บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
๖. สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔ เรื่องพระฉันนะ [๕๙๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนคร โกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติอนาจาร ภิกษุทั้งหลายได้ว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันนะ ท่านอย่าได้ทำเช่นนั้น การกระทำเช่นนั้นไม่ควร ท่านพระฉันนะไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่ อย่างเดิม บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่าน พระฉันนะจึงได้ไม่เอื้อเฟื้อ ยังขืนทำอยู่เล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูกรฉันนะ ข่าวว่า เธอไม่เอื้อเฟื้อ ยังขืน ทำอยู่ จริงหรือ? ท่านพระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้ไม่เอื้อเฟื้อ ยังขืนทำ อยู่อีกเล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๑๐๓. ๔. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ.เรื่องพระฉันนะ จบ. สิกขาบทวิภังค์ [๕๙๓] ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อ ได้แก่ความไม่เอื้อเฟื้อ ๒ อย่าง คือ ความไม่ เอื้อเฟื้อในบุคคล ๑ ความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม ๑ ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล ได้แก่ ภิกษุผู้อันอุปสัมบัน ว่ากล่าวอยู่ด้วย พระบัญญัติ แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ท่านผู้นี้ถูกยกวัตร ถูกดูหมิ่น หรือถูกติเตียน เราจักไม่ทำตามถ้อยคำของท่านผู้นี้ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม ได้แก่ภิกษุผู้อันอุปสัมบัน ว่ากล่าวอยู่ด้วย พระบัญญัติ แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ไฉน ธรรมข้อนี้จะพึงเสื่อม สูญหาย หรืออันตรธาน เสีย ดังนี้ก็ดี ไม่ประสงค์จะศึกษาพระบัญญัตินั้น จึงแสดงความไม่เอื้อเฟื้อก็ดี ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.บทภาชนีย์ ติกะปาจิตตีย์ [๕๙๔] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.ทุกกฏ [๕๙๕] ภิกษุถูกอุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติ แสดงความไม่ เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ข้อนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความจำกัด ไม่เป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ต้องอาบัติ ทุกกฏ. ภิกษุถูกอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติก็ดี ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติก็ดี แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ข้อนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความ- *เพียร ต้องอาบัติทุกกฏ. [๕๙๖] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร [๕๙๗] ภิกษุกล่าวชี้เหตุว่า อาจารย์ทั้งหลายของพวกข้าพเจ้าเรียนมาอย่างนี้ สอบถาม มาอย่างนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๒๐๙๖-๑๒๑๔๗ หน้าที่ ๕๑๔-๕๑๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=12096&Z=12147&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=2&A=12096&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=90 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=592 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=2&A=7021 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9565 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=2&A=7021 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9565 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc54/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc54/en/horner
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]