ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒
ว่าด้วยนรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย
[๓๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็ หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะกามทั้งหลายใน โลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย. [๓๑] คำว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้วมีความว่า ตรัสคำว่า เป็นผู้ข้องไว้ก่อน. ก็แต่ว่าถ้ำควรกล่าวก่อน กายเรียกว่า ถ้ำ. คำว่า กายก็ดี ถ้ำ ก็ดี ร่างกายก็ดี ร่างกายของตนก็ดี เรือก็ดี รถก็ดี ธงก็ดี จอมปลวกก็ดี รังก็ดี เมืองก็ดี กระท่อมก็ดี ฝีก็ดี หม้อก็ดี เหล่านี้เป็นชื่อของกาย. คำว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คือ ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพัน อยู่ในถ้ำ เหมือนสิ่งของที่ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่ที่ตะปู ซึ่ง ตอกติดไว้ที่ฝา หรือที่ไม้ข้อ ฉะนั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความ ปรารถนาในรูป ความเข้าไปถือ ความเข้าไปยึดในรูป อันเป็นความตั้งมั่น ความถือมั่น และ ความนอนตามแห่งจิต บุคคลมาเกี่ยวข้องอยู่ในความพอใจเป็นต้นนั้น เพราะเพราะนั้น. จึงเรียก ว่า สัตว์. คำว่า สัตว์เป็นชื่อของผู้เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้น. จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ. คำว่า ผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว คือ ผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว คือ ผู้อันกิเลสเป็นอันมาก ปิดบังไว้ แล้ว คือ อันความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความดื้อ ความแข่งดี ความ ถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท ปิดบังไว้แล้ว อันกิเลสทั้งปวง อันทุจริตทั้งปวง อันความกระวนกระวายทั้งปวง อันความเร่าร้อนทั้งปวง อันความเดือดร้อนทั้งปวง อัน อภิสังขารคืออกุศลธรรมทั้งปวง บ้งไว้ คลุมไว้ หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ ครอบงำไว้แล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว. [๓๒] คำว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง มีความว่า คำว่า นรชน เมื่อตั้งอยู่ ก็เป็นผู้กำหนัด ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถความกำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง ย่อมตั้งอยู่ด้วยความ สามารถความขัดเคือง เป็นผู้หลง ย่อมตั้งอยู่ด้วยความสามารถความหลง เป็นผู้ผูกพัน ย่อม ตั้งอยู่ด้วยสามารถความถือตัว เป็นผู้ยึดถือ ย่อมตั้งอยู่ด้วยความสามารถความเห็น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถความฟุ้งซ่าน เป็นผู้ไม่แน่นอน ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถความสงสัย เป็น ถึงความมั่นคง ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถกิเลสที่นอนเนื่อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากว่าภิกษุ เพลิดเพลิน ชมเชย ยึดถือรูปนั้น ตั้งอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่ พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ... ธรรมที่พึงรู้แจ้ง ด้วยมนะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน ชมเชย ยึดถือธรรมนั้นตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง ซ่องเสพความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา ... วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ... หรือวิญญาณที่ เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง ซ่องเสพความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการ อย่างนี้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในกวฬิงการาหาร วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขาร ทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ต่อไปก็มีอยู่ ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะ ต่อไปมีอยู่ในที่ใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในผัสสาหาร ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในมโนสัญญาเจตนาหาร ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในวิญญาณาหาร วิญญาณก็ ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญ แห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่ ต่อไปมีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะต่อไปมีอยู่ในที่ใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้. คำว่า หยั่งลงในที่หลง มีความว่า กามคุณ ๔ คือ รูปที่พึงเห็นแจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ที่หลงเพราะเหตุไร กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ที่หลง. เพราะเหตุว่า เทวดา และมนุษย์โดยมาก ย่อมหลง หลงพร้อม หลงเสมอ เป็นผู้หลง เป็นผู้หลงพร้อม เป็นผู้หลงเสมอ ในกามคุณ ๕ เป็นผู้อันอวิชชาทำให้ตาบอด หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ ครอบงำแล้ว เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ที่หลง. คำว่า หยั่งลงในที่หลง คือ หยั่งลง ก้าวลง หมกมุ่น จมลงในที่หลง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ก็หยั่งลงใน ที่หลง.
ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง
[๓๓] คำว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก. กายวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่ง อยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว เที่ยว อยู่ เปลี่ยนอริยาบถ ประพฤติ รักษาเป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก. จิตตวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ บรรลุทุติยฌาน มีจิต สงัดจากวิตกและวิจาร บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ บรรลุจตุตตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและ ทุกข์ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิต สงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตน สัญญา (เมื่อภิกษุนั้น) เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้น เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างหยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกันกามราคสังโยชน์อย่างหยาบ เป็นต้นนั้น เป็นอนาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราค- *สังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น เป็นอรหันตบุคคลมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับ รูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก. อุปธิวิเวกเป็นไฉน? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ. อมตะ นิพพาน เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้น ตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก. ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่ บุคคลผู้หมดอุปธิถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร. คำว่า ไกลจากวิเวก มีความว่า นรชนนั้นใด เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำอย่างนี้ อันกิเลส มากปิดบังไว้อย่างนี้ หยั่งลงในที่หลงอย่างนี้ นรชนนั้นย่อมอยู่ไกลแม้จากกายวิเวก ย่อมอยู่ ไกลแม้จากจิตตวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จากอุปธิวิเวก คืออยู่ในที่ห่างไกลแสนไกล มิใช่ใกล้ มิใช่ใกล้ชิด มิใช่เคียง มิใช่ใกล้เคียง. คำว่า อย่างนั้น คือ ผู้หยั่งลงในที่หลง ชนิดนั้น เช่นนั้น ดำรงอยู่ดังนั้น แบบนั้น เหมือนเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก.
