ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค
พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย มหาวรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. มหาปทานสูตร
ว่าด้วยพระประวัติของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์
เรื่องเกี่ยวกับปุพเพนิวาส
[๑] ข้าพเจ้า๑- ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กเรริกุฎี๒- ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันที่หอนั่งใกล้กเรริมณฑป๓- สนทนาธรรมอันเกี่ยวกับปุพเพนิวาส๔- ว่า “ปุพเพนิวาสมีได้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ” @เชิงอรรถ : @ คำว่า ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่นๆ ในเล่มนี้หมายถึงพระอานนท์ @(ที.สี.อ. ๑/๒๖) @ กเรริกุฎี เป็นชื่อของกุฎีใหญ่หลังหนึ่งในพระเชตวัน ในบรรดากุฎีใหญ่ ๔ หลัง คือ (๑) กเรริกุฎี (๒) โกสัมพ- @กุฎี (๓) คันธกุฎี (๔) สฬลฆรกุฎี ที่ชื่อว่ากเรริกุฎี เพราะตั้งอยู่ใกล้กเรริมณฑป (ที.ม.อ. ๑/๑) @ กเรริมณฑป หมายถึงเรือนยอดสี่เหลี่ยมที่สร้างด้วยไม้กุ่มน้ำ ตั้งอยู่ระหว่างพระคันธกุฎีกับหอนั่ง หอนั่ง @แปลจากคำว่า กเรริมณฺฑลมาเฬ ในที่นี้หมายถึงศาลาสำหรับนั่ง (นิสีทนสาลา) เป็นศาลาทรงกลมที่สร้าง @ย่อส่วนจากเรือนยอด ไม่มีฝา บางทีคำว่า มณฺฑลมาฬ ท่านใช้รวมถึงบริเวณพระคันธกุฎี กเรริกุฎีและหอนั่ง @(ที.ม.ฏีกา ๑/๑) @ ปุพเพนิวาส หมายถึงชีวิตในชาติก่อน คือการสืบต่อของขันธ์ที่เคยเป็นอยู่ในชาติก่อนอาจ ๑ ชาติบ้าง @๒ ชาติบ้าง (ที.ม.อ. ๑/๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

เรื่องเกี่ยวกับปุพพเพนิวาส

[๒] พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำสนทนาของภิกษุเหล่านั้นด้วยทิพพโสตธาตุ อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปที่หอนั่งใกล้กเรริมณฑป ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เรื่องอะไร ที่เธอทั้งหลายสนทนากันค้างไว้” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้น จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาต ภายหลัง ฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันที่หอนั่งใกล้กเรริมณฑป สนทนาธรรมอันเกี่ยวกับ ปุพเพนิวาสว่า ‘ปุพเพนิวาสมีได้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ’ เรื่องนี้แลที่ข้าพระองค์ทั้งหลาย สนทนากันค้างไว้ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าข้า” [๓] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายต้องการจะฟัง ธรรมีกถาอันเกี่ยวกับปุพเพนิวาสหรือไม่” พวกภิกษุทูลตอบว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ถึงกาลอันสมควรที่พระ ผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรมีกถาอันเกี่ยวกับปุพเพนิวาส ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจาก พระผู้มีพระภาคแล้วจะได้ทรงจำไว้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า [๔] “ภิกษุทั้งหลาย นับจากกัปนี้ถอยหลังไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก นับจากกัปนี้ถอยหลังไป ๓๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ได้เสด็จอุบัติขึ้น ในโลก ในกัปที่ ๓๑ นั้นเอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า เวสสภู ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในภัทรกัป๑- นี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม @เชิงอรรถ : @ ภัทรกัป คือ กัปที่เจริญหรือดีงาม เนื่องจากเป็นกัปเดียวที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติถึง ๕ พระองค์ ในที่นี้ @หมายถึงกัปปัจจุบันนี้ (ที.ม.อ. ๔/๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

เรื่องเกี่ยวกับปุพพเพนิวาส

ว่าโกนาคมนะ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ได้เสด็จ อุบัติขึ้นในโลก บัดนี้ เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้อุบัติขึ้นมาในโลกใน ภัทรกัปนี้เช่นกัน [๕] พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า มีพระชาติเป็น กษัตริย์ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในตระกูลกษัตริย์ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมน- พุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า๑- มีพระชาติเป็นพราหมณ์ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในตระกูล พราหมณ์ บัดนี้ เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีชาติเป็นกษัตริย์ ได้อุบัติขึ้น ในตระกูลกษัตริย์ [๖] พระวิปัสสีพุทธเจ้า มีพระโคตรว่าโกณฑัญญะ พระสิขีพุทธเจ้า มีพระ โคตรว่าโกณฑัญญะ พระเวสสภูพุทธเจ้า มีพระโคตรว่าโกณฑัญญะ พระกกุสันธ- พุทธเจ้า มีพระโคตรว่ากัสสปะ พระโกนาคมนพุทธเจ้า มีพระโคตรว่ากัสสปะ พระกัสสปพุทธเจ้า มีพระโคตรว่ากัสสปะ บัดนี้ เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีโคตรว่าโคตมะ [๗] พระวิปัสสีพุทธเจ้า มีพระชนมายุประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี พระสิขีพุทธเจ้า มีพระชนมายุประมาณ ๗๐,๐๐๐ ปี พระเวสสภูพุทธเจ้า มีพระชนมายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี พระกกุสันธพุทธเจ้า มีพระชนมายุประมาณ ๔๐,๐๐๐ ปี พระโกนา- คมนพุทธเจ้า มีพระชนมายุประมาณ ๓๐,๐๐๐ ปี พระกัสสปพุทธเจ้า มีพระชนมายุ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ปี บัดนี้ เรามีอายุเพียงเล็กน้อย ผู้ที่มีอายุยืนก็เพียง ๑๐๐ ปี หรือเกินไปอีกเล็กน้อย [๘] พระวิปัสสีพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควงต้นแคฝอย๒- พระสิขีพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควง ต้นมะม่วง พระเวสสภูพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควงต้นสาละ พระกกุสันธพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควงต้นซึก @เชิงอรรถ : @ ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปในพระสูตรนี้ จะใช้คำว่า “พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า @พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า“ แทนวลีว่า “พระผู้มีพระภาคอรหันต- @สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เป็นต้น @ ที่ควงต้นแคฝอย หมายถึงภายใต้บริเวณร่มแคฝอย(ที.ม.อ. ๘/๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

เรื่องเกี่ยวกับปุพพเพนิวาส

พระโกนาคมนพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควงต้นมะเดื่อ พระกัสสปพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควงต้นไทร บัดนี้ เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควงต้นอัสสัตถะ๑- [๙] พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงมีคู่พระอัครสาวก๒- เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระขัณฑะ และพระติสสะ พระสิขีพุทธเจ้า ทรงมีคู่พระอัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระอภิภู และพระสัมภวะ พระเวสสภูพุทธเจ้า ทรงมีคู่พระอัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระโสณะและพระอุตตระ พระกกุสันธพุทธเจ้า ทรงมีคู่พระอัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระวิธูระและพระสัญชีวะ พระโกนาคมนพุทธเจ้า ทรงมีคู่พระอัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระภิยโยสะและพระอุตตระ พระกัสสปพุทธเจ้า ทรงมีคู่พระ อัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระติสสะและพระภารทวาชะ บัดนี้ เรามีคู่พระ อัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ [๑๐] พระวิปัสสีพุทธเจ้า มีการประชุมพระสาวก๓- ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ มีภิกษุ ๑๖๘,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘๐,๐๐๐ รูป พระสาวกที่เข้าประชุมทั้ง ๓ ครั้ง ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ๔- พระสิขีพุทธเจ้า มีการประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ มีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๘๐,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๗๐,๐๐๐ รูป พระสาวกที่เข้า ประชุมทั้ง ๓ ครั้ง ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ พระเวสสภูพุทธเจ้า มีการประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ มีภิกษุ ๘๐,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๗๐,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๖๐,๐๐๐ รูป พระสาวก ที่เข้าประชุมทั้ง ๓ ครั้ง ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ @เชิงอรรถ : @ ต้นอัสสัตถะ ในที่นี้หมายถึงต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ กล่าวคือพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสรู้ ณ ควงต้นไม้ @ใดๆ ต้นนั้นๆ เรียกว่า โพธิ์ (ขุ.อป. ๓๓/๒๓/๕๗๐, ขุ.พุทฺธวํส. ๓๓/๑-๑๘/๔๓๑, ที.ม.อ. ๘/๑๐-๑๑) @ พระอัครสาวก คือ พระสาวกชั้นยอด เพราะมีคุณสมบัติพิเศษกว่าพระสาวกอื่นทั้งหมด พระพุทธเจ้า @แต่ละพระองค์มีพระอัครสาวก ๒ องค์ พระอัครสาวกของพระพุทธเจ้าของเรา คือ (๑) พระสารีบุตรเถระ @เลิศทางปัญญา (๒) พระมหาโมคคัลลานเถระ เลิศทางมีฤทธิ์มาก (ที.ม.อ. ๙/๑๑-๑๒) @ การประชุมพระสาวก ในที่นี้หมายถึงการประชุมสงฆ์ ที่ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ (๑) ภิกษุผู้เข้า @ประชุมทั้งหมดมีพระพุทธเจ้าเป็นอุปัชฌาย์ (๒) ภิกษุผู้เข้าประชุมทั้งหมดมีบาตรและมีจีวรเกิดจากฤทธิ์ @(๓) ภิกษุผู้เข้าประชุมทั้งหมดเข้าประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (๔) วันประชุมตรงกับวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ @พระศาสดาทรงแสดงอุโบสถ (โอวาทปาติโมกข์) ด้วยพระองค์เอง (ที.ม.อ. ๑๐/๑๒) @ พระขีณาสพ หมายถึงผู้สิ้นอาสวะ ๔ คือ (๑) กามาสวะ (อาสวะคือกาม) (๒) ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) @(๓) ทิฏฐาสวะ (อาสวะคือทิฏฐิ) (๔) อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา) (ที.ปา.อ. ๑๑๖/๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

เรื่องเกี่ยวกับปุพพเพนิวาส

พระกกุสันธพุทธเจ้า มีการประชุมพระสาวกครั้งเดียว มีภิกษุ ๔๐,๐๐๐ รูป พระสาวกที่เข้าประชุมล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ พระโกนาคมนพุทธเจ้า มีการประชุมพระสาวกครั้งเดียว มีภิกษุ ๓๐,๐๐๐ รูป พระสาวกที่เข้าประชุมล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ พระกัสสปพุทธเจ้า มีการประชุมพระสาวกครั้งเดียว มีภิกษุ ๒๐,๐๐๐ รูป พระสาวกที่เข้าประชุมล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ บัดนี้ เรามีการประชุมพระสาวกครั้งเดียว มีภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป พระสาวกที่ เข้าประชุมล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ [๑๑] พระวิปัสสีพุทธเจ้ามีภิกษุอโสกะเป็นอุปัฏฐาก เป็นอัครอุปัฏฐาก พระสิขีพุทธเจ้ามีภิกษุเขมังกรเป็นอุปัฏฐาก เป็นอัครอุปัฏฐาก พระเวสสภูพุทธเจ้ามี ภิกษุอุปสันตะเป็นอุปัฏฐาก เป็นอัครอุปัฏฐาก พระกกุสันธพุทธเจ้ามีภิกษุวุฑฒิชะ เป็นอุปัฏฐาก เป็นอัครอุปัฏฐาก พระโกนาคมนพุทธเจ้ามีภิกษุโสตถิชะเป็นอุปัฏฐาก เป็นอัครอุปัฏฐาก พระกัสสปพุทธเจ้ามีภิกษุสัพพมิตตะเป็นอุปัฏฐาก เป็นอัครอุปัฏฐาก บัดนี้ เรามีภิกษุอานนท์เป็นอุปัฏฐาก เป็นอัครอุปัฏฐาก [๑๒] พระวิปัสสีพุทธเจ้ามีพระเจ้าพันธุมาเป็นพระบิดา พระนางพันธุมดีเทวี เป็นพระมารดาผู้ให้กำเนิด กรุงพันธุมดีเป็นราชธานีของพระเจ้าพันธุมา พระสิขีพุทธเจ้ามีพระเจ้าอรุณะเป็นพระบิดา พระนางปภาวดีเทวีเป็นพระมารดา ผู้ให้กำเนิด กรุงอรุณวดีเป็นราชธานีของพระเจ้าอรุณะ พระเวสสภูพุทธเจ้ามีพระเจ้าสุปปติตะเป็นพระบิดา พระนางยสวดีเทวีเป็น พระมารดาผู้ให้กำเนิด กรุงอโนมะเป็นราชธานีของพระเจ้าสุปปติตะ พระกกุสันธพุทธเจ้ามีพราหมณ์อัคคิทัตเป็นพระบิดา นางพราหมณีวิสาขา เป็นพระมารดาผู้ให้กำเนิด สมัยนั้น ได้มีพระราชาทรงพระนามว่าเขมะ กรุงเขมวดี เป็นราชธานีของพระเจ้าเขมะ พระโกนาคมนพุทธเจ้ามีพราหมณ์ยัญญทัตเป็นพระบิดา นางพราหมณีอุตตรา เป็นพระมารดาผู้ให้กำเนิด สมัยนั้น ได้มีพระราชาทรงพระนามว่าโสภะ กรุงโสภวดี เป็นราชธานีของพระเจ้าโสภะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

