ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่มีความมุ่งหวังในโลกทั้งปวงแล้ว อธิบายว่า ตัณหาเรียกว่า ความ มุ่งหวัง ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- คำว่า ในโลกทั้งปวง ได้แก่ ในอบายโลกทั้งปวง ในมนุษยโลกทั้งปวง ในเทวโลก ทั้งปวง ในขันธโลกทั้งปวง ในธาตุโลกทั้งปวง ในอายตนโลกทั้งปวง คำว่า ไม่มีความมุ่งหวังในโลกทั้งปวงแล้ว อธิบายว่า เป็นผู้ไม่มีความมุ่งหวัง คือ ไม่มีตัณหา ไม่มีความกระหายในโลกทั้งปวง รวมความว่า ไม่มีความมุ่งหวังใน โลกทั้งปวงแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เป็นผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่กระหาย ไม่มีความลบหลู่ กำจัดกสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม) และโมหะได้แล้ว ไม่มีความมุ่งหวัง ในโลกทั้งปวงแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๓] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) บุคคลพึงละเว้นสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด ไม่พึงคบคนผู้ขวนขวาย และผู้ประมาทด้วยตนเอง พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๓)
ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐
คำว่า พึงละเว้นสหายชั่ว อธิบายว่า ที่เรียกว่าสหายชั่ว คือ สหายผู้ประกอบ ด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ คือ ๑. ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ๒. การบูชาไม่มีผล @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

๓. การบวงสรวงไม่มีผล ๔. กรรมที่ทำไว้ดีและทำไว้ไม่ดีไม่มี ๕. โลกนี้ไม่มี ๖. โลกหน้าไม่มี ๗. มารดาไม่มี ๘. บิดาไม่มี ๙. สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี ๑๐. สมณพราหมณ์ที่ดำเนินตนชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำให้แจ้งโลกนี้และโลก หน้าด้วยตนเองแล้วประกาศให้(ผู้อื่น)ทราบไม่มี นี้ชื่อว่าสหายชั่ว คำว่า พึงละเว้นสหายชั่ว ได้แก่ พึงละ คือ พึงละเว้นสหายชั่ว รวมความว่า พึงละเว้นสหายชั่ว คำว่า ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด อธิบายว่า ที่เรียกว่า ผู้ไม่เห็นประโยชน์ คือ สหายผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ คือ ๑. ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ๒. การบูชาไม่มีผล ฯลฯ ๑๐. ผู้ทำให้แจ้งในโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศให้(ผู้อื่น)ทราบไม่มี นี้ชื่อว่าผู้ไม่เห็นประโยชน์ คำว่า ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด อธิบายว่า ผู้ตั้งมั่นอยู่ในกายกรรมที่ผิด ตั้งมั่นอยู่ในวจีกรรมที่ผิด ตั้งมั่นในมโนกรรมที่ผิด ในปาณาติบาต ในอทินนาทาน ใน กาเมสุมิจฉาจาร ในมุสาวาท ในปิสุณาวาจา ในผรุสวาจา ในสัมผัปปลาปะ ใน อภิชฌา ในพยาบาท ในมิจฉาทิฏฐิ ในสังขาร ในกามคุณ ๕ ในนิวรณ์ ๕ คือ ตั้งอยู่ ด้วยดี ข้อง ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจไปในนิวรณ์ รวมความว่า ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ผู้ขวนขวาย ในคำว่า ไม่พึงคบคนผู้ขวนขวายและผู้ประมาทด้วยตนเอง อธิบายว่า บุคคลใดแสวงหา ค้นหา เสาะหากาม ประพฤติในกามนั้น มากในกามนั้น หนักในกามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไป ในกามนั้น มีกามนั้นเป็นใหญ่ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวายในกาม บุคคลใดแสวงหารูปด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ แสวงหาเสียงด้วยอำนาจตัณหา แสวงหากลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา ประพฤติในกามคุณนั้น มากในกามคุณนั้น หนักในกามคุณนั้น เอนไปในกามคุณนั้น โอนไปในกามคุณนั้น โน้มไปในกามคุณนั้น น้อมใจไปในกามคุณนั้น มีกามคุณนั้นเป็นใหญ่ บุคคลนั้นชื่อ ว่าเป็นผู้ขวนขวายในกาม บุคคลใดได้รูปด้วยอำนาจตัณหา ได้เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา ประพฤติในกามคุณนั้น มากในกามคุณนั้น หนักใน กามคุณนั้น เอนไปในกามคุณนั้น โอนไปในกามคุณนั้น โน้มไปในกามคุณนั้น น้อมใจไปในกามคุณนั้น มีกามคุณนั้นเป็นใหญ่ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวายในกาม บุคคลใดบริโภครูปด้วยอำนาจตัณหา บริโภคเสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา ประพฤติในกามคุณนั้น มากในกามคุณนั้น หนักใน กามคุณนั้น เอนไปในกามคุณนั้น โอนไปในกามคุณนั้น โน้มไปในกามคุณนั้น น้อมใจ ไปในกามคุณนั้น มีกามคุณนั้นเป็นใหญ่ บุคคลนั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวายในกาม ผู้ก่อการทะเลาะ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในการทะเลาะ ผู้ทำงาน ชื่อว่าผู้ขวนขวาย ในงาน ผู้เที่ยวไปในโคจร ชื่อว่าผู้ขวนขวายในโคจร ผู้มีปกติเพ่ง ก็ชื่อว่าผู้ขวนขวาย ในฌาน ฉันใด บุคคลใดแสวงหา ค้นหา เสาะหากาม ประพฤติในกามคุณนั้น มากในกามคุณ นั้น หนักในกามคุณนั้น เอนไปในกามคุณนั้น โอนไปในกามคุณนั้น โน้มไปในกาม คุณนั้น น้อมใจไปในกามคุณนั้น มีกามคุณนั้นเป็นใหญ่ บุคคลนั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้ ขวนขวายในกาม บุคคลใดแสวงหารูปด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ บุคคลใดได้รูปด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ บุคคลใดบริโภครูปด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา ประพฤติใน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

กามคุณนั้น มากในกามคุณนั้น หนักในกามคุณนั้น เอนไปในกามคุณนั้น โอนไปใน กามคุณนั้น โน้มไปในกามคุณนั้น น้อมใจไปในกามคุณนั้น มีกามคุณนั้นเป็นใหญ่ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวายในกาม ฉันนั้น คำว่า ประมาท อธิบายว่า ควรกล่าวเรื่องความประมาท ความปล่อยจิตไป การเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ การทำโดยไม่เคารพ การทำไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ การทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรม ทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่ประมาทมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความประมาท คำว่า ไม่พึงคบคนผู้ขวนขวายและผู้ประมาทด้วยตนเอง อธิบายว่า ไม่พึง คบคนผู้ขวนขวายและไม่พึงคบคนผู้ประมาทด้วยตนเอง ได้แก่ ไม่พึงคบ ไม่พึงเสพ เป็นนิจ ไม่พึงซ่องเสพ ไม่ควรเสพรอบ ไม่พึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงประพฤติ เอื้อเฟื้อโดยชอบ ไม่พึงสมาทานประพฤติด้วยตนเอง รวมความว่า ไม่พึงคบคนผู้ ขวนขวายและผู้ประมาทด้วยตนเอง พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุ นั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า บุคคลพึงละเว้นสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด ไม่พึงคบคนผู้ขวนขวาย และผู้ประมาทด้วยตนเอง พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๔] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความสงสัย ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๔) คำว่า ผู้เป็นพหูสูต ในคำว่า พึงคบ ... ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม อธิบายว่า มิตร ผู้เป็นพหูสูต (ผู้ได้ยินได้ฟังมาก) ทรงจำสิ่งที่เล่าเรียนมาแล้วได้ สั่งสมสิ่งที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เล่าเรียนมาแล้วไว้ได้ คือ ธรรมเหล่าใด ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามใน ท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ธรรมเห็นปานนั้นเป็นธรรมที่เขาเล่าเรียนมามาก ทรงจำ ไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดชัดเจนตามทฤษฎี คำว่า ทรงธรรม ได้แก่ ทรงธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ คำว่า พึงคบ... ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม อธิบายว่า พึงคบ คือ พึงคบหา เสพ เสพเป็นนิจ พึงซ่องเสพ เสพเฉพาะมิตรผู้เป็นพหูสูต และผู้ทรงธรรม รวมความว่า พึงคบ ... ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม คำว่า มิตร... ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ อธิบายว่า มิตร ผู้ยิ่งใหญ่ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
ว่าด้วยบุคคลผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก
