ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๙. วิปัสสนากถา
ว่าด้วยวิปัสสนา
[๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลย๑- ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารบางอย่างโดยความ เที่ยง จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ๒- เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วย อนุโลมขันติจักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม๓- เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตต- นิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๑) @เชิงอรรถ : @ เป็นไปไม่ได้เลย หมายถึงปฏิเสธฐานะ (เหตุ) และปฏิเสธโอกาส (ปัจจัย) ที่เป็นไปได้ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗, @องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) @ อนุโลมขันติ หมายถึงวิปัสสนาญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗) @ สัมมัตตนิยาม หมายถึงโลกุตตรมรรค โดยวิเศษก็คือโสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๙. วิปัสสนากถา

เป็นไปได้๑- ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง จักเป็นผู้ ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่ สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๒) เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารบางอย่างโดยความเป็นสุข จักเป็น ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ ให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๓) เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้ ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่ สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๔) เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมบางอย่างโดยความเป็นอัตตา จัก เป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ ให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๕) เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมบางอย่างโดยความเป็นอนัตตา จักเป็นผู้ ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่ สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๖) เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้ ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จัก หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้ แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๗) @เชิงอรรถ : @ เป็นไปได้ ในที่นี้หมายถึงยอมรับฐานะ (เหตุ) ที่เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๙. วิปัสสนากถา

เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบ ด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตต- นิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทา- คามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๘) [๓๗] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย อาการเท่าไร ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย อาการ ๔๐ อย่าง ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย อาการ ๔๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุเห็นเบญจขันธ์ ๑. โดยความไม่เที่ยง ๒. โดยความเป็นทุกข์ ๓. โดยความเป็นโรค ๔. โดยความเป็นดังหัวฝี ๕. โดยความเป็นดังลูกศร ๖. โดยเป็นความลำบาก ๗. โดยเป็นอาพาธ ๘. โดยเป็นอย่างอื่น ๙. โดยเป็นของชำรุด ๑๐. โดยเป็นอัปปมงคล ๑๑. โดยเป็นอันตราย ๑๒. โดยเป็นภัย ๑๓. โดยเป็นอุปสรรค ๑๔. โดยเป็นความหวั่นไหว ๑๕. โดยเป็นของผุพัง ๑๖. โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ๑๗. โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑๘. โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑๙. โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ๒๐. โดยเป็นความว่างเปล่า ๒๑. โดยความเปล่า ๒๒. โดยเป็นสุญญตะ (ความว่าง) ๒๓. โดยเป็นอนัตตา ๒๔. โดยเป็นโทษ ๒๕. โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ๒๖. โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๙. วิปัสสนากถา

๒๗. โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ๒๘. โดยเป็นดังเพชฌฆาต ๒๙. โดยเป็นความเสื่อมไป ๓๐. โดยเป็นของมีอาสวะ ๓๑. โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ๓๒. โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร ๓๓. โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ๓๔. โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๓๕. โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ๓๖. โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๓๗. โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ๓๘. โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา ๓๙. โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ๔๐. โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา [๓๘] ๑. ภิกษุเมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง” ย่อม หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสุข” ย่อมหยั่งสู่ สัมมัตตนิยาม ๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ เห็นว่า “ความดับเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโรค” ย่อมหยั่งลงสู่ สัมมัตตนิยาม ๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังหัวฝี ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังหัวฝี” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๙. วิปัสสนากถา

๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความลำบาก ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความลำบาก” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอาพาธ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ” ย่อมหยั่งลงสู่ สัมมัตตนิยาม ๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นอื่น ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของชำรุด ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน ไม่มีความชำรุดเป็นธรรมดา” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๑๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอัปปมงคลย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีเสนียด” ย่อม หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๑๑. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอันตราย ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอันตราย” ย่อมหยั่งลงสู่ สัมมัตตนิยาม ๑๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นภัย ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีภัย” ย่อมหยั่งลงสู่ สัมมัตตนิยาม ๑๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอุปสรรคย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค” ย่อมหยั่งลง สู่สัมมัตตนิยาม ๑๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความหวั่นไหว ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความหวั่นไหว” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๙. วิปัสสนากถา

๑๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของผุพัง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความผุพัง” ย่อมหยั่งลง สู่สัมมัตตนิยาม ๑๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๑๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่ต้านทาน” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๑๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่ป้องกัน” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๑๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่พึ่ง” ย่อมหยั่งลง สู่สัมมัตตนิยาม ๒๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยว่างเปล่า ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่างเปล่า” ย่อมหยั่งลง สู่สัมมัตตนิยาม ๒๑. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความเปล่า ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เปล่า” ย่อมหยั่งลง สู่สัมมัตตนิยาม ๒๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นสุญญตะ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานว่างยิ่ง” ย่อมหยั่งลง สู่สัมมัตตนิยาม ๒๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอนัตตา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีประโยชน์อย่างยิ่ง” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๙. วิปัสสนากถา

๒๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นโทษ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโทษ” ย่อมหยั่งลงสู่ สัมมัตตนิยาม ๒๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ย่อม ได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๒๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีแก่นสาร” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๒๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่ง ความลำบาก” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๒๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นดังเพชฌฆาต ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๒๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความเสื่อมไป ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเสื่อมไป” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๓๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีอาสวะ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๓๑. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ถูกปัจจัย ปรุงแต่ง” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๓๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่ง มาร” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๙. วิปัสสนากถา

๓๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมได้ อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ มีความเกิด” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๓๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมได้ อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ มีความแก่” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๓๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ย่อมได้ อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๓๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ย่อมได้ อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ มีความตาย” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๓๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ย่อม ได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน ไม่มีความเศร้าโศก” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๓๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา ย่อมได้ อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ มีความรำพัน” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๓๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานที่ไม่มีความคับแค้นใจ” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๔๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานไม่มีความเศร้าหมอง” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๙. วิปัสสนากถา

[๓๙] คำว่า โดยความไม่เที่ยง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา คำว่า โดยความเป็นทุกข์ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยความเป็นโรค ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยความเป็นดังหัวฝี ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยความเป็นดังลูกศร ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นความลำบาก ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นอาพาธ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นอย่างอื่น ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของชำรุด ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นอัปปมงคล ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา (๑๐) คำว่า โดยเป็นอันตราย ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นภัย ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นอุปสรรค ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นความหวั่นไหว ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของผุพัง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นความว่างเปล่า ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา (๑๐=๒๐) คำว่า โดยความเปล่า ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นสุญญตะ ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นอนัตตา ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นโทษ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๙. วิปัสสนากถา

คำว่า โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นดังเพชฌฆาต ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นความเสื่อมไป ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของมีอาสวะ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา (๑๐ = ๓๐) คำว่า โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา คำว่า โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา (๑๐ = ๔๐) ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ ผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย อาการ ๔๐ อย่างนี้มีอนิจจานุปัสสนาเท่าไร มีทุกขานุปัสสนาเท่าไร มีอนัตตา- นุปัสสนาเท่าไร ท่านกล่าวว่า มีอนิจจานุปัสสนา ๕๐ มีทุกขานุปัสสนา ๑๒๕ มีอนัตตานุปัสสนา ๒๕ ฉะนี้
วิปัสสนากถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๐๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๕๙๖-๖๐๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=17489&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=88              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=10812&Z=10974&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=731              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=731&items=6              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=731&items=6              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]