ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๘. โอวาทสูตรที่ ๓
[๔๙๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาป- *สถาน เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป เข้าไปเฝ้าพระผู้มี- *พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัสสป เธอจงกล่าวสอนภิกษุ ทั้งหลาย จงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย กัสสป เราหรือเธอพึงกล่าวสอน ภิกษุทั้งหลาย เราหรือเธอพึงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย ฯ ท่านพระมหากัสสปได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ ภิกษุ ทั้งหลายในบัดนี้ เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับอนุศาสนีโดยเคารพ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๒.

[๔๙๕] พ. ดูกรกัสสป ก็เป็นความจริงอย่างนั้น ครั้งก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือ การอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าว สรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มีความปรารถนา น้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความสงัดจากหมู่ เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการ ปรารภความเพียร บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และ กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็น วัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรง ไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ สันโดษ เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ เป็น ผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรือง หนอ ใคร่ต่อการศึกษาแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง ดูกรกัสสป เมื่อภิกษุทั้งหลายกระทำสักการะอย่างนั้น ภิกษุใหม่ๆ พากันคิดเห็นว่า ทราบว่า ภิกษุรูปที่ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการอยู่ป่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๓.

เป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย... เป็นผู้สันโดษ... เป็น ผู้ชอบสงัดจากหมู่... เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และ กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์ เธอให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อการ ศึกษาแท้ มาเถิดท่าน นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง ภิกษุใหม่ๆ เหล่านั้นก็ปฏิบัติ เพื่อความเป็นอย่างนั้น การปฏิบัติตามของพวกเธอนั้น เป็นการอำนวยประโยชน์ สุขชั่วกาลนาน ฯ [๔๙๖] ดูกรกัสสป ก็บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ไม่เป็นผู้ถือการ อยู่ป่าเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็น ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่กล่าว สรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ไม่เป็นผู้มีความ ปรารถนาน้อย และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่เป็นผู้สันโดษ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ ไม่เป็นผู้สงัด จากหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่เป็นผู้ไม่คลุกคลี ด้วยหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่เป็นผู้ปรารภ ความเพียร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร บรรดาภิกษุ เหล่านั้น ภิกษุใดเป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พวกภิกษุผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อเพื่อนสพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง ดูกรกัสสป เมื่อภิกษุทั้งหลายกระทำ สักการะอย่างนั้น ภิกษุใหม่ๆ พากันคิดว่า ทราบว่า ภิกษุที่มีชื่อเสียง มียศ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๔.

ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พวกภิกษุผู้เป็นเถระ พากันนิมนต์เธอให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อเพื่อนสพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง ภิกษุใหม่ๆ เหล่านั้นก็ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น การปฏิบัติตามของพวกเธอนั้น ไม่อำนวยประโยชน์ มีแต่ทุกข์ชั่วกาลนาน ดูกรกัสสป บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ ควรกล่าวว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายแห่งพรหมจรรย์เบียดเบียนเสียแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความปรารถนาเกิน ประมาณสำหรับพรหมจรรย์เบียดเบียนแล้ว ดูกรกัสสป บัดนี้ บุคคลเมื่อจะ กล่าวโดยชอบ ควรกล่าวว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายแห่งพรหมจรรย์ เบียดเบียนเสียแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูก ความปรารถนาเกินประมาณสำหรับพรหมจรรย์เบียดเบียนเสียแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๕๔๘๘-๕๕๕๗ หน้าที่ ๒๓๑-๒๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5488&Z=5557&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=16&A=5488&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=146              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=494              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=16&A=4953              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=4359              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=16&A=4953              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=4359              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i462-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/sn16.8/en/sujato https://suttacentral.net/sn16.8/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]