คำว่า มีปฏิภาณ ได้แก่ บุคคลผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก คือ ๑. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ ๒. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา ๓. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ญาณ(ความรู้) ของบุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการเล่าเรียน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณ เพราะปริยัติ บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ เป็นผู้ไต่สวนในเรื่องความหมาย ในเรื่องที่ควรรู้ ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ(ความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้) ญาณของ เขาย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการไต่สวน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้บรรลุสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้เหตุ รู้ผล รู้นิรุตติ (ภาษา) เมื่อรู้เหตุ เหตุย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้ผล ผลย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุตติ นิรุตติย่อม แจ่มแจ้ง ญาณในเหตุ ผล และนิรุตติทั้ง ๓ เหล่านี้ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ ฉะนั้น พระ ปัจเจกสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มีปฏิภาณ ผู้ใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจักแจ่มแจ้งแก่เขาได้ รวมความว่า มิตร ... ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ คำว่า รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความสงสัย อธิบายว่า รู้จัก คือ รู้ยิ่ง ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า ประโยชน์อย่างยิ่ง พึงกำจัด ได้แก่ พึงขจัดเฉพาะ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งความสงสัยอีก รวมความว่า รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความ สงสัย ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความสงสัย ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๕] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ชื่นชมการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่ใส่ใจ งดเว้นจากฐานะแห่งการประดับตกแต่ง พูดคำจริง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า การเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก อธิบายว่า คำว่า การเล่น ได้แก่ การเล่น ๒ อย่าง คือ (๑) การเล่นทางกาย (๒) การเล่นทางวาจา ฯลฯ นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย ฯลฯ นี้ชื่อว่าการเล่น ทางวาจา๑- คำว่า ความยินดี อธิบายว่า คำว่า ความยินดี นี้ เป็นชื่อของความไม่เบื่อหน่าย คำว่า กามสุข อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู... ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก... ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น... ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สุข โสมนัสอันใดแล อาศัยกามคุณ ๕ นั้นเกิดขึ้น โสมนัสนี้ เรียกว่า กามอันเป็นสุข๒- คำว่า ในโลก ได้แก่ ในมนุษยโลก รวมความว่า การเล่น ความยินดี และ กามสุขในโลก คำว่า ไม่ชื่นชม... ไม่ใส่ใจ อธิบายว่า ไม่ชื่นชม คือ ไม่ใส่ใจ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก รวม ความว่า ไม่ชื่นชม... ไม่ใส่ใจ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒๗/๔๒๐ @ ม.อุ. ๑๔/๓๒๘/๒๙๙-๓๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยการประดับตกแต่ง ๒ อย่าง
คำว่า การประดับตกแต่ง ในคำว่า งดเว้นจากฐานะแห่งการประดับตกแต่ง พูดคำจริง ได้แก่ การประดับตกแต่ง ๒ อย่าง คือ ๑. การประดับตกแต่งของคฤหัสถ์ ๒. การประดับตกแต่งของบรรพชิต การประดับตกแต่งของคฤหัสถ์ เป็นอย่างไร คือ การแต่งผม การแต่งหนวด การทัดดอกไม้ การประพรมเครื่องหอม การย้อมผิว การใช้เครื่องประดับ การใช้เครื่องแต่งตัว การนุ่งผ้าสวยงาม การ ประดับข้อมือ การโพกผ้าโพกศีรษะ การอบตัว การนวดตัว การอาบน้ำ การดัดตัว การส่องกระจก การทาเปลือกตา การสวมพวงดอกไม้ การทาปาก การเจิมหน้า การผูกข้อมือ การเกล้าผม การใช้ไม้เท้า การใช้ทะนาน การใช้พระขรรค์ การใช้ร่ม การสวมรองเท้าสวยงาม การติดกรอบหน้า การปักปิ่น การใช้พัด การนุ่งผ้าขาว การนุ่งผ้าชายยาว นี้ชื่อว่าการประดับตกแต่งของคฤหัสถ์ การประดับตกแต่งของบรรพชิต เป็นอย่างไร คือ การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตร การตกแต่งเสนาสนะ การตกแต่ง การประดับประดา การเล่นสนุกในการประดับ ความเพลิดเพลินในการประดับ ความปรารถนาการประดับ ความเป็นผู้ปรารถนาการประดับ กิริยาที่ประดับ ความเป็นกิริยาที่ประดับร่างกายอันเน่าเปื่อยนี้ หรือบริขารอันเป็นภายนอก นี้ชื่อว่า การประดับตกแต่งของบรรพชิต คำว่า พูดคำจริง อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้พูดจริง ตั้งมั่น ในความสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคง เชื่อถือได้ ไม่กล่าวคำหลอกลวงชาวโลก งด งดเว้น คือ เว้นขาดจากฐานะแห่งการประดับ ได้แก่ ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า งดเว้นจากฐานะแห่งการประดับ พูดคำ จริง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ชื่นชมการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่ใส่ใจ งดเว้นจากฐานะแห่งการประดับตกแต่ง พูดคำจริง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๖] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละทิ้ง บุตร ทาระ บิดา มารดา ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง และกาม ตามส่วนแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๖) คำว่า บุตร ทาระ บิดา มารดา อธิบายว่า คำว่า บุตร ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก คือ ๑. บุตรเกิดจากตน ๒. บุตรเกิดในเขต ๓. บุตรที่เขาให้ ๔. บุตรที่อยู่ในสำนัก ภริยา เรียกว่า ทาระ คำว่า บิดา ได้แก่ บุรุษผู้ให้กำเนิด คำว่า มารดา ได้แก่ สตรีผู้ให้กำเนิด รวมความว่า บุตร ทาระ บิดา มารดา คำว่า ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง อธิบายว่า เงิน ทอง แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง แก้วทับทิม เพชรตาแมว เรียกว่า ทรัพย์ ปุพพัณณชาติ อปรัณณชาติ เรียกว่า ธัญชาติ ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้ ชื่อว่า ปุพพัณณชาติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เครื่องแกง ชื่อว่าอปรัณณชาติ คำว่า พวกพ้อง ได้แก่ พวกพ้อง ๔ จำพวก คือ ๑. พวกพ้องโดยความเป็นญาติ ชื่อว่าพวกพ้อง ๒. พวกพ้องโดยโคตร ชื่อว่าพวกพ้อง ๓. พวกพ้องโดยความเป็นมิตร ชื่อว่าพวกพ้อง ๔. พวกพ้องโดยศิลปะ ชื่อว่าพวกพ้อง รวมความว่า ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง คำว่า กาม ในคำว่า ละทิ้ง... และกาม ตามส่วนแล้ว ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑- คำว่า ละทิ้ง... และกาม ได้แก่ กำหนดรู้วัตถุกาม ละ กำจัด บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีกิเลสกามอีก คำว่า ละทิ้ง... และกาม ตามส่วนแล้ว อธิบายว่า กิเลสเหล่าใด พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค ท่านก็ไม่มา คือ ไม่ย้อนมา ไม่กลับ มาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด ท่านละได้แล้ว ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ กิเลสเหล่าใด ท่านละได้แล้ว ด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ กิเลสเหล่าใด ท่านละได้ แล้วด้วยอรหัตตมรรค ท่านก็ไม่มา คือ ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก รวมความว่า ละทิ้ง... และกาม ตามส่วนแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละทิ้ง บุตร ทาระ บิดา มารดา ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง และกาม ตามส่วนแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๔๗] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๗) คำว่า กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย อธิบายว่า คำว่า เครื่องข้อง เบ็ด เหยื่อ ความเกี่ยวข้อง ความพัวพัน นี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ คำว่า มีความสุขน้อย อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุ ทั้งหลาย กามคุณมี ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู... ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก... ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น... ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สุข โสมนัส อันใดแล อาศัยกามคุณ ๕ นั้นเกิดขึ้น โสมนัสนี้ เรียกว่า กามคุณอันเป็นสุข๑- สุขนี้น้อย คือ เล็กน้อย หน่อยเดียว เลวทราม ลามก สกปรก รวมความว่า กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย คำว่า ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก อธิบายว่า กามทั้งหลาย พระผู้- มีพระภาคตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มี โทษอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า เปรียบเหมือนหลุ่มถ่านเพลิง เปรียบเหมือนความฝัน เปรียบเหมือนของที่ยืมมา เปรียบเหมือนผลไม้คาต้นเปรียบ @เชิงอรรถ : @ ม.