บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
๖. สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ [๖๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระสัตตรสวัคคีย์เป็นผู้ไม่เก็บงำบริขาร พระฉัพพัคคีย์จึงซ่อนบาตรบ้าง จีวรบ้าง ของพระสัตตรสวัคคีย์ๆ จึงกล่าวขอร้องพระฉัพพัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลาย ขอท่านจงคืนบาตรให้แก่พวกผมดังนี้บ้าง ว่าขอท่านจงคืนจีวรให้แก่พวกผมดังนี้ บ้าง. พระฉัพพัคคีย์พากันหัวเราะ พระสัตตรสวัคคีย์ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายพากันถามว่า อาวุโส ทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม? พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกพระฉัพพัคคีย์เหล่านี้พากันซ่อนบาตร บ้าง จีวรบ้าง ของพวกผม. บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์ จึงได้ซ่อนบาตรบ้าง จีวรบ้าง ของภิกษุทั้งหลายเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอซ่อน บาตรบ้าง จีวรบ้าง ของภิกษุทั้งหลายจริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ซ่อน บาตรบ้าง จีวรบ้าง ของภิกษุทั้งหลายเล่า? การกระทำของพวกเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อม ใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๑๐๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปู นั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคดเอวก็ดี ของภิกษุ โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ เป็น ปาจิตตีย์.เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ. สิกขาบทวิภังค์ [๖๒๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ ทรงประสงค์ในอรรถนี้. บทว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุอื่น. ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่ บาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็ก ๑ บาตรดินเผา ๑ ที่ชื่อว่า จีวร หมายถึงผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์กำหนดแห่งผ้าต้อง วิกัปเป็นอย่างต่ำ. ที่ชื่อว่า ผ้าปูนั่ง ตรัสหมายผ้าปูนั่งที่มีชาย. ที่ชื่อว่า กล่องเข็ม ได้แก่กล่องที่มีเข็มก็ตาม ไม่มีเข็มก็ตาม. ที่ชื่อว่า ประคตเอว ได้แก่ประคตเอว ๒ ชนิด คือ ประคตผ้าชนิดหนึ่ง ประคต ไส้สุกรชนิดหนึ่ง. บทว่า ซ่อน คือ ซ่อนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์. บทว่า ให้ซ่อน คือ ใช้ผู้อื่นให้ซ่อน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ใช้หนเดียว เขาซ่อน แม้หลายหน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์. บทว่า โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ คือ มุ่งจะล้อเล่น.บทภาชนีย์ ติกะปาจิตตีย์ [๖๒๙] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสมบัน ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวร ก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคตเอวก็ดี โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่อง เข็มก็ดี ประคตเอวก็ดี โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคตเอวก็ดี โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.ปัญจกะทุกกฏ ภิกษุซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบริขารอย่างอื่น โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ ต้องอาบัติ ทุกกฏ. ภิกษุซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี ของอนุปสัมบัน โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร [๖๓๐] ภิกษุไม่มีความประสงค์จะหัวเราะ ๑ ภิกษุเก็บบริขารที่ผู้อื่นวางไว้ไม่ดี ๑ ภิกษุ เก็บไว้ด้วยหวังสั่งสอนแล้วจึงจะคืนให้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ. ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖ จบ. ----------------------------------------------------- หัวข้อประจำเรื่อง ๑. สุราปานสิกขาบท ว่าด้วยการดื่มสุรา ๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท ว่าด้วยการจี้ ๓. หัสสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการเล่นน้ำ ๔. อนาทริยสิกขาบท ว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ ๕. ภิงสาปนสิกขาบท ว่าด้วยการหลอนภิกษุ ๖. โชติสมาทหนสิกขาบท ว่าด้วยการติดไฟ ๗. นหานสิกขาบท ว่าด้วยการอาบน้ำ ๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท ว่าด้วยของสำหรับทำให้เสียสี ๙. วิกัปปนสิกขาบท ว่าด้วยการวิกัปจีวร และ ๑๐. จีวราปนิธานสิกขาบท ว่าด้วยการซ่อนจีวรเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๒๕๒๕-๑๒๕๙๙ หน้าที่ ๕๓๔-๕๓๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=12525&Z=12599&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=2&A=12525&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=96 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=627 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=2&A=7361 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9641 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=2&A=7361 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9641 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc60/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc60/en/horner
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]