เรื่องเกี่ยวกับปุพพเพนิวาส

พระกัสสปพุทธเจ้ามีพราหมณ์พรหมทัตเป็นพระบิดา นางพราหมณีธนวดีเป็น พระมารดาผู้ให้กำเนิด สมัยนั้น ได้มีพระราชาทรงพระนามว่ากิงกี กรุงพาราณสี เป็นราชธานีของพระเจ้ากิงกี บัดนี้ เรามีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระบิดา พระนางมายาเทวีเป็นพระมารดา ผู้ให้กำเนิด กรุงกบิลพัสดุ์เป็นราชธานี” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตได้ตรัสเรื่องนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร [๑๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นได้สนทนาเรื่อง ที่ค้างไว้ต่อไปดังนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่พระตถาคต ทรงมีฤทธิ์มาก ทรงมีอานุภาพมาก ทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า๑- ได้แล้ว ผู้ตัดทาง๒- ได้แล้ว ผู้ตัดวัฏฏะ๓- ได้แล้ว ผู้ล่วงทุกข์๔- ทั้งปวงได้แล้ว ทั้งโดยพระชาติ พระนาม พระโคตร พระชนมายุ คู่พระอัครสาวก และการประชุมพระสาวกว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค เหล่านั้นจึงมีพระชาติอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระนาม อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระโคตรอย่างนี้ แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค เหล่านั้นจึงทรงมีธรรม๕- อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมี ปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่๖- อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้น๗- อย่างนี้’ @เชิงอรรถ : @ ธรรมเครื่องเนิ่นช้า ได้แก่ กิเลส ๓ คือ (๑) ตัณหา (๒) มานะ (๓) ทิฏฐิ หรือกิเลสวัฏฏะ (วงจรกิเลส) @(ที.ม.อ. ๑๓/๒๐) @ ทาง คือ ทางแห่งกุศลกรรม (กรรมดี) และ อกุศลกรรม (กรรมชั่ว) หรือ กรรมวัฏฏะ (วงจรกรรม) @(ที.ม.อ. ๑๓/๒๐) @ วัฏฏะ หมายถึงสังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิด (ที.ม.อ. ๑๑๖/๑๐๒) @ ทุกข์ ในที่นี้หมายถึงวิปากวัฏฏะ (วงจรวิบาก) (ที.ม.อ. ๑๓/๒๐) @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสมาธิ ทั้งมรรคสมาธิ ผลสมาธิ โลกิยสมาธิ และโลกุตตรสมาธิ (ที.ม.อ. ๑๓/๒๐) @ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ในที่นี้หมายถึงนิโรธสมาบัติ (ที.ม.อ. ๑๓/๒๐) @ ธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้น ในที่นี้หมายถึงวิมุตติ ๕ ประการ คือ (๑) วิกขัมภนวิมุตติ (๒) ตทังควิมุตติ @(๓) สมุจเฉทวิมุตติ (๔) ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ (๕) นิสสรณวิมุตติ (ที.ม.อ. ๑๓/๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

เรื่องเกี่ยวกับปุพพเพนิวาส

ท่านผู้มีอายุ เป็นอย่างไรหนอ เพราะพระตถาคตทรงมีปัญญาแทงตลอด ธรรมธาตุนี้ จึงเป็นเหตุให้ทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ตัดวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงทุกข์ทั้งปวง ได้แล้ว ทั้งโดยพระชาติ พระนาม พระโคตร พระชนมายุ คู่พระอัครสาวก และการ ประชุมพระสาวกว่า 'แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระชาติอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระนามอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจึงมีพระโคตรอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้หรือ' หรือเพราะเหล่าเทวดาได้กราบทูลความข้อนี้แด่พระตถาคต จึงเป็นเหตุให้ทรง ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ได้แล้ว ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ตัดวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ทั้งโดยพระชาติ พระนาม พระโคตร พระชนมายุ คู่พระอัครสาวก และการประชุมพระสาวกว่า 'แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระชาติอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระนามอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค เหล่านั้นจึงมีพระโคตรอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีศีล อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค เหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้' ภิกษุเหล่านั้นสนทนาเรื่องค้างไว้ เท่านี้ [๑๔] ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากการหลีกเร้น๑- เข้าไปยังหอ นั่งใกล้กเรริมณฑป ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ การหลีกเร้น ในที่นี้หมายถึงผลสมาบัติ (ที.ม.อ. ๑๔/๒๑, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๐/๓๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

เรื่องเกี่ยวกับปุพพเพนิวาส

ดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เรื่องอะไรที่เธอทั้งหลายสนทนากันค้างไว้” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นจึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ ทั้งหลายได้สนทนาเรื่องที่ค้างไว้ต่อไปดังนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ ที่พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มาก ทรงมีอานุภาพมาก ทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้า ทั้งหลายในอดีตกาล ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ผู้ตัดทาง ได้แล้ว ผู้ตัดวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ทั้งโดยพระชาติ พระนาม พระโคตร พระชนมายุ คู่พระอัครสาวก และการประชุมพระสาวกว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจึงมีพระชาติอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงมีพระนามอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระโคตรอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรง มีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้’ ท่านผู้มีอายุ เป็นอย่างไรหนอ เพราะพระตถาคตทรงมีปัญญาแทงตลอด ธรรมธาตุนี้ จึงเป็นเหตุให้ทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ตัดวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงทุกข์ทั้งปวง ได้แล้ว ทั้งโดยพระชาติ พระนาม พระโคตร พระชนมายุ คู่พระอัครสาวก และการ ประชุมพระสาวกว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระชาติอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระนามอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจึงมีพระโคตรอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้หรือ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

เรื่องเกี่ยวกับปุพพเพนิวาส

หรือเพราะเหล่าเทวดาได้กราบทูลความข้อนี้แด่พระตถาคต จึงเป็นเหตุให้ทรง ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ได้แล้ว ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ตัดวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ทั้งโดยพระชาติ พระนาม พระโคตร พระชนมายุ คู่พระอัครสาวก และการประชุมพระสาวกว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระชาติอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจึงมีพระนามอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมี พระโคตรอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค เหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้’ เรื่องนี้แลที่พวกข้าพระองค์สนทนาค้างไว้ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าข้า’ [๑๕] พระผู้มีพระภาคตรัส “เพราะตถาคตมีปัญญาแทงตลอดธรรมธาตุนี้ จึงเป็นเหตุให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัดธรรม เครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ตัดวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ทั้งโดยพระชาติ พระนาม พระโคตร พระชนมายุ คู่พระอัครสาวก และการประชุม พระสาวกว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระชาติอย่างนี้ แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระนามอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจึงมีพระโคตรอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้’ แม้เหล่าเทวดาก็ได้บอกความข้อนี้แก่ตถาคต จึงเป็นเหตุให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ทั้งหลายในอดีตกาล ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ผู้ตัดทาง ได้แล้ว ผู้ตัดวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ทั้งโดยพระชาติ พระนาม พระโคตร พระชนมายุ คู่พระอัครสาวก และการประชุมพระสาวกว่า ‘แม้เพราะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

พระประวัติของพระวิปัสสีพุทธเจ้า

เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระชาติอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค เหล่านั้นจึงมีพระนามอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระโคตร อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค เหล่านั้นจึงทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมี ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรม เป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายต้องการจะฟังธรรมีกถาอันเกี่ยวกับปุพเพนิวาส นอกเหนือจากนี้อีกหรือไม่” พวกภิกษุทูลตอบว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ถึงกาลอันสมควรที่พระ ผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรมีกถาอันเกี่ยวกับปุพเพนิวาสนอกจากนี้อีก ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้วจะได้ทรงจำไว้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
พระประวัติของพระวิปัสสีพุทธเจ้า
[๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย นับจากกัปนี้ถอยหลังไป ๙๑ กัป พระวิปัสสีพุทธเจ้า ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก มีพระชาติเป็นกษัตริย์ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในตระกูลกษัตริย์ มีพระโคตรว่าโกณฑัญญะ มีพระชนมายุประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี ตรัสรู้ที่ควงต้น แคฝอย ทรงมีคู่พระอัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระขัณฑะและพระติสสะ มีการประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ มีภิกษุ ๑๖๘,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘๐,๐๐๐ รูป พระสาวกที่เข้าประชุมทั้ง ๓ ครั้ง ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ มีภิกษุอโสกะเป็นอุปัฏฐาก เป็นอัครอุปัฏฐาก มีพระเจ้า พันธุมาเป็นพระบิดา พระนางพันธุมดีเทวีเป็นพระมารดาผู้ให้กำเนิด กรุงพันธุมดี เป็นราชธานีของพระเจ้าพันธุมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

กฎธรรมดาของพระโพธิสัตว์ ๑๖ ประการ

กฎธรรมดาของพระโพธิสัตว์ ๑๖ ประการ๑-
[๑๗] ๑. ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีโพธิสัตว์๒- ทรงมีสติสัมปชัญญะตลอด ตั้งแต่จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงเสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาในเรื่องนี้ [๑๘] ๒. มีกฎธรรมดาดังนี้ เวลาที่พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตเสด็จ ลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา แสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ปรากฏขึ้นในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ล่วงเทวานุภาพของ เหล่าเทพ แม้ในช่องว่างระหว่างโลกซึ่งไม่มีอะไรคั่น มีสภาพมืดมิด หรือที่ที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ส่องแสงไปไม่ถึง ก็มีแสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ปรากฏขึ้น ล่วงเทวานุภาพของเหล่าเทพ เพราะแสงสว่างนั้น เหล่าสัตว์ที่เกิด ในที่นั้นๆ จึงรู้จักกันและกันว่า ‘ยังมีสัตว์อื่นเกิดในที่นี้เหมือนกัน’ และ ๑๐ สหัสสีโลกธาตุ๓- นี้สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่าง เจิดจ้าหาประมาณมิได้ก็ปรากฏขึ้นในโลก ล่วงเทวานุภาพของ เหล่าเทพ ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาในเรื่องนี้ [๑๙] ๓. มีกฎธรรมดาดังนี้ เวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของ พระมารดา เทพบุตร ๔ องค์๔- เข้าไปอารักขาประจำทั้ง ๔ ทิศด้วย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.อุ. ๑๔/๒๐๐-๒๐๗/๑๖๙-๑๗๓ @ โพธิสัตว์ หมายถึงผู้บำเพ็ญมรรค ๔ เพื่อบรรลุโพธิ (ที.ม.อ. ๑๗/๒๑) @ คำว่า “๑๐ สหัสสีโลกธาตุ” บางทีใช้ว่า โลกธาตุ ดังที่ปรากฏในมหาสมยสูตร (บาลี) ข้อ ๓๓๑/๒๑๖ ตอนหนึ่ง @ว่า “ทสหิ จ โลกธาตูหิ เทวตา” หมายถึงเหล่าเทวดาจาก ๑๐ โลกธาตุ อนึ่ง ๑๐ โลกธาตุ ในที่นี้เท่ากับ @หมื่นจักรวาล ซึ่งตรงกับ ๑๐ สหัสสีโลกธาตุ ในพระสูตรนี้ (ที.ม.อ. ๓๓๑/๒๙๓) และดูรายละเอียดใน @องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๑/๓๐๕-๓๐๗ @ เทพบุตร ๔ องค์ ในที่นี้หมายถึงท้าวมหาราช ๔ องค์ คือ (๑) ท้าวธตรฐ จอมคนธรรพ์ครองทิศตะวันออก @(๒) ท้าววิรุฬหก จอมกุมภัณฑ์ครองทิศใต้ (๓) ท้าววิรูปักษ์ จอมนาคครองทิศตะวันตก (๔) ท้าวเวสวัณ @จอมยักษ์ครองทิศเหนือ (ที.ม.อ. ๒๙๔/๒๖๐, ที.ม.ฏีกา ๑๙/๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

กฎธรรมดาของพระโพธิสัตว์ ๑๖ ประการ

ตั้งใจว่า ‘มนุษย์หรืออมนุษย์ใดๆ อย่าได้เบียดเบียนพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย’ ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาในเรื่องนี้ [๒๐] ๔. มีกฎธรรมดาดังนี้ เวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของ พระมารดา พระมารดามีปกติทรงศีล คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เว้นจากการ ประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการเสพของ มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ข้อนี้เป็น กฎธรรมดาในเรื่องนี้ [๒๑] ๕. มีกฎธรรมดาดังนี้ เวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของ พระมารดา พระมารดาของพระองค์ไม่ทรงมีความรู้สึกทาง กามารมณ์ เป็นผู้ที่บุรุษผู้มีจิตกำหนัดใดๆ ไม่สามารถล่วงเกินได้ ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาในเรื่องนี้ [๒๒] ๖. มีกฎธรรมดาดังนี้ เวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของ พระมารดา พระมารดาของพระองค์ทรงได้กามคุณ ๕ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ข้อนี้เป็นกฎ ธรรมดาในเรื่องนี้ [๒๓] ๗. มีกฎธรรมดาดังนี้ เวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของ พระมารดา พระมารดาของพระองค์ไม่ทรงมีความเจ็บป่วยใดๆ ทรงมีความสุข ไม่ลำบากพระวรกาย มองเห็นพระโพธิสัตว์ อยู่ภายในพระครรภ์ มีพระอวัยวะสมบูรณ์ มีพระอินทรีย์ไม่ บกพร่อง ภิกษุทั้งหลาย เหมือนแก้วไพฑูรย์อันงดงามตาม ธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใสเป็นประกายได้ สัดส่วน มีด้ายสีเขียว เหลือง แดง ขาว หรือสีนวล ร้อยอยู่ ข้างใน คนตาถึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณารู้ว่า ‘นี้ คือ แก้วไพฑูรย์อันงดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไน ดีแล้ว สุกใสเป็นประกายได้สัดส่วน มีด้ายสีเขียว เหลือง แดง ขาว หรือสีนวล ร้อยอยู่ข้างใน’ ฉันใด เวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

กฎธรรมดาของพระโพธิสัตว์ ๑๖ ประการ

พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของพระองค์ไม่ทรงมีความ เจ็บป่วยใดๆ ทรงมีความสุข ไม่ลำบากพระวรกาย มองเห็น พระโพธิสัตว์อยู่ภายในพระครรภ์ มีพระอวัยวะสมบูรณ์ มีพระอินทรีย์ ไม่บกพร่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาในเรื่องนี้ [๒๔] ๘. มีกฎธรรมดาดังนี้ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ ๗ วัน พระมารดา ของพระองค์สวรรคตไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ข้อนี้เป็นกฎธรรมดา ในเรื่องนี้ [๒๕] ๙. มีกฎธรรมดาดังนี้ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ไม่ประสูติพระโอรส เหมือนสตรีทั่วไปที่จะคลอดลูกหลังจากตั้งครรภ์ได้ ๙ เดือนหรือ ๑๐ เดือน ส่วนพระมารดาของพระโพธิสัตว์ประสูติพระโอรสเมื่อ ทรงพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือนเท่านั้น ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาใน เรื่องนี้ [๒๖] ๑๐. มีกฎธรรมดาดังนี้ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ไม่ประสูติพระโอรส เหมือนสตรีทั่วไปซึ่งจะนั่งคลอดหรือนอนคลอดก็ได้ ส่วนพระมารดา ของพระโพธิสัตว์ประทับยืนประสูติเท่านั้น ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาใน เรื่องนี้ [๒๗] ๑๑. มีกฎธรรมดาดังนี้ เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของ พระมารดา ในตอนแรกเหล่าเทพจะทำพิธีต้อนรับ หลังจากนั้น เป็นหน้าที่ของมนุษย์ ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาในเรื่องนี้ [๒๘] ๑๒. มีกฎธรรมดาดังนี้ เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของ พระมารดา ยังไม่ทันสัมผัสแผ่นดิน เทพบุตร ๔ องค์ช่วยกันประคอง พระโพธิสัตว์ไปไว้เบื้องพระพักตร์ของพระมารดาแล้วกราบทูลว่า ‘โปรดพอพระทัยเถิด พระเทวี พระราชโอรสของพระองค์ที่เสด็จ อุบัติขึ้นเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่’ ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาในเรื่องนี้ [๒๙] ๑๓. มีกฎธรรมดาดังนี้ เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของ พระมารดา เสด็จออกโดยง่าย ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ เมือก เลือด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

