทำปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในข้อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

นั้นๆ โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ ... ว่าเราพึงทำวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาวิมุตติขันธ์ในข้อนั้นๆ โดยอุบาย อย่างไร ดังนี้ ... คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียร แรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ด้วยคิดว่า เราพึงทำวิมุตติญาณทัสสน- ขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาวิมุตติ- ญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในข้อนั้นๆ โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทใน กุศลธรรมทั้งหลาย คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียร แรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังมิได้ กำหนดรู้ พึงละกิเลสที่ยังมิได้ละ พึงเจริญมรรคที่ยังมิได้เจริญ หรือพึงทำให้แจ้ง นิโรธที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง โดยอุบายอย่างไร”ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย รวมความว่า ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ คำว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า อธิบายว่า ไม่หวังโลกนี้ คืออัตภาพ ของตน ไม่หวังโลกหน้า คืออัตภาพของผู้อื่น ไม่หวังโลกนี้ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของตน ไม่หวังโลกหน้า คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณของผู้อื่น ไม่หวังโลกนี้ คืออายตนะภายใน ๖ ไม่หวังโลกหน้า คืออายตนะ ภายนอก ๖ ไม่หวังโลกนี้ คือมนุษยโลก ไม่หวังโลกหน้า คือเทวโลก ไม่หวังโลกนี้ คือ กามธาตุ ไม่หวังโลกหน้า คือรูปธาตุ อรูปธาตุ ไม่หวังโลกนี้ คือกามธาตุ รูปธาตุ ไม่หวังโลกหน้า คืออรูปธาตุ ไม่หวัง คือ ไม่ต้องการ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังคติ การถือกำเนิด ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือ วัฏฏะต่อไป รวมความว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย พึงข้ามโอฆะได้ ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า
คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๗๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๗๑-๗๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=2140&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=487&Z=1310&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=30              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=30&items=40              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=30&items=40              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]