ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์ อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถ ว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่าภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมทบแล้วด้วยญัตติ- *จตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้ บทว่า ไม่รู้เฉพาะ คือ ไม่รู้ ไม่เห็น กุศลธรรมในตน ซึ่งไม่มี ไม่เป็นจริง ไม่ปรากฏ ว่าข้าพเจ้ามีกุศลธรรม บทว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ มรรคภาวนา การทำให้แจ้งซึ่งผล การละกิเลส ความเปิดจิต ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า บทว่า น้อมเข้ามาในตน ได้แก่น้อมกุศลธรรมเหล่านั้นเข้ามาในตน หรือน้อมตน เข้าไปในกุศลธรรมเหล่านั้น บทว่า ความรู้ ได้แก่ วิชชา ๓ บทว่า ความเห็น โดยอธิบายว่า อันใดเป็นความรู้ อันนั้นเป็นความเห็น อันใด เป็นความเห็น อันนั้นเป็นความรู้ บทว่า กล่าวอวด คือ บอกแก่สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต คำว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ความว่า ข้าพเจ้ารู้ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเห็นธรรมเหล่านี้ อนึ่ง ข้าพเจ้ามีธรรมเหล่านี้ และข้าพเจ้าเห็นชัดในธรรมเหล่านี้. [๒๓๔] บทว่า ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น คือ เมื่อขณะคราวครู่หนึ่งที่ภิกษุกล่าวอวดนั้น ผ่านไปแล้ว บทว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตาม คือ มีบุคคลเชื่อในสิ่งที่ภิกษุปฏิญาณแล้ว โดยถามว่า ท่านบรรลุอะไร ได้บรรลุด้วยวิธีไร เมื่อไร ที่ไหน ท่านละกิเลสเหล่าไหนได้ ท่านได้ธรรม หมวดไหน บทว่า ไม่ถือเอาตาม คือ ไม่มีใครๆ พูดถึง บทว่า ต้องอาบัติแล้ว ความว่า ภิกษุมีความอยากอันลามก อันความอยากครอบงำ แล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง ย่อมเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก บทว่า มุ่งความหมดจด คือ ประสงค์จะเป็นคฤหัสถ์ หรือประสงค์จะเป็นอุบาสก หรือประสงค์จะเป็นอารามิก หรือประสงค์จะเป็นสามเณร คำว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้ กล่าวว่าเห็น ความว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้าไม่เห็นธรรมเหล่านั้น อนึ่ง ข้าพเจ้า ไม่มีธรรมเหล่านั้น และข้าพเจ้าไม่เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น คำว่า ข้าพเจ้าพูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ ความว่า ข้าพเจ้าพูดพล่อยๆ พูดเท็จ พูดไม่จริง พูดสิ่งที่ไม่มี ข้าพเจ้าไม่รู้ได้พูดแล้ว บทว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ คือ ยกเสียแต่เข้าใจว่าตนได้บรรลุ. [๒๓๕] บทว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบถึงภิกษุรูปก่อนๆ บทว่า เป็นปาราชิก ความว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้ว ไม่อาจจะงอกอีก ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแหละ มีความอยากอันลามก อันความอยากครอบงำแล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาสได้แก่ กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศ ที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุ นั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.
บทภาชนีย์
[๒๓๖] ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ๑. ฌาน ๒. วิโมกข์ ๓. สมาธิ ๔. สมาบัติ ๕. ญาณทัสสนะ ๖. มัคคภาวนา ๗. การทำให้แจ้งซึ่งผล ๘. การละ กิเลส ๙. ความเปิดจิต ๑๐. ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓ ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ชื่อว่า การทำให้แจ้งซึ่งผล ได้แก่การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล การทำให้แจ้งซึ่ง สกทาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิตจากโทสะ ความเปิด จิตจากโมหะ ที่ชื่อว่า ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ด้วยปฐมฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยทุติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ด้วยตติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยจตุตถฌาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๘๖๙๒-๘๗๖๐ หน้าที่ ๓๓๕-๓๓๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=8692&Z=8760&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=1&A=8692&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=28              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=233              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=1&A=3385              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=12547              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=1&A=3385              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=12547              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj4/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pj4:3.0

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]