อุ. ๑๔/๓๒๘/๒๙๙-๓๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เหมือนเขียงหั่นเนื้อ เปรียบเหมือนหอกหลาว เปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก ใน กามนี้มีความคับแค้นมาก มีโทษอย่างยิ่ง๑- รวมความว่า ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก คำว่า ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว คำว่า ก้อนเหล็ก เบ็ด เหยื่อ ความเกี่ยวข้อง ความผูกพัน ความพัวพัน นี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ คำว่า ว่า เป็นคำสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความ สัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ว่า นี้เป็นคำเชื่อม บทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า ผู้มีปัญญา ได้แก่ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลสได้ คำว่า ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว อธิบายว่า ผู้มีปัญญารู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า เป็นดุจขอเหล็ก เป็นดุจเบ็ด เป็นดุจเหยื่อ เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูกพัน เป็นเครื่องพัวพัน รวม ความว่า ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือน นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๘] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ทำลายสังโยชน์แล้ว เหมือนสัตว์น้ำทำลายข่าย และเหมือนไฟไหม้เชื้อมอดหมดไปไม่กลับมา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๘) @เชิงอรรถ : @ วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๖, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๗๖/๑๓๔, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓/๗-๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ทำลายสังโยชน์แล้ว ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง๑- คือ ๑. กามราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความกำหนัดในกาม) ๒. ปฏิฆสังโยชน์ (สังโยชน์คือความกระทบกระทั่งในใจ) ๓. มานสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่) ๔. ทิฏฐิสังโยชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด) ๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความสงสัย) ๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือมั่นศีลพรต) ๗. ภวราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความติดใจปรารถนาในภพ) ๘. อิสสาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความริษยา) ๙. มัจฉริยสังโยชน์ (สังโยชน์คือความตระหนี่) ๑๐. อวิชชาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความไม่รู้) คำว่า ทำลายสังโยชน์แล้ว อธิบายว่า ทะลาย ทำลาย คือ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งสังโยชน์ ๑๐ อย่าง รวมความว่า ทำลายสังโยชน์แล้ว คำว่า เหมือนสัตว์น้ำทำลายข่าย อธิบายว่า ข่ายที่ทำด้วยด้าย เรียกว่า ข่าย น้ำท่าเรียกว่า น้ำ ปลาเรียกว่า สัตว์น้ำ อธิบายว่า ปลาทำลาย ทำให้ขาด ทำให้ฉีก ทำให้พัง ทำให้ข่ายพังทะลายแล้ว แหวกว่าย อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปได้ ฉันใด ข่ายมี ๒ ชนิด คือ (๑) ข่ายตัณหา (๒) ข่ายทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าข่ายตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าข่ายทิฏฐิ๒- พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ ละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ข้องขัดในรูป เสียง กลิ่น ฯลฯ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และใน ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง คือ ไม่ยึด ไม่ผูก ไม่พัวพัน ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่ เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า เหมือนสัตว์น้ำทำลายข่าย @เชิงอรรถ : @ สังโยชน์ คือกิเลสอันผูกมัดใจสัตว์ ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ เป็นสังโยชน์ตามแนวอภิธรรม พึงดูรายละเอียดจาก @อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๑๑๘/๒๘๕-๒๘๘ @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า เหมือนไฟไหม้เชื้อมอดหมดไปไม่กลับมา อธิบายว่า ไฟเมื่อไหม้เชื้อ คือหญ้าและไม้ ไป ไม่กลับมา ฉันใด กิเลสเหล่าใดพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละได้ แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ท่านไม่มา คือ ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใดท่านละได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ กิเลสเหล่าใดท่านละได้แล้ว ด้วยอนาคามิมรรค กิเลสเหล่าใดท่านละได้แล้วด้วยอรหัตตมรรค ท่านก็ไม่มา คือ ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า เหมือนไฟ ไหม้เชื้อมอดหมดไปไม่กลับมา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ทำลายสังโยชน์แล้ว เหมือนสัตว์น้ำทำลายข่าย และเหมือนไฟไหม้เชื้อมอดหมดไปไม่กลับมา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๙] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ภิกษุเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คุ้มครองอินทรีย์ รักษาใจได้แล้ว ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๙)
ว่าด้วยผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
คำว่า เป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีตาลอกแลก คือ เป็นผู้ประกอบด้วย ความเป็นคนมีตาลอกแลกด้วยคิดว่า “รูปที่ยังไม่เคยดู เราควรดู รูปที่เราเคยดูแล้ว ควรผ่านไปเลย” จึงเป็นผู้ขวนขวายการเที่ยวนาน หรือการเที่ยวไปไม่มีจุดหมาย แน่นอน จากอารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีกอุทยานหนึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

จากบ้านหนึ่งไปสู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีก นครหนึ่ง จากรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบท(ประเทศ)หนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง เพื่อดูรูป ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนไม่สำรวม เดินมองช้าง มองม้า มองรถ มองพลเดินเท้า มองเด็กชาย มองเด็กหญิง มองสตรี มองบุรุษ มอง ร้านตลาด มองหน้ามุขเรือน มองข้างบน มองข้างล่าง มองทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุชื่อ ว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้รวบถือ เป็นผู้แยกถือ (อวัยวะส่วน ต่างๆ) ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาป- อกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมไม่ถึง ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมดนตรี การดูมหรสพ การเล่านิทาน การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง การสร้างฉากบ้านเมืองให้สวยงาม การละเล่นของคนจัณฑาล การเล่นกระดานหก การละเล่นหน้าศพ การแข่งชนช้าง การแข่งม้า การแข่งชนกระบือ การแข่งชนโค การแข่งชนแพะ การแข่งชนแกะ การแข่งชนไก่ การแข่งชนนกกระทา การรำกระบี่กระบอง การชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพลสวนสนาม การจัดกระบวนทัพ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง ภิกษุเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เป็นผู้มีตาลอกแลก คือ ไม่ประกอบด้วย ความเป็นผู้มีตาลอกแลกด้วยคิดว่า “รูปที่ยังไม่เคยดู เราควรดู รูปที่เราเคยดูแล้ว ควรผ่านไปเลย” จึงไม่เป็นผู้ขวนขวายการเที่ยวนาน หรือการเที่ยวไปไม่มีจุดหมาย แน่นอน จากอารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีกอุทยานหนึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

จากบ้านหนึ่งไปสู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีก นครหนึ่ง จากรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบทหนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง เพื่อดูรูป ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ระแวกบ้าน เดินทางไปตามถนนก็สำรวม ไม่เดิน มองช้าง ไม่มองม้า ไม่มองรถ ไม่มองพลเดินเท้า ไม่มองเด็กชาย ไม่มองเด็กหญิง ไม่มองสตรี ไม่มองบุรุษ ไม่มองร้านตลาด ไม่มองหน้ามุขเรือน ไม่มองสูง ไม่มองต่ำ ไม่มองทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุชื่อ ว่าเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้งดเว้นจากการขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึก แก่กุศลเห็นปานนี้ เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขาให้ ด้วยศรัทธาแล้ว ก็ไม่ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้อยู่ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมดนตรี ฯลฯ การจัดกระบวนทัพ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง รวมความว่า เป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
ว่าด้วยผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
คำว่า และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข มีอธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ ประกอบด้วยความ เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข จึงเป็นผู้ขวนขวายในการเที่ยวไปนาน หรือการเที่ยวไปไม่มี จุดหมายแน่นอน จากอารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีก อุทยานหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีกนครหนึ่ง จากรัฐ หนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบทหนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีเท้าอยู่ ไม่สุข เป็นอย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีเท้าอยู่ ไม่สุขในสังฆาราม มิใช่เพราะเหตุแห่งประโยชน์ มิใช่เพราะเหตุแห่งการกระทำ แต่ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ เดินจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง จากวิหารหนึ่ง ไปสู่อีกวิหารหนึ่ง จากเรือนหลังคาด้านเดียวแห่งหนึ่ง ไปสู่เรือนหลังด้านเดียวอีก แห่งหนึ่ง จากปราสาทหนึ่งไปสู่อีกปราสาทหนึ่ง จากเรือนโล้นหลังหนึ่งไปสู่เรือนโล้น อีกหลังหนึ่ง จากถ้ำหนึ่งไปสู่อีกถ้ำหนึ่ง จากที่หลีกเร้นแห่งหนึ่งไปสู่ที่หลีกเร้นอีก แห่งหนึ่ง จากกุฏิหนึ่งไปสู่อีกกุฏิหนึ่ง จากเรือนยอดแห่งหนึ่งไปสู่เรือนยอดอีก แห่งหนึ่ง จากป้อมหนึ่งไปสู่อีกป้อมหนึ่ง จากปะรำหนึ่งไปสู่อีกปะรำหนึ่ง จากเรือน ที่พักแห่งหนึ่งไปสู่เรือนที่พักอีกแห่งหนึ่ง จากโรงเก็บของแห่งหนึ่งไปสู่โรงเก็บของอีก แห่งหนึ่ง