ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร
คำถามและคำตอบในกุมารีภูตวรรคที่ ๘
[๖๑๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสามเณรีผู้เป็นเด็กหญิงมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ให้บวช ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ยังสามเณรีผู้เป็นเด็กหญิงมีอายุหย่อน ๒๐ ปีให้บวช. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓. [๖๑๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสามเณรีผู้เป็นเด็กหญิงมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ยัง ไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ กาลฝน ให้บวช ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ยังสามเณรีผู้เป็นเด็กหญิงมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ กาลฝน ให้บวช. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓. [๖๑๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสามเณรีผู้เป็นเด็กหญิงมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้ศึกษา สิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ กาลฝนแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ ให้บวช ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ยังสามเณรีผู้เป็นเด็กหญิงมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้ ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ กาลฝนแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติให้บวช. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓. [๖๑๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้มีพรรษาหย่อน ๑๒ ให้บวช ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป มีพรรษาหย่อน ๑๒ ให้บวช. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓. [๖๑๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ให้บวช ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติให้บวช. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓. [๖๑๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีอันภิกษุณีสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ดูกรแม่เจ้า ท่านยังไม่ควรให้บวช ก่อน รับคำว่า ชอบแล้ว ภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่า ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลี อันภิกษุณีสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ดูกรแม่เจ้า ท่านยังไม่ ควรให้บวชก่อน รับคำว่า ชอบแล้ว ภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่า. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ [๖๑๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูกรแม่เจ้า ถ้าท่านจักให้จีวรแก่เรา เราจักยังท่านให้อุปสมบทตามปรารถนา ภิกษุณีนั้นไม่มีอันตราย ภายหลังไม่ให้อุปสมบท ไม่ทำ การขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกะสิกขมานาว่า ดูกรแม่เจ้า ถ้าท่านจักให้จีวร แก่เรา เราจักยังท่านให้อุปสมบทตามปรารถนา แล้วไม่ให้อุปสมบท ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้ อุปสมบท. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท). [๖๑๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูกรแม่เจ้า ถ้าท่านจักติดตามเราไป ตลอด ๒ ปี เราจักยังท่านให้อุปสมบทตามปรารถนา แล้วไม่ให้อุปสมบท ไม่ทำการขวนขวาย เพื่อให้อุปสมบท ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกะสิกขมานาว่า ดูกรแม่เจ้า ถ้าท่านจักติดตาม เราไปตลอด ๒ ปี เราจักยังท่านให้อุปสมบทตามปรารถนา แล้วไม่ให้อุปสมบท ไม่ทำการ ขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท). [๖๒๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานาผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษ ผู้คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศก ให้บวช ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทา ยังสิกขมานาผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษ ผู้คลุกคลีกับเด็ก หนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศก ให้บวช. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓. [๖๒๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานาอันมารดาบิดาหรือสามียังไม่อนุญาต ให้บวช ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทา ยังสิกขมานาอันมารดาบิดาหรือสามียังไม่อนุญาต ให้บวช. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ คือ บางทีเกิดแต่วาจา ไม่ใช่กาย ไม่ใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา ไม่ใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่ วาจากับจิต ไม่ใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา และจิต ๑. [๖๒๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานาให้บวชด้วยให้ฉันทะค้างคราว ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทายังสิกขมานาให้บวช ด้วยให้ฉันทะค้างคราว. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓. [๖๒๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานาให้บวชทุกกาลฝน ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ยังสิกขมานาให้บวชทุกกาลฝน. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓. [๖๒๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานาให้บวชปีละ ๒ รูป ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปยังสิกขมานาให้บวชปีละ ๒ รูป. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓.
กุมารีภูตวรรคที่ ๘ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๔๗๐๖-๔๘๓๖ หน้าที่ ๑๗๘-๑๘๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=4706&Z=4836&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=8&A=4706&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=46              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=612              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=8&A=3472              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=8&A=3472              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr2.1/en/brahmali#pli-tv-pvr2.1:134.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr2.1/en/horner-brahmali#Prv.2.1:Bi-Pc.71

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]