บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
๕. กูฏทันตสูตร ----------------------------------------------------- [๑๙๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในมคธชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จถึงพราหมณคามของชาวมคธชื่อขานุมัตต์ ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกา ใกล้บ้านขานุมัตต์. สมัยนั้น พราหมณ์ กูฏทันตะอยู่ครองบ้านขานุมัตต์ อันคับคั่งด้วยประชาชนและหมู่สัตว์ อุดมด้วยหญ้า ด้วยไม้ ด้วยน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร ซึ่งเป็นราชสมบัติ อันพระเจ้าแผ่นดินมคธ จอมเสนา พระนามว่า พิมพิสาร พระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นส่วนพรหมไทย.มหายัญของกูฏทันตพราหมณ์ [๒๐๐] ก็สมัยนั้น พราหมณ์กูฏทันตะ ได้เตรียมมหายัญโคผู้ ๗๐๐ ลูกโคผู้ ๗๐๐ ลูกโคเมีย ๗๐๐ แพะ ๗๐๐ และแกะ ๗๐๐ ถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ. พราหมณ์ และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตต์ได้สดับว่า พระสมณโคดม ศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในมคธชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงบ้านขานุมัตต์ ประทับอยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกา ใกล้บ้านขานุมัตต์ กิตติศัพท์อันงามของท่านพระสมณโคดม พระองค์นั้นขจรไปแล้วอย่างนี้ว่าว่าด้วยพระพุทธคุณ แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มี ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้นทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ให้รู้ตาม ทรงสอนธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปาน นั้น ย่อมเป็นการดีแล ดังนี้. ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตต์ออกจากบ้าน ขานุมัตต์เป็นหมู่ๆ พากันไปยังสวนอัมพลัฏฐิกา. [๒๐๑] สมัยนั้น พราหมณ์กูฏทันตะ ขึ้นพักกลางวันในปราสาทชั้นบน ได้เห็นพราหมณ์ และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตต์ออกจากบ้านขานุมัตต์รวมกันเป็นหมู่ๆ พากันไปสวนอัมพลัฏฐิกา จึงเรียกนักการมาถามว่า ดูกรนักการ พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตต์ ออกจากบ้าน ขานุมัตต์รวมกันเป็นหมู่ๆ พากันไปยังสวนอัมพลัฏฐิกาทำไมกัน? นักการ. มีเรื่องอยู่ท่านผู้เจริญ พระสมณโคดม ศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในมคธชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงบ้านขานุมัตต์ ประทับอยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกา ใกล้บ้านขานุมัตต์ กิตติศัพท์อันงามของพระองค์ขจรไปแล้ว อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่น ยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น พากันเข้าไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้น. ลำดับนั้น พราหมณ์กูฏทันตะได้เกิดความคิดเช่นนี้ว่า ก็เราได้สดับข่าวนี้มาว่า พระ- *สมณโคดมทรงทราบยัญสมบัติ ๓ ประการซึ่งมีบริวาร ๑๖ แต่เราไม่ทราบ และเราก็ปรารถนาจะ บูชามหายัญ ผิฉะนั้น เราควรเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ทูลถามยัญสมบัติ ๓ ประการ ซึ่งมี บริวาร ๑๖ ลำดับนั้น พราหมณ์กูฏทันตะได้เรียกนักการมาสั่งว่า ดูกรนักการ ถ้าเช่นนั้น ท่านจง ไปหาพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตต์ แล้วบอกเขาอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พราหมณ์ กูฏทันตะสั่งมาว่า ขอให้ท่านทั้งหลายจงรอก่อน แม้พราหมณ์กูฏทันตะ ก็จักไปเฝ้าพระสมณโคดม ด้วย. นักการรับคำแล้วไปหาพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตต์ แล้วบอกว่าท่านทั้งหลาย พราหมณ์กูฏทันตะสั่งมาว่า ขอให้ท่านทั้งหลายจงรอก่อน แม้พราหมณ์กูฏทันตะ ก็จักไปเฝ้า พระสมณโคดมด้วย. [๒๐๒] สมัยนั้น พราหมณ์หลายร้อยคนพักอยู่ในบ้านขานุมัตต์ ด้วยหวังว่าพวกเรา จักบริโภคมหายัญของพราหมณ์กูฏทันตะ พราหมณ์เหล่านั้นได้ทราบว่าพราหมณ์กูฏทันตะ จักไป เฝ้าพระสมณโคดม จึงพากันไปหาพราหมณ์กูฏทันตะแล้วถามว่า ได้ทราบว่า ท่านจักไปเฝ้า พระสมณโคดม จริงหรือ? กูฏทันตะ. เราคิดว่าจักไปเฝ้าพระสมณโคดม จริง. พราหมณ์. อย่าเลย ท่านกูฏทันตะ ท่านไม่ควรไปเฝ้าพระสมณโคดม ถ้าท่านไปเฝ้า ท่านจักเสียเกียรติยศ เกียรติยศของพระสมณโคดมจักรุ่งเรือง ด้วยเหตุนี้แหละ ท่านจึงไม่ควร ไปเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควรจะมาหาท่าน อนึ่ง ท่านเป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะ คัดค้านติเตียนด้วยอ้างถึงชาติได้ เพราะเหตุนี้ ท่านจึงไม่ควรไปเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดม ต่างหากควรจะมาหาท่าน อนึ่ง ท่านเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีเครื่องใช้สอย อันน่าปลื้มใจมาก มีทองและเงินมาก ... อนึ่ง ท่านเป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเภท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษรมีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจ ตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและมหาปุริสลักษณะ ... อนึ่ง ท่านมี รูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส กอปรด้วยผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก มีพรรณคล้ายพรหม มีรูปร่าง คล้ายพรหม น่าดู น่าชมไม่น้อย ... อนึ่ง ท่านเป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน ... อนึ่ง ท่านเป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีสำเนียงไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองสละสลวย หาโทษมิได้ ให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความได้ชัด ... อนึ่ง ท่านเป็นอาจารย์และปาจารย์ของชนหมู่มาก สอนมนต์มาณพถึง ๓๐๐ พวก มาณพเป็นอันมาก ต่างทิศต่างชนบท ผู้ต้องการมนต์ ใคร่จะ เรียนมนต์ในสำนักท่านพากันมา ... อนึ่ง ท่านเป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ส่วนพระสมณโคดมเป็นคนหนุ่มและบวชแต่ยังหนุ่ม ... อนึ่ง ท่านเป็นผู้อันพระเจ้าแผ่นดิน มคธจอมเสนา พระนามว่าพิมพิสาร ทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ... อนึ่ง ท่านเป็นผู้อันพราหมณ์โปกขรสาติสักการะเคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ... อนึ่ง ท่านครองบ้านขานุมัตต์ อันคับคั่งด้วยประชาชนและหมู่สัตว์ อุดมด้วยหญ้า ด้วยไม้ ด้วยน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร ซึ่งเป็นราชสมบัติอันพระเจ้าแผ่นดินมคธจอมเสนา พระนามว่าพิมพิสาร พระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นส่วนพรหมไทย เพราะเหตุนี้แหละ ท่านจึงไม่ควรไปเฝ้าพระสมณ- *โคดม พระสมณโคดมต่างหากควรจะมาหาท่าน. [๒๐๓] เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์กูฏทันตะจึงได้กล่าวว่า ท่าน ทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นขอจงฟังข้าพเจ้าบ้าง เรานี้แหละ ควรไปเฝ้าท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น ท่านพระโคดมไม่ควรจะเสด็จมาหาเรา เพราะได้ยินว่า ท่านเป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายพระมารดาและ พระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านติเตียน ด้วยอ้างถึงพระชาติได้ เพราะเหตุนี้แหละ ท่านพระโคดมจึงไม่ควรเสด็จมาหาเรา ที่ถูกเรานี้แหละ ควรไปเฝ้าพระองค์ท่าน ได้ยินว่า พระสมณโคดมทรงละพระญาติหมู่ใหญ่ออกผนวชแล้ว ... พระองค์ท่านทรงสละเงินและทองเป็นอันมาก ทั้งที่อยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ในอากาศออกผนวช ... พระองค์ท่านกำลังรุ่น มีพระเกศาดำสนิท ยังหนุ่มแน่นอยู่ในปฐมวัย เสด็จออกผนวชเป็น บรรพชิต ... เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนาให้ผนวช มีพระพักตร์อาบด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงอยู่ พระองค์ท่านได้ปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออก ทรงผนวชเป็นบรรพชิต ... พระองค์ท่านมีพระรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส กอปรด้วยพระฉวีวรรณ ผุดผ่องยิ่งนัก ... มีพระพรรณคล้ายพรหม มีพระสรีระคล้ายพรหม น่าดูน่าชมมิใช่น้อย ... พระองค์ท่านเป็นผู้มีศีล มีศีลประเสริฐ มีศีลเป็นกุศล ประกอบด้วยศีลเป็นกุศล ... พระองค์ท่าน มีพระวาจาไพเราะ มีพระสำเนียงไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย หาโทษ มิได้ ให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความได้ชัด ... พระองค์ท่านเป็นอาจารย์และปาจารย์ของคนหมู่มาก ... พระองค์ท่านสิ้นกามราคะแล้ว