กฎธรรมดาของพระโพธิสัตว์ ๑๖ ประการ

หรือสิ่งไม่สะอาดใดๆ เป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์ ภิกษุทั้งหลาย เหมือน แก้วมณีที่บุคคลวางไว้ในผ้ากาสิกพัสตร์ ย่อมไม่ทำให้ผ้ากาสิกพัสตร์ แปดเปื้อน ถึงผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่ทำให้แก้วมณีแปดเปื้อน ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะสิ่งทั้งสองเป็นของสะอาดบริสุทธิ์ ฉันใด เวลา ที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา เสด็จออกโดยง่าย ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ เมือก เลือด หรือสิ่งไม่สะอาดใดๆ เป็นผู้ สะอาดบริสุทธิ์ ฉันนั้นเหมือนกัน ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาในเรื่องนี้ [๓๐] ๑๔. มีกฎธรรมดาดังนี้ เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของ พระมารดา มีธารน้ำปรากฏในอากาศ ๒ สาย คือ ธารน้ำเย็นและ ธารน้ำอุ่น เพื่อชำระล้างพระโพธิสัตว์และพระมารดา ข้อนี้เป็นกฎ ธรรมดาในเรื่องนี้ [๓๑] ๑๕. มีกฎธรรมดาดังนี้ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ครู่หนึ่ง ทรงยืนได้ อย่างมั่นคงด้วยพระบาททั้งสองที่เสมอกัน ทรงผินพระพักตร์ไปทาง ทิศเหนือ ทรงดำเนินไป ๗ ก้าว ขณะที่หมู่เทวดากั้นเศวตฉัตรตาม เสด็จ ทอดพระเนตรไปยังทิศต่างๆ แล้ว ทรงเปล่งพระอาสภิวาจา (วาจาอย่างองอาจ)ว่า ‘เราคือผู้เลิศของโลก เราคือผู้เจริญที่สุด ของโลก เราคือผู้ประเสริฐที่สุดของโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก’ ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาในเรื่องนี้ [๓๒] ๑๖. มีกฎธรรมดาดังนี้ เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของ พระมารดา แสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ปรากฏขึ้นในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ- พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ล่วงเทวานุภาพของเหล่าเทพ แม้ใน ช่องว่างระหว่างโลกซึ่งไม่มีอะไรคั่น มีสภาพมืดมิด หรือที่ที่ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ส่องแสงไปไม่ถึง ก็มีแสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ปรากฏขึ้น ล่วงเทวานุภาพของ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

เหล่าเทพ เพราะแสงสว่างนั้น เหล่าสัตว์ที่เกิดในที่นั้นๆ จึงรู้จักกัน และกันว่า ‘ยังมีสัตว์อื่นเกิดในที่นี้เหมือนกัน’ และ ๑๐ สหัสสี- โลกธาตุนี้สั่นสะเทือน เลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณ มิได้ ก็ปรากฏขึ้นในโลก ล่วงเทวานุภาพของเหล่าเทพ ข้อนี้เป็นกฎ ธรรมดาในเรื่องนี้
ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ๑-
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระวิปัสสีราชกุมารประสูติแล้ว พวกอำมาตย์ ได้กราบทูลพระเจ้าพันธุมาว่า ‘ขอเดชะ พระราชโอรสของพระองค์ประสูติแล้ว โปรดทอดพระเนตรเถิด’ พระเจ้าพันธุมาได้ทอดพระเนตรวิปัสสีราชกุมาร แล้วรับสั่ง ให้เชิญพราหมณ์โหราจารย์มาตรัสว่า ‘พราหมณ์โหราจารย์ จงทำนายวิปัสสีราช- กุมาร’ พวกพราหมณ์โหราจารย์เห็นพระวิปัสสีราชกุมารแล้วได้กราบทูลพระเจ้าพันธุมา ว่า ‘ขอเดชะ โปรดพอพระทัยเถิด พระราชโอรสของพระองค์ที่เสด็จอุบัติขึ้นเป็นผู้มี ศักดิ์ใหญ่ นับว่าเป็นลาภอันประเสริฐของพระองค์ผู้ได้พระราชโอรสเช่นนี้อยู่ในราชตระกูล เพราะพระราชกุมารนี้สมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ที่เป็นเหตุให้ มหาบุรุษมีคติ๒- ๒ อย่าง ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ๑. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์ โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรส มากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็น @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๒๕๘/๘๙-๙๐, ที.ปา. ๑๑/๑๙๙-๒๐๐/๑๒๓-๑๒๕, ม.ม. ๑๓/๑๘๖/๓๖๘-๓๗๐ @ คติ มีความหมายหลายนัย คือ (๑) ที่ที่สัตว์จะไปเกิด (๒) อัธยาศัย (๓) ที่พึ่ง (๔) ความสำเร็จ ในที่นี้ @หมายถึงความสำเร็จ คือบรรลุผลตามจุดหมาย (ที.ม.อ. ๓๓/๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

วีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาคร เป็นขอบเขต ๒. ถ้าเสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลส๑- ในโลก [๓๔] ขอเดชะ พระราชกุมารนี้ ทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ อะไรบ้าง ที่เป็นเหตุให้มหาบุรุษมีคติ ๒ อย่าง ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ๑. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์ โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรส มากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็น วีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาคร เป็นขอบเขต ๒. ถ้าเสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก [๓๕] คือ พระราชกุมารนี้ ๑. มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ข้อที่พระราชกุมารมีฝ่าพระบาทราบ เสมอกันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒. พื้นฝ่าพระบาททั้งสองของพระราชกุมารนี้ มีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง ข้อที่ @เชิงอรรถ : @ กิเลสในที่นี้หมายถึงราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ตัณหาที่ปิดกั้นกุศลธรรม (ที.ม.อ. ๓๔/๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

พื้นฝ่าพระบาททั้งสองของพระราชกุมารนี้ มีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่างนี้ เป็น ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๓. มีส้นพระบาทยื่นยาวออกไป ข้อที่พระราชกุมารมีส้นพระบาทยื่น ยาวออกไปนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๔. มีพระองคุลียาว ข้อที่พระราชกุมารมีพระองคุลียาวนี้ เป็นลักษณะ มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๕. มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม ข้อที่พระราชกุมารมีพระหัตถ์ และพระบาทอ่อนนุ่มนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย ข้อที่พระราชกุมารมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลี จดกันเป็นรูปตาข่ายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๗. มีข้อพระบาทสูง ข้อที่พระราชกุมารมีข้อพระบาทสูงนี้ เป็นลักษณะ มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๘. มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย ข้อที่พระราชกุมารมีพระชงฆ์เรียว ดุจแข้งเนื้อทรายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๙. เมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุ ด้วยฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้ ข้อที่พระราชกุมารเมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วยฝ่าพระหัตถ์ ทั้งสองได้นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๐. มีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝักเร้นอยู่ในฝัก ข้อที่พระราชกุมารมีพระคุยหฐาน เร้นอยู่ในฝักนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๑. มีพระฉวีสีทอง มีพระฉวีเปล่งปลั่งดุจทองคำ ข้อที่พระราชกุมาร มีพระฉวีสีทอง มีพระฉวีเปล่งปลั่งดุจทองคำนี้ เป็นลักษณะมหา- บุรุษของมหาบุรุษนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

๑๒. มีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลีไม่อาจติดพระวรกายได้ ข้อที่พระ ราชกุมารมีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลีไม่อาจติดพระวรกายได้นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๓. มีพระโลมชาติเดี่ยว คือ ในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียว ข้อที่พระราช กุมารมีพระโลมชาติเดี่ยว คือ ในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียวนี้ เป็น ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๔. มีพระโลมชาติปลายงอนขึ้น คือ พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวา ดังกุณฑลสีครามเข้มดังดอกอัญชัน ข้อที่พระราชกุมารมีพระโลม ชาติปลายงอนขึ้น คือ พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวาดังกุณฑล สีครามเข้มดังดอกอัญชันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๕. มีพระวรกายตั้งตรงดุจกายพรหม ข้อที่พระราชกุมารมีพระวรกาย ตั้งตรงดุจกายพรหมนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๖. มีพระมังสะในที่ ๗ แห่ง๑- เต็มบริบูรณ์ ข้อที่พระราชกุมารมี พระมังสะในที่ ๗ แห่งเต็มบริบูรณ์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของ มหาบุรุษนั้น ๑๗. มีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์ ข้อที่ พระราชกุมารมีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของ ราชสีห์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๘. มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน ข้อที่พระราชกุมารมีร่องพระ ปฤษฎางค์เต็มเสมอกันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๙. มีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลของต้นไทร พระวรกาย สูงเท่ากับ ๑ วาของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับส่วนสูง พระวรกาย ข้อที่พระราชกุมารมีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจ @เชิงอรรถ : @ ที่ ๗ แห่ง ในที่นี้ คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ ข้าง หลังพระบาททั้ง ๒ ข้าง พระอังสะทั้ง ๒ ข้าง และลำพระศอ @(ที.ม.อ. ๓๕/๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

ปริมณฑลของต้นไทร พระวรกายสูงเท่ากับ ๑ วาของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับส่วนสูงพระวรกายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ ของมหาบุรุษนั้น ๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากันตลอด ข้อที่พระราชกุมารมีลำพระศอ กลมเท่ากันตลอดนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๑. มีเส้นประสาทรับรสพระกระยาหารได้ดี ข้อที่พระราชกุมารมีเส้น ประสาทรับรสพระกระยาหารได้ดีนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของ มหาบุรุษนั้น ๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ข้อที่พระราชกุมารมีพระหนุดุจคางราชสีห์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ข้อที่พระราชกุมารมีพระทนต์ ๔๐ ซี่นี้ เป็น ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ข้อที่พระราชกุมารมีพระทนต์เรียบ เสมอกันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่างกัน ข้อที่พระราชกุมารมีพระทนต์ไม่ห่างกันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๖. มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม ข้อที่พระราชกุมารมีพระเขี้ยวแก้วขาว งามนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ยาว ข้อที่พระราชกุมารมีพระชิวหาใหญ่ยาวนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก ข้อที่พระราชกุมารมีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้อง ของนกการเวกนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๙. มีพระเนตรดำสนิท ข้อที่พระราชกุมารมีพระเนตรดำสนิทนี้ เป็น ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

๓๐. มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด ข้อที่พระราชกุมาร มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอดนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ ของมหาบุรุษนั้น ๓๑. มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนปุยนุ่น ข้อที่ พระราชกุมารมีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือน ปุยนุ่นนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้อที่พระราชกุมารมี พระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ ของมหาบุรุษนั้น [๓๖] ขอเดชะ พระราชกุมารนี้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการนี้ ที่เป็นเหตุให้มหาบุรุษมีคติ ๒ อย่าง ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ๑. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์ โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรส มากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็น วีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาคร เป็นขอบเขต ๒. ถ้าเสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระ- อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

เหตุที่ทรงได้พระสมญาว่าวิปัสสี

เหตุที่ทรงได้พระสมญาว่าวิปัสสี
[๓๗] ต่อมา พระเจ้าพันธุมาโปรดให้พวกพราหมณ์โหราจารย์นุ่งห่มผ้าใหม่ ทรงเลี้ยงดูให้อิ่มหนำด้วยสิ่งที่ต้องการทุกอย่าง แล้วรับสั่งให้ตั้งพี่เลี้ยงนางนม แก่พระวิปัสสีราชกุมาร คือ หญิงพวกหนึ่งให้พระราชกุมารเสวยน้ำนม พวกหนึ่ง ให้ทรงสนาน พวกหนึ่งคอยอภิบาล พวกหนึ่งคอยอุ้ม ตั้งแต่ประสูติพระวิปัสสีราชกุมาร พวกราชบุรุษก็คอยกั้นเศวตฉัตรถวายทั้ง กลางวันและกลางคืนด้วยตั้งใจว่า ‘ความหนาว ความร้อน หญ้า ละออง หรือน้ำค้าง อย่าได้เบียดเบียนพระราชกุมาร’ ตั้งแต่ประสูติพระวิปัสสีราชกุมาร ก็ทรงกลายเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของ ชนเป็นอันมาก เปรียบเหมือนดอกอุบล ดอกปทุม หรือดอกบุณฑริก เป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของชนเป็นอันมาก ฉันใด พระวิปัสสีราชกุมารทรงเป็นที่รัก เป็นที่ เจริญใจของชนเป็นอันมาก ฉันนั้นเหมือนกัน นัยว่า พระวิปัสสีราชกุมารนั้นได้รับ การผลัดเปลี่ยนกันอุ้มใส่สะเอวอยู่เสมอๆ [๓๘] ตั้งแต่ประสูติพระวิปัสสีราชกุมาร ทรงเป็นผู้มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ไพเราะอ่อนหวานกลมกล่อมจับใจ หมู่นกการเวกที่ภูเขาหิมพานต์ เป็นสัตว์มีสำเนียง ไพเราะอ่อนหวานกลมกล่อมจับใจ ฉันใด พระวิปัสสีราชกุมาร ก็เป็นผู้มีพระสุรเสียง ดุจเสียงพรหมไพเราะอ่อนหวานกลมกล่อมจับใจ ฉันนั้นเหมือนกัน [๓๙] ตั้งแต่ประสูติพระวิปัสสีราชกุมาร ทรงมีทิพยจักษุอันเกิดจากวิบากกรรม ที่เป็นเหตุให้มองเห็นไกลได้ตลอด ๑ โยชน์โดยรอบ ทั้งกลางวันและกลางคืน [๔๐] ตั้งแต่ประสูติพระวิปัสสีราชกุมาร ทรงเพ่งดูไม่กะพริบพระเนตร พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์แลดูไม่กะพริบตา ฉันใด พระวิปัสสีราชกุมาร ทรงเพ่งดูไม่ กะพริบพระเนตร ฉันนั้นเหมือนกัน จึงเกิดมีพระสมญาว่า ‘วิปัสสี วิปัสสี‘’ [๔๑] ต่อมา พระเจ้าพันธุมาประทับในศาลตัดสินคดี ทรงให้พระวิปัสสีราช- กุมารประทับบนพระเพลา ขณะทรงพิจารณาคดี นัยว่า พระวิปัสสีราชกุมารประทับ นั่งบนพระเพลาของพระชนกในศาลตัดสินคดีนั้น ทรงวินิจฉัยให้คดีดำเนินไปด้วยพระญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คนชรา

