![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
![]() |
![]() |
[๖๗๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีนฉันใด ฯลฯ แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่สมุทร ทั้ง ๒ อย่างๆ ละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่าวรรค.จบ คังคาเปยยาลที่ ๙ [๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ไม่มีเท้าก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี เท้ามากก็ดี มี ประมาณเท่าใด พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง.รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิก สูตร ๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร (พึงขยายความอัปปมาทวรรค ด้วยสามารถโพชฌงค์ แห่งโพชฌงคสังยุต)จบ อัปปมาทวรรคที่ ๑๐ แห่งโพชฌงคสังยุต [๖๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำ อยู่ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ ฉันใด.(พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง) รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สุก- *สูตร ๗. อากาสสูตร ๘. เมฆสูตรที่ ๑ ๙. เมฆสูตรที่ ๒ ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุก สูตร ๑๒. นทีสูตร (พึงขยายความพลกรณียวรรค ด้วยสามารถโพชฌงค์ แห่งโพชฌงคสังยุต)จบ พลกรณียวรรคที่ ๑๑ [๖๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ การ แสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ (พึงขยายเนื้อความที่กล่าวนี้เป็น ตัวอย่าง)รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ทุกขสูตรที่ ๑ ๖. ทุกขสูตรที่ ๒ ๗. ทุกขสูตรที่ ๓ ๘. ขีลสูตร ๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร ๑๑. เวทนา สูตร ๑๒. ตัณหาสูตร. (เอสนาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต บัณฑิตพึงให้พิสดารโดยอาศัยวิเวก)จบ เอสนาวรรคที่ ๑๒ โอฆะ ๔ [๖๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอฆะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? ได้แก่โอฆะ คือกาม โอฆะคือภพ โอฆะคือทิฏฐิ โอฆะคืออวิชชา (พึงขยายเนื้อความดังที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง). [๖๗๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วน เบื้องสูง ๕ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนด รู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล โพชฌงค์ ๗ เป็น ไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัม- *โพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ย่อม เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อม เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ย่อม เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อม เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นิวรณสูตร ๘. ขันธสูตร ๙. อุทธัมภาคิยสูตรจบ โอฆวรรคที่ ๑๓ แม่น้ำทั้ง ๖ สาย ไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง ๖ สาย ไหลไปสู่สมุทร ทั้ง ๒ อย่างนั้น อย่างละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่าวรรค (คังคาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายความด้วยสามารถแห่งราคะ)จบ วรรคที่ ๑๔ ๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิก- *สูตร ๗. ราชสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร (อัปปมาทวรรค พึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถแห่งราคะ)จบ วรรคที่ ๑๕ ๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สุกกสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. เมฆสูตรที่ ๑ ๙. เมฆสูตรที่ ๒ ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร (พลกรณียวรรคแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถแห่งราคะ)จบ วรรคที่ ๑๖ ๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ทุกขสูตรที่ ๑ ๖. ทุกขสูตรที่ ๒ ๗. ทุกขสูตรที่ ๓ ๘. ขีลสูตร ๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร ๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร.จบ เอสนาวรรคแห่งโพชฌงคสังยุตที่ ๑๗ ๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. ขันธสูตร ๙. อุทธัมภาคิยสูตร. (โอฆวรรคพึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถแห่งการกำจัดราคะเป็นที่สุด การ กำจัดโทสะเป็นที่สุด และการกำจัดโมหะเป็นที่สุด)จบ วรรคที่ ๑๘ (มรรคสังยุตแม้ใด ขยายเนื้อความให้พิสดารแล้ว โพชฌงคสังยุต แม้นั้น ก็พึง ขยายเนื้อความให้พิสดาร)จบ โพชฌงคสังยุต ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๓๗๗๙-๓๘๕๘ หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=3779&Z=3858&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=19&A=3779&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=130 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=672 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=3584 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=5367 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=3584 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=5367 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn46.77-88/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.77-88/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.89-98/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.89-98/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.99-110/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.99-110/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.111-120/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.111-120/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.121-129/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.130/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.131-142/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.143-152/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.153-164/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.165-174/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.175-184/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]