ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
๙. รตนวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๗๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกำลังนอนอยู่บน เตียงนอนอันสูง พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกตามเสนาสนะ พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก ผ่าน เข้าไปทางที่อยู่ของท่านพระอุปนันทศากยบุตร ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้แลเห็นพระผู้มีพระ- *ภาคเสด็จมาแต่ไกลเทียวครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรเตียงนอนของข้า- *พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า. จึงพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับจากที่นั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทราบโมฆบุรุษเพราะที่อยู่อาศัย ครั้นแล้วทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดย อเนกปริยาย ... แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๓๖. ๕. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ใหม่ พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็น ปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๗๕๖] ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายถึงการทำขึ้น. ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่เตียง ๔ ชนิด คือ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑ เตียงมีแม่- *แคร่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ เตียงมีขาดังก้ามปู ๑ เตียงมีขาจรดแม่แคร่ ๑. ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ตั่ง ๔ ชนิด คือ ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑ ตั่งมีแม่แคร่เนื่อง เป็นอันเดียวกันกับขา ๑ ตั่งมีขาดังก้ามปู ๑ ตั่งมีขาจรดแม่แคร่ ๑. บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี. คำว่า พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ คือ ยกเว้นแม่แคร่เบื้องต่ำ. ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เกินประมาณนั้น เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์ด้วย ได้เตียง ตั่งนั้นมา ต้องตัดให้ได้ประมาณก่อน จึงแสดงอาบัติตก.
บทภาชนีย์
จตุกกะปาจิตตีย์
[๗๕๗] เตียง ตั่ง ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เตียง ตั่ง ตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เตียง ตั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เตียง ตั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุได้เตียง ตั่งที่คนอื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๗๕๘] ทำเตียง ตั่งได้ประมาณ ๑ ทำเตียง ตั่งหย่อนกว่าประมาณ ๑ ได้เตียง ตั่งที่ผู้อื่น ทำเกินประมาณมาตัดเสียก่อนแล้วใช้สอย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๔๔๘๐-๑๔๕๒๒ หน้าที่ ๖๒๖-๖๒๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=14480&Z=14522&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=2&A=14480&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=123              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=755              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=2&A=9021              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10239              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=2&A=9021              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10239              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc87/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc87/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]