เพราะคำเล่าลือว่า ‘พระราชกุมารวินิจฉัยให้คดีดำเนินไปด้วยพระญาณ’ มีปริมาณ มากขึ้น จึงเกิดมีพระสมญาว่า ‘วิปัสสี วิปัสสี’ [๔๒] ต่อมา พระเจ้าพันธุมาโปรดให้สร้างปราสาท ๓ หลัง สำหรับพระ วิปัสสีราชกุมาร หลังหนึ่งสำหรับประทับในฤดูฝน หลังหนึ่งสำหรับประทับใน ฤดูหนาว หลังหนึ่งสำหรับประทับในฤดูร้อน โปรดให้บำรุงพระราชกุมารด้วย กามคุณ ๕ พระวิปัสสีราชกุมารทรงได้รับการบำรุงบำเรอด้วยดนตรีที่ไม่ปะปนด้วย บุรุษในปราสาทสำหรับประทับในฤดูฝน ไม่ได้เสด็จลงมาชั้นล่างปราสาทตลอด ๔ เดือน
ภาณวารที่ ๑ จบ
เทวทูต ๔
คนชรา
[๔๓] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเวลาล่วงไปหลายปีหลายร้อยปีหลายพันปี พระ วิปัสสีราชกุมารรับสั่งเรียกนายสารถีมาตรัสว่า ‘สหายสารถี เธอจงเทียมยานพาหนะ คันงามๆ เราจะไปอุทยานชมภูมิประเทศที่สวยงาม’ นายสารถีทูลรับพระบัญชาแล้ว เทียมยานพาหนะคันงามๆ กราบทูลว่า ‘ขอเดชะ ข้าพระองค์เทียมยานพาหนะคันงามๆ ไว้แล้ว ขอพระองค์จงทรงกำหนด เวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’ พระวิปัสสีราชกุมารทรงยานพาหนะคันงามเสด็จประพาสอุทยาน พร้อมด้วย ยานพาหนะคันงามๆ ตามเสด็จอีกหลายคัน [๔๔] ขณะที่เสด็จประพาสอุทยาน พระวิปัสสีราชกุมารได้ทอดพระเนตรเห็น ชายชราผู้มีซี่โครงคดเหมือนกลอนประตู หลังงองุ้ม เดินถือไม้เท้างกๆ เงิ่นๆ กระสับกระส่าย หมดความหนุ่มแน่น จึงตรัสถามนายสารถีว่า ‘สหายสารถี ชายคนนี้ถูกใครทำอะไรให้ เส้นผมและร่างกายของเขาจึงไม่เหมือนของคนอื่นๆ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คนชรา

นายสารถีทูลตอบว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้ชื่อว่าคนชรา’ ‘ทำไม เขาจึงชื่อว่าคนชรา’ ‘ผู้นี้ชื่อว่าคนชรา เพราะเวลานี้เขาจะมีชีวิตอยู่อีกไม่นาน พระเจ้าข้า’ ‘ถึงเราเองก็จะต้องแก่เฒ่าเป็นธรรมดา หนีไม่พ้นกระนั้นหรือ’ ‘ทั้งพระองค์และข้าพระองค์ล้วนแต่ต้องแก่เฒ่าเป็นธรรมดา หนีไม่พ้น พระเจ้าข้า’ ‘สหายสารถี ถ้าเช่นนั้น วันนี้ชมอุทยานพอแล้ว เธอจงขับรถกลับเข้าเมืองเถิด’ นายสารถีทูลรับพระบัญชาแล้วขับราชรถกลับเข้าเมืองทันที พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จถึงพระราชฐานชั้นใน ทรงมีทุกข์ มีพระทัยไม่ยินดี ทรงพระดำริว่า ‘ขึ้นชื่อว่าความเกิดช่างน่ารังเกียจนัก เพราะเมื่อมีความเกิดก็มี ความแก่’ [๔๕] ต่อมา พระเจ้าพันธุมารับสั่งให้เรียกนายสารถีมาแล้วตรัสถามว่า ‘พ่อสารถีคนดี ราชกุมารยินดีในอุทยานหรือไม่ พอใจในอุทยานหรือไม่’ นายสารถีทูลตอบว่า ‘ขอเดชะ พระราชกุมารไม่ทรงยินดีในพระอุทยาน ไม่ทรง พอพระทัยในพระอุทยาน’ ท้าวเธอตรัสถามว่า ‘ขณะเที่ยวชมอุทยาน ราชกุมารพบเห็นอะไรหรือ’ นายสารถีทูลตอบว่า ‘ขณะที่เสด็จประพาสพระอุทยาน พระราชกุมารได้ทอด พระเนตรเห็นชายชรา ผู้มีซี่โครงคดเหมือนกลอนประตู หลังงองุ้ม เดินถือไม้เท้า งกๆ เงิ่นๆ กระสับกระส่าย หมดความหนุ่มแน่น จึงตรัสถามข้าพระองค์ว่า ‘สหายสารถี ชายคนนี้ถูกใครทำอะไรให้ เส้นผมและร่างกายของเขาจึงไม่เหมือนของ คนอื่นๆ’ ข้าพระองค์ทูลตอบว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้ชื่อว่าคนชรา’ ‘ทำไม เขาจึงชื่อว่าคนชรา’ ‘ผู้นี้ชื่อว่าคนชรา เพราะเวลานี้เขาจะมีชีวิตอยู่อีกไม่นาน พระเจ้าข้า’ ‘ถึงเราเองก็จะต้องแก่เฒ่าเป็นธรรมดา หนีไม่พ้นกระนั้นหรือ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คนเจ็บ

‘ทั้งพระองค์และข้าพระองค์ล้วนแต่ต้องแก่เฒ่าเป็นธรรมดา หนีไม่พ้น พระเจ้าข้า’ ‘สหายสารถี ถ้าเช่นนั้น วันนี้ชมอุทยานพอแล้ว เธอจงขับรถกลับเข้าเมืองเถิด’ ข้าพระองค์ทูลรับพระบัญชาแล้วขับราชรถกลับเข้าเมืองทันที พระราชกุมาร เสด็จถึงพระราชฐานชั้นใน ทรงมีทุกข์ มีพระทัยไม่ยินดี ทรงพระดำริว่า ‘ขึ้นชื่อว่า ความเกิดช่างน่ารังเกียจนัก เพราะเมื่อมีความเกิดก็มีความแก่’ พระเจ้าข้า
คนเจ็บ
[๔๖] ต่อมา พระเจ้าพันธุมาทรงพระดำริว่า ‘ขออย่าให้วิปัสสีกุมารไม่ยอม ครองราชย์เลย อย่าได้ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิตเลย คำทำนายของพราหมณ์ โหราจารย์อย่าได้เป็นจริงเลย’ จึงรับสั่งให้บำรุงบำเรอพระวิปัสสีราชกุมารด้วย กามคุณ ๕ มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อว่าพระวิปัสสีราชกุมารจะอยู่ครองราชย์ จะไม่ เสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต และคำทำนายของพราหมณ์โหราจารย์ จะผิดพลาด พระวิปัสสีราชกุมารทรงเอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ในพระราชฐานนั้น เมื่อเวลาล่วงไปอีกหลายปีหลายร้อยปีหลายพันปี พระวิปัสสี- ราชกุมารรับสั่งเรียกนายสารถีมาตรัสว่า ‘สหายสารถี เธอจงเทียมยานพาหนะ คันงามๆ เราจะไปอุทยานชมภูมิประเทศที่สวยงาม’ นายสารถีทูลรับพระบัญชาแล้ว เทียมยานพาหนะคันงามๆ กราบทูลว่า ‘ขอเดชะ ข้าพระองค์เทียมยานพาหนะคันงามๆ ไว้แล้ว ขอพระองค์จงทรงกำหนด เวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’ พระวิปัสสีราชกุมารทรงยานพาหนะคันงามเสด็จ ประพาสอุทยาน พร้อมด้วยยานพาหนะคันงามๆ ตามเสด็จอีกหลายคัน [๔๗] เมื่อเสด็จประพาสอุทยานอีก พระวิปัสสีราชกุมารได้ทอดพระเนตร เห็นคนเจ็บทนทุกข์ ป่วยหนัก นอนทุรนทุรายจมกองอุจจาระปัสสาวะของตน คนอื่นต้องช่วยกันพยุงให้กินอาหาร จึงตรัสถามนายสารถีว่า ‘สหายสารถี ชายคนนี้ถูก ใครทำอะไรให้ นัยน์ตาทั้งคู่และศีรษะของเขาจึงไม่เหมือนของคนอื่นๆ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คนเจ็บ

นายสารถีทูลตอบว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้ชื่อว่าคนเจ็บ’ ‘ทำไม เขาจึงชื่อว่าคนเจ็บ’ ‘ผู้นี้ชื่อว่าคนเจ็บ เพราะเขาหายจากความเจ็บป่วยนั้นได้อย่างยากเย็น พระเจ้าข้า’ ‘ถึงเราเองก็จะต้องเจ็บป่วยเป็นธรรมดา หนีไม่พ้นกระนั้นหรือ’ ‘ทั้งพระองค์และข้าพระองค์ล้วนแต่ต้องเจ็บป่วยเป็นธรรมดา หนีไม่พ้น พระเจ้าข้า’ ‘สหายสารถี ถ้าเช่นนั้น วันนี้ชมอุทยานพอแล้ว เธอจงขับรถกลับเข้าเมืองเถิด’ นายสารถีทูลรับพระบัญชาแล้วขับราชรถกลับเข้าเมืองทันที พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จถึงพระราชฐานชั้นใน ทรงมีทุกข์ มีพระทัยไม่ยินดี ทรงพระดำริว่า ‘ขึ้นชื่อว่าความเกิดช่างน่ารังเกียจนัก เพราะเมื่อมีความเกิดก็มีความแก่ ความเจ็บ’ [๔๘] ต่อมา พระเจ้าพันธุมารับสั่งให้เรียกนายสารถีมาแล้ว ตรัสถามว่า ‘พ่อสารถีคนดี ราชกุมารยินดีในอุทยานหรือไม่ พอใจในอุทยานหรือไม่’ นายสารถีทูลตอบว่า ‘ขอเดชะ พระราชกุมารไม่ทรงยินดีในพระอุทยาน ไม่ทรง พอพระทัยในพระอุทยาน’ ท้าวเธอตรัสถามว่า ‘ขณะเที่ยวชมอุทยาน ราชกุมารพบเห็นอะไรหรือ’ นายสารถีทูลตอบว่า ‘ขณะที่เสด็จประพาสพระอุทยาน พระราชกุมารได้ทอด พระเนตรเห็นคนเจ็บทนทุกข์ ป่วยหนัก นอนทุรนทุรายจมกองอุจจาระปัสสาวะ ของตนคนอื่นต้องช่วยกันพยุงให้กินอาหาร จึงตรัสถามข้าพระองค์ว่า ‘สหายสารถี ชายคนนี้ถูกใครทำอะไรให้ นัยน์ตาทั้งคู่และศีรษะของเขาจึงไม่เหมือนของคนอื่นๆ’ ข้าพระองค์ทูลตอบว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้ชื่อว่าคนเจ็บ’ ‘ทำไม เขาจึงชื่อว่าคนเจ็บ’ ‘ผู้นี้ชื่อว่าคนเจ็บ เพราะเขาหายจากความเจ็บป่วยนั้นได้อย่างยากเย็น พระเจ้าข้า’ ‘ถึงเราเองก็จะต้องป่วยเป็นธรรมดา หนีไม่พ้นกระนั้นหรือ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คนตาย

‘ทั้งพระองค์และข้าพระองค์ล้วนแต่ต้องเจ็บป่วยเป็นธรรมดา หนีไม่พ้น พระเจ้าข้า’ ‘สหายสารถี ถ้าเช่นนั้น วันนี้ชมอุทยานพอแล้ว เธอจงขับรถกลับเข้าเมืองเถิด’ ข้าพระองค์ทูลรับพระบัญชาแล้วขับราชรถกลับเข้าเมืองทันที พระราชกุมาร เสด็จถึงพระราชฐานชั้นใน ทรงมีทุกข์ มีพระทัยไม่ยินดี ทรงพระดำริว่า ‘ขึ้นชื่อว่า ความเกิดช่างน่ารังเกียจนัก เพราะเมื่อมีความเกิดก็มีความแก่ ความเจ็บ’ พระเจ้าข้า’
คนตาย
[๔๙] ต่อมา พระเจ้าพันธุมาทรงพระดำริว่า ‘ขออย่าให้วิปัสสีกุมารไม่ยอม ครองราชย์เลย อย่าได้ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิตเลย คำทำนายของพราหมณ์ โหราจารย์อย่าได้เป็นจริงเลย’ จึงรับสั่งให้บำรุงบำเรอพระวิปัสสีราชกุมารด้วย กามคุณ ๕ มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อว่าพระวิปัสสีราชกุมารจะอยู่ครองราชย์ จะไม่ เสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต และคำทำนายของพราหมณ์โหราจารย์ จะผิดพลาด พระราชกุมารทรงเอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ใน พระราชฐานนั้น เมื่อเวลาล่วงไปหลายปีหลายร้อยปีหลายพันปี พระวิปัสสีราชกุมาร รับสั่งเรียกนายสารถีมาตรัสว่า ‘สหายสารถี เธอจงเทียมยานพาหนะคันงามๆ เราจะไปอุทยานชมภูมิประเทศที่สวยงาม’ นายสารถีทูลรับพระบัญชาแล้ว เทียมยานพาหนะคันงามๆ กราบทูลว่า ‘ขอเดชะ ข้าพระองค์เทียมยานพาหนะคันงามๆ ไว้แล้ว ขอพระองค์จงทรงกำหนด เวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’ พระราชกุมารทรงยานพาหนะคันงามเสด็จประพาส อุทยาน พร้อมด้วยยานพาหนะคันงามๆ ตามเสด็จอีกหลายคัน [๕๐] เมื่อพระวิปัสสีราชกุมารเสด็จประพาสอุทยานอีก ได้ทอดพระเนตรเห็น หมู่ชนประชุมกันและกำลังประดับคานหามด้วยผ้าหลากสี จึงตรัสถามนายสารถีว่า ‘สหายสารถี หมู่ชนประชุมกันและประดับคานหามด้วยผ้าหลากสีไว้ทำไม’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คนตาย