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
[๓๔] คำว่า กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่ายมีความว่า (๑)- กาม ได้แก่กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจเครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความ @(๑) ต่อไปนี้จงดูข้อ ๒. กำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้า ที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นรูปาวจร แม้ทั้งหมด ธรรมที่ เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่ากาม เพราะ อรรถว่า อันบุคคลพึงใคร่ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง แห่งความมัวเมา กามเหล่านี้เรียกว่าวัตถุกาม. กิเลสกามเป็นไฉน? คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด ความดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด คือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสนหา ในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบ ในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ ชื่อว่ากาม. สมจริงดังคำว่า ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิด เพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้. กามเหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอันนรชนละ ได้โดยง่าย มีความว่า ก็กามทั้งหลายในโลกเป็นของอันนรชนละได้โดยยาก สละได้โดยยาก สลัดได้โดยยาก ย่ำยีได้โดยยาก แหวกออกได้โดยยาก ข้ามได้โดยยาก พ้นได้โดยยาก ก้าว ล่วงได้โดยยาก ข้ามพ้นได้โดยยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอัน นรชนละได้โดยง่าย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อ ตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะ กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย. [๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัตว์เหล่านั้น ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความ ปรารถนา มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้าบ้าง ปรารถนาอยู่ซึ่ง กามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยัง บุคคลอื่นให้หลุดพ้น. [๓๖] คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา มีความ ว่า ตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ความกำหนัด (๑)- ความกำหนัดกล้า ความพอใจ ความชอบใจ ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยสามารถแห่งความกำหนัดกล้าแห่งจิต ความ ปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความยินดี ความยินดีทั่วไป ความข้อง ความติดพัน ความแสวงหา ความลวง ความให้สัตว์เกิด ความให้สัตว์เกี่ยวกับทุกข์ ความเย็บไว้ ความ ที่จิตเป็นดังว่าข่าย ความที่จิตเป็นดังว่ากระแสน้ำ ความซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ความที่จิตเป็น ดังว่าเส้นด้าย ความกระจายไป ความให้อายุเสื่อมไป ความเป็นเพื่อน ความตั้งไว้ เครื่องนำ ไปสู่ภพ ความติดอารมณ์ ความตั้งอยู่ในอารมณ์ ความสนิท ความรัก ความเพ่งเล็ง ความ ผูกพัน ความหวัง ความจำนง ความประสงค์ ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวัง ในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความ หวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความปรารถนา ความให้สัตว์ปรารถนา ความที่จิตปรารถนา ความเหนี่ยวรั้ง ความให้สัตว์เหนี่ยวรั้ง ความที่จิตเหนี่ยวรั้ง ความหวั่นไหว อาการแห่งความ หวั่นไหว ความพรั่งพร้อมด้วยความหวั่นไหว ความกำเริบ ความใคร่ดี ความกำหนัดในที่ผิด ธรรม ความโลภไม่เสมอ ความใคร่ อาการแห่งความใคร่ ความมุ่งหมาย ความปอง ความ ปรารถนาดี กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาใน นิโรธ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ @(๑) ต่อไปนี้จงดูข้อ ๑๔ โยคะ คันถะ อุปาทาน ความกั้น ความปิด ความบัง ความผูก ความเข้าไปเศร้าหมอง ความนอนเนื่อง ความกลุ้มรุมจิต ความเป็นดังว่าเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุต่างๆ รากเหง้า แห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร วิสัยมาร แม่น้ำ ตัณหา ข่ายตัณหา โซ่ตัณหา สมุทรตัณหา อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เพราะเหตุแห่งความ ปรารถนา คือ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา เพราะความปรารถนาเป็นเหตุ เพราะความ ปรารถนาเป็นปัจจัย เพราะความปรารถนาเป็นตัวการ เพราะความปรารถนาเป็นแดนเกิด ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุแห่งความปรารถนา คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ความแช่มชื่นในภพอย่างหนึ่ง ได้แก่ สุขเวทนา. ความแช่มชื่นในภพ ๒ อย่าง ได้แก่สุขเวทนา ๑ วัตถุที่ปรารถนา ๑. ความแช่มชื่น ในภพ ๓ อย่าง ได้แก่ ความเป็นหนุ่มสาว ๑ ความไม่มีโรค ๑ ชีวิต ๑. ความแช่มชื่นในภพ ๔ อย่าง ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข. ความแช่มชื่นในภพ ๕ อย่าง ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ. ความแช่มชื่นในภพ ๖ อย่าง ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่ง จักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสต ความถึงพร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึง พร้อมแห่งกาย ความถึงพร้อมแห่งใจ. คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ติดพัน ในสุขเวทนา ติดพันในวัตถุที่ปรารถนา ติดพันในความเป็นหนุ่มสาว ติดพันในความไม่มีโรค ติดพันในชีวิต ติดพันในลาภ ติดพันในยศ ติดพันในสรรเสริญ ติดพันในสุข ติดพันในรูป ติดพันในเสียง ติดพันในกลิ่นติดพันในรส ติดพันในโผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ติดพันคือ เกี่ยวพัน ผูกพัน ข้อง เกี่ยว หมกมุ่น ในความถึงพร้อมแห่งจักษุ ในความถึงพร้อม แห่งโสต ในความถึงพร้อมแห่งฆานะ ในความถึงพร้อมแห่งชิวหา ในความถึงพร้อมแห่งกาย ในความถึงพร้อมแห่งใจ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุ แห่งความปรารถนา. [๓๗] คำว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น มีความว่า ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพ เหล่านั้นอันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก หรือสัตว์ เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้นได้ยากจากธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพเหล่านั้น. ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพ เหล่านั้นอันสัตว์หลุดพ้นได้ยากอย่างไร? คือ สุขเวทนา วัตถุที่ปรารถนา ความเป็นหนุ่มสาว ความไม่มีโรค ชีวิต ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสต ความถึงพร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึงพร้อมแห่ง กาย ความถึงพร้อมแห่งใจ อันสัตว์พ้นได้ยาก คือหลุดพ้นได้ยาก เปลื้องได้ยาก ปล่อยได้ยาก ย่ำยีได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวล่วงได้ยาก ประพฤติล่วงได้ ยาก. ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพ อันสัตว์หลุดพ้นได้ยากอย่างนี้. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้หลุดพ้นได้ยากจากธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพเหล่านั้น อย่างไร? คือ สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้พ้นได้ยาก หลุดพ้นได้ยาก ถอนขึ้นได้ยาก ปลดเปลื้อง ได้ยาก พรากออกได้ยาก ฉุดออกได้ยาก จากสุขเวทนา วัตถุที่ปรารถนา ความเป็นหนุ่มสาว ความไม่มีโรค ชีวิต ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสต ความถึงพร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่ง ชิวหา ความถึงพร้อมแห่งกาย ความถึงพร้อมแห่งใจ. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้หลุดพ้นได้ยากจาก ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพเหล่านั้นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้หลุดพ้นได้ยากอย่างนี้. คำว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น มีความว่า สัตว์เหล่านั้นจมอยู่ด้วยตน ย่อม ไม่อาจจะฉุดผู้อื่นที่จมอยู่ให้ขึ้นได้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ บุคคลนั้น หนอ จมอยู่ด้วยตนแล้ว จักฉุดผู้อื่นที่จมอยู่ขึ้นได้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรจุนทะ บุคคลนั้นหนอ ไม่ฝึกฝน ไม่อบรม ไม่ดับกิเลสด้วยตนแล้ว จักยังผู้อื่นให้ฝึกฝน ให้อบรม ให้ดับกิเลสได้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้. สัตว์เหล่านั้นไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นได้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ไม่มีใครๆ อื่นที่จะยังสัตว์เหล่านั้นให้พ้นได้ ถ้าสัตว์เหล่านั้นจะพึงพ้นได้ไซร้ สัตว์เหล่านั้นก็ปฏิบัติอยู่ซึ่งสัมมาปฏิบัติ อนุโลมปฏิบัติ อปัจจนิกปฏิบัติ อนวัตถปฏิบัติ ธัมมานุธัมมาปฏิบัติโดยตนเอง ด้วยเรี่ยวแรง กำลัง ความเพียร ความบากบั่น เรี่ยวแรงของ บุรุษ กำลังของบุรุษ ความเพียรของบุรุษ ความบากบั่นบุรุษ ของตนเอง จึงจะพึงพ้นได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นแม้ด้วยประการอย่างนี้. สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโธตกมาณพ เราไม่อาจยังใครๆ ที่มีความสงสัยในโลกให้หลุดพ้น ได้ แต่ท่านรู้เฉพาะอยู่ซึ่งธรรมอันประเสริฐ พึงข้ามห้วงทุกข์นี้ได้ ด้วยประการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น แม้ด้วยประการอย่างนี้. สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความชั่วอันบุคคลกระทำด้วยตน บุคคลนั้นจักเศร้าหมองด้วยตนเอง ความชั่วอันบุคคลไม่กระทำด้วยตน บุคคลนั้นจะบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์ และความไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน ผู้อื่นไม่พึงให้ ผู้อื่นบริสุทธิ์ได้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น แม้ด้วยประการอย่างนี้. สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้ก็ฉันนั้น นิพพานก็ตั้งอยู่ หนทางไปนิพพานก็ตั้ง อยู่ เราผู้ชักชวนก็ตั้งอยู่ ก็เมื่อเป็นดังนั้น สาวกทั้งหลายของเรา ผู้อันเราสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกก็บรรลุถึงนิพพานอันแน่นอนโดยส่วนเดียว บางพวกก็ไม่บรรลุ ดูกรพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ดูกรพราหมณ์ พระตถาคตเป็นเพียงผู้บอกหนทาง พระพุทธเจ้าย่อมบอกหนทาง สัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติอยู่ด้วยตนเอง จึงจะพึงหลุดพ้นได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นแม้ด้วยประการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่นให้ หลุดพ้น. [๓๘] คำว่า มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้าบ้าง มีความว่า อนาคตเรียกว่า ข้างหลัง อดีตเรียกว่าข้างหน้า. อีกอย่างหนึ่ง อนาคตใกล้อดีตก็ดี ปัจจุบันใกล้อดีตก็ดี เรียกว่าข้างหลัง อดีตใกล้อนาคตก็ดี ปัจจุบันใกล้อนาคตก็ดี เรียกว่าข้างหน้า. บุคคลทำความมุ่งหวังในข้างหน้า อย่างไร? คือ บุคคลย่อมหวนระลึกถึงความ เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตกาล เราได้มีรูปอย่างนี้ มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้. บุคคลชื่อว่า ทำความมุ่งหวังในข้างหน้าแม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณเป็นของพัวพันด้วย ฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตกาล เราได้มี จักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะวิญญาณเป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะ บุคคลนั้น จึงเพลิดเพลิน อารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่าย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหน้าแม้ด้วย ประการอย่างนี้. วิญญาณเป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตกาลเราได้มีโสต ดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีฆานะดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอดีตกาลเราได้มีชิวหา ดังนี้ มีรสดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มี ใจดังนี้ เพราะวิญญาณเป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อ เพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหน้าแม้ด้วยประการอย่างนี้. อีก อย่างหนึ่ง บุคคลย่อมยินดี มุ่งหวัง ถึงความปลื้มใจด้วยการหัวเราะ การเจรจา การเล่น กับ มาตุคามในกาลก่อน. บุคคลจึงชื่อว่า ย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหน้าแม้ด้วยประการ อย่างนี้. บุคคลทำความมุ่งหวังในข้างหลังอย่างไร? คือ บุคคลตามระลึกถึงความเพลิดเพลิน ในอารมณ์นั้นว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้. บุคคลชื่อว่าทำความมุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะ เหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้. บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีโสตดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีฆานะดังนี้ ... มี กลิ่นดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีชิวหาดังนี้ มีรสดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมดังนี้ เพราะเหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ทำความ มุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ยัง ไม่ได้ว่า เราจักเป็นเทวราช หรือจักเป็นเทวดาตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อ เพลิดเพลินอารมณ์นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้าบ้าง. [๓๙] คำว่า ปรารถนาอยู่ซึ่งกามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน มีความว่า คำว่า ซึ่ง กามเหล่านี้ คืออยากได้ ยินดี ปรารถนา ทะเยอทะยาน เพ้อฝัน ถึงกามคุณ ๕ ที่เป็นปัจจุบัน. คำว่า ปรารถนาอยู่ซึ่งกามที่มีในก่อน มีความว่า ปรารถนาอยู่ บ่นเพ้ออยู่ รำพันอยู่ ซึ่ง กามคุณ ๕ ที่เป็นอดีต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารถนาอยู่ซึ่งถามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สัตว์เหล่านั้น ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความ ปรารถนา มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้าบ้าง ปรารถนาอยู่ ซึ่งกามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยัง บุคคลอื่นให้หลุดพ้น. [๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัตว์เหล่านั้นปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกามทั้งหลาย เป็นผู้ ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพันอยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้วจักเป็นอะไรหนอ.