เลิกประดับตกแต่ง ... พระองค์ท่านเป็นกรรมวาที เป็นกิริยาวาที ไม่ทรงมุ่งร้ายแก่พวกพราหมณ์ ... พระองค์ท่านทรงผนวชจากสกุลสูง คือสกุลกษัตริย์อันไม่ เจือปน ... พระองค์ท่านทรงผนวชจากสกุลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ... ชนต่างรัฐ ต่างชนบทพากันมาทูลถามปัญหาพระองค์ท่าน ... เทวดาหลายพันมอบชีวิตถึงพระองค์ท่านเป็น สรณะ ... กิตติศัพท์อันงามของท่านขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มี ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนก พระธรรม ... พระองค์ท่านทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ... พระองค์ท่าน มีปรกติกล่าวเชื้อเชิญ เจรจาผูกไมตรี ช่างปราศรัย มีพระพักตร์ไม่สยิว เบิกบาน มีปรกติ ตรัสก่อน ... พระองค์ท่านเป็นผู้อันบริษัท ๔ สักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ... เทวดาและมนุษย์เป็นอันมากเลื่อมใสพระองค์ท่านยิ่งนัก ... พระองค์ท่านทรงพำนักอยู่ในบ้าน หรือนิคมใด บ้านหรือนิคมนั้น อมนุษย์ไม่เบียดเบียนมนุษย์ ... พระองค์ท่านเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ และเป็นคณาจารย์ ได้รับยกย่องว่าเป็นยอดของเจ้าลัทธิเป็นอันมาก สมณพราหมณ์เหล่านี้เรืองยศ ด้วยประการใดๆ แต่พระสมณโคดมไม่อย่างนั้น ที่แท้ พระสมณโคดมเรืองยศด้วยวิชชา และจรณสมบัติอันยอดเยี่ยม ... พระเจ้าแผ่นดินมคธ จอมเสนา พระนามว่าพิมพิสาร พร้อมทั้ง พระโอรสและพระมเหสี ทั้งราชบริษัทและอำมาตย์ ทรงมอบชีวิตถึงพระองค์ท่านเป็นสรณะ ... พระเจ้าปเสนทิโกศลพร้อมทั้งพระโอรสและพระมเหสี ทั้งราชบริษัทและอำมาตย์ ทรงมอบชีวิต ถึงพระองค์ท่านเป็นสรณะ ... พราหมณ์โปกขรสาติ พร้อมทั้งบุตรและภรรยา ทั้งบริษัทและอำมาตย์ มอบชีวิตถึงพระองค์ท่านเป็นสรณะ ... พระองค์ท่านเป็นผู้อันพระเจ้าแผ่นดินมคธ จอมเสนา พระนามว่าพิมพิสาร ทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ... พระองค์ท่านเป็นผู้อัน พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ... พระองค์ท่านเป็นผู้ อันพราหมณ์โปกขรสาติสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ... พระองค์ท่านเสด็จถึงบ้าน ขานุมัตต์ ประทับอยู่ที่สวนอัมพลัฏฐิกา ใกล้บ้านขานุมัตต์ ท่านสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งมาสู่เขตบ้านของเรา ท่านเหล่านั้นจัดว่าเป็นแขกของเรา และเป็นแขกซึ่งเราควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ... เพราะเหตุที่ท่านพระสมณโคดมเสด็จถึงบ้านขานุมัตต์ ประทับอยู่ที่สวนอัมพลัฏฐิกา ใกล้บ้านขานุมัตต์ จัดว่าเป็นแขกของเรา และเป็นแขกที่เราควร สักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม นี้แหละ พระองค์ท่านจึงไม่ควรจะเสด็จมาหาเรา ที่ถูก เราต่างหากควรไปเฝ้าพระองค์ท่าน ข้าพเจ้าทราบพระคุณของท่านพระโคดมเพียงเท่านี้ แต่ท่านพระโคดมมิใช่มีพระคุณเพียงเท่านี้ ความจริงพระองค์ท่านมีพระคุณหาประมาณมิได้. [๒๐๔] เมื่อพราหมณ์กูฏทันตะกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวว่า ท่าน กูฏทันตะกล่าวชมท่านพระสมณโคดมถึงเพียงนี้ ถึงหากพระองค์ท่านจะประทับอยู่ไกลจากที่นี้ตั้ง ๑๐๐ โยชน์ ก็ควรแท้ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาจะไปเฝ้า แม้จะต้องนำเสบียงไปก็ควร พราหมณ์ กูฏทันตะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราทั้งหมดจักเข้าไปเฝ้าท่านพระสมณโคดม. ลำดับนั้น พราหมณ์กูฏทันตะพร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี- *พระภาคที่สวนอัมพลัฏฐิกา ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฝ่ายพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตต์บางพวกก็ถวาย บังคม บางพวกก็ปราศรัย บางพวกก็ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค บางพวกก็ประกาศชื่อ และโคตร บางพวกก็นิ่งอยู่ แล้วต่างพากันนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งๆ พราหมณ์กูฏทันตะ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมทรงทราบยัญสมบัติ ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ ส่วนข้าพระองค์ ไม่ทราบ แต่ปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดแสดง ยัญสมบัติ ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ แก่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.ว่าด้วยยัญของพระเจ้ามหาวิชิตราช [๒๐๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักบอก เมื่อพราหมณ์กูฏทันตะทูลรับแล้ว จึงตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาวิชิตราช เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่อง ใช้สอยอันน่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก มีท้องพระคลังและฉางบริบูรณ์ ดูกร พราหมณ์ ครั้งนั้น พระเจ้ามหาวิชิตราช ได้เสด็จเข้าไปสู่ที่ลับเร้นอยู่ ได้เกิดพระปริวิตกอย่างนี้ ว่า เราได้ครอบครองสมบัติมนุษย์อย่างไพบูลย์แล้ว ได้ชำนะปกครองดินแดนมากมาย ถ้ากระไร เราพึงบูชามหายัญ ที่จะเป็นประโยชน์และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน ดูกรพราหมณ์ พระเจ้า มหาวิชิตราชรับสั่งให้เรียกพราหมณ์ปุโรหิตมาแล้วตรัสว่า วันนี้เราได้เข้าสู่ที่ลับเร้นอยู่ ได้เกิด ปริวิตกอย่างนี้ว่า เราได้ครอบครองสมบัติมนุษย์อย่างไพบูลย์แล้ว ได้ชำนะปกครองดินแดน มากมาย ถ้ากระไร เราพึงบูชามหายัญที่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน ดูกรพราหมณ์ เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงชี้แจงวิธีบูชามหายัญ ที่จะเป็นประโยชน์ และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน. [๒๐๖] ดูกรพราหมณ์ เมื่อพระเจ้ามหาวิชิตราชรับสั่งอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ปุโรหิต กราบทูลว่า ชนบทของพระองค์ยังมีเสี้ยนหนาม ยังมีการเบียดเบียนกัน โจรปล้นบ้านก็ดี ปล้น นิคมก็ดี ปล้นเมืองก็ดี ทำร้ายในหนทางเปลี่ยวก็ดี ยังปรากฏอยู่ พระองค์จะโปรดฟื้นฟูพลีกรรม ในเมื่อบ้านเมืองยังมีเสี้ยนหนาม ยังมีการเบียดเบียนกันอยู่ ด้วยเหตุที่ทรงฟื้นฟูพลีกรรมนั้น จะพึงชื่อว่าทรงกระทำการมิสมควร บางคราวพระองค์จะทรงพระดำริอย่างนี้ว่า เราจักปราบปราม เสี้ยนหนาม คือโจร ด้วยการประหาร ด้วยการจองจำ ด้วยการปรับไหม ด้วยการตำหนิโทษ หรือเนรเทศ อันการปราบปรามด้วยวิธีเช่นนี้ ไม่ชื่อว่าเป็นการปราบปรามโดยชอบ เพราะว่าโจร บางพวกที่เหลือจากถูกกำจัดจักยังมีอยู่ ภายหลัง มันก็จักเบียดเบียนบ้านเมืองของพระองค์ แต่ว่า การปราบปรามเสี้ยนหนามคือโจรนั้น จะชื่อว่าเป็นการปราบปรามโดยชอบ เพราะอาศัยวิธีการ ดังต่อไปนี้ ๑. พลเมืองเหล่าใด ในบ้านเมืองของพระองค์ ขะมักเขม้นในกสิกรรม และโครักขกรรม ขอพระองค์จงเพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินให้แก่พลเมืองเหล่านั้นในโอกาสอันสมควร. ๒. พลเมืองเหล่าใด ในบ้านเมืองของพระองค์ ขะมักเขม้นในพาณิชยกรรม ขอพระองค์ จงเพิ่มทุนให้แก่พลเมืองเหล่านั้น ในโอกาสอันสมควร. ๓. ข้าราชการเหล่าใด ในบ้านเมืองของพระองค์ขยัน ขอพระองค์จงพระราชทาน เบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนแก่ข้าราชการเหล่านั้นในโอกาสอันสมควร. พลเมืองเหล่านั้นนั่นแหละ จักเป็นผู้ขวนขวายในการงานของตนๆ จักไม่เบียดเบียน บ้านเมืองของพระองค์ อนึ่ง กองพระราชทรัพย์มีจำนวนมาก จักเกิดแก่พระองค์ บ้านเมือง ก็จะตั้งมั่นอยู่ในความเกษม หาเสี้ยนหนามมิได้ ไม่มีการเบียดเบียนกัน พลเมืองจักชื่นชมยินดี ต่อกัน ยังบุตรให้ฟ้อนอยู่บนอก จักไม่ต้องปิดประตูเรือนอยู่ ดูกรพราหมณ์ พระเจ้ามหาวิชิตราช ทรงรับคำพราหมณ์ปุโรหิตแล้ว ก็ได้พระราชทานข้าวปลูกและข้าวกินแก่พลเมืองในบ้านเมืองของ พระองค์ ที่ขะมักเขม้นในกสิกรรมและโครักขกรรม พระราชทานทุนแก่พลเมืองในบ้านเมือง ของพระองค์ ที่ขะมักเขม้นในพาณิชยกรรม พระราชทานเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนแก่ข้าราชการ ในบ้านเมืองของพระองค์ที่ขยัน พลเมืองเหล่านั้นนั่นแหละ ได้เป็นผู้ขวนขวายในการงานตาม หน้าที่ของตนๆ ไม่ได้เบียดเบียนบ้านเมืองของพระองค์ อนึ่ง กองพระราชทรัพย์มีจำนวนมาก ได้เกิดมีแล้วแก่พระองค์ บ้านเมืองได้ดำรงอยู่ในความเกษม หาเสี้ยนหนามมิได้ ไม่มีการ เบียดเบียนกัน พลเมืองชื่นชมยินดีต่อกัน ยังบุตรให้ฟ้อนอยู่บนอก ไม่ต้องปิดประตูเรือน อยู่แล้ว. [๒๐๗] ดูกรพราหมณ์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาวิชิตราชได้ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ปุโรหิต มาเฝ้าแล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ โจรที่เป็นเสี้ยนหนามนั้น เราได้ปราบปรามดีแล้ว เพราะอาศัย