นายสารถีทูลตอบว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้ชื่อว่าคนตาย’ พระวิปัสสีราชกุมารรับสั่งว่า ‘สหายสารถี ถ้าเช่นนั้น เธอจงขับรถไปทาง คนตายนั้น’ นายสารถีทูลรับพระบัญชาแล้วขับราชรถไปทางคนตายนั้น พระราชกุมารทอดพระเนตรคนตาย จึงตรัสถามนายสารถีว่า ‘ทำไม เขาจึง ชื่อว่าคนตาย’ นายสารถีทูลตอบว่า ‘ผู้นี้ชื่อว่าคนตาย เพราะเวลานี้มารดาบิดาหรือ ญาติสาโลหิตอื่นๆ จะไม่ได้พบเห็นเขาอีก ตัวเขาก็จะไม่ได้พบเห็นมารดาบิดาหรือ ญาติสาโลหิตอื่นๆ อีก พระเจ้าข้า’ ‘ถึงเราเองก็จะต้องตายเป็นธรรมดา หนีไม่พ้น พระมารดา พระบิดา หรือพระ ประยูรญาติอื่นๆ จะไม่ได้พบเห็นเรา แม้เราก็จะไม่ได้พบเห็นพระมารดา พระบิดา หรือพระประยูรญาติอื่นๆ กระนั้นหรือ’ ‘ทั้งพระองค์และข้าพระองค์ล้วนแต่ต้องตายเป็นธรรมดา หนีไม่พ้น พระเจ้าข้า พระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี หรือพระประยูรญาติอื่นๆ จะไม่ทรงพบเห็นพระองค์ แม้พระองค์ก็จะไม่ทรงพบเห็นพระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี หรือพระประยูรญาติอื่นๆ’ ‘สหายสารถี ถ้าเช่นนั้น วันนี้ชมอุทยานพอแล้ว เธอจงขับรถกลับเข้าเมืองเถิด’ นายสารถีทูลรับพระบัญชาแล้วขับราชรถกลับเข้าเมืองทันที พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จถึงพระราชฐานชั้นใน ทรงมีทุกข์ มีพระทัยไม่ยินดี ทรงพระดำริว่า ‘ขึ้นชื่อว่าความเกิดช่างน่ารังเกียจนัก เพราะเมื่อมีความเกิดก็มี ความแก่ ความเจ็บ ความตาย’ [๕๑] ต่อมา พระเจ้าพันธุมารับสั่งให้เรียกนายสารถีมาแล้วตรัสถามว่า ‘พ่อสารถีคนดี ราชกุมารยินดีในอุทยานหรือไม่ พอใจในอุทยานหรือไม่’ นายสารถีทูลตอบว่า ‘ขอเดชะ พระราชกุมารไม่ทรงยินดีในพระอุทยาน ไม่ทรงพอพระทัยในพระอุทยานครั้งนี้เลย’ ท้าวเธอตรัสถามว่า ‘ขณะที่เที่ยวชมอุทยาน ราชกุมารพบเห็นอะไรหรือ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คนตาย

นายสารถีทูลตอบว่า ‘ขณะที่เสด็จประพาสพระอุทยาน พระราชกุมาร ได้ทอด พระเนตรเห็นหมู่ชนประชุมกันและกำลังประดับคานหามด้วยผ้าหลากสี จึงตรัสถาม ข้าพระองค์ว่า ‘สหายสารถี หมู่ชนประชุมกันและกำลังประดับคานหามด้วยผ้า หลากสีไว้ทำไม’ ข้าพระองค์ทูลตอบว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้ชื่อว่าคนตาย’ พระราชกุมารรับสั่งว่า ‘สหายสารถี ถ้าเช่นนั้น เธอจงขับรถไปทางคนตายนั้น’ ข้าพระองค์ทูลรับพระบัญชาแล้วขับราชรถไปทางคนตายนั้น พระราชกุมารทอดพระเนตรคนตาย จึงตรัสถามข้าพระองค์ว่า ‘ทำไม เขาจึง ชื่อว่าคนตาย’ ข้าพระองค์ทูลตอบว่า ‘ผู้นี้ชื่อว่าคนตาย เพราะเวลานี้มารดาบิดาหรือ ญาติสาโลหิตอื่นๆ จะไม่ได้พบเห็นเขาอีก ตัวเขาก็จะไม่ได้พบเห็นมารดาบิดาหรือ ญาติสาโลหิตอื่นๆ อีก พระเจ้าข้า’ ‘ถึงเราเองก็จะต้องตายเป็นธรรมดา หนีไม่พ้น พระมารดา พระบิดา หรือ พระประยูรญาติอื่นๆ จะไม่ได้พบเห็นเรา แม้เราก็จะไม่ได้พบเห็นพระมารดา พระบิดา หรือพระประยูรญาติอื่นๆ กระนั้นหรือ’ ‘ทั้งพระองค์และข้าพระองค์ล้วนแต่ต้องตายเป็นธรรมดา หนีไม่พ้น พระเจ้าข้า พระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี หรือพระประยูรญาติอื่นๆ จะไม่ทรงพบเห็นพระองค์ แม้พระองค์ก็จะไม่ทรงพบเห็นพระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี หรือพระประยูรญาติอื่นๆ’ ‘สหายสารถี ถ้าเช่นนั้น วันนี้ชมอุทยานพอแล้ว เธอจงขับรถกลับเข้าเมืองเถิด’ ข้าพระองค์ทูลรับพระบัญชาแล้วขับราชรถกลับเข้าเมืองทันที พระราชกุมาร เสด็จถึงพระราชฐานชั้นใน ทรงมีทุกข์ มีพระทัยไม่ยินดี ทรงพระดำริว่า ‘ขึ้นชื่อว่า ความเกิดช่างน่ารังเกียจนัก เพราะเมื่อมีความเกิดก็มีความแก่ ความเจ็บ ความตาย’ พระเจ้าข้า’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

บรรพชิต

บรรพชิต
[๕๒] ต่อมา พระเจ้าพันธุมาทรงพระดำริว่า ‘ขออย่าให้วิปัสสีกุมารไม่ยอม ครองราชย์เลย อย่าได้ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิตเลย คำทำนายของพราหมณ์ โหราจารย์อย่าได้เป็นจริงเลย’ จึงรับสั่งให้บำรุงบำเรอพระวิปัสสีราชกุมารด้วย กามคุณ ๕ มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อว่าพระวิปัสสีราชกุมารจะอยู่ครองราชย์ จะไม่เสด็จ ออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต และคำทำนายของพราหมณ์โหราจารย์จะ ผิดพลาด พระวิปัสสีราชกุมารทรงเอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ในพระราชฐานนั้น เมื่อเวลาล่วงไปอีกหลายปีหลายร้อยปีหลายพันปี พระวิปัสสีราช- กุมารรับสั่งเรียกนายสารถีมาตรัสว่า ‘สหายสารถี เธอจงเทียมยานพาหนะคันงามๆ เราจะไปอุทยานชมภูมิประเทศที่สวยงาม’ นายสารถีทูลรับพระบัญชาแล้ว เทียมยานพาหนะคันงามๆ กราบทูลว่า ‘ขอเดชะ ข้าพระองค์เทียมยานพาหนะคันงามๆ ไว้แล้ว ขอพระองค์จงทรงกำหนด เวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’ พระวิปัสสีราชกุมารทรงยานพาหนะคันงามเสด็จ ประพาสอุทยานพร้อมด้วยยานพาหนะคันงามๆ ตามเสด็จอีกหลายคัน [๕๓] พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จประพาสอุทยานอีก ได้ทอดพระเนตรเห็น บุรุษศีรษะโล้นนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ จึงตรัสถามนายสารถีว่า ‘สหายสารถี ชายคนนี้ ถูกใครทำอะไรให้ ทั้งศีรษะและเครื่องนุ่งห่มของเขาจึงไม่เหมือนของคนอื่นๆ’ นายสารถีทูลตอบว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้ชื่อว่าบรรพชิต’ ‘ทำไม เขาจึงชื่อว่าบรรพชิต’ ‘ผู้นั้นชื่อว่าบรรพชิต เพราะการประพฤติธรรมเป็นความดี การประพฤติ สม่ำเสมอเป็นความดี การทำกุศลเป็นความดี การทำบุญเป็นความดี การไม่ เบียดเบียนเป็นความดี และการอนุเคราะห์หมู่สัตว์เป็นความดี พระเจ้าข้า’ ‘บรรพชิตนี้ดีแท้ เพราะการประพฤติธรรมเป็นความดี การประพฤติสม่ำเสมอ เป็นความดี การทำกุศลเป็นความดี การทำบุญเป็นความดี การไม่เบียดเบียนเป็น ความดี และการอนุเคราะห์หมู่สัตว์เป็นความดี ถ้าเช่นนั้น เธอจงขับรถไปทาง บรรพชิตนั้น’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

มหาชนออกบวชตามเสด็จ

นายสารถีทูลรับพระบัญชาแล้วขับราชรถไปทางบรรพชิตนั้น ครั้นแล้ว พระราชกุมารได้ตรัสถามบรรพชิตว่า ‘สหาย ท่านทำอะไร ศีรษะ และเครื่องนุ่งห่มของท่านจึงไม่เหมือนของคนอื่นๆ’ บรรพชิตนั้นทูลตอบว่า ‘ขอถวายพระพร อาตมภาพชื่อว่าบรรพชิต’ ‘ท่านชื่อว่าบรรพชิตหรือ’ ‘ขอถวายพระพร อาตมภาพชื่อว่าบรรพชิต เพราะการประพฤติธรรมเป็น ความดี การประพฤติสม่ำเสมอเป็นความดี การทำกุศลเป็นความดี การทำบุญ เป็นความดี การไม่เบียดเบียนเป็นความดี และการอนุเคราะห์หมู่สัตว์เป็นความดี’
พระโพธิสัตว์เสด็จออกผนวช
[๕๔] ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระวิปัสสีราชกุมารรับสั่งเรียกนายสารถี มาตรัสว่า ‘สหายสารถี ถ้าเช่นนั้น เธอจงนำรถกลับเข้าเมือง เราจักโกนผมและ หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิตในอุทยานนี้’ นายสารถีทูลรับพระบัญชาแล้วขับราชรถกลับเข้าเมืองทันที ส่วนพระวิปัสสี ราชกุมารทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จออกจาก พระราชวังผนวชเป็นบรรพชิตที่อุทยานนั้นนั่นเอง
มหาชนออกบวชตามเสด็จ
[๕๕] มหาชนในกรุงพันธุมดีประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน ได้ทราบข่าวว่า พระวิปัสสีราชกุมารทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จ ออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต จึงคิดว่า ‘พระธรรมวินัยและการบรรพชาที่ พระวิปัสสีราชกุมารได้ปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จ ออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิตนั้น คงจะไม่ต่ำทราม คนระดับพระวิปัสสี ราชกุมาร ยังทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จออก จากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิตได้ ทำไมพวกเราจักบวชบ้างไม่ได้เล่า’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

พระโพธิสัตว์ตรัสรู้

มหาชนประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน ได้พากันโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้า กาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตตามเสด็จพระวิปัสสีโพธิสัตว์ พระวิปัสสี- โพธิสัตว์ ทรงมีบริษัทนั้นแวดล้อม เสด็จจาริกไปในหมู่บ้าน นิคม ชนบท(แคว้น) และราชธานีทั้งหลาย [๕๖] ต่อมา พระวิปัสสีโพธิสัตว์ประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด๑- ทรงมี พระรำพึงอย่างนี้ว่า ‘การที่เราอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะอย่างนี้หาเป็นการสมควรไม่ ทางที่ดี เราควรหลีกออกจากหมู่อยู่เพียงลำพัง’ ต่อมา พระวิปัสสีโพธิสัตว์เสด็จ หลีกออกจากหมู่ประทับอยู่ผู้เดียว บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูป ได้แยกไปทางหนึ่ง พระวิปัสสีโพธิสัตว์ก็เสด็จไปอีกทางหนึ่ง
พระโพธิสัตว์ตรัสรู้๒-
[๕๗] ต่อมา พระวิปัสสีโพธิสัตว์ประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงมีพระรำพึง อย่างนี้ว่า ‘สัตว์โลกนี้ถึงความคับแค้น จึงเกิด แก่ ตาย จุติและอุบัติ ก็บุคคลผู้ไม่รู้ อุบายสลัดออกจากทุกข์ คือ ชรา(ความแก่)มรณะ(ความตาย)นี้ เมื่อไร จึงจะพ้นจาก ทุกข์คือชรามรณะนี้ได้’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชรามรณะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อชาติ(ความเกิด)มี ชรามรณะจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อภพ(ความมี ความเป็น)มี ชาติจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’ @เชิงอรรถ : @ ที่สงัด หมายถึงกายวิเวก หลีกเร้น หมายถึงจิตตวิเวก (ที.ม.ฏีกา. ๕๗/๕๘) @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๔/๑๐-๑๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

พระโพธิสัตว์ตรัสรู้

จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่ออุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)มี ภพจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อตัณหา(ความอยาก)มี อุปาทานจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อเวทนา(ความรู้สึก)มี ตัณหาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อผัสสะ(สัมผัส)มี เวทนาจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ สฬายตนะ (อายตนะ ๖)มี ผัสสะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อนามรูป(นามธรรมและรูปธรรม)มี สฬายตนะจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์)มี นามรูปจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป จึงมี’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

พระโพธิสัตว์ตรัสรู้

จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี วิญญาณจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อนามรูปมี วิญญาณจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี‘๑- [๕๘] จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘วิญญาณนี้ย่อมหมุนกลับมาจากนามรูป เท่านั้น ไม่เลยไปกว่านั้น เพราะความหมุนกลับเพียงแค่นี้ สัตว์โลกจึงเกิดบ้าง แก่บ้าง ตายบ้าง จุติบ้าง อุบัติบ้าง ความเป็นไปนั้น คือ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ(ความโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) จึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ ด้วยประการฉะนี้’ [๕๙] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระโพธิสัตว์๒- ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย สดับมาก่อนว่า ‘สมุทัย สมุทัย (ความเกิด ความเกิด)’ @เชิงอรรถ : @ ข้อความตอนนี้ ใน สํ.นิ. ๑๖/๔/๗ มีเนื้อความบาลีว่า สงฺขาเรสุ โข สติวิญฺญาณํ โหติ สงฺขาราปจฺจยา @วิญฺญาณํ ส่วนในที่นี้มีเนื้อความบาลีว่า นามรูเป โข สติ วิญฺญาณํ โหติ นามรูปปจฺจยา วิญฺญาณํ @อรรถกถาอธิบายข้อความตอนนี้ไว้ว่า ความจริงน่าจะใช้คำว่า เมื่อสังขารมี วิญญาณจึงมี เมื่อ @อวิชชามี สังขารจึงมี แต่การรู้แจ้งนี้ ไม่ต้องอาศัยความสืบต่อแห่งอวิชชาและสังขารซึ่งเป็นอดีตภพ เพราะ @มหาบุรุษ (พระโพธิสัตว์) อยู่กับเหตุการณ์ปัจจุบัน (ที.ม.อ. ๕๗/๕๖, ที.ม.ฏีกา ๕๗/๖๐) @ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๕/๒๒, สํ. สฬา. (แปล) ๑๘/๒๗๓/๓๐๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

พระโพธิสัตว์ตรัสรู้

[๖๐] จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชรามรณะจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะภพดับ ชาติจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ภพจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะอะไรดับ อุปาทานจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ตัณหา จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ เวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ เวทนา จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ ผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ผัสสะ จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ สฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สฬายตนะจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ นามรูป จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ วิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

