ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

จตุกกมาติกา

จตุกกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๔
อุปาทาอุปาทินนจตุกกะ
[๕๘๖] รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ยึดถือก็มี (๘๘๒) รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ ทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี (๘๘๓) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี (๘๘๔) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอัน ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี (๘๘๕)
อุปาทาอุปาทินนุปาทานิยจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น อารมณ์ของอุปาทานก็มี (๘๘๖) รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบ ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๘๘๗) รูปที่ไม่เป็น อุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ อุปาทานก็มี (๘๘๘) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา และทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๘๘๙)
อุปาทาสัปปฏิฆจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กระทบได้ก็มี (๘๙๐) รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็น รูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๘๙๑) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กระทบได้ก็มี (๘๙๒) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๘๙๓)
อุปาทาโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปหยาบก็มี (๘๙๔) รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูป ละเอียดก็มี (๘๙๕) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปหยาบก็มี (๘๙๖) รูปที่ไม่เป็น อุปาทายรูป เป็นรูปละเอียดก็มี (๘๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

จตุกกมาติกา

อุปาทาทูเรจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปไกลก็มี (๘๙๘) รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปใกล้ ก็มี (๘๙๙) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปไกลก็มี (๙๐๐) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปใกล้ก็มี (๙๐๑)
อุปาทินนสนิทัสสนจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปที่เห็นได้ก็มี (๙๐๒) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้ก็มี (๙๐๓) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปที่เห็นได้ก็มี (๙๐๔) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้ก็มี (๙๐๕)
อุปาทินนสัปปฏิฆจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปที่กระทบได้ก็มี (๙๐๖) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๙๐๗) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปที่กระทบได้ก็มี (๙๐๘) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๙๐๙)
อุปาทินนมหาภูตจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๑๐) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๑๑) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๑๒) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๑๓)
อุปาทินนโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปหยาบก็มี (๙๑๔) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปละเอียดก็มี (๙๑๕) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปหยาบก็มี (๙๑๖) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปละเอียดก็มี (๙๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

จตุกกมาติกา

อุปาทินนทูเรจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปไกลก็มี (๙๑๘) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปใกล้ก็มี (๙๑๙) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปไกลก็มี (๙๒๐) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปใกล้ก็มี (๙๒๑)
อุปาทินนุปาทานิยสนิทัสสนจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปที่เห็นได้ก็มี (๙๒๒) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น อารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปที่เห็นไม่ได้ก็มี (๙๒๓) รูปที่กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปที่เห็นได้ก็มี (๙๒๔) รูป ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูป ที่เห็นไม่ได้ก็มี (๙๒๕)
อุปาทินนุปาทานิยสัปปฏิฆจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปที่กระทบได้ก็มี (๙๒๖) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น อารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๙๒๗) รูปที่กรรมอันประกอบ ด้วยด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปที่กระทบได้ ก็มี (๙๒๘) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ ของอุปาทาน เป็นรูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๙๒๙)
อุปาทินนุปาทานิยมหาภูตจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๓๐) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น อารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๓๑) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๓๒) รูป ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น มหาภูตรูปก็มี (๙๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

จตุกกมาติกา

อุปาทินนุปาทานิยโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปหยาบก็มี (๙๓๔) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น อารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปละเอียดก็มี (๙๓๕) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปหยาบก็มี (๙๓๖) รูปที่ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูป ละเอียดก็มี (๙๓๗)
อุปาทินนุปาทานิยทูเรจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปไกลก็มี (๙๓๘) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ ของอุปาทาน เป็นรูปใกล้ก็มี (๙๓๙) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปไกลก็มี (๙๔๐) รูปที่กรรมอันประกอบ ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปใกล้ก็มี (๙๔๑)
สัปปฏิฆอินทริยจตุกกะ
รูปที่กระทบได้เป็นอินทริยรูปก็มี (๙๔๒) รูปที่กระทบไม่ได้เป็นอินทริยรูปก็มี (๙๔๓) รูปที่กระทบไม่ได้เป็นอินทริยรูปก็มี (๙๔๔) รูปที่กระทบไม่ได้ไม่เป็นอินทริย- รูปก็มี (๙๔๕)
สัปปฏิฆมหาภูตจตุกกะ
รูปที่กระทบได้เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๔๖) รูปที่กระทบได้ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๔๗) รูปที่กระทบไม่ได้เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๔๘) รูปที่กระทบไม่ได้ไม่เป็นมหา- ภูตรูปก็มี (๙๔๙)
อินทริยโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่เป็นอินทริยรูป เป็นรูปหยาบก็มี (๙๕๐) รูปที่เป็นอินทริยรูป เป็นรูป ละเอียดก็มี (๙๕๑) รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูป เป็นรูปหยาบก็มี (๙๕๒) รูปที่ไม่เป็น อินทริยรูป เป็นรูปละเอียดก็มี (๙๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