วิธีการของท่าน และกองพระราชทรัพย์ใหญ่ก็ได้บังเกิดแก่เรา บ้านเมืองก็ได้ดำรงอยู่ในความเกษม หาเสี้ยนหนามมิได้ ไม่มีการเบียดเบียนกัน พลเมืองชื่นชมยินดีต่อกัน ยังบุตรให้ฟ้อนอยู่บนอก ไม่ต้องปิดประตูเรือนอยู่ ดูกรพราหมณ์ เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงชี้แจงวิธีบูชา มหายัญที่จะเป็นประโยชน์และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน. พราหมณปุโรหิตกราบทูลว่า ขอเดชะ ถ้าเช่นนั้น อนุยนตกษัตริย์เหล่าใด ซึ่งเป็นชาว นิคมและชาวชนบทในพระราชอาณาเขตของพระองค์ ขอพระองค์จงเรียกอนุยนตกษัตริย์เหล่านั้น มาปรึกษาว่า ท่านทั้งหลาย เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน อำมาตย์ราชบริษัทเหล่าใด ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท ในพระราชอาณาเขตของพระองค์ ขอพระองค์จงเรียกอำมาตย์ราชบริษัทเหล่านั้นมาปรึกษาว่า ท่าน ทั้งหลาย เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่เราตลอดกาลนาน พราหมณ์มหาศาลเหล่าใด ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบทในพระราช- *อาณาเขตของพระองค์ ขอพระองค์จงเรียกพราหมณ์มหาศาลเหล่านั้นมาปรึกษาว่า ท่านทั้งหลาย เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่เราตลอด กาลนาน คฤหบดีผู้มั่งคั่งเหล่าใด ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบทในพระราชอาณาเขตของพระองค์ ขอพระองค์จงเรียกคฤหบดีผู้มั่งคั่งเหล่านั้นมาปรึกษาว่า ท่านทั้งหลาย เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน ดูกรพราหมณ์ พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงรับคำพราหมณ์ปุโรหิตแล้ว ทรงเรียกอนุยนตกษัตริย์ ซึ่งเป็นชาวนิคม และชาวชนบทในพระราชอาณาเขตของพระองค์มาปรึกษาว่า ท่านทั้งหลาย เราปรารถนาจะบูชา มหายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน. อนุยนตกษัตริย์ เหล่านั้นกราบทูลว่า ขอพระองค์จงบูชายัญเถิด ขอเดชะ บัดนี้เป็นการสมควรที่จะบูชายัญ ทรงเรียกอำมาตย์ราชบริษัท ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบทในพระราชอาณาเขตของพระองค์ มาปรึกษาว่า ท่านทั้งหลาย เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน อำมาตย์ราชบริษัทเหล่านั้นกราบทูลว่า ขอพระองค์จงทรงบูชา ยัญเถิด ขอเดชะ บัดนี้เป็นการสมควรที่จะบูชายัญ ทรงเรียกพราหมณ์มหาศาล ซึ่งเป็นชาวนิคม และชาวชนบทในพระราชอาณาเขตของพระองค์มาปรึกษาว่า ท่านทั้งหลาย เราปรารถนาจะบูชา มหายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน พราหมณ์ มหาศาลเหล่านั้นกราบทูลว่า ขอพระองค์จงทรงบูชายัญเถิด ขอเดชะ บัดนี้ เป็นการสมควร ที่จะบูชายัญ ทรงเรียกคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบทในพระราชอาณาเขตของ พระองค์มาปรึกษาว่า ท่านทั้งหลาย เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน คฤหบดีผู้มั่งคั่งเหล่านั้นกราบทูลว่า ขอพระองค์ จงทรงบูชายัญเถิด ขอเดชะ บัดนี้ เป็นการสมควรที่จะบูชายัญ ชนผู้เห็นชอบตามพระราชดำริ ๔ เหล่านี้ จัดเป็นบริวารของยัญนั้น ดังนี้แล. [๒๐๘] พระเจ้ามหาวิชิตราช ทรงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ. ๑. ทรงเป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายพระมารดาและพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ทรงถือ ปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียน ด้วยอ้างถึงพระชาติได้. ๒. ทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก มีพระพรรณคล้ายพรหม มีพระรูปคล้ายพรหม น่าดู น่าชมไม่น้อย. ๓. ทรงมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้สอย อันน่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก มีท้องพระคลังและฉางเต็มบริบูรณ์. ๔. ทรงมีกำลัง ทรงสมบูรณ์ด้วยเสนามีองค์ ๔ ซึ่งอยู่ในวินัย คอยปฏิบัติตามพระราช บัญชา มีพระบรมเดชานุภาพดังว่าจะเผาผลาญราชศัตรูได้ด้วยพระราชอิสริยยศ. ๕. ทรงพระราชศรัทธา เป็นทายก เป็นทานบดี มิได้ปิดประตู เป็นดุจบ่อที่ลงดื่ม ของสมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจก ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๖. ได้ทรงศึกษาทรงสดับเรื่องนั้นๆ มาก. ๗. ทรงทราบอรรถแห่งข้อที่ทรงศึกษาและภาษิตนั้นๆ ว่า นี้อรรถแห่งภาษิตนี้ นี้อรรถ แห่งภาษิตนี้. ๘. ทรงเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระราชดำริอรรถอันเป็น อดีต อนาคต และปัจจุบันได้. พระเจ้ามหาวิชิตราช ทรงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการดังกล่าวนี้ องค์ ๘ ประการ แม้เหล่านี้ จัดเป็นบริวารแห่งยัญนั้นโดยแท้ ด้วยประการดังนี้ [๒๐๙] พราหมณ์ปุโรหิตประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ ๑. เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้าน ติเตียน ด้วยอ้างถึงชาติได้. ๒. เป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ และมหาปุริสลักษณะ. ๓. เป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน. ๔. เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ของพวกปฏิคาหกผู้รับ บูชาด้วยกัน. พราหมณ์ปุโรหิตประกอบด้วยองค์ ๔ ดังแสดงมานี้ องค์ ๔ ประการ แม้เหล่านี้ จัดเป็น บริวารแห่งยัญนั้นโดยแท้ ด้วยประการดังนี้.ยัญญสัมปทา ๓ มีบริวาร ๑๖ [๒๑๐] ดูกรพราหมณ์ ลำดับนั้นแล พราหมณ์ปุโรหิตได้แสดงยัญวิธี ๓ ประการ ถวายพระเจ้ามหาวิชิตราชก่อนทรงบูชายัญว่า. ๑. เมื่อพระองค์ทรงบูชามหายัญอยู่ ความวิปฏิสารบางอย่างพึงมีว่า กองโภคสมบัติใหญ่ ของเราจักหมดเปลือง ดังนี้ พระองค์ไม่ควรทรงทำความวิปฏิสารเช่นนี้. ๒. เมื่อพระองค์ทรงบูชามหายัญอยู่ ความวิปฏิสารบางอย่างพึงมีว่า กองโภคสมบัติใหญ่ ของเรากำลังหมดเปลืองไปอยู่ ดังนี้ พระองค์ไม่ควรทรงทำความวิปฏิสารเช่นนั้น. ๓. เมื่อพระองค์ทรงบูชามหายัญอยู่ ความวิปฏิสารบางอย่างพึงมีว่า กองโภคสมบัติใหญ่ ของเราได้หมดเปลืองไปแล้ว ดังนี้ พระองค์ไม่ควรทรงทำความวิปฏิสารเช่นนั้น. ดูกรพราหมณ์ พราหมณ์ปุโรหิตได้แสดงยัญวิธี ๓ ประการ ดังแสดงมานี้ถวายพระเจ้า- *มหาวิชิตราชก่อนทรงบูชายัญนั้นเทียว. [๒๑๑] ดูกรพราหมณ์ ลำดับนั้น พราหมณ์ปุโรหิตได้กำจัดความวิปฏิสารของพระเจ้า- *มหาวิชิตราชเพราะพวกปฏิคาหก โดยอาการ ๑๐ ประการก่อนทรงบูชายัญ ๑. พวกคนทำปาณาติบาตก็ดี พวกที่งดเว้นจากปาณาติบาตก็ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีของ พระองค์. ในชนเหล่านั้น จำพวกที่ทำปาณาติบาต จักได้รับผลเพราะกรรมของเขาเอง ขอพระองค์ ทรงปรารภเฉพาะพวกที่งดเว้นจากปาณาติบาตเท่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. [๒๑๒] ๒. พวกคนที่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ก็ดี พวกที่งดเว้นจากการถือเอา สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ก็ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์. ในชนเหล่านั้น จำพวกที่ถือเอา สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ จักได้รับผลเพราะกรรมของเขาเอง ขอพระองค์จงทรงปรารภเฉพาะ พวกที่งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้เท่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรง อนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. [๒๑๓] ๓. พวกคนที่ประพฤติผิดในกามทั้งหลายก็ดี พวกที่งดเว้นจากการประพฤติผิด ในกามทั้งหลายก็ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์. ในชนเหล่านั้นจำพวกที่ประพฤติผิดในกาม ทั้งหลาย จักได้รับผลเพราะกรรมของเขาเอง ขอพระองค์จงทรงปรารภเฉพาะพวกที่งดเว้นจากการ ประพฤติผิดในกามทั้งหลายเหล่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัย ให้ผ่องใสในภายในเถิด. [๒๑๔] ๔. พวกที่กล่าวคำเท็จก็ดี พวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำเท็จก็ดี ต่างก็จักมาสู่ ยัญพิธีของพระองค์. ในชนเหล่านั้น จำพวกที่กล่าวคำเท็จ จักได้รับผลเพราะกรรมของเขาเอง ขอพระองค์จงทรงปรารภเฉพาะพวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำเท็จเท่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. [๒๑๕] ๕. พวกที่กล่าวคำส่อเสียดก็ดี พวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำส่อเสียดก็ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์. ในชนเหล่านั้น จำพวกที่กล่าวคำส่อเสียด จักได้รับผลเพราะ กรรมของเขาเอง. ขอพระองค์จงทรงปรารภเฉพาะพวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำส่อเสียดเท่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. [๒๑๖] ๖. พวกที่กล่าวคำหยาบก็ดี พวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำหยาบก็ดี ต่างก็ จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์. ในชนเหล่านั้น จำพวกที่กล่าวคำหยาบ จักได้รับผลเพราะกรรม ของเขาเอง ขอพระองค์ปรารภเฉพาะพวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำหยาบเท่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. [๒๑๗] ๗. พวกที่กล่าวคำเพ้อเจ้อก็ดี พวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำเพ้อเจ้อก็ดี ต่างก็ จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์. ในชนเหล่านั้น จำพวกที่กล่าวคำเพ้อเจ้อ จักได้รับผลเพราะกรรม ของเขาเอง ขอพระองค์จงทรงปรารภเฉพาะพวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำเพ้อเจ้อเท่านั้น แล้ว ทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. [๒๑๘] ๘. พวกที่โลภอยากได้ของของผู้อื่นก็ดี พวกที่ไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นก็ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์. ในชนเหล่านั้น จำพวกที่โลภอยากได้ของของผู้อื่น จักได้รับผล เพราะกรรมของเขาเอง ขอพระองค์จงทรงปรารภเฉพาะพวกที่ไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นเท่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. [๒๑๙] ๙. พวกที่มีจิตพยาบาทก็ดี พวกที่มีจิตไม่พยาบาทก็ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธี ของพระองค์ ในชนเหล่านั้น จำพวกที่มีจิตพยาบาท จักได้รับผลเพราะกรรมของเขาเอง ขอพระองค์จงทรงปรารภเฉพาะพวกที่มีจิตไม่พยาบาทเท่านั้นแล้ว ทรงบูชา ทรงบริจาค ทรง อนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. [๒๒๐] ๑๐. พวกที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็ดี พวกที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธี ของพระองค์ ในชนเหล่านั้น จำพวกที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ จักได้รับผลเพราะกรรมของเขาเอง. ขอพระองค์จงทรงปรารภเฉพาะพวกที่เป็นสัมมาทิฏฐิเท่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรง อนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. ดูกรพราหมณ์ พราหมณ์ปุโรหิตได้กำจัดความวิปฏิสารของพระเจ้ามหาวิชิตราช เพราะ พวกปฏิคาหก โดยอาการ ๑๐ ประการ ดังแสดงมานี้แล ก่อนทรงบูชายัญนั่นเทียว. [๒๒๑] ดูกรพราหมณ์ ลำดับนั้น พราหมณ์ปุโรหิต ได้ยังพระหฤทัยของพระเจ้า มหาวิชิตราช ซึ่งทรงบูชามหายัญอยู่ ให้ทรงเห็นแจ้ง ให้ทรงสมาทาน ให้ทรงอาจหาญ ให้ทรงร่าเริง โดยอาการ ๑๖ ประการ ๑. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้า- *มหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงชักชวนเหล่าอนุยนตกษัตริย์ ซึ่งเป็นชาวนิคม และชาวชนบท พระองค์ทรงบูชามหายัญเห็นปานนั้นแต่เฉพาะพระองค์. แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม. เพราะพระองค์ก็ได้ทรงเรียกเหล่าอนุยนตกษัตริย์ ซึ่งเป็น ชาวนิคมและชาวชนบทมาทรงปรึกษาแล้ว แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. [๒๒๒] ๒. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้า- *มหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงชักชวนเหล่าอำมาตย์ราชบริษัท ซึ่งเป็น ชาวนิคมและชาวชนบท พระองค์ทรงบูชามหายัญเห็นปานนั้น แต่เฉพาะพระองค์ แม้ด้วย ประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม เพราะพระองค์ได้ทรงเรียกเหล่าอำมาตย์ ราชบริษัท ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบทมาทรงปรึกษาแล้ว แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์ จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใส ในภายในเถิด. ๓. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้า- *มหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงชักชวนเหล่าพราหมณ์มหาศาล ซึ่งเป็น ชาวนิคมและชาวชนบท พระองค์ทรงบูชามหายัญ เห็นปานนั้นแต่เฉพาะพระองค์ แม้ด้วยประการ เช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม เพราะพระองค์ได้ทรงเรียกเหล่าพราหมณ์มหาศาล ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบทมาทรงปรึกษาแล้ว. แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบ เถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายใน เถิด. ๔. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้า- *มหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงชักชวนเหล่าคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ซึ่งเป็นชาวนิคม และชาวชนบท พระองค์ทรงบูชามหายัญ เห็นปานนั้น แต่เฉพาะพระองค์. แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม เพราะพระองค์ได้ทรงเรียกเหล่าคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ซึ่งเป็น ชาวนิคมและชาวชนบทมาทรงปรึกษาแล้ว แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. [๒๒๓] ๕. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้า- *มหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงเป็นกษัตริย์ผู้อุภโตสุชาตทั้งฝ่ายพระมารดาและ พระบิดา มิได้มีพระครรภ์เป็นที่ทรงถือปฏิสนธิหมดจดดี ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ เป็นผู้อันใครๆ คัดค้านติเตียนด้วยอ้างถึงพระชาติได้ และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญเห็นปานนั้น. แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม. เพราะพระองค์ทรงเป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายพระมารดาและพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ทรงถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนด้วยอ้างถึงพระชาติได้. แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบ เถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายใน เถิด. [๒๒๔] ๖. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้า- *มหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์ทรงมีพระรูปไม่งาม ไม่น่าดู ไม่น่าเลื่อมใส ไม่ทรง ประกอบด้วยพระฉวีวรรณอันผุดผ่อง มิได้ทรงมีพระพรรณคล้ายพรหม มิได้ทรงมีพระรูปคล้าย พรหม ไม่น่าดู ไม่น่าชมเสียเลย และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญเห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม เพราะพระองค์ทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ทรงกอปรด้วยพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ทรงมีพระพรรณคล้ายพรหม ทรงมีพระรูปคล้ายพรหม น่าดู น่าชมมิใช่น้อย แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบ เถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายใน เถิด. ๗. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้า- *มหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงเป็นกษัตริย์ที่มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้สอยน่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก มีท้องพระคลังและฉางเต็มบริบูรณ์ และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญเห็นปานนั้น. แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม เพราะพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้สอยน่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก มีท้องพระคลังและฉางเต็มบริบูรณ์ แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์ จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใส ในภายในเถิด. ๘. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้า- *มหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีกำลัง มิได้ทรงสมบูรณ์ด้วยเสนา มีองค์ ๔ ซึ่งอยู่ในวินัย คอยปฏิบัติตามพระราชบัญชา มิได้ทรงมีพระบรมเดชานุภาพดังว่าจะ เผาผลาญราชศัตรูได้ด้วยพระราชอิสริยยศ และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญ เห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม เพราะพระองค์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีกำลัง ทรงสมบูรณ์ด้วยเสนามีองค์ ๔ ซึ่งอยู่ในวินัยคอยปฏิบัติตามพระราชบัญชา ทรงมีพระบรมเดชานุภาพดังว่าจะเผาผลาญราชศัตรูได้ด้วยพระราชอิสริยยศ แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัย ให้ผ่องใสในภายในเถิด. ๙. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้า- *มหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระราชศรัทธา มิได้ทรงเป็นทายก มิได้ทรงเป็นทานบดี มีประตูปิด มิได้เป็นดุจบ่อที่ลงดื่มของสมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก ยาจก มิได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญ เห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม เพราะพระองค์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระราชศรัทธา ทรงเป็นทายก เป็นทานบดี มิได้ทรงปิดประตู เป็นดุจบ่อ ที่ลงดื่มของสมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก ยาจก. แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัย ให้ผ่องใสในภายในเถิด. ๑๐. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้า- *มหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงศึกษา ทรงสดับเรื่องนั้นๆ มาก และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญ เห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม เพราะพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ได้ทรงศึกษา ทรงสดับ เรื่องนั้นๆ มาก แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. ๑๑. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้า- *มหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงทราบอรรถแห่งข้อที่ทรงศึกษาและภาษิตนั้นๆ ว่า นี้อรรถแห่งภาษิตนี้ นี้อรรถแห่งภาษิตนี้ และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญ เห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม เพราะพระองค์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงทราบอรรถแห่งข้อที่ทรงศึกษาและภาษิตนั้นๆ ว่า นี้อรรถแห่งภาษิตนี้ นี้อรรถแห่งภาษิตนี้ แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. ๑๒. เมื่อพระองค์ทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้ามหาวิชิตราช ทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงเป็นบัณฑิต มิได้ทรงเฉียบแหลม มิได้ทรงมีพระปรีชา มิได้สามารถจะทรงพระราชดำริอรรถอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันได้ และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญ เห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้ โดยธรรม เพราะพระองค์ทรงเป็นบัณฑิต ทรงเฉียบแหลม ทรงมีพระปรีชาสามารถที่จะ ทรงพระราชดำริอรรถอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบ เถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายใน เถิด. [๒๒๕] ๑๓. เมื่อพระองค์ทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้ามหา- *วิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์มิได้เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มิได้มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ เป็นผู้อันใครๆ กล่าวคัดค้าน ติเตียนได้ด้วยอ้างถึงชาติ และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญเห็นปานนั้น แม้ด้วย ประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม เพราะพราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์เป็น อุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มี ใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยอ้างถึงชาติ แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงบันเทิง ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. [๒๒๖] ๑๔. เมื่อพระองค์ทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้ามหาวิชิตราช ทรงบูชามหายัญ แต่พราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์มิได้เป็นผู้เล่าเรียน มิได้ทรงจำมนต์ มิได้รู้จบ ไตรเพทพร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษรมีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ ๕ มิได้เป็นผู้เข้าใจตัวบท มิได้เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ มิได้ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ และมหาปุริส ลักษณะ และเมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญเห็นปานนั้น แม้ด้วยประการ เช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม เพราะพราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์ เป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ และมหาปุริสลักษณะ แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงบันเทิง ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. ๑๕. เมื่อพระองค์ทรงบูชามหายัญอยู่ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้ามหาวิชิตราชทรง บูชามหายัญ แต่พราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์มิได้เป็นผู้มีศีล มิได้มีศีลยั่งยืน มิได้ประกอบศีล ยั่งยืน และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญเห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม เพราะพราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์เป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงบันเทิง ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. ๑๖. เมื่อพระองค์ทรงบูชามหายัญอยู่ ใครๆ จะพึงกล่าวว่า พระเจ้ามหาวิชิตราชทรง บูชามหายัญ แต่พราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์มิได้เป็นบัณฑิต มิได้เป็นผู้เฉียบแหลม มิได้มีปัญญา มิได้เป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ในพวกปฏิคาหกผู้รับบูชาด้วยกัน และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรง บูชามหายัญเห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม เพราะ พราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ในพวก ปฏิคาหกผู้รับบูชาด้วยกัน แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์ จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงบันเทิง ทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. ดูกรพราหมณ์ พราหมณ์ปุโรหิต ได้ยังพระหฤทัยของพระเจ้ามหาวิชิตราชผู้ทรงบูชา มหายัญอยู่ ให้ทรงเห็นแจ้ง ให้ทรงสมาทาน ให้ทรงอาจหาญ ให้ทรงร่าเริง โดยอาการ ๑๖ ประการ ดังแสดงมานี้แล. [๒๒๗] ดูกรพราหมณ์ ในยัญนั้น ไม่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์ นานาชนิด ไม่ต้องตัดต้นไม้มาทำเป็นหลักยัญ ไม่ต้องเกี่ยวหญ้าคามาเพื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น. แม้ชนเหล่าใด ที่เป็นทาส เป็นคนใช้ เป็นกรรมกรของพระเจ้ามหาวิชิตราชนั้น ชนเหล่านั้นก็มิได้ถูกอาชญาคุกคาม มิได้ถูกภัยคุกคาม มิได้มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้กระทำ การงาน ที่จริงคนที่ปรารถนาจะกระทำจึงกระทำ ที่ไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องกระทำ ปรารถนาจะกระทำ การงานใด ก็กระทำการงานนั้น ไม่ปรารถนาจะกระทำการงานใด ก็ไม่ต้องกระทำการงานนั้น และยัญนั้นได้สำเร็จแล้วด้วยลำพังเนยใส น้ำมัน เนยข้น เปรียง น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เท่านั้น. [๒๒๘] ดูกรพราหมณ์ ลำดับนั้นแล พวกอนุยนตกษัตริย์ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาว ชนบท พวกอำมาตย์ราชบริษัทซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท พวกพราหมณ์มหาศาลซึ่งเป็นชาว นิคมและชาวชนบท พวกคฤหบดีผู้มั่งคั่งซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท ต่างก็พากันนำทรัพย์ มากมาย เข้าไปเฝ้าพระเจ้ามหาวิชิตราชกราบทูลว่า ขอเดชะ พวกข้าพระพุทธเจ้าได้นำทรัพย์ มากมายนี้มาเฉพาะพระองค์ ขอพระองค์จงทรงรับเถิด. พระเจ้ามหาวิชิตราชตรัสว่า อย่าเลยพ่อ แม้ทรัพย์เป็นอันมากนี้ของข้าพเจ้าก็ได้รวบรวมมาแล้วจากภาษีอากรที่เป็นธรรม ทรัพย์ที่ท่านนำ มานั้นจงเป็นของพวกท่านเถิด ก็และท่านจงนำทรัพย์จากที่นี้เพิ่มไปอีก อนุยนตกษัตริย์เป็นต้น เหล่านั้นถูกพระราชาปฏิเสธ ต่างพากันหลีกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง คิดร่วมกันอย่างนี้ว่า การที่พวกเราจะรับทรัพย์เหล่านี้คืนไปบ้านเรือนของตนๆ อีกนั้นไม่เป็นการสมควรแก่พวกเราเลย พระเจ้ามหาวิชิตราชกำลังทรงบูชามหายัญอยู่ เอาเถอะ พวกเรามาบูชายัญตามเสด็จพระองค์บ้าง. [๒๒๙] ดูกรพราหมณ์ ลำดับนั้น พวกอนุยนตกษัตริย์ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท ได้เริ่มบำเพ็ญทานทางด้านบูรพาแห่งหลุมยัญ พวกอำมาตย์ราชบริษัท ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาว ชนบท ได้เริ่มบำเพ็ญทานทางด้านทักษิณแห่งหลุมยัญ พวกพราหมณ์มหาศาลซึ่งเป็นชาวนิคม และชาวชนบทได้เริ่มบำเพ็ญทานทางด้านปัจฉิมแห่งหลุมยัญ พวกคฤหบดีผู้มั่งคั่งซึ่งเป็นชาว นิคมและชาวชนบท ได้เริ่มบำเพ็ญทานทางด้านอุดรแห่งหลุมยัญ. ดูกรพราหมณ์ แม้ในยัญของอนุยนตกษัตริย์เป็นต้นแม้เหล่านั้น