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
[๔๑] คำว่า ปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกามทั้งหลาย มีความว่า กาม ได้แก่กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือวัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ กามเหล่านี้ เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม. ตัณหาเรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. สัตว์ทั้งหลาย กำหนัด ปรารถนา หลงใหล ติดใจ ลุ่มหลง ข้อง เกี่ยว พัวพัน ในวัตถุกามทั้งหลายด้วยกิเลสกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารถนาในกามทั้งหลาย. คำว่า ขวนขวาย มีความว่า แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหากามทั้งหลาย เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์ เหล่านั้น ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใด ได้เฉพาะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์ เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใดบริโภครูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ คนผู้ทำความทะเลาะ ชื่อว่า ขวนขวายในความทะเลาะ คนทำการงาน ชื่อว่า ขวนขวายในการงาน คนผู้เที่ยวไปอยู่ในโคจร ชื่อว่าขวนขวายในโคจร คนผู้เจริญฌาน ชื่อว่าขวนขวายในฌาน ฉันใด แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหากามทั้งหลาย เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์ เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใด ได้เฉพาะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์ เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใดบริโภครูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นเที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวาย ในกาม ฉันนั้น. คำว่า หลงใหล มีความว่า โดยมากเทวดาและมนุษย์ ย่อมหลง หลงใหล หลงพร้อมอยู่ในกามคุณ ๕ เป็นผู้หลง หลงใหล หลงพร้อม อันอวิชชาทำให้ตาบอด หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ ครอบงำไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกามทั้งหลาย. [๔๒] คำว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ มีความว่า คำว่า ตกต่ำ คือแม้สัตว์ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ. แม้ผู้มีความตระหนี่ ก็ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ. ผู้ไม่เชื่อถือคำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ. ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ อย่างไร? สัตว์ผู้ไปต่ำ คือสัตว์ที่ไปสู่นรก ไปสู่ดิรัจฉาน- *กำเนิด ไปสู่เปรตวิสัย ชื่อว่าไปต่ำ ผู้ไปต่ำอย่างนี้ จึงชื่อว่า ผู้ตกต่ำ.
ว่าด้วยตระหนี่ ๕ ประการ
ผู้มีความตระหนี่ อย่างไร? ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความ ตระหนี่ที่อยู่ ความตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่เห็นปานนี้ อาการตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่างๆ ความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่ เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ ในการให้ นี้เรียกว่าความตระหนี่. อีกอย่างหนึ่ง ความตรหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี นี้เรียกว่าความตระหนี่. ความมุ่งจะเอา ก็เรียกว่าความตระหนี่. นี้ ชื่อว่า ความตระหนี่. ชนผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ ไม่รู้จักถ้อยคำที่ยาจกกล่าว ประมาทอยู่แล้ว ผู้มีความตระหนี่อย่างนี้ ชื่อว่าผู้ตกต่ำ. สัตว์ที่ไม่เชื่อถือคำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ อย่างไร? สัตว์ทั้งหลาย ไม่เชื่อถือ ไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตลงฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้คำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เชื่อฟัง ไม่ทำตามคำ ประพฤติฝ่าฝืน เบือนหน้าไปทางอื่น สัตว์ที่ไม่เชื่อคำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ. คำว่า สัตว์เหล่านั้นตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ มีความว่า สัตว์เหล่านั้น ตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ ติดแน่น เข้าถึง ติดพัน ติดใจ ข้อง เกี่ยว เกาะเกี่ยว ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การกล่าวคำเท็จ คำส่อเสียด คำหยาบ คำพ้อเจ้อ ความเพ่งเล็ง ความปองร้าย ความเห็นผิด สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ ความคิดอ่าน ความปรารถนา ความตั้งใจ อันไม่เสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์ เหล่านั้น เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ. [๔๓] คำว่า ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพันอยู่ มีความว่า คำว่า ถึงทุกข์เข้าแล้ว คือ เข้าถึงทุกข์ ถึงทุกข์ ประสบทุกข์ ประจวบทุกข์ ถึงมาร ประสบมาร ประจวบมาร ถึงมรณะ ประสบมรณะ ประจวบมรณะเข้าแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงทุกข์เข้าแล้ว. คำว่า ย่อมรำพันอยู่ คือ ย่อมร่ำไรถึง เพ้อถึง โศกถึง ลำบากใจ รำพัน ตบอกคร่ำครวญถึง ถึงความหลงใหล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพึงอยู่.