จากโรงฉันแห่งหนึ่งไปสู่โรงฉันอีกแห่งหนึ่ง จากโรงกลมแห่งหนึ่งไปสู่โรง กลมอีกแห่งหนึ่ง จากโคนต้นไม้แห่งหนึ่งไปสู่โคนต้นไม้อีกแห่งหนึ่ง เดินไปที่ที่พวก ภิกษุนั่งกันอยู่ เป็นที่ ๒ ของภิกษุ ๑ รูป เป็นที่ ๓ ของภิกษุ ๒ รูป หรือเป็นที่ ๔ ของภิกษุ ๓ รูป ในที่นั้น พูดเรื่องเพ้อเจ้อมากมายในที่นั้น คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อม ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข เป็นอย่างนี้บ้าง คำว่า และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็น ผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้มีเท้าอยู่ ไม่สุข มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ ได้แก่ เป็นผู้พอใจในความหลีกเร้น ยินดีใน ความหลีกเร้น หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบ ด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง๑- มีฌาน เป็นผู้ยินดีในฌาน ขวนขวายใน ความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว หนักในประโยชน์ของตน รวมความว่า เป็นผู้ไม่ สอดส่ายจักษุ และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คำว่า คุ้มครองอินทรีย์ ในคำว่า คุ้มครองอินทรีย์ รักษาใจได้แล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ @เชิงอรรถ : @ เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง หมายถึงภิกษุเรียนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว เข้าไปยัง @เรือนว่างนั่งอยู่ตลอดคืนและวัน แม้บำเพ็ญอยู่ในปราสาทมีพื้นชั้นเดียวเป็นต้น ก็ชื่อว่าเพิ่มพูนเรือนว่างเหมือนกัน @(ขุ.ม.อ. ๑๖๐/๔๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ โทมนัสครอบงำเอาได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง ทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ ทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วก็ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ โทมนัสครอบงำเอาได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ รวมความว่า คุ้มครองอินทรีย์ คำว่า รักษาใจได้แล้ว ได้แก่ คุ้มครองใจ ชื่อว่ารักษาจิตได้แล้ว รวมความว่า คุ้มครองอินทรีย์ รักษาใจได้แล้ว คำว่า ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ในคำว่า ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา อธิบายว่า สมจริงดังที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวไว้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมจักแสดง อวัสสุตปริยายสูตร๑- และอนวัสสุตปริยายสูตรแก่ท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจง ฟังเทศนานั้น จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระมหา- โมคคัลลานะว่า “อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ” ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล เหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่ น่ารัก ย่อมยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิต อยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับโดยไม่ เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรียกว่า เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ ในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๔๓/๒๔๗-๒๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้น ผู้มี ปกติอยู่อย่างนี้ทางตา มารก็พึงได้ช่อง ได้อารมณ์๑- ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็พึงได้ช่อง ได้อารมณ์ เรือนที่สร้างด้วยไม้อ้อ หรือเรือนที่สร้างด้วยหญ้าแห้งกรอบ ฝนรั่วรดได้ ถ้า แม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็พึงได้ช่อง ได้เชื้อ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ ฯลฯ ทางทิศใต้ ฯลฯ ทางเบื้องต่ำ ฯลฯ ทางทิศเบื้องบน ฯลฯ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิง ที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศใหนๆ ก็ตาม ไฟก็พึงได้ช่อง ได้เชื้อ แม้ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนั้นทางตา มารก็พึง ได้ช่อง ได้อารมณ์ ถ้าแม้เข้าไปหาภิกษุนั้นทางหู ฯลฯ มารเข้าไปหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็พึงได้ช่อง ได้อารมณ์ รูปครอบงำภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ได้ ภิกษุหาครอบงำรูปได้ไม่ เสียงครอบงำ ภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำเสียงได้ไม่ กลิ่นครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำกลิ่นได้ไม่ รสครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำรสได้ไม่ โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหา ครอบงำโผฏฐัพพะได้ไม่ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำธรรมารมณ์ ได้ไม่ ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถูกครอบงำ คือถูกรูปครอบงำ ถูกเสียงครอบงำ ถูกกลิ่น ครอบงำ ถูกรสครอบงำ ถูกโผฏฐัพพะครอบงำ และถูกธรรมารมณ์ครอบงำ (ถูกกิเลสเหล่านั้นครอบงำ) ธรรมที่เป็นบาปอกุศลอันเป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทำให้ เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งชาติ ชรา และ มรณะต่อไปครอบงำเธอแล้ว ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้าย ในรูปที่ไม่เป็นที่รัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัด เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่ เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทาง @เชิงอรรถ : @ อารมณ์ ในที่นี้หมายถึงปัจจัย (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔๓/๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้ง มั่นกายคตาสติ และมีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติตามความ เป็นจริง อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแก่เธอ ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วย กิเลสในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ แม้ถ้ามารเข้ามาหาภิกษุนั้น ผู้มีปกติอยู่อย่างนั้นทางตา มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึง ได้อารมณ์ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ กูฏาคาร กูฏาคารศาลา หรือคารศาลา พอกดินหนา มีเครื่องฉาบทาเปียก ถ้า แม้คนเอาคบเพลิงหญ้าที่ติดไฟ เข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็ไม่พึง ได้ช่อง ไม่พึงได้เชื้อ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงหญ้าที่ติดไฟ เข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศ ตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ ฯลฯ ทางทิศใต้ ฯลฯ ทางทิศเบื้องต่ำ ฯลฯ ทางทิศ เบื้องบน ฯลฯ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงหญ้าที่ติดไฟ เข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศใหนๆ ก็ตาม ไฟก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เชื้อ แม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้น ผู้มีปกติอยู่อย่างนั้น ทางตา มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ ภิกษุผู้มี ปกติอยู่อย่างนี้ ครอบงำรูปได้ รูปครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำเสียงได้ เสียง ครอบงำภิกษุไม่ได้ ฯลฯ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ได้ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ครอบงำ คือ ครอบงำรูปได้ ครอบงำเสียงได้ ครอบงำ กลิ่นได้ ครอบงำรสได้ ครอบงำโผฏฐัพพะได้ ครอบงำธรรมารมณ์ได้ (ไม่ถูกกิเลส เหล่านั้นครอบงำ) เธอครอบงำธรรมที่เป็นบาปอกุศลอันเป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่อีก มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลส เป็น อย่างนี้แล รวมความว่า ไม่ชุ่มด้วยกิเลส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ไฟกิเลสมิได้เผา อธิบายว่า ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ แผดเผาไม่ได้ รวมความว่า ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คุ้มครองอินทรีย์ รักษาใจได้แล้ว ไม่ชุ่มด้วย กิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๐] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑๐) คำว่า ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว อธิบายว่า ผม หนวด ฯลฯ ผ้าชายยาว๑- เรียกว่า เครื่องหมายคฤหัสถ์ คำว่า ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว อธิบายว่า ปลง คือ ปลงลง ทิ้ง ระงับ เครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว รวมความว่า ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว คำว่า เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ อธิบายว่า ต้นปาริฉัตร คือ ต้น ทองหลางนั้น มีใบหนาแน่น มีร่มเงาชิด ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็ทรง บาตรและจีวรครบ ฉันนั้น รวมความว่า เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ คำว่า ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตัด ความกังวลในการครองเรือน ความกังวลด้วยบุตรภรรยา ความกังวลด้วยญาติ ความกังวลด้วยมิตรและอำมาตย์ ความกังวลด้วยการสะสม ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ออกบวชจากเรือนเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีความกังวล ประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว รวมความว่า ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๔๕/๔๖๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ทำความยินดีในรส ไม่โลเล ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีใจไม่ผูกพันในตระกูลต่างๆ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑๑)
