ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
สารีปุตตสูตร
[๑๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหา ท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะ ท่านพระสารีบุตรว่า ท่านผู้มีอายุสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านลาสิกขา สึกเสียแล้ว ฯ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุ ผู้ที่ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ย่อมเป็นเช่นนี้แหละ ดูกรผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณใน โภชนะ ไม่ประกอบความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น เป็น ฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๘๔] ดูกรผู้มีอายุ ก็ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ- *พยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุ ให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม แล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล ฯ [๑๘๕] ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อ เล่น ไม่ฉันเพื่อเมามัว ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ย่อมฉันเพียงเพื่อ ความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อยังกายนี้ให้เป็นไป เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่อ จะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า เพราะเหตุที่ฉันอาหารนี้ เราจักกำจัด เวทนาเก่าเสียด้วย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความที่กายเป็นไปได้นาน ความไม่มีโทษและความอยู่สำราญจักมีแก่เรา ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณ ในโภชนะอย่างนี้แล ฯ [๑๘๖] ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรอย่างไร ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันกั้นจิตทั้งหลายด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันกั้นจิตทั้งหลายด้วยการ เดิน ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ในมัชฌิมยามแห่งราตรี สำเร็จ สีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำในใจถึง สัญญาที่จะลุกขึ้น รีบลุกขึ้นในปัจฉิมยามแห่งราตรี ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม อันกั้นจิตทั้งหลายด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้ประกอบความ เพียรอย่างนี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็น ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ จักเป็นผู้ประกอบ ความเพียร ดูกรผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๒๖๕๓-๒๖๙๖ หน้าที่ ๑๑๔-๑๑๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=2653&Z=2696&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=18&A=2653&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=100              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=183              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=18&A=2640              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=897              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=18&A=2640              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=897              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i165-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.120.wlsh.html https://suttacentral.net/sn35.120/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.120/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]