ความสงสัยในอนาคต ๑๕ ประการ
[๔๔] คำว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้วจักเป็นอะไรหนอ มีความว่า สัตว์ เหล่านั้น แล่นไปสู่ความสงสัย แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง เกิดไม่แน่ใจ ย่อมพูดถึง เพ้อถึง โศกถึง ลำบากใจ รำพัน ตบอกคร่ำครวญถึง ถึงความหลงใหลอยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจาก ภพนี้แล้ว จักเป็นอะไรหนอ (๑)- คือ จักเป็นสัตว์เกิดในนรก จักเป็นสัตว์เกิดในดิรัจฉาน กำเนิด จักเป็นสัตว์เกิดในเปรตวิสัย จักเป็นมนุษย์ จักเป็นเทวดา จักเป็นสัตว์มีรูป จักเป็น สัตว์ไม่มีรูป จักเป็นสัตว์มีสัญญา จักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราทั้งหลายจักมีในอนาคตหรือหนอ หรือจักไม่มีในอนาคต เราทั้งหลาย จักเป็นอะไรหนอแลในอนาคต เราทั้งหลายจักเป็นอย่างไรหนอแลในอนาคต เราทั้งหลาย @๑. ต่อไปนี้คือความสงสัยในอนาคต ๑๕ ประการ-. เป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรอีกในอนาคตกาล ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า (สัตว์เหล่านั้น ย่อมรำพันว่า) เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้ว จักเป็นอะไรหนอ. เพราะฉะนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า สัตว์เหล่านั้น ปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกามทั้งหลาย เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพันอยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้ว จักเป็นอะไรหนอ. [๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้แหละ พึงรู้กรรมอัน ไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ ไม่พึงประพฤติ กรรมอันไม่เสมอ เพราะเหตุแห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น นักปราชญ์ทั้ง หลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย.
ว่าด้วยสิกขา ๓
[๔๖] คำว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้แหละ มีความว่า คำว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือ เพราะเห็น โทษนั้นในกามทั้งหลาย. คำว่าพึงศึกษา มีความว่า พึงศึกษาสิกขาทั้ง ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑. อธิศีลสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วยการสำรวม ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีล ที่ตั้ง เบื้องต้น เบื้องบาท ความ สำรวม ความระวัง ปาก ประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีล- *สิกขา. อธิจิตตสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. เพราะวิตกและวิจารสงบไป จึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มี ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌานไม่ มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา. อธิปัญญาสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา อันให้ถึงความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุ นั้น ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา. สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้ เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยความเชื่อ เมื่อประคองความเพียร เมื่อตั้งสติ เมื่อตั้งจิต เมื่อรู้ชัดด้วย ปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบสมาทานประพฤติ. คำว่า ในศาสนานี้ คือ ในความเห็นนี้ ในความ ควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในความยึดถือนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ ในอัตภาพนี้ ในมนุษย์โลกนี้. คำว่า สัตว์ผู้เกิดมา คือ สัตว์ นระ ฯลฯ มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้ แหละ. [๔๗] คำว่า พึงรู้กรรมอันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ มี ความว่า คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ทั้งปวงโดยอาการทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีเหลือ คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่งนี้ เป็นเครื่องกล่าวกรรมทั้งสิ้น. คำว่า พึงรู้ว่า เป็นกรรมอันไม่เสมอ มีความว่า สัตว์ผู้เกิดมา พึงรู้ พึงรู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอด กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสาวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ อันไม่เสมอ ว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงรู้กรรมอันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลก ว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ. [๔๘] คำว่า ไม่พึงประพฤติกรรมอันไม่เสมอเพราะเหตุแห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น มี ความว่า สัตว์ผู้เกิดมา ไม่พึงประพฤติ ไม่พึงเอื้อเฟื้อประพฤติ ไม่พึงเอื้อเฟื้อประพฤติโดยชอบ ไม่พึงสมาทานประพฤติ ซึ่งกรรมอันไม่เสมอเพราะเหตุแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสาวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจอันไม่เสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงประพฤติกรรมอันไม่เสมอ เพราะเหตุ แห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น.
ชีวิตน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ
[๔๙] คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่า เป็นของน้อย มีความว่า ชีวิต ได้แก่ อายุ ความตั้งอยู่ ความดำเนินไป ความให้อัตภาพดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความ เป็นไป ความเลี้ยง ความเป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์. ก็ชีวิตน้อยโดยเหตุ ๒ ประการ คือ ชีวิตน้อย เพราะตั้งอยู่น้อย ๑ ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อย ๑. ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยเป็นอย่างไร? ชีวิตเป็นอยู่แล้วในขณะจิตเป็นอดีต ย่อมไม่ เป็นอยู่ จักไม่เป็นอยู่. ชีวิตจักเป็นอยู่ ในขณะจิตเป็นอนาคต ย่อมไม่เป็นอยู่ ไม่เป็นอยู่แล้ว. ชีวิตย่อมเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นปัจจุบัน ไม่เป็นอยู่แล้ว จักไม่เป็นอยู่. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งมวล เป็นธรรมประกอบกันเสมอด้วยจิต ดวงเดียว ขณะย่อมเป็นไปพลัน เทวดาเหล่าใดย่อมตั้งอยู่ตลอดแปด- หมื่นสี่พันกัป เทวดาเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้ประกอบด้วยจิตสองดวง ดำรงอยู่เลย ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ผู้ตายหรือของสัตว์ที่เป็นอยู่ในโลก นี้ดับแล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งปวงเทียว เป็นเช่นเดียวกันดับไปแล้ว มิ ได้สืบเนื่องกัน ขันธ์เหล่าใด แตกไปแล้วในอดีตเป็นลำดับและขันธ์ เหล่าใดแตกไปแล้วในอนาคตเป็นลำดับ ความแปลกกันแห่งขันธ์ทั้ง หลาย ที่ดับไปในปัจจุบันกับด้วยขันธ์เหล่านั้น ย่อมมิได้มีในลักษณะ สัตว์ไม่เกิดแล้วด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมเป็นอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์ สัตว์ โลกตายแล้วเพราะความแตกแห่งจิต นี้เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์ ขันธ์ ทั้งหลาย แปรไปโดยฉันทะ ย่อมเป็นไป ดุจน้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น ย่อมเป็นไปตามวาระ อันไม่ขาดสายเพราะอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย ขันธ์ ทั้งหลายแตกแล้ว มิได้ถึงความตั้งอยู่ กองขันธ์มิได้มีในอนาคต ขันธ์ ทั้งหลายที่เกิดแล้วย่อมตั้งอยู่ เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด ตั้งอยู่บนปลาย เหล็กแหลม ฉะนั้น ก็ความแตกแห่งธรรมขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วนั้น สกัดอยู่ข้างหน้าแห่งสัตว์เหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายมีความทำลายเป็นปกติ มิได้รวมกับขันธ์ที่เกิดก่อน ย่อมตั้งอยู่ ขันธ์ทั้งหลายมาโดยไม่ปรากฏ แตกแล้วก็ไปสู่ที่ไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป เหมือนสายฟ้า แลบในอากาศ ฉะนั้น. ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยอย่างนี้. ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อยอย่างไร? ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจออก ชีวิตเนื่องด้วยลม หายใจเข้า ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจออกและลมหายใจเข้า ชีวิตเนื่องด้วยมหาภูตรูป ชีวิตเนื่อง ด้วยไออุ่น ชีวิตเนื่องด้วยอาหารที่กลืนกิน ชีวิตเนื่องด้วยวิญญาณ. กรัชกายอันเป็นที่ตั้งแห่ง ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพอันเป็น เหตุเดิม แห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี ปัจจัยทั้งหลายก็ดี ตัณหาอันเป็นแดน เกิดก่อนก็ดี รูปธรรมและอรูปธรรมที่เกิดร่วมกันแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี อรูปธรรมที่ประกอบกันแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี ขันธ์ที่เกิดร่วมกันแห่งลม หายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี ตัณหาอันประกอบกันก็ดีก็มีกำลังทราม ธรรมเหล่านี้มี กำลังทรามเป็นนิตย์ต่อกันและกัน มิได้ตั้งมั่นต่อกันและกัน ย่อมยังกันและกันให้ตกไป เพราะ ความต้านทานมิได้มีแก่กันและกัน ธรรมเหล่านี้จึงไม่ดำรงกันและกันไว้ได้ ธรรมใดให้ธรรม เหล่านี้เกิดแล้ว ธรรมนั้นมิได้มี ก็แต่ธรรมอย่างหนึ่งมิได้เสื่อมไปเพราะธรรมอย่างหนึ่ง ก็ขันธ์ เหล่านี้แตกไปเสื่อมไปโดยอาการทั้งปวง ขันธ์เหล่านี้อันเหตุปัจจัยมีในก่อนให้เกิดแล้ว แม้เหตุ ปัจจัยอันเกิดก่อนเหล่าใด เหตุปัจจัยเหล่านั้นก็ตายไปแล้วในก่อน ขันธ์ที่เกิดก่อนก็ดี ขันธ์ที่ เกิดภายหลังก็ดี มิได้เห็นกันและกันในกาลไหนๆ ฉะนั้น ชีวิตจึงชื่อว่าเป็นของน้อยเพราะมีกิจ น้อยอย่างนี้. อนึ่ง เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ชีวิตมนุษย์ก็น้อยคือ เล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลบัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ไม่ดำรงอยู่ นาน. เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นยามา ... เพราะ เทียบชีวิตของเทวดาชั้นดุสิต ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นนิมมานรดี ... เพราะเทียบชีวิตของ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม ชีวิตมนุษย์น้อย คือ เล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลบัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายุของพวกมนุษย์นี้น้อย จำต้องละไปสู่ปรโลก มนุษย์ทั้งหลายจำต้องประสบความตายตามที่รู้กันอยู่แล้ว ควรทำกุศล ควร ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีมนุษย์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมเป็นอยู่นาน ผู้นั้นก็เป็นอยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือที่เกินกว่า ๑๐๐ ปี ก็มีน้อย. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถาประ- *พันธ์ต่อไปอีกว่า อายุของพวกมนุษย์น้อย บุรุษผู้ใคร่ความดี พึงดูหมิ่นอายุที่น้อยนี้ พึงรีบประพฤติให้เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น เพราะภาวะความ ตาย จะไม่มาถึงมิได้มี วันคืนย่อมล่วงเลยไป ชีวิตก็กระชั้นเข้าไป สู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมสิ้นไป เหมือนน้ำในแม่น้ำ น้อยย่อมสิ้นไป ฉะนั้น.
ว่าด้วยปัญญาที่เรียกว่าธี
คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย มีความว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้แก่ผู้มีปัญญาทรงจำ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาทรงจำ ผู้ติเตียนบาป. ปัญญาเรียกว่าธี ได้แก่ ความรู้ ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็น ผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเป็นเครื่องจำแนก ปัญญาเป็นเครื่องคิด ปัญญาเป็นเครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวางดุจแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเป็น เครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทง ปัญญาเป็นเครื่องเห็นชัด ปัญญา เป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเป็นศาตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอันแจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรือง ปัญญาเป็นดังแก้ว ความไม่หลง ความเลือกเฟ้น ธรรม ความเห็นชอบ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา [ที่เรียกว่า ธี] นั้น จึงชื่อว่า ธีรา [นักปราชญ์]. อีกอย่างหนึ่ง ชนผู้มีปัญญาในขันธ์ มีปัญญาในธาตุ มีปัญญาในอายตนะ มี ปัญญาในปฏิจจสมุปบาท มีปัญญาในสติปัฏฐาน มีปัญญาในสัมมัปปธาน มีปัญญาในอิทธิบาท มีปัญญาในอินทรีย์ มีปัญญาในพละ มีปัญญาในโพชฌงค์ มีปัญญาในมรรค มีปัญญาในผล มีปัญญาในนิพพาน ชื่อว่า ธีรา. ผู้มีปัญญาทั้งหลายนั้นได้กล่าว คือ กล่าว บอก พูด แสดง แถลงว่า ชีวิตมนุษย์น้อย คือ เล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไป ตลอดกาลบัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ตลอดกาลไม่ช้า ไม่ดำรงอยู่นาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นักปราชญ์ ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้แหละ พึงรู้กรรม อันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า เป็นกรรมอันไม่เสมอ ไม่พึง ประพฤติกรรม อันไม่เสมอเพราะเหตุแห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น นัก- ปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย. [๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม ร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.
สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา
[๕๑] คำว่า เราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อม- *เห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ด้วยมังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญาจักษุบ้าง พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุบ้าง. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า ดิ้นรนอยู่ คือ เราย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู [ซึ่งหมู่สัตว์นี้] ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ด้วยความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลส ด้วย ความดิ้นรนเพราะความประกอบ ด้วยความดิ้นรนเพราะผลกรรม ด้วยความดิ้นรนเพราะทุจริต ด้วยราคะของผู้กำหนัด ด้วยโทสะของผู้ขัดเคือง ด้วยโมหะของผู้หลงแล้ว ด้วยมานะเป็นเครื่อง ผูกพัน ด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ ด้วยความฟุ้งซ่านที่ฟุ้งเฟ้อแล้ว ด้วยความสงสัยที่ไม่แน่ใจ ด้วย อนุสัยที่ถึงกำลัง ด้วยลาภ ด้วยความเสื่อมลาภ ด้วยยศ ด้วยความเสื่อมยศ ด้วยสรรเสริญ ด้วยนินทา ด้วยสุข ด้วยทุกข์ ด้วยชาติ ด้วยชรา ด้วยพยาธิ ด้วยมรณะ ด้วยโสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ด้วยทุกข์คือความเกิดในนรก ด้วยทุกข์คือความเกิดในกำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน ด้วยทุกข์คือความเกิดในวิสัยแห่งเปรต ด้วยทุกข์คือความเกิดในมนุษย์ ด้วยทุกข์ มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความคลอดจาก ครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์อันติดตามสัตว์ที่เกิดแล้ว ด้วยทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิดแล้ว ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น ด้วยทุกข์ อันเกิดแต่ทุกขเวทนา ด้วยทุกข์อันเกิดแต่สังขาร ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความแปรปรวน ด้วย ทุกข์เพราะโรคทางจักษุ โรคทางตา โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรค ทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราดหูด โรคละลอก โรคคุด ทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง ด้วยอาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธ สันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดขึ้นเพราะการบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิด ขึ้นแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่ผลกรรม ด้วยความหนาว ด้วยความร้อน ด้วยความหิว ด้วยความกระหาย ด้วยความปวดอุจจาระ ด้วยปวดปัสสาวะ ด้วยความทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เสือกคลาน ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งมารดา ด้วยทุกข์ เพราะความตายแห่งบิดา ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งพี่ชายน้องชาย ด้วยทุกข์เพราะความตาย แห่งพี่สาวน้องสาว ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งบุตร ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งธิดา ด้วย ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งญาติ ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ด้วยทุกข์เพราะ ความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหาย แห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก. [๕๒] คำว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย มีความว่า คำว่าหมู่สัตว์ เป็น ชื่อของสัตว์. คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา. คำว่า ผู้ไปในตัณหา คือ ไปในตัณหา ไปตามตัณหา ซ่านไปตามตัณหา จมอยู่ ในตัณหา อันตัณหาให้ตกไปแล้ว อันตัณหาครอบงำแล้ว มีจิตอันตัณหาครอบงำแล้ว คำว่า ในภพทั้งหลาย คือ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าหมู่สัตว์นี้ผู้ไปใน ตัณหาในภพทั้งหลาย. [๕๓] คำว่า นรชนทั้งหลายที่เลว ... ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ มีความว่า นรชนทั้งหลาย ที่เลว คือ ผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเม- *สุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสาวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจอันเลว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนทั้งหลายที่เลว. คำว่า ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ มีความว่า นรชนทั้งหลายเป็น ผู้ถึงมัจจุ ประจวบกับมัจจุ เข้าถึงมัจจุ ถึงมาร ประจวบกับมาร เข้าถึงมาร ถึงมรณะ ประจวบ กับมรณะ เข้าถึงมรณะ ย่อมร่ำไร บ่นเพ้อ เศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน ตบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล ใกล้ปากมัจจุ ปากมาร ปากมรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนทั้งหลาย หลายที่เลว ... ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.
ว่าด้วยภพน้อยภพใหญ่
[๕๔] คำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่ มีความว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา. คำว่า ในภพน้อยและภพใหญ่ ได้แก่ภพน้อยและภพใหญ่ คือ กรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิด ในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในความเกิดบ่อยๆ ในความไปบ่อยๆ ในความเข้าถึงบ่อยๆ ในปฏิสนธิบ่อยๆ ในอันบังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพบ่อยๆ. คำว่า ยังไม่ ปราศจากตัณหา คือยังไม่ปราศจากตัณหา มีตัณหายังไม่หมดไป มีตัณหายังไม่สละแล้ว มีตัณหา ยังไม่สำรอกแล้ว มีตัณหายังไม่พ้นไปแล้ว มีตัณหายังไม่ละเสียแล้ว มีตัณหายังไม่สละคืนแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่. เพราะฉะนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมร่ำไร ใกล้ปากมัจจุ. [๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา เหมือนฝูงปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป นรชนเห็นโทษแม้ นั้นแล้ว ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง ในภพทั้งหลาย พึงเป็นผู้ไม่ ยึดถือว่าของเราประพฤติ.