พระโพธิสัตว์ตรัสรู้

จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อนามรูปไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ’ [๖๑] จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘ทางเพื่อความตรัสรู้ เราได้บรรลุแล้ว คือ เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ ด้วยประการฉะนี้’ [๖๒] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่ เคยสดับมาก่อนว่า ‘นิโรธ นิโรธ (ความดับ ความดับ)’ [๖๓] จากนั้น ทรงพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทาน- ขันธ์ ๕ อยู่ว่า “รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูป เป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง เวทนาเป็นอย่างนี้ สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม

แห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้‘๑- เมื่อทรงพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ไม่นานนัก จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น’
ภาณวารที่ ๒ จบ
ท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม๒-
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระวิปัสสีพุทธเจ้ามีพระรำพึงดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรแสดงธรรม’ แต่ทรงพระดำริว่า ‘ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่ใช่วิสัยตรรกะ ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ก็แลหมู่ ประชานี้ เป็นผู้รื่นรมย์ในอาลัย๓- ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย สำหรับหมู่ประชา ผู้รื่นรมย์ในอาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย ฐานะอันนี้เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา๔- หลักปฏิจจสมุปบาท๕- ถึงแม้ฐานะอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็น ได้ยากนัก กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้น ตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม และผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้ง ต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบาก เปล่าแก่เรา’ [๖๕] อนึ่งเล่า อนัจฉริยคาถา(คาถาอันน่าอัศจรรย์)เหล่านี้ที่ไม่ทรงสดับมา ก่อนได้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่พระวิปัสสีพุทธเจ้าว่า @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๑/๖๙ @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๗/๑๑-๑๒, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๑/๓๐๕ @ อาลัย คือกามคุณ ๕ ที่สัตว์พัวพันยินดีเพลิดเพลิน (วิ.อ. ๓/๗/๑๓) เป็นชื่อเรียกกิเลส ๒ อย่างคือกามคุณ ๕ @และตัณหาวิจริต ๑๐๘ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๗/๑๘๔) @ อิทัปปัจจยตา แปลว่า ความที่สิ่งนี้อาศัยสิ่งนี้เกิดขึ้น หมายถึงสภาวธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งชราและมรณะ @เป็นต้น เป็นชื่อหนึ่งของปฏิจจสมุปบาท (สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒๑/๓๘, สํ.นิ.อ. ๒/๒๐/๔๖-๔๗) @ ปฏิจจสมุปบาท หมายถึงสภาวธรรมที่เป็นปัจจัย และสภาวธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นอันเป็นกระบวน @การทางปัจยภาพ (causality) ซึ่งเป็นสภาวะที่ดำรงอยู่อย่างนั้น แม้ว่าพระตถาคตจะเสด็จอุบัติขึ้นหรือไม่ @ก็ตาม เช่น ชรามรณะมี เพราะชาติเป็นปัจจัย (สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒๑/๓๘, สํ.นิ.อ. ๒/๒๐/๔๖-๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

อนัจฉริยคาถา

อนัจฉริยคาถา
บัดนี้ เรายังไม่ควรประกาศธรรม ที่เราได้บรรลุด้วยความลำบาก เพราะธรรมนี้ ไม่ใช่ธรรมที่ผู้ถูกราคะและโทสะครอบงำจะรู้ได้ง่าย แต่เป็นธรรมพาทวนกระแส๑- ละเอียด ลึกซึ้ง รู้เห็นได้ยาก ประณีต ผู้กำหนัดด้วยราคะ ถูกกองโมหะหุ้มห่อไว้ จักรู้เห็นไม่ได้๒- เมื่อทรงพิจารณาดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อจะประทับอยู่เฉย มิได้น้อมไปเพื่อ จะทรงแสดงธรรม [๖๖] ครั้งนั้น ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งกำหนดรู้พระรำพึงของพระวิปัสสี พุทธเจ้าด้วยใจจึงคิดว่า “ท่านผู้เจริญ โลกจะฉิบหายหนอ โลกจะพินาศหนอ เพราะพระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยไปเพื่อจะประทับอยู่เฉย มิได้น้อมพระทัย ไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม จึงได้หายตัวไปจากพรหมโลกมาปรากฏเฉพาะพระพักตร์ ของพระวิปัสสีพุทธเจ้า เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น แล้วจึงห่มผ้าเฉวียงบ่า คุกเข่าเบื้องขวาลงบนแผ่นดิน ประนมมือไปทางพระวิปัสสี พุทธเจ้าแล้วได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมเถิด ในโลกนี้ยังมีเหล่าสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง๓- สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม เหล่าสัตว์ผู้ที่อาจจะรู้ทั่วถึงธรรมได้ยังมีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า’ [๖๗] เมื่อท้าวมหาพรหมกราบทูลอาราธนาอย่างนี้ พระวิปัสสีพุทธเจ้าจึงได้ ตรัสกับท้าวมหาพรหมดังนี้ว่า ‘พรหม แม้เราเองก็มีความดำริว่า ‘ทางที่ดีเราควร แสดงธรรม’ แต่ก็มาคิดว่า ‘ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก @เชิงอรรถ : @ พาทวนกระแส ในที่นี้หมายถึงพาเข้าถึงพระนิพพาน (วิ.อ. ๓/๗/๑๔) @ วิ.ม. (แปล) ๔/๗/๑๑ @ ผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง หมายถึงผู้มีธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ เพียงเล็กน้อยในดวงตาคือปัญญา @(ที.ม.อ. ๖๖/๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

อนัจฉริยคาถา

สงบ ประณีต ไม่ใช่วิสัยตรรกะ ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ก็แลหมู่ประชานี้ เป็นผู้ รื่นรมย์ในอาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย สำหรับหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ใน อาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย ฐานะอันนี้เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท ถึงแม้ฐานะอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราพึงแสดงธรรม และผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้น ก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา’ อนึ่งเล่า อนัจฉริยคาถาเหล่านี้ที่ไม่เคยสดับมาก่อนได้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่เราว่า บัดนี้ เรายังไม่ควรประกาศธรรม ที่เราได้บรรลุด้วยความลำบาก เพราะธรรมนี้ ไม่ใช่ธรรมที่ผู้ถูกราคะและโทสะครอบงำจะรู้ได้ง่าย แต่เป็นธรรมพาทวนกระแส๑ ละเอียด ลึกซึ้ง รู้เห็นได้ยาก ประณีต ผู้กำหนัดด้วยราคะ ถูกกองโมหะหุ้มห่อไว้ จักรู้เห็นไม่ได้’ เมื่อเราพิจารณาดังนี้ ใจก็น้อมไปเพื่อจะอยู่เฉย มิได้น้อมไปเพื่อจะแสดงธรรม’ [๖๘] แม้ครั้งที่ ๒ ท้าวมหาพรหมได้กราบทูลพระวิปัสสีพุทธเจ้าดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม ขอพระสุคตโปรดแสดง ธรรมเถิด ในโลกนี้ยังมีเหล่าสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะ ไม่ได้ฟังธรรม เหล่าสัตว์ผู้ที่อาจจะรู้ทั่วถึงธรรมได้ยังมีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า’ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวมหาพรหมได้กราบทูลพระวิปัสสีพุทธเจ้าดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมเถิด ในโลกนี้ยังมีเหล่าสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม เหล่าสัตว์ผู้ที่อาจจะรู้ทั่วถึงธรรมได้ยังมีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงพิจารณาสัตว์โลก

พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงพิจารณาสัตว์โลก
[๖๙] ครั้งนั้น พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงทราบคำอาราธนาของท้าวมหาพรหม และทรงอาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์ ได้ทรงตรวจดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ๑- เมื่อทรง ตรวจโลกด้วยพระพุทธจักษุได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง ผู้มีธุลี ในดวงตามาก ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า๒- ผู้มีอินทรีย์อ่อน ผู้มีอาการดี๓- ผู้มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก ควรสั่งสอน ไม่ควรสั่งสอน บางพวกมักเห็น ปรโลกและโทษ๔- ว่าน่ากลัว บางพวกไม่เห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัว ในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอบุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำและน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่พ้นน้ำ ไม่แตะน้ำ ฉันใด พระวิปัสสีพุทธเจ้าได้ทรงตรวจดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ ครั้นทรงตรวจโลกด้วย พระพุทธจักษุได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง ผู้มีธุลีในดวงตามาก ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย @เชิงอรรถ : @ พระพุทธจักษุ หมายถึงอินทริยปโรปริยัติญาณ คือปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ @ทั้งหลาย คือ รู้ว่า สัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย @มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ และอาสยานุสยญาณ คือปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สภาพจิต @ที่นอนอยู่ (ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๑๑๑/๑๗๒-๑๗๓, ที.ม.อ. ๖๙/๖๔) @ มีอินทรีย์แก่กล้า หมายถึงมีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์ คือ (๑) สัทธา (ความเชื่อ) (๒) วิริยะ (ความเพียร) @(๓) สติ (ความระลึกได้) (๔) สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น) (๕) ปัญญา (ความรู้ทั่ว) (ที.ม.อ. ๖๙/๖๔) @ มีอาการดี หมายถึงมีความโน้มเอียงไปในทางดี เช่น มีศรัทธา เป็นต้น ส่วนอาการทรามมีลักษณะตรงข้าม @(ที.ม.อ. ๖๙/๖๔) @ โทษ ในที่นี้ ได้แก่ กิเลส ทุจริต อภิสังขาร และกรรมนำไปเกิดในภพ (ที.ม.อ. ๖๙/๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงพิจารณาสัตว์โลก

สอนให้รู้ได้ยาก ควรสั่งสอน ไม่ควรสั่งสอน บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัว บางพวกไม่เห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัว๑- ฉันนั้น [๗๐] ครั้งนั้น ท้าวมหาพรหมทราบพระรำพึงของพระวิปัสสีพุทธเจ้าด้วยใจ จึงได้กราบทูลด้วยคาถาทั้งหลายว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาดี มีพระสมันตจักขุ๒- บุรุษผู้ยืนบนยอดภูเขาศิลาล้วน พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ แม้ฉันใด พระองค์ผู้หมดความโศกแล้ว โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม๓- จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก และถูกชาติชราครอบงำ ได้ชัดเจน ฉันนั้น๔- ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ผู้ชนะสงคราม๕- ผู้นำหมู่๖- ผู้ไม่มีหนี๗- @เชิงอรรถ : @ นอกจากบัวจมอยู่ใต้น้ำ บัวอยู่เสมอน้ำ บัวพ้นน้ำ ๓ เหล่านี้ อรรถกถาได้กล่าวถึงบัวเหล่าที่ ๔ คือบัวที่มี @โรคยังไม่พ้นน้ำ เป็นอาหารของปลาและเต่า ซึ่งมิได้ยกขึ้นสู่บาลี แล้วแบ่งบุคคลเป็น ๔ เหล่า (ตามที่ปรากฏใน @องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๔๘-๑๕๑/๑๘๖-๑๘๗ คือ (๑) อุคฆฏิตัญญู @(๒) วิปจิตัญญู (๓) เนยยะ (๔) ปทปรมะ แล้วเปรียบอุคฆฏิตัญญู เป็นเหมือนบัวพ้นน้ำ ที่พอต้องแสง @อาทิตย์แล้วก็บานในวันนี้ เปรียบวิปจิตัญญู เป็นเหมือนบัวอยู่เสมอน้ำที่จะบานในวันรุ่งขึ้น เปรียบเนยยะ @เป็นเหมือนบัวจมอยู่ในน้ำที่จะขึ้นมาบานในวันที่ ๓ ส่วนปทปรมะ เปรียบเหมือนบัวที่มีโรค ยังไม่พ้นน้ำ @ไม่มีโอกาสขึ้นมาบาน เป็นอาหารของปลาและเต่า @พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุอันเป็นเหมือนกออุบลเป็นต้น ได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงว่า @หมู่ประชาผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง มีประมาณเท่านี้ หมู่ประชาผู้มีธุลีในดวงตามากมีประมาณเท่านี้ และใน @หมู่ประชาทั้ง ๒ นั้น อุคฆฏิตัญญูบุคคลมีประมาณเท่านี้ (ที.ม.อ. ๖๙/๖๕, สารตฺถ. ฏีกา ๓/๙/๑๙๒-๑๙๓) @ พระสมันตจักขุ หมายถึงพระสัพพัญญุตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต) @(ที.ม.อ. ๗๐/๖๖) @ ปราสาทคือธรรม ในที่นี้หมายถึงปัญญา หรือโลกุตตรธรรม (ที.ม.อ. ๗๐/๖๖, ที.ม.ฏีกา. ๗๐/๘๐) @ ดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๐ @ ชนะสงคราม หมายถึงชนะเทวปุตตมาร (มารคือเทพบุตร) มัจจุมาร (มารคือความตาย) และกิเลสมาร @(มารคือกิเลส) ได้แล้ว (ที.ม.อ. ๗๐/๖๗) @ ผู้นำหมู่ หมายถึงสามารถนำเวไนยสัตว์ข้ามทางกันดารคือชาติเป็นต้นได้ (ที.ม.อ. ๗๐/๖๗) @ หนี้ ในที่นี้หมายถึงกามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (ที.ม.อ. ๗๐/๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คู่พระอัครสาวก

ขอพระองค์โปรดลุกขึ้น เสด็จจาริกไปในโลก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมเถิด เพราะผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังมีอยู่๑-’ [๗๑] เมื่อท้าวมหาพรหมกราบทูลอย่างนี้ พระวิปัสสีพุทธเจ้าได้ตรัสกับ ท้าวมหาพรหมนั้นด้วยพระคาถาว่า “สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราได้เปิดประตูแห่งอมตะ๒- แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว ท่านพรหม เพราะเราสำคัญว่าจะลำบาก จึงมิได้แสดงธรรมที่ประณีตคล่องแคล่วในหมู่มนุษย์ ขณะนั้น ท้าวมหาพรหมได้ทราบว่า ‘พระวิปัสสีพุทธเจ้าได้ทรงประทานโอกาส เพื่อจะทรงแสดงธรรมแล้ว’ จึงถวายอภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง
คู่พระอัครสาวก
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ต่อมา พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงพระดำริว่า ‘เราจะพึง แสดงธรรมแก่ใครก่อน ใครจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’ แล้วทรงพระดำริต่อไปว่า ‘พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะ อาศัยอยู่ในกรุงพันธุมดี ราชธานี เป็นคนเฉลียวฉลาด หลักแหลม มีธุลีในดวงตาเบาบางมานาน ทางที่ดี เราพึงแสดงธรรมแก่เธอทั้งสองก่อน เธอทั้งสองจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’ [๗๓] พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงหายไปจากควงต้นโพธิ์มาปรากฏที่เขมมฤคทายวัน ในกรุงพันธุมดีราชธานี เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ได้รับสั่งเรียกคนเฝ้าสวนมาตรัสว่า ‘มานี่เถิด นายทายบาล เธอจงเข้าไปยังกรุง @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๒/๓๐๖-๓๐๗, สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๗๒/๒๓๒ @ ประตูแห่งอมตะ หมายถึงอริยมรรคที่เป็นทางแห่งอมตะคือพระนิพพาน (ที.ม.อ. ๗๑/๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คู่พระอัครสาวก

