บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
๒. ปาราสริยเถรคาถา คาถาสุภาษิตของพระปาราสริยเถระ [๓๘๖] ความคิดได้มีแล้วแก่ภิกษุผู้ชื่อว่าปาราสริยะ ผู้เป็นสมณะนั่งอยู่แล้วแต่ ผู้เดียว มีจิตสงบสงัด เพ่งฌาน บุรุษพึงทำอะไรโดยลำดับ พึงประพฤติ วัตรอย่างไร ประพฤติมารยาทอย่างไร จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำกิจของตน และ ชื่อว่าไม่เบียดเบียนใครๆ อินทรีย์ทั้งหลายย่อมมีเพื่อประโยชน์และ ไม่ใช่ประโยชน์ แก่มนุษย์ทั้งหลาย อินทรีย์ที่ไม่รักษา ย่อมไม่เป็นไป เพื่อประโยชน์ อินทรีย์ที่รักษา ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ บุรุษผู้รักษา และคุ้มครองอินทรีย์นั่นแล จึงชื่อว่าเป็นผู้กระทำกิจของตน และชื่อว่า ไม่เบียดเบียนใครๆ ถ้าผู้ใดไม่ห้ามจักขุนทรีย์ อันไปอยู่ในรูปทั้งหลาย ไม่เห็นโทษผู้นั้นย่อมไม่พ้นจากทุกข์ได้เลย อนึ่ง ผู้ใดไม่ห้ามโสตินทรีย์ อันเป็นไปอยู่ในเสียงทั้งหลาย ไม่เห็นโทษ ผู้นั้นย่อมไม่พ้นจากทุกข์ได้ เลย ถ้าผู้ใดไม่เห็นอุบายเครื่องสลัดออก ซ่องเสพในกลิ่น ผู้นั้นเป็น ผู้หมกมุ่นอยู่ในกลิ่นย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ผู้ใดมัวแต่คำนึงถึงรสเปรี้ยว รสหวานและรสขมเป็นผู้กำหนัดยินดีด้วยตัณหาในรส ไม่รู้สึกถึงความ คิดในใจอันเกิดขึ้นในขณะบรรพชาว่า จักทำที่สุดทุกข์ ผู้นั้นย่อมไม่พ้น ไปจากทุกข์ ผู้ใดมัวนึกถึงโผฏฐัพพะอันสวยงาม ไม่ปฏิกูล ยินดีแล้ว ผู้นั้นย่อมได้ประสบทุกข์มีประการต่างๆ อันมีราคะเป็นเหตุ ก็ผู้ใดไม่ อาจจะรักษาใจจากธรรมเหล่านี้ ทุกข์อันเกิดจากกระแสอารมณ์ทั้ง ๕ นั้น ย่อมติดตามผู้นั้นไป เพราะการไม่รักษาใจนั้น ร่างกายนี้เต็มไปด้วยหนอง เลือดและซากศพเป็นอันมาก เป็นของอันนายช่างผู้ฉลาดทำไว้ เป็นของ เกลี้ยงเกลาวิจิตรงดงามแต่ภายนอก ภายในเต็มไปด้วยของไม่สะอาด มี คูถเป็นต้น ดังสมุคฉะนั้น คนพาลย่อมไม่รู้สึกว่า ร่างกายนี้เป็นของ เผ็ดร้อน มีรสหวานเป็นที่ยินดี เกี่ยวพันด้วยความรัก เป็นทุกข์ เป็น ของฉาบไล้ไว้ด้วยสิ่งที่น่าชื่นใจ เหมือนมีดโกนอันทาแล้วด้วยน้ำผึ้ง ฉะนั้น บุคคลผู้กำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ของหญิง ย่อมต้องประสบทุกข์มีประการต่างๆ กระแสตัณหาในหญิง ทั้งปวงย่อมไหลไปในทวารทั้ง ๕ ของบุรุษ ผู้ใดมีความเพียร อาจทำการ ป้องกันกระแสตัณหาเหล่านั้นได้ ผู้นั้นตั้งอยู่ในอรรถ ตั้งอยู่ในธรรม เป็นผู้ขยันมีปัญญาเครื่องพิจารณา ก็บุคคลควรเป็นผู้ยินดีทำกิจอันประ- กอบด้วยอรรถและธรรม การประกอบด้วยกามารมณ์ย่อมทำให้จมอยู่ใน โลกบุคคลพึงเว้นกิจอันไร้ประโยชน์เสีย เมื่อรู้ว่า สิ่งนั้นไม่ควรทำแล้ว พึงเป็นผู้ไม่ประมาท มีปัญญาสอดส่องในสิ่งนั้น บุคคลพึงยึดเอาแต่กิจที่ ประกอบด้วยประโยชน์ และความยินดีอันประกอบด้วยธรรม แล้วพึง ประพฤติ เพราะว่าความยินดีในธรรมนั้นแล เป็นความยินดีสูงสุด ผู้ใดปรารถนาจะชิงเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยอุบายใหญ่น้อย ฆ่าผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่น ทำคนอื่นให้เศร้าโศก ฉกชิงเอาสิ่งของของคนอื่น ด้วยความทารุณร้ายกาจ การกระทำของผู้นั้น เป็นการกระทำอาศัยความ ยินดีในการประกอบด้วยความฉิบหาย บุคคลผู้มีกำลัง เมื่อผ่าไม้ ย่อม ตอกลิ่มด้วยลิ่ม ฉันใด ภิกษุผู้ฉลาดย่อมกำจัดอินทรีย์ ด้วยอินทรีย์ ฉันนั้น บุคคลผู้อบรมศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา กำจัด อินทรีย์ ๕ ด้วยอินทรีย์ ๕ แล้ว เป็นพราหมณ์ผู้ไม่มีทุกข์ไป บุคคลนั้น เป็นผู้ตั้งอยู่ในอรรถตั้งอยู่ในธรรม ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งปวง โดยประการทั้งปวง ย่อมได้รับความสุข.เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๗๔๑๗-๗๔๖๐ หน้าที่ ๓๒๑-๓๒๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=7417&Z=7460&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=26&A=7417&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=386 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=386 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=26&A=7559 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=6896 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=26&A=7559 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=6896 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thag16.2/en/sujato
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]