ว่าด้วยรส
คำว่า ไม่ทำความยินดีในรส ไม่โลเล อธิบายว่า คำว่า รส ได้แก่ รสจากราก รสจากลำต้น รสจากเปลือก รสจากใบ รสจาก ดอก รสจากผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย ของเย็น ของร้อน สมณพราหมณ์บางพวกยินดีในรส สมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวแสวงหารส เลิศด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสวง หารสเปรี้ยว ได้รสหวานแล้วก็แสวงหารสไม่หวาน ได้รสไม่หวานแล้วก็แสวงหารส หวาน ได้รสขมแล้วก็แสวงหารสไม่ขม ได้รสไม่ขมแล้วก็แสวงหารสขม ได้รสเผ็ดแล้ว ก็แสวงหารสไม่เผ็ด ได้รสไม่เผ็ดแล้วก็แสวงหารสเผ็ด ได้รสเค็มแล้วก็แสวงหารส ไม่เค็ม ได้รสไม่เค็มแล้วก็แสวงหารสเค็ม ได้รสปร่าแล้วก็แสวงหารสไม่ปร่า ได้รส ไม่ปร่าแล้วก็แสวงหารสปร่า ได้รสฝาดแล้วก็แสวงหารสไม่ฝาด ได้รสไม่ฝาดแล้วก็ แสวงหารสฝาด ได้รสเฝื่อนแล้วก็แสวงหารสไม่เฝื่อน ได้รสไม่เฝื่อนแล้วก็แสวงหารส เฝื่อน ได้รสอร่อยแล้วก็แสวงหารสไม่อร่อย ได้รสไม่อร่อยแล้วก็แสวงหารสอร่อย ได้ของเย็นแล้วก็แสวงหาของร้อน ได้ของร้อนแล้วก็แสวงหาของเย็น สมณพราหมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เหล่านั้นได้รสใดๆ แล้วก็ไม่ยินดีด้วยรสนั้นๆ ยังแสวงหารสอื่นๆ ต่อไปอีก เป็นผู้ กำหนัด ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในรสที่ชอบใจ ตัณหา ในรสนี้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นพิจารณาแล้วโดยแยบคาย จึงฉันอาหารมิใช่เพื่อเล่น มิใช่ เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อจะให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิตของเรา ความไม่มีโทษและอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ คนทาแผลเพียงเพื่อปลูกเนื้อเยื่อ หยอดเพลาเพียงเพื่อจะขนภาระไป หรือกิน อาหารที่ปรุงจากเนื้อบุตรเพียงเพื่อจะเดินทางออกจากทางกันดารให้พ้นเท่านั้น ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อจะให้ ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่อ อนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนา ใหม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิตของเรา ความไม่มีโทษและอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้๑- เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับตัณหาในรส มีใจ เป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่ทำความยินดีในรส คำว่า ไม่โลเล อธิบายว่า ตัณหา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๒- เรียกว่า ความโลเล หรือ ความโลภ ตัณหาคือความโลเล ความโลภนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละได้เด็ดขาด แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่าไม่โลเล รวมความว่า ไม่ทำความยินดีในรส ไม่โลเล @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๘๙/๒๗๘-๒๗๙ @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น ในคำว่า ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น เที่ยว บิณฑบาตตามลำดับตรอก อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเลี้ยงแต่ตนเท่านั้น ไม่เลี้ยงคนอื่น เราเรียกบุคคลผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น รู้จักตนฝึกฝนตนได้ ตั้งมั่นอยู่ในสารธรรม สิ้นอาสวะแล้ว ไร้ข้อบกพร่องนั้นว่าเป็นพราหมณ์๑- รวมความว่า ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น คำว่า เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก อธิบายว่า เวลาเช้าพระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น ครองผ้าแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าหมู่บ้าน หรือนิคม เพื่อบิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิตแล้ว ตั้งสติ สำรวมอินทรีย์ มีตาทอดลง สมบูรณ์ ด้วยอิริยาบถ เข้าออกจากตระกูลหนึ่งไปสู่ตระกูลหนึ่ง เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต รวม ความว่า ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก คำว่า มีใจไม่ผูกพันในตระกูลต่างๆ อธิบายว่า ภิกษุมีใจผูกพันด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. เมื่อวางตนต่ำวางผู้อื่นสูง ชื่อว่ามีใจผูกพัน ๒. เมื่อวางตนสูงวางผู้อื่นต่ำ ชื่อว่ามีใจผูกพัน ภิกษุเมื่อวางตนต่ำวางผู้อื่นสูง เป็นผู้มีใจผูกพัน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุกล่าวว่า พวกท่านมีอุปการะมากแก่อาตมภาพ อาตมภาพอาศัย พวกท่านจึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร คนเหล่าอื่น อาศัยพวกท่าน เห็นกับพวกท่าน จึงเข้าใจที่จะให้ หรือจะทำแก่อาตมภาพ ชื่อและ สกุลเก่าของมารดาบิดาของอาตมภาพสูญหายไปหมดแล้ว พวกท่านทำให้อาตมภาพ เป็นที่รู้จักว่า “อาตมภาพ เป็นพระประจำตระกูลของอุบาสกโน้น เป็นพระประจำ ตระกูลของอุบาสิกาโน้น” ดังนี้ เมื่อวางตนต่ำ วางผู้อื่นสูง ชื่อว่าเป็นผู้มีใจผูกพัน เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ขุ.อุ. ๒๕/๖/๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ภิกษุเมื่อวางตนสูงวางผู้อื่นต่ำ เป็นผู้มีใจผูกพัน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุกล่าวว่า อาตมภาพมีอุปการะมากแก่พวกท่าน พวกท่านอาศัย อาตมภาพแล้ว จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง ถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง เว้นขาดจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท เว้นขาด จากสุราเมรัยอันเป็นของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อาตมภาพบอก อุทเทสบ้าง ปริปุจฉาบ้าง อุโบสถบ้าง แก่พวกท่าน อาตมภาพอธิษฐานนวกรรม เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกท่านยังทอดทิ้งอาตมภาพไปสักการะ เคารพ นับถือ บูชาผู้อื่น เมื่อวางตนสูงวางผู้อื่นต่ำ ชื่อว่าผู้มีใจผูกพัน เป็นอย่างนี้ คำว่า มีใจไม่ผูกพันในตระกูลต่างๆ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีใจไม่ผูกพันด้วยกุลปลิโพธ(ความกังวลเกี่ยวกับตระกูล) คณปลิโพธ(ความกังวล เกี่ยวกับหมู่คณะ) อาวาสปลิโพธ(ความกังวลเกี่ยวกับอาวาส) จีวรปลิโพธ(ความกังวล เกี่ยวกับจีวร) ปิณฑบาตปลิโพธ(ความกังวลเกี่ยวกับบิณฑบาต) เสนาสนปลิโพธ (ความกังวลเกี่ยวกับเสนาสนะ) คิลานปัจจัยเภสัชบริขารปลิโพธ(ความกังวลเกี่ยวกับ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร) รวมความว่า มีใจไม่ผูกพันในตระกูลต่างๆ จึงประพฤติ อยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ทำความยินดีในรส ไม่โลเล ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีใจไม่ผูกพันในตระกูลต่างๆ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ตติยวรรคจบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

จตุตถวรรค
[๑๕๒] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละนิวรณ์ ๕ อย่าง ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและความชังได้แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑)
ว่าด้วยนิวรณ์ ๕
คำว่า ละนิวรณ์ ๕ อย่าง อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกามฉันทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้ ก้าวหน้าในคุณธรรมคือความพอใจในกาม) พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้ ก้าวหน้าในคุณธรรมคือความคิดปองร้าย) ... ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้า ในคุณธรรมคือความหดหู่และเซื่องซึม)... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้ ก้าวหน้าในคุณธรรมคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ... วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้ ก้าวหน้าในคุณธรรมคือความลังเลสงสัย) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌานอันมีวิตก มีวิจาร มีปีติสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ รวมความว่า ละนิวรณ์ ๕ อย่าง คำว่า ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า ราคะเป็นอุปกิเลส แห่งจิต โทสะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต โมหะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต โกธะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต ฯลฯ อุปนาหะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทเป็น อุปกิเลสแห่งจิต คำว่า ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า ขจัด คือ กำจัด ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งอุปกิเลสแห่งจิตทั้งหมดได้แล้ว รวม ความว่า ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่อิงอาศัย ในคำว่า ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและความชังได้แล้ว อธิบายว่า การอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) การอาศัยด้วยอำนาจตัณหา (๒) การอาศัย ด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าการอาศัยด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าการอาศัย ด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก ๒ อย่าง คือ (๑) ความรักด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ๒-