พันธุมดีราชธานี บอกราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะว่า ‘พระวิปัสสีพุทธเจ้าเสด็จถึงกรุงพันธุมดีราชธานี ประทับอยู่ที่เขมมฤคทายวัน มีพระประสงค์จะพบท่านทั้งสอง’ นายทายบาลทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี กราบทูล แก่พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบอกบุตรปุโรหิตชื่อติสสะดังนี้ว่า ‘พระวิปัสสี พุทธเจ้าเสด็จถึงกรุงพันธุมดีราชธานี ประทับอยู่ที่เขมมฤคทายวัน มีพระประสงค์ จะพบท่านทั้งสอง’ [๗๔] พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะ สั่งให้บุรุษ เทียมยานพาหนะคันงามๆ แล้วขึ้นยานพาหนะคันงามออกจากกรุงพันธุมดีราชธานี พร้อมกับยานพาหนะคันงามๆ ติดตามอีกหลายคัน ขับตรงไปยังเขมมฤคทายวัน จนสุดทางที่ยานพาหนะจะเข้าไปได้ แล้วลงจากยานเดินตรงเข้าไปเฝ้าพระวิปัสสี พุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร [๗๕] พระวิปัสสีพุทธเจ้าตรัสอนุปุพพิกถา๑- แก่พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อติสสะเหล่านั้น คือ ทรงประกาศ ๑. ทานกถา (เรื่องทาน) ๒. สีลกถา (เรื่องศีล) ๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์) ๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)๒- ๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม) เมื่อทรงทราบว่า พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะมีจิต ควรบรรลุธรรม อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิก @เชิงอรรถ : @ อนุปุพพิกถา หมายถึงธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความลุ่มลึกลงไปโดยลำดับ เพื่อขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟัง @ให้ประณีตขึ้นไปเป็นชั้นๆ จนพร้อมที่จะทำความเข้าใจในธรรมส่วนปรมัตถ์ (ที.สี.อ. ๒๙๘/๒๕๐) @ แปลมาจากคำว่า กามานํ อาทีนวํ โอการํ สํกิเลสํ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คู่พระอัครสาวก

ธรรมเทศนา๑- ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแก่พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตร ปุโรหิตชื่อติสสะ ณ อาสนะนั้นแลว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา‘เหมือนผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี [๗๖] พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว หมดความสงสัยแล้วปราศจาก ความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น๒- ในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระวิปัสสีพุทธเจ้าว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มี พระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตาม ประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ขอถึงพระ ผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมเป็นสรณะ และพึงได้การบรรพชาพึงได้การอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาค’ [๗๗] พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะ ได้การบรรพชา ได้การอุปสมบทในสำนักของพระวิปัสสีพุทธเจ้า พระองค์ทรงชี้แจงให้ภิกษุเหล่านั้น เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงประกาศโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของสังขารและอานิสงส์ในนิพพาน จิตของพระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตร ปุโรหิตชื่อติสสะอันพระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไป ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ไม่นานนัก ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น @เชิงอรรถ : @ สามุกกังสิกธรรมเทศนา หมายถึงธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงเห็น @ด้วยสยัมภูญาณ ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น คือมิได้รับแนะนำจากผู้อื่น ตรัสรู้ลำพังพระองค์เองก่อนใครในโลก @(วิ.อ. ๓/๒๙๓/๑๘๑, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๖/๒๓๗, ที.สี.อ. ๒๙๘/๒๕๐) @ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น หมายถึงไม่ต้องอาศัยผู้อื่นคอยแนะนำพร่ำสอนในคำสอนของพระศาสนา ไม่ได้หมายถึง @ว่า ไม่ต้องเชื่อใคร (อปรปฺปจฺจโย =ไม่มีใครอื่นอีกเป็นปัจจัย) (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๘/๒๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

มหาชนออกบวช

มหาชนออกบวช
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย มหาชนในกรุงพันธุมดีราชธานีประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน ได้ทราบข่าวว่า ‘พระวิปัสสีพุทธเจ้าเสด็จถึงกรุงพันธุมดี ประทับอยู่ที่เขมมฤคทายวัน พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะ โกนผมและหนวด นุ่งห่ม ผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากพระราชวังและเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักพระวิปัสสี- พุทธเจ้า’ จึงคิดกันว่า ‘พระธรรมวินัยและการบรรพชาที่พระราชโอรสพระนามว่า ขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะ โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจาก พระราชวังและเรือนบวชเป็นบรรพชิตนั้น คงจะไม่ต่ำทราม คนระดับพระราชโอรส พระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะ โกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากพระราชวังและเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้ ทำไม พวกเราจักบวชบ้างไม่ได้เล่า’ มหาชนประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน จึงชักชวนกันออกจากกรุงพันธุมดีราชธานี ไปยัง เขมมฤคทายวันเข้าไปเฝ้าพระวิปัสสีพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ สมควร [๗๙] พระวิปัสสีพุทธเจ้าตรัสอนุปุพพิกถาแก่ชนเหล่านั้น คือ ทรงประกาศ ๑. ทานกถา ๒. สีลกถา ๓. สัคคกถา ๔. กามาทีนวกถา ๕. เนกขัมมานิสังสกถา เมื่อทรงทราบว่าชนเหล่านั้น มีจิตควรบรรลุ อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ชน ๘๔,๐๐๐ เหล่านั้น ณ ที่นั่งนั้นแลว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี๑- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๒๖/๓๒-๓๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

บรรพชิตรุ่นแรกที่บวชตามเสด็จบรรลุธรรม

[๘๐] ชนเหล่านั้นเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว หมดความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อ ผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระวิปัสสีพุทธเจ้าดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศ ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ พวกข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ และพึงได้การบรรพชาพึงได้การอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค’ [๘๑] มหาชนประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน ได้การบรรพชาได้การอุปสมบทใน สำนักของพระวิปัสสีพุทธเจ้า พระองค์ทรงชี้แจงให้ภิกษุเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้ อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงประกาศโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของสังขาร และอานิสงส์ในนิพพาน จิตของภิกษุเหล่านั้นอันพระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงชี้แจงให้ เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ไม่นานนัก ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
บรรพชิตรุ่นแรกที่บวชตามเสด็จบรรลุธรรม
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตประมาณ ๘๔,๐๐๐ รูปเหล่านั้นได้ทราบข่าวว่า ‘พระวิปัสสีพุทธเจ้าเสด็จถึงกรุงพันธุมดีราชธานี ประทับอยู่ที่เขมมฤคทายวัน กำลัง ทรงแสดงธรรม’ จึงพากันไปยังเขมมฤคทายวัน กรุงพันธุมดีเข้าไปเฝ้าพระวิปัสสี- พุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร [๘๓] พระวิปัสสีพุทธเจ้าตรัสอนุปุพพิกถาแก่บรรพชิตเหล่านั้น คือ ทรงประกาศ ๑. ทานกถา ๒. สีลกถา ๓. สัคคกถา ๔. กามาทีนวกถา ๕. เนกขัมมานิสังสกถา เมื่อทรงทราบว่า บรรพชิตเหล่านั้นมีจิตควรบรรลุธรรม อ่อน ปราศจาก นิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา

ทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน ได้เกิดขึ้นแก่บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปเหล่านั้น ณ อาสนะนั้นแลว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เหมือนผ้าขาว สะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี [๘๔] บรรพชิตเหล่านั้นเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว หยั่งลง สู่ธรรมแล้ว หมดความสงสัยแล้ว ไม่มีความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระวิปัสสีพุทธเจ้าดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรง ประกาศธรรมแจ่มแจ้ง โดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี จักเห็นรูปได้’ พวกข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและ พระสงฆ์เป็นสรณะ และพึงได้การบรรพชาพึงได้การอุปสมบทในสำนักของพระผู้มี พระภาค’ [๘๕] บรรพชิตประมาณ ๘๔,๐๐๐ รูปเหล่านั้น ได้การบรรพชาได้การ อุปสมบทในสำนักพระวิปัสสีพุทธเจ้า พระองค์ทรงชี้แจงให้ภิกษุเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงประกาศโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของ สังขารและอานิสงส์ในนิพพาน จิตของภิกษุเหล่านั้นอันพระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงชี้แจง ให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลม ใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ไม่นานนัก ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ ไม่ถือมั่น
ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา
[๘๖] ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น มีภิกษุอยู่ประมาณ ๑๖๘,๐๐๐ รูปในกรุง พันธุมดีราชธานี ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีพุทธเจ้าประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้มี พระรำพึงอย่างนี้ว่า ‘เวลานี้ ในกรุงพันธุมดีมีภิกษุสงฆ์อยู่จำนวนมากถึง ๑๖๘,๐๐๐ รูป ทางที่ดีเราควรประกาศให้ภิกษุทั้งหลายรู้ทั่วกันว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา

เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ ครบถ้วน ในโลกนี้ยังมีเหล่าสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะ ไม่ได้ฟังธรรม เหล่าสัตว์ผู้ที่อาจจะรู้ทั่วถึงธรรมได้ยังมีอยู่ แต่เมื่อเวลาล่วงไป ทุกๆ ๖ ปี เธอทั้งหลายควรกลับมายังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’ [๘๗] ครั้งนั้น ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่ง ทราบพระรำพึงของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ด้วยใจได้หายตัวไปจากพรหมโลก มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระวิปัสสีพุทธเจ้า เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ท้าวมหาพรหมนั้น ห่มผ้า เฉวียงบ่า ประนมมือน้อมไปทางพระวิปัสสีพุทธเจ้าได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระ ผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น เวลานี้ ในกรุงพันธุมดีราชธานีมีภิกษุสงฆ์อยู่จำนวนมากถึง ๑๖๘,๐๐๐ รูป พระองค์โปรด ทรงอนุญาตภิกษุทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อเกื้อกูล แก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดงธรรม มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด จงประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ในโลกนี้ยังมี เหล่าสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม เหล่าสัตว์ ผู้ที่อาจจะรู้ทั่วถึงธรรมได้ยังมีอยู่’ ข้าพระองค์จักหาวิธีให้ภิกษุทั้งหลายกลับมายัง กรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปทุกๆ ๖ ปี พระพุทธเจ้าข้า’ เมื่อท้าวมหาพรหมกราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงถวายอภิวาทพระวิปัสสีพุทธเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง [๘๘] ครั้นในเวลาเย็น พระวิปัสสีพุทธเจ้าเสด็จออกจากที่หลีกเร้น รับสั่ง เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ณ ที่นี้ ได้มี ความรำพึงอย่างนี้ว่า ‘เวลานี้ ในกรุงพันธุมดีราชธานีมีภิกษุสงฆ์อยู่จำนวนมากถึง ๑๖๘,๐๐๐ รูป ทางที่ดีเราควรประกาศให้ภิกษุทั้งหลายรู้ทั่วกันว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา

เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่า ไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ในโลกนี้ยังมีเหล่าสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง สัตว์เหล่านั้น จะเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม เหล่าสัตว์ผู้ที่อาจจะรู้ทั่วถึงธรรมได้ยังมีอยู่ แต่เมื่อเวลา ล่วงไปทุกๆ ๖ ปี เธอทั้งหลายควรกลับมายังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดง ปาติโมกข์’ ต่อมา ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่ง ทราบความรำพึงของเราด้วยใจแล้วได้หายตัว จากพรหมโลกมาปรากฏเฉพาะหน้าเรา เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือ คู้แขนเข้า ฉะนั้น ท้าวมหาพรหมนั้นห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือน้อมมาทางที่เราอยู่ ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น เวลานี้ ในกรุงพันธุมดีราชธานีมีภิกษุสงฆ์อยู่จำนวนมากถึง ๑๖๘,๐๐๐ รูป พระองค์โปรดทรงอนุญาตภิกษุทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่า ไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ในโลกนี้ยังมีเหล่าสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง สัตว์เหล่านั้น จะเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม เหล่าสัตว์ผู้ที่อาจจะรู้ทั่วถึงธรรมได้ยังมีอยู่’ ข้าพระองค์ จักหาวิธีให้ภิกษุทั้งหลายกลับมายังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์ เมื่อเวลา ล่วงไปทุกๆ ๖ ปี พระพุทธเจ้าข้า’ เมื่อท้าวมหาพรหมนั้นได้กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงถวายอภิวาทเรากระทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง ภิกษุทั้งหลาย เราประกาศให้รู้ทั่วกันว่า ‘เธอทั้งหลาย จงจาริกไปเพื่อเกื้อกูล แก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา

เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม ในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ในโลกนี้ยังมีเหล่าสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้ฟัง ธรรม เหล่าสัตว์ผู้ที่อาจจะรู้ทั่วถึงธรรมได้ยังมีอยู่ แต่เมื่อเวลาล่วงไปทุกๆ ๖ ปี เธอทั้งหลายควรกลับมายังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’ ภิกษุส่วนมาก ได้จาริกไปตามชนบท โดยวันเดียวเท่านั้น [๘๙] สมัยนั้น ในชมพูทวีปมีอาวาสอยู่ ๘๔,๐๐๐ แห่ง เมื่อเวลาล่วงไป ๑ ปี เหล่าเทวดาได้ประกาศว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เวลาล่วงไป ๑ ปีแล้ว บัดนี้ยัง เหลือเวลา ๕ ปี เมื่อเวลาล่วงไป ๕ ปี พวกท่านพึงเข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’ เมื่อเวลาล่วงไป ๒ ปี เหล่าเทวดาได้ประกาศว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เวลาล่วงไป ๒ ปีแล้ว บัดนี้ยังเหลือเวลา ๔ ปี เมื่อเวลาล่วงไป ๔ ปี พวกท่าน พึงเข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’ เมื่อเวลาล่วงไป ๓ ปี เหล่าเทวดาได้ประกาศว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เวลาล่วงไป ๓ ปีแล้ว บัดนี้ยังเหลือเวลา ๓ ปี เมื่อเวลาล่วงไป ๓ ปี พวกท่าน พึงเข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’ เมื่อเวลาล่วงไป ๔ ปี เหล่าเทวดาได้ประกาศว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เวลาล่วงไป ๔ ปีแล้ว บัดนี้ยังเหลือเวลา ๒ ปี เมื่อเวลาล่วงไป ๒ ปี พวกท่าน พึงเข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’ เมื่อเวลาล่วงไป ๕ ปี เหล่าเทวดาได้ประกาศว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เวลาล่วงไป ๕ ปีแล้ว บัดนี้ยังเหลือเวลา ๑ ปี เมื่อเวลาล่วงไป ๑ ปี พวกท่าน พึงเข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์