ไม่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์นานาชนิด ไม่ต้องตัดต้นไม้มาทำเป็นหลักยัญ ไม่ต้องเกี่ยวหญ้าคามา เพื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น คนเหล่าใดที่เป็นทาส เป็นคนใช้ เป็นกรรมกรของพวกอนุยนตกษัตริย์ เป็นต้นเหล่านั้น แม้คนเหล่านั้นก็มิได้ถูกอาชญาคุกคาม มิได้ถูกภัยคุกคาม มิได้มีหน้านองด้วย น้ำตา ร้องไห้ทำการงาน ที่จริงคนที่ปรารถนาจะกระทำจึงกระทำ ที่ไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องกระทำ ปรารถนาจะกระทำการงานใด ก็กระทำการงานนั้น ไม่ปรารถนาจะกระทำการงานใด ก็ไม่ต้อง กระทำการงานนั้น ยัญนั้นได้สำเร็จแล้วด้วยลำพังเนยใส น้ำมัน เนยข้น เปรียง น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เท่านั้น. ชนผู้เห็นชอบตามพระราชดำริ ๔ จำพวก ๑ พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ๑ พราหมณ์ปุโรหิตประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ ๑ ดังกล่าวมานี้ รวมเป็น ๓ อย่าง ดูกรพราหมณ์ ทั้ง ๓ ประการ รวมเรียกยัญญสัมปทา ๓ อย่าง มีบริวาร ๑๖. [๒๓๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์เหล่านั้นส่งเสียงอื้ออึงเกรียวกราว ว่า โอ ยัญ โอ ยัญสมบัติ ส่วนพราหมณ์กูฏทันตะ นั่งนิ่งอยู่ ต่อนั้น พราหมณ์เหล่านั้น ได้ถามว่า เพราะเหตุไรเล่า ท่านกูฏทันตะจึงไม่ชื่นชมคำสุภาษิตของพระสมณโคดมโดยเป็น คำสุภาษิต พราหมณ์กูฏทันตะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะไม่ชื่นชมคำสุภาษิตของพระสมณ- *โคดมโดยเป็นคำสุภาษิตก็หามิได้ เพราะว่าผู้ที่ไม่ชื่นชมคำสุภาษิตของพระสมณโคดมโดยเป็น คำสุภาษิตนั้น ศีรษะจะต้องแตกออก ท่านทั้งหลาย ก็แต่ว่าข้าพเจ้าได้คิดอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ได้ตรัสอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ หรือตรัสอย่างนี้ว่า เหตุอย่างนี้ควรจะมีได้ อีกอย่างหนึ่ง พระสมณโคดมย่อมตรัสว่า เหตุอย่างนี้ได้มีแล้วในกาลนั้น เรื่องเช่นนี้ได้มีแล้ว ในกาลนั้น ดังนี้ทีเดียว ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้คิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น พระสมณโคดม คงจะทรงเป็นพระเจ้ามหาวิชิตราชผู้เป็นเจ้าแห่งยัญ หรือทรงเป็นพราหมณ์ปุโรหิตผู้อำนวยการ บูชายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราชนั้นแน่นอน ดังนี้ แล้วจึงได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ก็พระโคดมผู้เจริญ ย่อมทรงทราบโดยแจ้งชัดหรือว่า ผู้บูชายัญเห็นปานนั้น หรือผู้อำนวยการ บูชายัญเห็นปานนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราย่อมทราบโดยแจ้งชัดว่า ผู้บูชายัญเห็นปานนั้น และผู้อำนวยการ บูชายัญเห็นปานนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรพราหมณ์ สมัยนั้น เราได้เป็นพราหมณ์ปุโรหิต ผู้อำนวยการบูชายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราชนั้น.ว่าด้วยพุทธยัญ นิตยทาน [๒๓๑] พราหมณ์กูฏทันตะทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์ น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติ ทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ มีอยู่หรือ? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ มีอยู่ ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการ ตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติ ๓ ประการ ซึ่งมี บริวาร ๑๖ นี้. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผล มากกว่า มีอานิสงส์มากกว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ เป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์ นิตยทาน อันเป็นอนุกูลยัญอย่างใดอย่างหนึ่งที่บุคคลถวายเจาะจงพวก บรรพชิตผู้มีศีล ก็ยัญนี้แลเป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้นิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญนั้น ซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติ ทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้? ดูกรพราหมณ์ พระอรหันต์ก็ดี ท่านที่บรรลุอรหัตมัคก็ดี ย่อมไม่เข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในยัญนั้นปรากฏว่า มีการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง จับไสคอกันบ้าง ฉะนั้น พระอรหันต์ก็ดี ท่านที่บรรลุอรหัตมัคก็ดี ย่อมไม่เข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น ดูกรพราหมณ์ ส่วนนิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญอย่างใดอย่างหนึ่งที่บุคคลถวายเจาะจงพวกบรรพชิตผู้มีศีล พระ- *อรหันต์ก็ดี ท่านที่บรรลุอรหัตมัคก็ดี ย่อมเข้าไปสู่ยัญเช่นนั้นโดยแท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในยัญนั้น ไม่ปรากฏว่ามีการประหารด้วยท่อนไม้ การจับไสคอกันเลย ฉะนั้น พระอรหันต์ ก็ดี ท่านที่บรรลุอรหัตมัคก็ดี ย่อมเข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้นิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญนั้น ซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผล มากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้.การสร้างวิหารแด่พระสงฆ์ผู้มาแต่ทิศ ๔ [๒๓๒] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียม น้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ และกว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญนี้ ยังมีอยู่หรือ? ดูกรพราหมณ์ ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผล มากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ และกว่านิตยทาน อันเป็นอนุกูลยัญนี้ มีอยู่. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญนั้นเป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์ ยัญของบุคคลที่สร้างวิหารอุทิศพระสงฆ์ผู้มาแต่ทิศทั้ง ๔ นี้แหละเป็นยัญ ซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่า ยัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ และกว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญนี้.สรณคมน์ [๒๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียม น้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ และกว่าวิหารทานนี้ยังมีอยู่หรือ? มีอยู่ พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญนั้นเป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์ ยัญของบุคคลที่มีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ดูกรพราหมณ์ นี้แหละเป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่า นิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ และกว่าวิหารทานนี้.การสมาทานศีล ๕ [๒๓๔] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียม น้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติ ทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทานและกว่าสรณคมน์เหล่านี้ยังมีอยู่หรือ? มีอยู่ พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญนั้นเป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์ การที่บุคคลเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบททั้งหลาย คือ งดเว้นจาก ปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท งดเว้น จากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท ดูกรพราหมณ์ นี้แหละเป็นยัญ ซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่าและมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติ ทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทาน และกว่า สรณคมน์นี้. [๒๓๕] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียม น้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทาน อันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทาน กว่าสรณคมน์ และกว่าสิกขาบทเหล่านี้ ยังมีอยู่หรือ? ยังมีอยู่ พราหมณ์ ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และ มีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทาน อันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทาน กว่าสรณคมน์ และกว่าสิกขาบทเหล่านี้. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทาน อันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทาน กว่าสรณคมน์ และกว่าสิกขาบทเหล่านี้เป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่น ยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือ ผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้วได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่าฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทาง ปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวช เป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและ หนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรมวจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.