ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร
คำถามและคำตอบในจิตตาคารวรรคที่ ๕
[๕๘๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไปชมโรงละครหลวงก็ดี โรงประกวดภาพก็ดี สถานที่หย่อนใจก็ดี อุทยานก็ดี สระโบกขรณีก็ดี ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ไปชมโรงละครหลวงบ้าง โรงประกวดภาพบ้าง สถานที่หย่อนใจบ้าง อุทยานบ้าง สระโบกขรณีบ้าง. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๕๘๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ใช้สอยอาสันทิก็ดี บัลลังก์ก็ดี ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปใช้สอยอาสันทิบ้าง บัลลังก์บ้าง. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๕๘๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้กรอด้าย ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปกรอด้าย. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๕๘๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ช่วยทำธุระของคฤหัสถ์ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปช่วยทำธุระของคฤหัสถ์. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๕๘๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้อันภิกษุณีกล่าวอยู่ว่า มาเถิดแม่เจ้า ขอจงช่วยระงับ อธิกรณ์นี้ รับคำว่า ดีละ แล้วไม่ระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้ระงับ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาผู้อันภิกษุณีกล่าวอยู่ว่า มาเถิดแม่เจ้า ขอจงช่วย ระงับอธิกรณ์นี้ รับคำว่า ดีละ แล้วไม่ระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้ระงับ. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท). [๕๘๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ให้ของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี แก่ชาวบ้านก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ด้วยมือของตน ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาได้ให้ของเคี้ยวบ้าง ของฉันบ้าง แก่ชาวบ้าน ด้วย มือของตน. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๕๘๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่สละผ้าอาศัย แล้วใช้สอย ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาไม่สละผ้าอาศัย แล้วใช้สอย. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท). [๕๘๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่มอบหมายที่อยู่ แล้วหลีกไปสู่จาริก ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาไม่มอบหมายที่อยู่ แล้วหลีกไปสู่จาริก. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท). [๕๙๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้เรียนติรัจฉานวิชา ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์เรียนติรัจฉานวิชา. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนปทโสธัมมสิกขาบท) [๕๙๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้บอกติรัจฉานวิชา ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์บอกติรัจฉานวิชา. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือน ปทโสธัมมสิกขาบท).
จิตตาคารวรรค ที่ ๕ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๔๔๑๖-๔๕๑๔ หน้าที่ ๑๖๗-๑๗๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=4416&Z=4514&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=8&A=4416&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=43              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=582              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=8&A=3286              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=8&A=3286              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr2.1/en/brahmali#pli-tv-pvr2.1:101.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr2.1/en/horner-brahmali#Prv.2.1:Bi-Pc.41

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]