เมื่อเวลาล่วงไป ๖ ปี เหล่าเทวดาได้ประกาศว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เวลาล่วงไป ๖ ปีแล้ว บัดนี้ถึงเวลาแล้ว พวกท่านพึงเข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’ ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น บางพวกเดินทางไปด้วยฤทธิ์ ด้วยอานุภาพของตน บางพวกเดินทางไปด้วยฤทธิ์ ด้วยอานุภาพของเทวดา เพียงวันเดียวเท่านั้น พากัน เข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์
ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงแสดงปาติโมกข์๑- ในที่ประชุมสงฆ์ ที่กรุงพันธุมดีราชธานีนั้นดังนี้ ‘ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นบรมธรรม ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ การไม่ทำบาป๒- ทั้งปวง การทำกุศล๓- ให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ปาติโมกข์ ในที่นี้มิได้หมายถึงอาณาปาติโมกข์ (ประมวลพุทธบัญญัติที่ทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่ @อาทิพรหมจริยกสิกขา ที่มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน) แต่หมายถึงโอวาทปาติโมกข์ @ซึ่งประกอบด้วยคาถา ๓ คาถามี ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา เป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงแสดงเอง @(ที.ม.อ. ๙๐/๗๖, วิ.อ. ๑/๑๙/๑๙๐-๑๙๒) @ บาป หมายถึงกรรมที่มีโทษซึ่งสหรคตด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวง (ที.ม.ฏีกา ๙๐/๙๒) @ กุศล หมายถึงกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๔ (ที.ม.อ. ๙๐/๗๖, ที.ม.ฏีกา ๙๐/๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คำกราบทูลของเทวดา

การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ความสำรวมในปาติโมกข์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด การประกอบความเพียรในอธิจิต นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย’๑-
คำกราบทูลของเทวดา
[๙๑] ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ควงต้นราชสาละ ป่าสุภควัน กรุงอุกกัฏฐะ ขณะที่เรานั้นหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้มีความรำพึงอย่างนี้ว่า ‘เทวโลก ชั้นสุทธาวาสที่เราไม่เคยอยู่มาเลยตลอดกาลนานนี้ ไม่ใช่ใครๆ จะเข้าถึงได้โดยง่าย ยกเว้นเหล่าเทพชั้นสุทธาวาส ทางที่ดี เราควรไปหาเหล่าเทพชั้นสุทธาวาส’ จึงได้ หายไปจากควงต้นราชสาละนั้นไปปรากฏในเหล่าเทพชั้นอวิหาอย่างรวดเร็ว เหมือนบุรุษ ผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ในหมู่เทพนั้น มีเทวดามากมาย จำนวนหลายร้อย หลายพัน เข้ามาหาเรา อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นับจากกัปนี้ถอยหลังไป ๙๑ กัป พระวิปัสสีพุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก มีพระชาติ เป็นกษัตริย์ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในตระกูลกษัตริย์ มีพระโคตรว่าโกณฑัญญะ มีพระ ชนมายุประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี ตรัสรู้ที่ควงต้นแคฝอย ทรงมีคู่พระอัครสาวก เป็นคู่ ที่เจริญ ได้แก่พระขัณฑะและพระติสสะ มีการประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ มีภิกษุ ๑๖๘,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘๐,๐๐๐ รูป พระสาวกที่เข้าประชุมทั้ง ๓ ครั้ง ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ มีภิกษุ อโสกะเป็นอุปัฏฐาก เป็นอัครอุปัฏฐาก มีพระเจ้าพันธุมาเป็นพระบิดา พระนาง @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ธ. ๒๕/๑๘๓-๑๘๕/๔๙-๕๐, ขุ.อุ. ๒๕/๓๖/๑๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คำกราบทูลของเทวดา

พันธุมดีเทวีเป็นพระมารดาผู้ให้กำเนิด กรุงพันธุมดีเป็นราชธานีของพระเจ้าพันธุมา การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ของพระองค์เป็นอย่างนี้ การบรรพชาของพระองค์ เป็นอย่างนี้ การบำเพ็ญเพียรของพระองค์เป็นอย่างนี้ การตรัสรู้ของพระองค์เป็น อย่างนี้ การแสดงธรรมจักรของพระองค์เป็นอย่างนี้ พวกข้าพระองค์ประพฤติ พรหมจรรย์ในพระวิปัสสีพุทธเจ้า คลายความกำหนัดยินดีในกาม จึงได้มาเกิดในที่นี้’ ในหมู่เทพนั้น มีเทวดามากมาย จำนวนหลายร้อย หลายพัน เข้ามาหาเราถึง ที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นับจากกัปนี้ถอยหลังไป ๓๑ กัป พระสิขีพุทธเจ้า ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ฯลฯ พวกข้าพระองค์ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสิขีพุทธเจ้า คลายความกำหนัดยินดี ในกาม จึงได้มาเกิดในที่นี้ ในกัปที่ ๓๑ นั้นเอง พระเวสสภูพุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติขึ้น ในโลก ฯลฯ พวกข้าพระองค์ประพฤติพรหมจรรย์ในพระเวสสภูพุทธเจ้า คลายความ กำหนัดยินดีในกาม จึงได้มาเกิดในที่นี้ ในภัทรกัปนี้เอง พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ฯลฯ พวกข้า พระองค์ประพฤติพรหมจรรย์ในพระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า คลายความกำหนัดยินดีในกาม จึงได้มาเกิดในที่นี้ ในหมู่เทพนั้น มีเทวดามากมาย จำนวนหลายร้อย หลายพัน เข้ามาหาเรา ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้ นิรทุกข์ ในภัทรกัปนี้เอง บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จ อุบัติขึ้นในโลก มีพระชาติเป็นกษัตริย์ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในตระกูลกษัตริย์ มีพระโคตร ว่าโคตมะ มีพระชนมายุเพียงเล็กน้อย ผู้ที่มีอายุยืนก็เพียง ๑๐๐ ปี หรือเกินไปอีก เล็กน้อย๑- ตรัสรู้ที่ควงต้นอัสสัตถะ ทรงมีคู่พระอัครสาวก เป็นคู่เจริญ ได้แก่ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ มีการประชุมพระสาวกครั้งเดียว มีภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป พระสาวกที่เข้าประชุมล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ มีภิกษุอานนท์เป็น @เชิงอรรถ : @ เกินไปอีกเล็กน้อย ในที่นี้หมายถึงคนมีอายุยืนเกิน ๑๐๐ ปี สมัยพุทธกาล ได้แก่ พระมหากัสสปะ @พระอานนท์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี นางวิสาขา พราหมณ์โปกขรสาติ พราหมณ์พรหมายุ พราหมณ์เสละ @พราหมณ์พาวรี ทุกท่านมีอายุ ๑๒๐ ปี พระอนุรุทธะมีอายุ ๑๕๐ ปี พระพากุละมีอายุ ๑๖๐ ปี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คำกราบทูลของเทวดา

อุปัฏฐาก เป็นอัครอุปัฏฐาก๑- มีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระบิดา พระนางมายาเทวี เป็นพระมารดาผู้ให้กำเนิด มีกรุงกบิลพัสดุ์เป็นราชธานี การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ของพระองค์เป็นอย่างนี้ การบรรพชาของพระองค์เป็นอย่างนี้ การบำเพ็ญเพียรของ พระองค์เป็นอย่างนี้ การตรัสรู้ของพระองค์เป็นอย่างนี้ การแสดงธรรมจักรของ พระองค์เป็นอย่างนี้ พวกข้าพระองค์ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค คลายความ กำหนัดยินดีในกาม จึงได้มาเกิดในที่นี้’ [๙๒] ครั้งนั้น เราพร้อมกับเหล่าเทพชั้นอวิหา ได้เข้าไปหาเหล่าเทพชั้นอตัปปา ถึงที่อยู่ ... เราพร้อมกับเหล่าเทพชั้นอวิหาและชั้นอตัปปา ได้เข้าไปหาเหล่าเทพชั้นสุทัสสา ถึงที่อยู่ ... เราพร้อมกับเหล่าเทพชั้นอวิหา ชั้นอตัปปา และชั้นสุทัสสา ได้เข้าไปหา เหล่าเทพชั้นสุทัสสีถึงที่อยู่ ... ครั้งนั้น เราพร้อมกับเหล่าเทพชั้นอวิหา ชั้นอตัปปา ชั้นสุทัสสา และชั้นสุทัสสี ได้เข้าไปหาเหล่าเทพชั้นอกนิฏฐาถึงที่อยู่ ในหมู่เทพนั้น มีเทวดามากมาย จำนวน หลายร้อย หลายพัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร เทวดาเหล่านั้นได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นับจากกัปนี้ ถอยหลังไป ๙๑ กัป พระวิปัสสีพุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก มีพระชาติเป็นกษัตริย์ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในตระกูลกษัตริย์ มีพระโคตรว่าโกณฑัญญะ มีพระชนมายุประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี ตรัสรู้ที่ควงต้นแคฝอย ทรงมีคู่พระอัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระขัณฑะและพระติสสะ มีการประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ มีภิกษุ ๑๖๘,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘๐,๐๐๐ รูป พระสาวกที่เข้าประชุมทั้ง ๓ ครั้ง ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ มีภิกษุอโสกะเป็นอุปัฏฐาก @เชิงอรรถ : @ ในปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคไม่มีพระอุปัฏฐากประจำ บางคราวพระนาคสมาละ บางคราวพระ- @นาคิตะ บางคราวพระอุปวาณะ บางคราวพระสุนักขัตตะ บางคราวจุนทะ สมณุทเทส บางคราวพระสาคตะ @บางคราว พระเมฆิยะ (วิ.อ. ๑/๑๖/๑๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

คำกราบทูลของเทวดา

เป็นอัครอุปัฏฐาก มีพระเจ้าพันธุมาเป็นพระบิดา พระนางพันธุมดีเทวีเป็น พระมารดาผู้ให้กำเนิด กรุงพันธุมดีเป็นราชธานีของพระเจ้าพันธุมา การเสด็จออก มหาภิเนษกรมณ์ของพระองค์เป็นอย่างนี้ การบรรพชาของพระองค์เป็นอย่างนี้ การบำเพ็ญเพียรของพระองค์เป็นอย่างนี้ การตรัสรู้ของพระองค์เป็นอย่างนี้ การแสดงธรรมจักรของพระองค์เป็นอย่างนี้ พวกข้าพระองค์ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระวิปัสสีพุทธเจ้า คลายความกำหนัดยินดีในกาม จึงได้มาเกิดในที่นี้’ ในหมู่เทพนั้น มีเทวดามากมาย จำนวนหลายร้อย หลายพัน เข้ามาหาเรา ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ นับจากกัปนี้ถอยหลังไป ๓๑ กัป พระสิขีพุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ฯลฯ พวกข้าพระองค์ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสิขีพุทธเจ้า คลายความกำหนัด ยินดีในกาม จึงได้มาเกิดในที่นี้ ในหมู่เทพนั้น มีเทวดามากมาย จำนวนหลายร้อย หลายพัน เข้ามาหาเรา ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ ในกัปที่ ๓๑ นั้นเอง พระเวสสภูพุทธเจ้า ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ฯลฯ พวกข้าพระองค์ประพฤติพรหมจรรย์ในพระเวสสภูพุทธเจ้า คลายความกำหนัดยินดี ในกาม จึงได้มาเกิดในที่นี้’ ในหมู่เทพนั้น มีเทวดามากมาย จำนวนหลายร้อย หลายพัน เข้ามาหาเรา ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ ในภัทรกัปนี้เอง พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสป- พุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ฯลฯ พวกข้าพระองค์ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระ กกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า คลายความกำหนัด ยินดีในกาม จึงได้มาเกิดในที่นี้’ [๙๓] ในหมู่เทพนั้น มีเทวดามากมาย จำนวนหลายร้อย หลายพัน เข้ามา หาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ ในภัทรกัปนี้เอง บัดนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ทรงสรุปพระธรรมเทศนา

อุบัติขึ้นในโลก มีพระชาติเป็นกษัตริย์ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในตระกูลกษัตริย์ มีพระโคตร ว่าโคตมะ มีพระชนมายุเพียงเล็กน้อย ผู้ที่มีอายุยืนก็เพียง ๑๐๐ ปี หรือเกินไปอีก เล็กน้อย ตรัสรู้ที่ควงต้นอัสสัตถะ ทรงมีคู่อัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ มีการประชุมพระสาวกครั้งเดียว มีภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป พระสาวก ที่เข้าประชุมล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ มีภิกษุอานนท์เป็นอุปัฏฐาก เป็นอัครอุปัฏฐาก มีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระบิดา พระนางมายาเทวีเป็นพระมารดาผู้ให้กำเนิด มีกรุง กบิลพัสดุ์เป็นราชธานี การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ของพระองค์เป็นอย่างนี้ การบรรพชาของพระองค์เป็นอย่างนี้ การบำเพ็ญเพียรของพระองค์เป็นอย่างนี้ การตรัสรู้ของพระองค์เป็นอย่างนี้ การแสดงธรรมจักรของพระองค์เป็นอย่างนี้ พวกข้าพระองค์ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค คลายความกำหนัดยินดี ในกาม จึงได้มาเกิดในที่นี้’
ทรงสรุปพระธรรมเทศนา
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตมีปัญญาแทงตลอดธรรมธาตุดังกล่าวมานี้ จึงเป็นเหตุให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัดธรรม เครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ตัดวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ทั้งโดยพระชาติ พระนาม พระโคตร พระชนมายุ คู่พระอัครสาวก และการประชุม พระสาวกว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระชาติอย่างนี้ แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระนามอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจึงมีพระโคตรอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

ทรงสรุปพระธรรมเทศนา

แม้เหล่าเทวดาก็บอกเรื่องนั้นให้ทราบ จึงเป็นเหตุให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ทั้งหลายในอดีตกาล ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ผู้ตัดทาง ได้แล้ว ผู้ตัดวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ทั้งโดยพระชาติ พระนาม พระโคตร พระชนมายุ คู่พระอัครสาวก และการประชุมพระสาวกว่า ‘แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระชาติอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค เหล่านั้นจึงมีพระนามอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีพระโคตร อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค เหล่านั้นจึงทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงมีธรรม เป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็น เครื่องหลุดพ้นอย่างนี้” เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
มหาปทานสูตรที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๑-๕๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=10&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18], [19], [20].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1&Z=1454                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=1              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=10&item=1&items=56              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=5&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=10&item=1&items=56              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=5&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn14/en/sujato https://suttacentral.net/dn14/en/tw-caf_rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :