ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ติกนิกเขปะ

[๑๐๒๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน มรรค ๔ ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึง นิพพาน๑- [๑๐๒๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิจุติและนิพพาน เป็นไฉน วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ซึ่งไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม รูป ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุให้ถึง ปฏิสนธิจุติและนิพพาน๑-
๑๑. เสกขติกะ
[๑๐๒๓] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล เป็นไฉน มรรค ๔ ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และสามัญญผล ๓ เบื้องต่ำ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นของเสขบุคคล๒- [๑๐๒๔] สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล เป็นไฉน อรหัตตผลอันตั้งอยู่เบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นของอเสขบุคคล [๑๐๒๕] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่ เหลือซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นของเสขบุคคล และอเสขบุคคล
๑๒. ปริตตติกะ
[๑๐๒๖] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นกามาวจรทั้งหมด ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นปริตตะ๒- @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ.อ. ๙๑ @ อภิ.สงฺ.อ. ๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ติกนิกเขปะ

[๑๐๒๗] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤต ซึ่งเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นมหัคคตะ๑- [๑๐๒๘] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน มรรค ผลของมรรค และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัปปมาณะ๑-
๑๓. ปริตตารัมมณติกะ
[๑๐๒๙] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปริตตะเป็นอารมณ์๑- [๑๐๓๐] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมหัคคตะเป็นอารมณ์๑- [๑๐๓๑] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีอัปปมาณะเป็นอารมณ์๑-
๑๔. หีนติกะ
[๑๐๓๒] สภาวธรรมชั้นต่ำ เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ อกุศลมูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมชั้นต่ำ๑- [๑๐๓๓] สภาวธรรมชั้นกลาง เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ.อ. ๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ติกนิกเขปะ

สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤต เป็นอารมณ์ของอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมชั้นกลาง๑- [๑๐๓๔] สภาวธรรมชั้นประณีต เป็นไฉน มรรค ผลของมรรค และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมชั้นประณีต๑-
๑๕. มิจฉัตตติกะ
[๑๐๓๕] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน อนันตริยกรรม ๕ และมิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน๑- [๑๐๓๖] สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน มรรค ๔ ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีสภาวะชอบ และให้ผลแน่นอน๑- [๑๐๓๗] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่ เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น๑-
๑๖. มัคคารัมมณติกะ
[๑๐๓๘] สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ามีมรรคเป็นอารมณ์๑- [๑๐๓๙] สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นเหตุ เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ.อ. ๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ติกนิกเขปะ

เว้นองค์มรรคแล้ว เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยองค์มรรค นั้นของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมรรคเป็นเหตุ สัมมาทิฏฐิของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เป็นมรรคและเป็นเหตุ เว้น สัมมาทิฏฐิแล้ว เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐินั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมรรคเป็นเหตุ อโลภะ อโทสะ และอโมหะของท่านผู้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมรรคเป็นเหตุ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอโลภะ อโทสะ และอโมหะนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า มีมรรคเป็นเหตุ๑- [๑๐๔๐] สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอธิบดี เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น สภาวธรรม เหล่านี้ ชื่อว่ามีมรรคเป็นอธิบดี เวทนาขันธ์ ฯลฯ เว้นวิมังสาของท่านผู้พรั่งพร้อม ด้วยอริยมรรคซึ่งกำลังเจริญมรรคที่มีวิมังสาเป็นอธิบดีแล้ว เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยวิมังสานั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมรรคเป็นอธิบดี๒-
๑๗. อุปปันนติกะ
[๑๐๔๑] สภาวธรรมที่เกิดขึ้น เป็นไฉน สภาวธรรมที่เกิด ที่เป็น เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เกิดขึ้น สงเคราะห์เข้ากับส่วนที่เกิดขึ้น ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่เกิดขึ้น๒- [๑๐๔๒] สภาวธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน สภาวธรรมที่ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ ยังไม่ ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่ยังไม่ เกิดขึ้น สงเคราะห์เข้ากับส่วนที่ยังไม่เกิดขึ้น ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ายังไม่เกิดขึ้น๒- @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ.อ. ๙๒ @ อภิ.สงฺ.อ. ๙๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ติกนิกเขปะ

[๑๐๔๓] สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอน เป็นไฉน วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่ยังไม่ให้ผล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ- ขันธ์ และรูปที่กรรมปรุงแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าจักเกิดขึ้นแน่นอน๑-
๑๘. อตีตติกะ
[๑๐๔๔] สภาวธรรมที่เป็นอดีต เป็นไฉน สภาวธรรมที่ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความดับสูญแล้ว เกิดขึ้นดับไปแล้ว ที่ล่วงไปแล้ว สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ล่วงไปแล้ว ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอดีต๑- [๑๐๔๕] สภาวธรรมที่เป็นอนาคต เป็นไฉน สภาวธรรมที่ยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่ยังไม่ มาถึง สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่มาถึง ได้แก่ รูปขันธ์ เวนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอนาคต๑- [๑๐๔๖] สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน สภาวธรรมที่กำลังเกิด กำลังเป็น กำลังเกิดพร้อม กำลังบังเกิด กำลังบังเกิด เฉพาะ กำลังปรากฏ กำลังเกิดขึ้น กำลังเกิดขึ้นพร้อม กำลังตั้งขึ้น กำลังตั้งขึ้นพร้อม กำลังเกิดขึ้นเฉพาะ สงเคราะห์ด้วยส่วนที่กำลังเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เป็นปัจจุบัน๑-
๑๙. อตีตารัมมณติกะ
[๑๐๔๗] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ.อ. ๙๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ติกนิกเขปะ

สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอดีตเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ามีอดีตธรรมเป็นอารมณ์๑- [๑๐๔๘] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอนาคตเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์๑- [๑๐๔๙] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์๑-
๒๐. อัชฌัตตติกะ
[๑๐๕๐] สภาวธรรมที่เป็นภายในตน เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดแต่ตน เป็นของเฉพาะแต่ละ บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ของสัตว์นั้นๆ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น ภายในตน๑- [๑๐๕๑] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นภายในตน เป็นของเฉพาะตน เกิดแต่ตน เป็นของเฉพาะ แต่ละบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ของสัตว์อื่น ของบุคคล อื่นนั้นๆ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายนอกตน๑- [๑๐๕๒] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและภายนอกตน เป็นไฉน สภาวธรรมทั้งสองประเภทที่กล่าวมานั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายใน ตนและภายนอกตน๑-
๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ
[๑๐๕๓] สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ.อ. ๙๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ติกนิกเขปะ

สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายในตนเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์๑- [๑๐๕๔] สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์๑- [๑๐๕๕] สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายในตนและภาย นอกตนเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น อารมณ์๑-
๒๒. สนิทัสสนติกะ
[๑๐๕๖] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ เป็นไฉน รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นได้และกระทบได้๑- [๑๐๕๗] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้แต่ กระทบได้๑- [๑๐๕๘] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้๑-
ติกนิกเขปะ จบ
@เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ.อ. ๙๓-๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๗๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๒๖๔-๒๗๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=34&A=7570&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=54              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=5746&Z=6041&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=663              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=663&items=26              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=663&items=26              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]