ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค]

๑. กัปปัฏฐกถา (๑๒๖)

๑๓. เตรสมวรรค
๑. กัปปัฏฐกถา (๑๒๖)
ว่าด้วยผู้ดำรงอยู่ได้ตลอดกัป
[๖๕๔] สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ๑- พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. กัปดำรงอยู่และพระพุทธเจ้าก็อุบัติในโลกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กัปดำรงอยู่และพระสงฆ์แตกกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กัปดำรงอยู่และบุคคลผู้กัปปัฏฐะก็ทำกรรมอันเป็นเหตุให้ตั้งอยู่ตลอดกัป ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ผู้กัปปัฏฐะ หมายถึงผู้ทำกรรมหนักไม่ว่าฝ่ายกุศล หรือฝ่ายอกุศล เมื่อตายแล้วจะเกิดอยู่ในภพภูมิหนึ่ง @ตลอดกัป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๔-๖๕๗/๒๖๖) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๔-๖๕๗/๒๖๖) @ เพราะมีความเห็นว่า ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันจะต้องรับกรรมในนรกตลอดกัป ที่เรียกว่ามหากัป อย่างแน่นอน @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๔-๖๕๗/๒๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๐๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค]

๑. กัปปัฏฐกถา (๑๒๖)

สก. กัปดำรงอยู่และบุคคลผู้กัปปัฏฐะทำกาละใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๕๕] สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พึงดำรงอยู่ตลอดกัปที่เป็นอดีต ตลอดกัปที่เป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พึงดำรงอยู่ตลอด ๒-๓-๔ กัปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๕๖] สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ เมื่อกัปถูกไฟไหม้ไปที่ไหน ปร. ไปโลกธาตุอื่น สก. ตายไปหรือเหาะไป ปร. ตายไป สก. กรรมที่เป็นเหตุให้ตั้งอยู่ตลอดกัปเป็นกรรมให้ผลในภพต่อๆ ไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เหาะไปได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค]

๑. กัปปัฏฐกถา (๑๒๖)

สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะเป็นผู้มีฤทธิ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะเป็นผู้มีฤทธิ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะเจริญอิทธิบาท คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๕๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้กัปปัฏฐะยังดำรงอยู่ได้ตลอดกัป” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีในการแตกกัน อยู่ในอธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป พลาดจากนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ๑- เสวยผลกรรมอยู่ในนรกตลอดกัป เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น บุคคลผู้กัปปัฏฐะจึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป
กัปปัฏฐกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมเกษมจากโยคะ หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๓๙-๔๐/๓๔๕) @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๓๙/๙๐-๙๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๑๑}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๐๙-๗๑๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=19455&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=144              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=15443&Z=15499&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1513              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1513&items=2              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1513&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]