ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๐. นิสีทนาทิอนุชานนา

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “เวลานี้ ภิกษุฉันอาหารอย่างดี จำวัดหลับขาด สติสัมปชัญญะ เมื่อพวกภิกษุเหล่านั้นจำวัดหลับขาดสติสัมปชัญญะ น้ำอสุจิออกมา เพราะความฝัน เสนาสนะนี้จึงเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นแหละ อานนท์ อย่างนั้นแหละ อานนท์ เพราะเมื่อภิกษุเหล่านั้นจำวัดหลับขาดสติสัมปชัญญะ น้ำอสุจิย่อมออกมาเพราะความ ฝัน อานนท์ น้ำอสุจิของภิกษุผู้จำวัดหลับมีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ ย่อมไม่ออกมา อานนท์ น้ำอสุจิแม้ของปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม๑- ย่อมไม่ออกมา อานนท์ ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ ไม่ใช่โอกาสที่น้ำอสุจิของพระอรหันต์จะออกมา” ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย วันนี้ เรามีอานนท์เดินตามหลัง เที่ยวจาริกไป ตามเสนาสนะได้เห็นเสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิจึงถามอานนท์ว่า ‘อานนท์ เสนาสนะ นั่นเปรอะเปื้อนอะไร’ อานนท์ตอบว่า ‘เวลานี้ ภิกษุฉันอาหารอย่างดี จำวัดหลับ ขาดสติสัมปชัญญะ เมื่อพวกภิกษุเหล่านั้นจำวัดหลับขาดสติสัมปชัญญะ น้ำอสุจิ ออกมาเพราะความฝัน เสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ’ เรากล่าวรับรองว่า อย่างนั้น แหละ อานนท์ อย่างนั้นแหละ อานนท์ เพราะเมื่อภิกษุเหล่านั้นจำวัดหลับขาด สติสัมปชัญญะ อานนท์ น้ำอสุจิย่อมออกมาเพราะความฝัน น้ำอสุจิของภิกษุผู้จำ วัดหลับมีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ ย่อมไม่ออกมา อานนท์ น้ำอสุจิแม้ของปุถุชนผู้ ปราศจากความกำหนัดในกามย่อมไม่ออกมา อานนท์ ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ ไม่ใช่โอกาสที่น้ำอสุจิของพระอรหันต์จะออกมา”
นอนหลับขาดสติสัมปชัญญะมีโทษ ๕ อย่าง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่จำวัดหลับขาดสติสัมปชัญญะ มีโทษ ๕ อย่าง คือ ๑. หลับเป็นทุกข์ ๒. ตื่นเป็นทุกข์ @เชิงอรรถ : @ ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม คือ ผู้มีปกติได้ฌาน (วิ.อ. ๓/๓๕๓/๒๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๒๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๐. นิสีทนาทิอนุชานนา

๓. เห็นความฝันเลวทราม ๔. เทวดาไม่รักษา ๕. น้ำอสุจิเคลื่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่จำวัดหลับขาดสติสัมปชัญญะ มีโทษ ๕ อย่างนี้แล
นอนหลับมีสติสัมปชัญญะ มีอานิสงส์ ๕ อย่าง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่จำวัดหลับมีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ ๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข ๓. ไม่เห็นความฝันเลวทราม ๔. เทวดารักษา ๕. น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่จำวัดหลับมีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ารองนั่งเพื่อรักษากาย รักษาจีวร รักษาเสนาสนะ
เรื่องผ้าปูนั่งผืนเล็กเกินไป
สมัยนั้น ผ้ารองนั่งมีขนาดเล็กเกินไป ป้องกันเสนาสนะได้ไม่หมด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำผ้าปูนอนใหญ่ได้ ตามที่ภิกษุต้องการ”
เรื่องฝีดาษ
[๓๕๔] สมัยนั้น ท่านพระเพลัฏฐสีสะผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านพระอานนท์ อาพาธเป็นโรคฝีดาษ ผ้านุ่งห่มเกรอะกรังติดตัวเพราะน้ำเหลือง พวกภิกษุเอาน้ำ ชุบผ้าเหล่านั้นแล้วค่อยๆ ดึงออกมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๒๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๐. นิสีทนาทิอนุชานนา

พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตามเสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้น กำลังเอาน้ำชุบผ้าแล้วค่อยๆ ดึงออก จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้อาพาธเป็นโรคอะไร” พวกภิกษุกราบทูลว่า “อาพาธเป็นโรคฝีดาษ ผ้านุ่งห่มเกรอะกรังที่ตัวเพราะ น้ำเหลือง พวกข้าพระองค์เอาน้ำชุบผ้าเหล่านั้นแล้วค่อยๆ ดึงออก พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปิดฝีแก่ภิกษุอาพาธที่เป็นหิด ตุ่มพุพองหรือฝีดาษ”
เรื่องทรงอนุญาตผ้าเช็ดปาก
[๓๕๕] ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาถือผ้าเช็ดปาก เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้ กราบทูลดังนี้ว่า “ขอพระผู้มีพระภาคโปรดรับผ้าเช็ดปากของหม่อมฉัน เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนานเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงรับผ้าเช็ดปากแล้วทรงชี้แจงให้นางวิสาขามิคารมาตาเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคได้ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้ อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถา จึงได้ลุกจากอาสนะ ทำประทักษิณแล้วจากไป ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าเช็ดปาก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๒๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๒๖-๒๒๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=5&A=6044&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=40              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=4132&Z=4194&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=156              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=156&items=3              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=156&items=3              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]