จุลศีล ดูกรพราหมณ์ อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล? ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของ ที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำ เป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าว กัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียง กัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวคำที่ทำให้คน พร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๘. เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม. ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล. ๑๐. เธอเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก แก่กุศล. ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และ เครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว. ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่. ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน. ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ. ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ. ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี. ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส. ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ. ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร. ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา. ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน. ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้. ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย. ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วย เครื่องตวงวัด. ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง. ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.จบจุลศีล มัชฌิมศีล ๑. ภิกษุผู้เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ บางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคาม เห็นปานนี้ คือ พืชเกิดแต่เหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ดเป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่อง ประเทืองผิว สะสมของหอม สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมมหรสพมีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่นของคน จัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัด กระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังขวนขวายเล่น การพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละสิบตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกา เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ เล่นเขียนทายกัน เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง. ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เห็นปานนี้ คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะมีสีขาว เครื่องลาดที่มี สัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะ วิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้าย มีสีหะ และเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทอง และเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะ อันมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตบแต่งร่างกาย อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวาย ประกอบการประดับการตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวเห็นปานนี้ คือ อบตัว ไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้าประดับ วิจิตร ติดกรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้ก็เป็นศีล ของเธอประการหนึ่ง. ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉัน โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบติรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับ แล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็นปานนี้ เช่นว่าท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติ ผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรกล่าว ก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชอง มาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะ เสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการใช้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เห็นปานนี้ คือ รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์คหบดีและกุมารว่า ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ในที่โน้นมา ดังนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวงและการพูดเลียบเคียง เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.จบมัชฌิมศีล มหาศีล ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธี ซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะศาตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายใน จักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายใน จักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง ดาวนักษัตรจักเดิน ผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และ ดาวนักษัตรจักเศร้าหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง จันทรคราสจักมีผล เป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตร เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีอุกกาบาตจักมีผล เป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผล เป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผล เป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีล ของเธอประการหนึ่ง. ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษาหาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญ หาโรคมิได้ หรือนับคะแนน คำนวณ นับประมวล แต่งกาพย์โลกายตศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้ คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรง หญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ดูกรพราหมณ์ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะ ศีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มูรธาภิเษกกำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ฉันใด ดูกรพราหมณ์ ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว. ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข อันปราศจากโทษในภายใน ดูกรพราหมณ์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า ถึงพร้อม ด้วยศีล.จบมหาศีล ภิกษุบรรลุปฐมฌานอยู่ ดูกรพราหมณ์ นี้แหละ เป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการ ตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ. ภิกษุบรรลุทุติยฌานอยู่ ดูกรพราหมณ์ แม้นี้ก็เป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการ ตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ. ภิกษุบรรลุตติยฌานอยู่ ดูกรพราหมณ์ แม้นี้ก็เป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการ ตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ. ภิกษุบรรลุจตุตถฌานอยู่ ดูกรพราหมณ์ แม้นี้ก็เป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการ ตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ.วิชชา ๘ วิปัสสนาญาณ ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัย อยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่าง บริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวล ร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือ แล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไน ดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวล ร้อยอยู่ในนั้น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ เธอย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วย ข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูกรพราหมณ์ นี้แหละ เป็นยัญ ซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญ ก่อนๆ.