ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

๑. นิคคหกถา (๑๕๖)

๑๖. โสฬสมวรรค
๑. นิคคหกถา (๑๕๖)
ว่าด้วยการข่มจิต
[๗๔๓] สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นว่า “อย่ากำหนัด อย่าขัดเคือง อย่าหลง อย่าเศร้าหมองได้” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลอื่นข่มได้ว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแก่คนอื่นอย่าได้ดับไปเลย” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลอื่นข่มได้ว่า “เวทนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ สัญญาที่เกิดขึ้น ฯลฯ เจตนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ จิตที่เกิดขึ้น ฯลฯ สัทธาที่เกิดขึ้น ฯลฯ วิริยะที่เกิดขึ้น ฯลฯ สติที่เกิดขึ้น ฯลฯ สมาธิที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแก่คนอื่นอย่าได้ดับไปเลย” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๓/๒๘๔) @ เพราะมีความเห็นว่า ผู้ที่มีความชำนาญในฌานอภิญญาย่อมสามารถข่มจิตของคนอื่นได้ ซึ่งต่างกับความ @เห็นของสกวาทีที่เห็นว่า บุคคลไม่สามารถใช้จิตของตนข่มจิตของคนอื่นได้โดยตรง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๓/๒๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

๑. นิคคหกถา (๑๕๖)

สก. บุคคลอื่นละราคะ โทสะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่นได้ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลอื่นเจริญมรรค สติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลอื่นกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค เพื่อ ประโยชน์แก่คนอื่นได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลอื่นทำให้แก่คนอื่น สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน ทั้งทำและเสวยใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

๒. ปัคคหกถา (๑๕๗)

สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลทำบาปเองก็เศร้าหมองเอง ไม่ทำบาปเองก็บริสุทธิ์เอง ความบริสุทธิ์ และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน บุคคลอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้” [๗๔๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ บุคคลผู้มีอำนาจก็มีอยู่มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากบุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ บุคคลผู้มีอำนาจก็มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร ยอมรับว่า “บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้”
นิคคหกถา จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๘๗-๗๘๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=21498&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=174              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=16993&Z=17046&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1639              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1639&items=7              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1639&items=7              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]