ว่าด้วยความชัง
คำว่า ความชัง ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้ คำว่า ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและความชังได้แล้ว อธิบายว่า พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้นตัดความรักด้วยอำนาจตัณหา ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ และความชัง ได้แล้ว คือ ตัดขาด ถอนขึ้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ก็ไม่อาศัยตา ไม่อาศัยหู ฯลฯ ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง คือ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ติดใจแล้ว ได้แก่ ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้อง แล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและ ความชังได้แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @๑-๒ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละนิวรณ์ ๕ อย่าง ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและความชังได้แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๓] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละสุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้แล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันสะอาดแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๒) คำว่า ละสุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้แล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละ ทุกข์และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาและสติอันบริสุทธิ์อยู่ รวมความว่า ละสุข และทุกข์ โสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้แล้ว คำว่า ได้อุเบกขาและสมถะอันสะอาดแล้ว อธิบายว่า คำว่า อุเบกขา ได้แก่ อุเบกขา ความเพิกเฉย ความเพิกเฉยอย่างยิ่ง ความที่ จิตสงบ ความที่จิตสงัด ความที่จิตเป็นกลางในจตุตถฌาน คำว่า สมถะ ได้แก่ ความตั้งมั่น ความดำรงมั่น ความไม่คลอนแคลน ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อุเบกขาและสมถะในจตุตถฌาน สะอาด คือ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว คำว่า ได้อุเบกขาและสมถะอันสะอาดแล้ว อธิบายว่า คือ ได้รับ ประสบ ได้เฉพาะแล้วซึ่งอุเบกขาในจตุตถฌานและสมถะ รวมความว่า ได้อุเบกขาและสมถะ อันสะอาดแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละสุข และทุกข์ โสมนัส และโทมนัสก่อนๆ ได้แล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันสะอาดแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๔] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ตั้งความเพียร เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๓) คำว่า ตั้งความเพียร เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง อธิบายว่า อมตนิพพาน ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่าประโยชน์อย่างยิ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตั้งความเพียรเพื่อบรรลุ คือ เพื่อได้ ได้เฉพาะ ถึง ถูกต้อง ทำให้แจ้งประโยชน์อย่างยิ่ง อยู่ ได้แก่ ลงแรง มีความบากบั่น มั่นคง เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม รวมความว่า ตั้งความเพียร เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง
ว่าด้วยการตั้งความเพียรเพื่อบรรลุธรรม
คำว่า มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน อธิบายว่า พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น ปลูกฉันทะให้เกิด พยายาม ตั้งความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันมิให้เกิดบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ปลูกฉันทะให้เกิด พยายาม ตั้งความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ปลูกฉันทะ ให้เกิด พยายาม ตั้งความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ปลูกฉันทะให้เกิด พยายาม ตั้งความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่ฟั่นเฟือน เจริญยิ่ง ไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว รวมความว่า มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิต มุ่งมั่นว่า “เนื้อและเลือดใน ร่างกายจงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามทีเถิด ผลใดพึง บรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วย ความบากบั่นของบุรุษ (ถ้า) ไม่บรรลุผลนั้นแล้วก็จักไม่หยุดความเพียร” แม้อย่าง นี้ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้ เราจะไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร ทั้งจักไม่เอนกายนอน๑-” แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุด พ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เลย” แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุด พ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราจักไม่ลุกจากที่นั่งนี้” แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “ตราบใดที่จิตของเรายังไม่ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราจักไม่ลงจากที่จงกรมนี้ ไม่ออกจากวิหาร ไม่ออกจากเรือนหลังคาด้านเดียว ไม่ออกจากปราสาท ไม่ออก จากเรือนโล้น ไม่ออกจากถ้ำ ไม่ออกจากที่หลีกเร้น ไม่ออกจากกุฎี ไม่ออกจาก เรือนยอด ไม่ออกจากป้อม ไม่ออกจากโรงกลม ไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น ไม่ออกจากศาลาที่บำรุง ไม่ออกจากมณฑป ไม่ออกจากโคนไม้นี้” แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้งซึ่งอริยธรรมเช้าวันนี้เอง” แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน @เชิงอรรถ : @ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๒๒๓/๓๗๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้งซึ่งอริยธรรมในเที่ยงนี้... เย็นนี้... ก่อนภัต... หลังภัต... ปฐมยาม... มัชฌิมยาม... ปัจฉิมยาม... ข้างแรม... ข้างขึ้น... ฤดูฝน... ฤดูหนาว... ฤดูร้อน... ปฐมวัย... มัชฌิมวัย... ปัจฉิมวัย นี้” แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน คำว่า มีความพากเพียรมั่นคง ในคำว่า มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึง เรี่ยวแรงและกำลังแล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น สมาทานมั่นคง สมาทานแน่วแน่ในกุศลธรรม คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต การจำแนกทาน การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ ความเกื้อกูลมารดา ความเกื้อกูลบิดา ความ เกื้อกูลสมณะ ความเกื้อกูลพราหมณ์ ความเป็นผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล (และ) ในธรรมอันเป็นกุศลยิ่งอื่นๆ รวมความว่า มีความพากเพียรมั่นคง คำว่า เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยเรี่ยวแรงกำลัง ความเพียร ความบากบั่นและปัญญา รวมความว่า มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือน นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ตั้งความเพียร เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๕] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้พอใจในความหลีกเร้น ยินดีในความหลีกเร้น หมั่นประกอบความสงบแห่ง จิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง มีฌาน ยินดีในฌาน หมั่นประกอบในความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว หนักในประโยชน์ ของตน รวมความว่า การหลีกเร้น คำว่า ไม่ละ... และฌาน อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ละฌาน ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. ท่านประกอบ ประกอบทั่ว ขวนขวาย มุ่งมั่น มุ่งมั่นเสมอ เพื่อความ เกิดขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น... เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น... เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น ได้แก่ ประกอบ ประกอบทั่ว ขวนขวาย มุ่งมั่น มุ่งมั่นเสมอ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น รวมความว่า ไม่ละ... และฌาน อย่างนี้บ้าง ๒. ท่านซ่องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้ว... ทุติยฌานที่ เกิดขึ้นแล้ว... ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว... ท่านซ่องเสพ เจริญทำให้มากซึ่งจตุตถฌาน ที่เกิดขึ้นแล้ว รวมความว่า ไม่ละ... และฌาน อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ไม่ละ การหลีกเร้นและฌาน คำว่า ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ อธิบายว่า สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ เรียกว่า ธรรม ธรรมสมควร เป็นอย่างไร คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติสมควร การปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติ เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ ความรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความ เพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติและสัมปชัญญะ เหล่านี้เรียกว่า ธรรมสมควร คำว่า ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ อธิบายว่า พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปในธรรมตลอดกาลเป็นนิจ คือ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลต่อเนื่องกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ตลอดกาลสืบเนื่องกัน ตลอดกาลติดต่อกัน ตลอดกาลเป็นลำดับ ตลอดกาล ติดต่อกันเหมือนระลอกคลื่น ตลอดกาลเป็นไปต่อเนื่องไม่ขาดสาย ตลอดกาล สืบต่อกันกระชั้นชิด ตลอดกาลก่อนภัต หลังภัต ตลอดปุริมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม ตลอดข้างแรม ข้างขึ้น ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน ตลอดปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย รวมความว่า ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ คำว่า พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว อธิบายว่า พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” พิจารณาเห็นโทษในภพแล้วว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง กล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๖] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท ไม่โง่เขลา คงแก่เรียน มีสติ ผู้มีสังขาตธรรม ผู้แน่นอน มีความมุ่งมั่น จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๕) คำว่า ปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท อธิบายว่า คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า ปรารถนาความสิ้นตัณหา อธิบายว่า ต้องการ ปรารถนา คือ ยินดี มุ่งหมาย มุ่งหวังความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ความสิ้นคติ ความสิ้นอุปบัติ ความสิ้นปฏิสนธิ ความสิ้นภพ ความสิ้นสังขาร ความสิ้นวัฏฏะ รวมความว่า ปรารถนาความสิ้นตัณหา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่ประมาท อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ทำโดยเคารพ ทำติดต่อ ฯลฯ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า ปรารถนา ความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท คำว่า ไม่โง่เขลา ในคำว่า ไม่โง่เขลา คงแก่เรียน มีสติ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มี ปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า ไม่โง่เขลา คำว่า คงแก่เรียน อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นพหูสูต ทรงจำ สิ่งที่เล่าเรียนมาแล้วไว้ได้ สั่งสมสิ่งที่เล่าเรียนมาแล้วไว้ได้ คือ ธรรมเหล่าใด ที่มี ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ธรรมเห็น ปานนั้นเป็นธรรมที่ท่านเล่าเรียนมามาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ชัดเจนตามทฤษฎี รวมความว่า คงแก่เรียน คำว่า มีสติ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้มีสติ คือ เพียบพร้อม ด้วยสติและปัญญารักษาตนอย่างยอดเยี่ยม ระลึกได้ ตามระลึกถึงกรรมที่ทำ คำที่ พูดไว้นานแล้วได้ รวมความว่า ไม่โง่เขลา คงแก่เรียน มีสติ คำว่า ผู้มีสังขาตธรรม ผู้แน่นอน มีความมุ่งมั่น อธิบายว่า ญาณ ท่าน เรียกว่า สังขาตธรรม ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑- คำว่า ผู้มีสังขาตธรรม อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นผู้มีสังขาตธรรม คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรม ได้แก่ ผู้มีสังขาตธรรม ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็น แจ้งธรรมว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นรู้ขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สังขาร วัฏฏะได้แล้ว อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นดำรงอยู่ในที่สุดแห่งขันธ์ ในที่สุด แห่งธาตุ ในที่สุดแห่งอายตนะ ในที่สุดแห่งคติ ในที่สุดแห่งอุปบัติ ในที่สุดแห่ง ปฏิสนธิ ในที่สุดแห่งภพ ในที่สุดแห่งสงสาร ในที่สุดแห่งวัฏฏะ ในที่สุดแห่งสังขาร ดำรงอยู่ในภพสุดท้าย ดำรงอยู่ในอัตภาพสุดท้าย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้ทรง ร่างกายสุดท้ายไว้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใดมีภพนี้เป็นภพสุดท้าย มีการประชุมแห่งขันธ์นี้เป็นครั้งสุดท้าย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่าผู้มีสังขาตธรรม คำว่า ผู้แน่นอน อธิบายว่า อริยมรรค ๔ เรียกว่า นิยาม(ความแน่นอน) พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยอริยมรรค ๔ จึงชื่อว่าผู้แน่นอน ได้แก่ บรรลุ ถึงพร้อม ถึง สัมผัส ทำให้แจ้งความแน่นอน ด้วยอริยมรรค จึงชื่อว่าผู้แน่นอน คำว่า มีความมุ่งมั่น อธิบายว่า วิริยะเรียกว่า ความมุ่งมั่น ได้แก่ การตั้ง ความเพียร การก้าวออก การก้าวไปข้างหน้า การย่างขึ้นไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมั่นคง ความทรงไว้ ความบากบั่นไม่ย่อหย่อน ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคองธุระไว้ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะอันเป็นไปทางใจ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยความมุ่งมั่นนี้ ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธ- เจ้านั้น จึงชื่อว่ามีความมุ่งมั่น รวมความว่า ผู้มีสังขาตธรรม ผู้แน่นอน มีความ มุ่งมั่น จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นั้นจึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท ไม่โง่เขลา คงแก่เรียน มีสติ ผู้มีสังขาตธรรม ผู้แน่นอน มีความมุ่งมั่น จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๗] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนราชสีห์ ไม่ติดข่ายเหมือนลม ไม่เปียกน้ำเหมือนบัว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๖) คำว่า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนราชสีห์ อธิบายว่า สีหะ พญามฤคราช ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่หวาดเสียว ไม่สะทกสะท้าน ไม่ตกใจ ไม่หวาดกลัว ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนีในเพราะเสียง ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่หวาดเสียว ไม่สะทก- สะท้าน ไม่ตกใจ ไม่หวาดกลัว ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ละภัย และความกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้าในเพราะเสียงอยู่ ฉันนั้น รวม ความว่า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนราชสีห์ คำว่า ลม ในคำว่า ไม่ติดข่ายเหมือนลม อธิบายว่า ลมตะวันออก ลม ตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่น ลมไม่มีฝุ่น ลมหนาว ลมร้อน ลมพัดเบา ลมพัดแรง ลมบ้าหมู ลมจากปีกนก ลมจากปีกครุฑ ลมจากใบตาล ลมจากพัด ข่ายทำด้วยด้ายเรียกว่า ข่าย ลมไม่ข้องขัด คือ ไม่ยึด ไม่ติด ไม่พัวพันอยู่ที่ข่าย ฉันใด ข่ายมี ๒ ชนิด คือ ๑. ข่ายตัณหา ๒. ข่ายทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าข่ายตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าข่ายทิฏฐิ๑- @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ ละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงไม่ข้องขัดอยู่ ในรูป เสียง ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ ไม่ยึด ไม่ผูก ไม่พัวพัน เป็นผู้ออกแล้ว สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ ฉันนั้น รวมความว่า ไม่ติด ข่ายเหมือนลม คำว่า ไม่เปียกน้ำ เหมือนบัว อธิบายว่า ดอกบัว เรียกว่า บัว น้ำท่า เรียกว่า น้ำ ดอกบัวไม่เปียก คือ ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติดด้วยน้ำ น้ำไม่เปียก ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติดดอกบัว ฉันใด ความยึดติดมี ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดติดด้วย อำนาจตัณหา (๒) ความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดติดด้วย อำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละความยึดติดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความยึด ติดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความยึดติดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้ง ความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิแล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในรูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง คือ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ ฉันนั้น รวมความว่า ไม่เปียกน้ำเหมือนบัว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนราชสีห์ ไม่ติดข่ายเหมือนลม ไม่เปียกน้ำเหมือนบัว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๕๘] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ ครอบงำเนื้อทั้งหลาย เที่ยวไป ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็มีปัญญาเป็นกำลัง ครอบงำบุคคลทั้งหลายด้วยปัญญา ใช้สอยเสนาสนะอันสงัด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น (๗) คำว่า พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำเนื้อทั้งหลาย เที่ยวไป ฉันใด อธิบายว่า สีหะ พญามฤคราช มีเขี้ยวเป็นกำลัง คือ มีเขี้ยวเป็นอาวุธครอบงำ คือ ข่มขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีสัตว์เดรัจฉานทุกจำพวก เป็นอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็มีปัญญาเป็นกำลัง คือ มีปัญญาเป็นอาวุธ ย่อม ครอบงำ คือ ข่มขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลผู้มีชีวิตทุกจำพวกด้วยปัญญา ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลังข่มขี่ครอบงำเนื้อ ทั้งหลาย เที่ยวไป ฉันใด คำว่า ใช้สอยเสนาสนะอันสงัด อธิบายว่า สีหะ พญามฤคราช เข้าสู่ป่าลึก เป็นอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันเป็นป่าทึบและป่าละเมาะ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถาน ที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เดินไป ผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับ ผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว ฉันนั้น รวมความว่า ใช้สอย เสนาสนะอันสงัด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำเนื้อทั้งหลาย เที่ยวไป ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็มีปัญญาเป็นกำลัง ครอบงำบุคคลทั้งหลายด้วยปัญญา ใช้สอยเสนาสนะอันสงัด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น [๑๕๙] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล สัตว์โลกทั้งปวงมิได้เกลียดชัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๘) คำว่า เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ทิศ ๒... ทิศ ๓... ทิศ ๔...