มโนมยิทธิญาณ ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรรูปอันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือน บุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้อง อย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ จะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะ พึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่น จากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรพราหมณ์ นี้แหละเป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์ มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ.อิทธิวิธญาณ ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียว เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ ไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์อานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่งเปรียบเหมือนช่างงา หรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณ ชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมโน้มน้อม จิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคน เป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือน ไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดิน ก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรพราหมณ์ นี้แหละเป็นยัญซึ่งใช้ ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ.ทิพยโสตญาณ ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียง ทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียงกลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึงเข้าใจว่าเสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ดูกรพราหมณ์ นี้แหละ เป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผล มากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ.เจโตปริยญาณ ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิต มีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิต หลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่ม ที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือในภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิต มีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น ดูกรพราหมณ์ นี้แหละ เป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ภิกษุนั้น ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้ เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะพึงระลึกได้ อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น เราได้จากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยืน อย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้นมาสู่บ้าน ของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็น อันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรพราหมณ์ นี้แหละ เป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการ ตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ.จุตูปปาตญาณ ภิกษุนั้น ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการ กระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เปรียบเหมือนปราสาทตั้งอยู่ ณ ทาง ๓ แพร่ง ท่ามกลางพระนคร บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนปราสาทนั้น จะพึงเห็นหมู่ชนกำลังเข้าไป สู่เรือนบ้าง กำลังออกจากเรือนบ้าง กำลังสัญจรเป็นแถวอยู่ในถนนบ้าง นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่ง ท่ามกลางพระนครบ้าง เขาจะพึงรู้ว่า คนเหล่านี้เข้าไปสู่เรือน เหล่านี้ออกจากเรือน เหล่านี้สัญจร เป็นแถวอยู่ในถนน เหล่านี้นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่งท่ามกลางพระนคร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรพราหมณ์ นี้แหละ เป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์ น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ.อาสวักขยญาณ ภิกษุนั้น ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขาใสสะอาดไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระ นั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้ กำลังว่ายอยู่บ้าง กำลังหยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อม โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้น ก็มีญาณว่าหลุดพ้น รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรพราหมณ์ นี้แหละ เป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ. ดูกรพราหมณ์ ก็ยัญสมบัติอื่นๆ ที่จะดียิ่งกว่า ประณีตยิ่งกว่า กว่ายัญสมบัตินี้ มิได้มี.กูฏทันตพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก [๒๓๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสพระธรรมเทศนาอย่างนี้แล้ว พราหมณ์กูฏทันตะ ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของ ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระองค์ทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ข้าพเจ้านี้ได้ปล่อยโคผู้ ๗๐๐ ลูกโคผู้ ๗๐๐ ลูกโคเมีย ๗๐๐ แพะ ๗๐๐ แกะ ๗๐๐ ได้ให้ชีวิตแก่สัตว์เหล่านั้น ขอสัตว์เหล่านั้นจงได้กินหญ้าเขียวสด จงได้ดื่มน้ำเย็น ขอลมที่เย็น จงพัดถูกสัตว์เหล่านั้น.กูฏทันตพราหมณ์บรรลุโสดาปัตติผล [๒๓๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถาแก่พราหมณ์กูฏทันตะ คือ ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์ ในการออกจากกาม เมื่อทรงทราบว่าพราหมณ์กูฏทันตะ มีจิตควร มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตร่าเริง มีจิตใส แล้วจึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดง ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โปรดพราหมณ์กูฏทันตะ เปรียบเหมือน ผ้าที่สะอาดปราศจากสีดำ ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี ฉันใด พราหมณ์กูฏทันตะ ก็ฉันนั้น ได้ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นเอง ลำดับนั้น พราหมณ์กูฏทันตะ เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว หยั่งทราบถึงธรรมทั่วถึงแล้ว ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ขอพระโคดมผู้เจริญกับภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวัน พรุ่งนี้. พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ. เมื่อพราหมณ์กูฏทันตะทราบว่าพระผู้มีพระภาค ทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณหลีกไป. [๒๓๘] ครั้งนั้น พอถึงเวลารุ่งเช้า พราหมณ์กูฏทันตะได้สั่งให้ตบแต่งขาทนีย- *โภชนียาหารอย่างประณีตในสถานที่บูชายัญของตนแล้ว ใช้คนไปกราบทูลเวลาเสด็จแด่พระผู้มี- *พระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว. ลำดับนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จไปสู่สถานที่บูชายัญ ของพราหมณ์กูฏทันตะแล้ว ประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้. ต่อนั้น พราหมณ์กูฏทันตะ ได้อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยมือของตนเอง ด้วยขาทนียโภชนียาหารอย่าง ประณีต เมื่อทราบว่าพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว ทรงลดพระหัตถ์ลงจากบาตรแล้ว จึงได้ ถือเอาอาสนะที่ต่ำแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาค ทรงยังพราหมณ์กูฏทันตะ ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งนั้นแล ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วย ธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป.จบกูฏทันตสูตร ที่ ๕. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๓๔๗๘-๔๓๙๘ หน้าที่ ๑๔๕-๑๘๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=3478&Z=4398&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=9&A=3478&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=5 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=199 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=9&A=3227 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=4&A=6929 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=9&A=3227 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=4&A=6929 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/09i199-e.php# https://suttacentral.net/dn5/en/sujato https://suttacentral.net/dn5/en/tw_rhysdavids
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]