จตุกกมาติกา

อินทริยทูเรจตุกกะ
รูปที่เป็นอินทริยรูป เป็นรูปไกลก็มี (๙๕๔) รูปที่เป็นอินทริยรูป เป็นรูปใกล้ก็มี (๙๕๕) รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูป เป็นรูปไกลก็มี (๙๕๖) รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปเป็น รูปใกล้ก็มี (๙๕๗)
มหาภูตโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูปหยาบก็มี (๙๕๘) รูปที่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูป ละเอียดก็มี (๙๕๙) รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูปหยาบก็มี (๙๖๐) รูปที่ไม่เป็น มหาภูตรูป เป็นรูปละเอียดก็มี (๙๖๑)
มหาภูตทูเรจตุกกะ
รูปที่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูปไกลก็มี (๙๖๒) รูปที่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูปใกล้ ก็มี (๙๖๓) รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูปไกลก็มี (๙๖๔) รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูปใกล้ก็มี (๙๖๕)
ทิฏฐาทิจตุกกะ
รูปเป็นรูปที่เห็นได้ เป็นรูปที่สดับได้ เป็นรูปที่ทราบได้ เป็นรูปที่รู้แจ้งได้๑- (๙๖๖)
รวมรูปหมวดละ ๔ อย่างนี้
จตุกกมาติกา จบ
@เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

สัตตกมาติกา

ปัญจกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๕
[๕๘๗] รูปที่เป็นปฐวีธาตุ (๙๖๗) รูปที่เป็นอาโปธาตุ (๙๖๘) รูปที่เป็นเตโชธาตุ (๙๖๙) รูปที่เป็นวาโยธาตุ (๙๗๐) รูปที่เป็นอุปาทายรูป๑- (๙๗๑)
รวมรูปหมวดละ ๕ อย่างนี้
ปัญจกมาติกา จบ
ฉักกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๖
[๕๘๘] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้ รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้ รูปที่กายวิญญาณรู้ได้ รูปที่มโนวิญญาณรู้ได้๑- (๙๗๒)
รวมรูปหมวดละ ๖ อย่างนี้
ฉักกมาติกา จบ
สัตตกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๗
[๕๘๙] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้ รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้ รูปที่กายวิญญาณรู้ได้ รูปที่มโนธาตุรู้ได้ รูปที่มโนวิญญาณ- ธาตุรู้ได้๑- (๙๗๓)
รวมรูปหมวดละ ๗ อย่างนี้
สัตตกมาติกา จบ
@เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

ทสกมาติกา

อัฏฐกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๘
[๕๙๐] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้ รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้ รูปที่กายวิญญาณรู้ได้ ที่มีสัมผัสเป็นสุขก็มี ที่มีสัมผัสเป็น ทุกข์ก็มี รูปที่มโนธาตุรู้ได้ รูปที่มโนวิญญาณธาตุรู้ได้๑- (๙๗๔)
รวมรูปหมวดละ ๘ อย่างนี้
อัฏฐกมาติกา จบ
นวกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๙
[๕๙๑] รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ รูปที่เป็นโสตินทรีย์ รูปที่เป็นฆานินทรีย์ รูปที่เป็น ชิวหินทรีย์ รูปที่เป็นกายินทรีย์ รูปที่เป็นอิตถินทรีย์ รูปที่เป็นปุริสินทรีย์ รูปที่เป็น ชีวิตินทรีย์ รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์๑- (๙๗๕)
รวมรูปหมวดละ ๙ อย่างนี้
นวกมาติกา จบ
ทสกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๑๐
[๕๙๒] รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ รูปที่เป็นโสตินทรีย์ รูปที่เป็นฆานินทรีย์ รูปที่เป็น ชิวหินทรีย์ รูปที่เป็นกายินทรีย์ รูปที่เป็นอิตถินทรีย์ รูปที่เป็นปุริสินทรีย์ รูปที่ เป็นชีวิตินทรีย์ รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์๑- ที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี (๙๗๖-๙๘๑)
รวมรูปหมวดละ ๑๐ อย่างนี้
ทสกมาติกา จบ
@เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ เอกกนิทเทส

เอกาทสกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๑๑
[๕๙๓] รูปที่เป็นจักขายตนะ รูปที่เป็นโสตายตนะ รูปที่เป็นฆานายตนะ รูปที่ เป็นชิวหายตนะ รูปที่เป็นกายายตนะ รูปที่เป็นรูปายตนะ รูปที่เป็นสัททายตนะ รูป ที่เป็นคันธายตนะ รูปที่เป็นรสายตนะ รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ รูปที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้๑- ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ (๙๘๒-๙๘๔)
รวมรูปหมวดละ ๑๑ อย่างนี้
เอกาทสกมาติกา จบ
มาติกา จบ
รูปวิภัตติ
เอกกนิทเทส
[๕๙๔] รูปทั้งหมดไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของ นิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่เป็นเจตสิก วิปปยุตจากจิต ไม่เป็นวิบากและไม่ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้ง วิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคตด้วยสุข ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ มรรคเบื้องบน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็น @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๘๙}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=34&A=5245&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=48              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=4141&Z=4393&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=503              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=503&items=11              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=503&items=11              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]