ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ขีรรุกขสูตร
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณี รูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูป อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ซึ่งเป็น ของเล็กน้อย ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป ก็ครอบงำจิตของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นได้แท้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันใหญ่ยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมี อยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ใน โผฏฐัพพะ ... ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละ ราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ซึ่งเป็นของ เล็กน้อย ผ่านทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณี นั้นได้แท้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ฯ [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ เป็นต้นไม้มียาง ขนาดเขื่อง ขนาดรุ่น ขนาดเล็ก บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้ นั้น ณ ที่แห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้น เพราะอะไร ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๙๕.

ภิ. เพราะยางมีอยู่ พระเจ้าข้า ฯ พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุหรือ ภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่ง เป็นของเล็กน้อย ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป ก็ครอบงำจิตของ ภิกษุหรือภิกษุณีได้แท้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันใหญ่ยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีอยู่ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ใน โผฏฐัพพะ ... ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละ ราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจซึ่งเป็นของ เล็กน้อย ผ่านทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือ ภิกษุณีนั้นได้แท้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง จักไม่ครอบงำจิต ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะ ยัง มีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ฯ [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณี รูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง ผ่าน คลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันเล็กน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละ ราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใด รูปหนึ่งไม่มีอยู่ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ในโผฏฐัพพะ ... ในธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง ผ่านมาทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๙๖.

ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์ อันเล็กน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้น ได้แล้ว ฯ [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ ซึ่งเป็นไม้มียาง เป็นต้นไม้แห้ง เป็นไม้ผุ ภายนอกฤดูฝน บุรุษเอาขวานอันคม สับต้นไม้นั้น ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกมาหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล ว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ฯ ภิ. เพราะยางไม่มี พระเจ้าข้า ฯ พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุหรือ ภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็น ของใหญ่ยิ่ง ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือ ภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันเล็กน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ใน โผฏฐัพพะ ... ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง ผ่านมาทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้ เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันเล็กน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือ ภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๔๔๖๐-๔๕๒๘ หน้าที่ ๑๙๔-๑๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=4460&Z=4528&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=18&A=4460&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=177              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=291              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=18&A=4028              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1263              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=18&A=4028              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1263              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i285-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn35.231/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.231/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]