ก็เช่นเดียวกัน ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ามีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตอัน ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ รวมความว่า เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง มิได้เกลียดชัง อธิบายว่า เพราะเป็นผู้เจริญพรหม- วิหารมีเมตตาเป็นต้น สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกก็ไม่เกลียดชัง สัตว์ที่อยู่ทางทิศ ตะวันตกก็ไม่เกลียดชัง ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศเหนือ ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศใต้ ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้(อาคเณย์) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียง เหนือ(พายัพ) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้(หรดี) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศเบื้องล่าง ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทาง ทิศเบื้องบน ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทั้งสิบทิศก็ไม่เกลียดชัง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง มิได้เกลียดชัง อธิบายว่า สัตว์โลกทั้งปวงไม่เกลียดชัง คือ ไม่โกรธ ไม่อาฆาต ไม่กระทบกระทั่ง รวมความว่า สัตว์โลกทั้งปวง มิได้ เกลียดชัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นั้นจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล สัตว์โลกทั้งปวงมิได้เกลียดชัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๖๐] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๙) คำว่า ละราคะ โทสะ และโมหะ อธิบายว่า คำว่า ราคะ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- คำว่า โทสะ ได้แก่ ความอาฆาตแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นจิต คำว่า โมหะ คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ข่ายคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ คำว่า ละราคะ โทสะ และโมหะ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ละ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ รวมความว่า ละราคะ โทสะ และโมหะ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐
คำว่า ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง คือ ๑. กามราคสังโยชน์ ๒. ปฏิฆสังโยชน์ ฯลฯ ๑๐. อวิชชาสังโยชน์๑- คำว่า ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว อธิบายว่า ทำลาย คือ ทะลาย ทำให้พัง ทำให้พังทลาย ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งสังโยชน์ ๑๐ อย่าง รวมความว่า ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว คำว่า ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ในเวลา จบชีวิต ก็ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่หวาดเสียว ไม่สะทกสะท้าน ไม่ตกใจ ไม่ หวาดกลัว ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ละภัยและความหวาดกลัว ได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า อยู่ รวมความว่า ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง กล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๖๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ทุกวันนี้มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงคบและเสพด้วย มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตนไม่สะอาด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑๐) @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔๘/๔๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า มีประโยชน์เป็นเหตุจึงคบและเสพด้วย อธิบายว่า มิตรทั้งหลายมี ประโยชน์ตนเป็นเหตุ มีประโยชน์ผู้อื่นเป็นเหตุ มีประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเป็นเหตุ มีประโยชน์ในภพปัจจุบันเป็นเหตุ มีประโยชน์ในภพหน้าเป็นเหตุ มีประโยชน์อย่าง ยิ่งเป็นเหตุ จึงคบ คือ คบหา เสพ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะ รวมความว่า มีประโยชน์เป็นเหตุจึงคบและเสพด้วย คำว่า ทุกวันนี้มิตรทั้งหลาย...มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก อธิบายว่า มิตรมี ๒ จำพวก คือ ๑. อาคาริกมิตร (มิตรครองเรือน) ๒. อนาคาริกมิตร (มิตรไม่ครองเรือน) ฯลฯ นี้ชื่อว่าอาคาริกมิตร ฯลฯ นี้ชื่อว่าอนาคาริกมิตร๑- คำว่า ทุกวันนี้มิตรทั้งหลาย... มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก อธิบายว่า มิตร ๒ จำพวก เหล่านี้ ไม่มีเหตุ ไม่มุ่งประโยชน์ คือ หาเหตุมิได้ ไม่มีปัจจัย หาได้ยาก ได้ยาก แสนยาก รวมความว่า ทุกวันนี้มิตรทั้งหลาย... มิตรที่ไม่มุ่ง ประโยชน์หาได้ยาก คำว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ในคำว่า มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่ง ประโยชน์ตนไม่สะอาด อธิบายว่า เหล่ามนุษย์คบ คบหา เสพ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ เข้าไปนั่งใกล้ ไต่ถาม ถามปัญหา เพื่อประโยชน์ของตน เพราะเหตุแห่งตน เพราะปัจจัยแห่งตน เพราะ การณ์แห่งตน รวมความว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน
ว่าด้วยกรรมไม่สะอาด
คำว่า มนุษย์ทั้งหลาย... ไม่สะอาด อธิบายว่า เพราะประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒๓/๔๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เพราะประกอบด้วยปาณาติบาตอันไม่สะอาด... ... อทินนาทานอันไม่สะอาด... ... กาเมสุมิจฉาจารอันไม่สะอาด... ... มุสาวาทอันไม่สะอาด... ... ปิสุณาวาจาอันไม่สะอาด... ... ผรุสวาจาอันไม่สะอาด... ... สัมผัปปลาปะอันไม่สะอาด... ... อภิชฌาอันไม่สะอาด... ... พยาบาทอันไม่สะอาด... เพราะประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยเจตนาอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยความปรารถนาอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยปณิธาน(ความตั้งใจ) อันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่า ไม่สะอาด คือ เลว ทราม ต่ำทราม ต่ำ น่ารังเกียจ หยาบ เล็กน้อย รวมความว่า มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ไม่สะอาด คำว่า ผู้เดียว ในคำว่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะส่วนแห่งการบรรพชา ฯลฯ คำว่า ประพฤติ ได้แก่ ความประพฤติ ๘ อย่าง๑- ฯลฯ คำว่า เหมือนนอแรด อธิบายว่า ธรรมดาแรด มีนอเดียว ไม่มีนอที่สอง ฉันใด ฯลฯ รวมความว่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒๑/๓๙๙-๔๐๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

ทุกวันนี้มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงคบและเสพด้วย มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตนไม่สะอาด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
จตุตถวรรคจบ
ขัคควิสาณสุตตนิทเทสที่ ๑๙ จบ
การอธิบายคำสอนแก่พราหมณ์ ผู้ถึงฝั่ง ๑๖ คนเหล่านี้ คือ (๑) อชิตะ (๒) ติสสเมตเตยยะ (๓) ปุณณกะ (๔) เมตตคู (๕) โธตกะ (๖) อุปสีวะ (๗) นันทะ (๘) เหมกะ (๙) โตเทยยะ (๑๐) กัปปะ (๑๑) ชตุกัณณิผู้เป็นบัณฑิต (๑๒) ภัทราวุธ (๑๓) อุทัย (๑๔) โปสาละผู้เป็นพราหมณ์ (๑๕) โมฆราชผู้มีปัญญา (๑๖) ปิงคิยะผู้เป็นมหาฤๅษี มีประมาณเท่านี้แล แม้การอธิบายขัคควิสาณสุตรก็มีประมาณเท่านี้ นิทเทสที่ควรรู้ทั้ง ๒ ภาค ท่านกำหนดทำไว้บริบูรณ์ดีแล้ว
จูฬนิทเทส จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๐๒}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๔๕๙-๕๐๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=13289&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=30&siri=37              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=6139&Z=8166&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=663              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=30&item=663&items=159              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=30&item=663&items=159              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]