ว่าด้วยความยึดถือ ๒ อย่าง
[๕๖] คำว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา มีความว่า ความยึดถือว่าของเรา ได้แก่ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของ เรา ด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑. ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหาเป็นไฉน? วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่งตัณหา มีประมาณเท่าใด ย่อมยึด ถือว่าของเรา ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้น ว่าสิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมีประมาณเท่านี้ของเรา สิ่งของๆ เรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉางข้าว คลังเป็นของๆ เรา ย่อมยึดถือว่าเป็นของเราแม้ซึ่ง แผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้น ด้วยสามารถแห่งตัณหา ตลอดถึงตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเรา ด้วยตัณหา. ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิเป็นไฉน? สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รถเลี้ยวคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยน หนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดถือ ทางผิด คลองผิด ความเป็นผิด ลัทธิเดียรถี ความถือโดยแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือแน่นอนว่าจริงในสิ่งที่ไม่จริงอันใด เห็นปานนี้ และ ทิฏฐิ ๖๒ มีประมาณเท่าใด นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. คำว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา มีความว่า หมู่สัตว์แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรน เมื่อเขากำลังชิงเอาบ้าง เมื่อเขาชิงเอาแล้วบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไป แห่งวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรน ย่อมกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปอยู่บ้าง เมื่อวัตถุนั้น แปรปรวนไปแล้วบ้าง ท่านทั้งหลายจงเห็น จงแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ซึ่งหมู่สัตว์ ผู้ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมาอยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา. [๕๗] คำว่า เหมือนฝูงปลาที่ดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป มีความว่า ฝูง ปลาที่ถูกฝูงกา เหยี่ยว หรือนกยาง จิกฉุดขึ้นกินอยู่ ย่อมดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรน ทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมาในที่มีน้ำน้อย มีน้ำนิดหน่อย มีน้ำแห้ง ไป ฉันใด หมู่สัตว์แม้ผู้ที่มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรน เมื่อเขากำลังชิงเอาบ้าง เมื่อเขาชิงเอาแล้วบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความ แปรปรวนไปแห่งวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรน ย่อมกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปอยู่บ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนฝูงปลาที่ดิ้นรนอยู่ใน น้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป. [๕๘] คำว่า นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ... พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ มีความ ว่า เห็นแล้ว คือประสบ เทียบเคียง พิจารณา ตรวจตรา ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งโทษนั้น ใน เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว. คำว่า พึงเป็นผู้ไม่ ยึดถือว่าของเราประพฤติ มีความว่า ความยึดถือว่าของเรา ได้แก่ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึด ถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ นรชนพึงละความยึดถือว่า ของเราด้วยตัณหา สละคืนความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิแล้ว ไม่ยึดถือว่าของเรา ซึ่งจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ไม่ยึดถือว่าของเรา คือไม่ถือ ไม่ถือมั่น ไม่ยึดมั่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ทิฏฐสุตมุตวิญญาตัพพธรรม พึงประพฤติไป คือ พึงอยู่ เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ... พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ. [๕๙] คำว่า ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย มีความว่าในภพทั้งหลาย คือในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ตัณหาเรียกว่าเครื่องเกี่ยวข้อง ได้แก่ความกำหนัด ความกำหนัด กล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ไม่ทำซึ่งตัณหา เครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย คือ ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง คือ ไม่ทำซึ่งความพอใจ ความรัก ความกำหนัด ความ ชอบใจ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดเสมอ ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะในภพทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำซึ่งตัณหา เครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พระผู้ มีพระภาคจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่า ของเรา เหมือนฝูงปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป นรชนเห็นโทษ แม้นั้นแล้ว ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย พึงเป็นผู้ไม่ ยึดถือว่าของเราประพฤติ. [๖๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ธีรชนพึงจำกัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้นอยู่ ย่อมไม่ติดในทิฏฐา รมณ์และสุตารมณ์. [๖๑] คำว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง มีความว่า ที่สุด คือ ผัสสะเป็นที่ สุดอัน ๑ ผัสสสมุทัยเป็นที่สุดอัน ๒. อดีตเป็นที่สุดอัน ๑ อนาคตเป็นที่สุดอัน ๒. สุขเวทนา เป็นที่สุดอัน ๑ ทุกขเวทนาเป็นที่สุดอัน ๒. นามเป็นที่สุดอัน ๑ รูปเป็นที่สุดอัน ๒. อายตนะ ภายใน ๖ เป็นที่สุดอัน ๑ อายตนะภายนอก ๖ เป็นที่สุดอัน ๒. สักกายะเป็นที่สุดอัน ๑ สักกายสมุทัยเป็นที่สุดอัน ๒. คำว่า ความพอใจ ได้แก่ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด คือความใคร่ ความเพลินคือความใคร่ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หา ในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบ ในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ. คำว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุด ทั้งสอง คือพึงกำจัด พึงกำจัดเฉพาะ พึงละ พึงบรรเทา พึงทำให้สิ้นไป พึงให้ถึงความ ไม่มีในภายหลัง ซึ่งความพอใจในที่สุดทั้งสอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำจัดความพอใจ ในที่สุดทั้งสอง.
ว่าด้วยผัสสะต่างๆ
[๖๒] คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้วไม่เป็นผู้ตามติดใจ มีความว่า ผัสสะได้แก่ จักขุ สัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส (สัมผัส ทางนามคือใจ) ปฏิฆสัมผัส (สัมผัสทางรูป) สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้ง แห่งทุกขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต ผัสสะ อันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ผัสสะเป็นสุญญตะ ผัสสะ เป็นอนิมิตตะ ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะเป็นโลกิยะ ผัสสะเป็นโลกุตตระ ผัสสะเป็นอดีต ผัสสะเป็นอนาคต ผัสสะเป็นปัจจุบัน ผัสสะใดเห็นปานนี้ คือความถูกต้อง ความถูกต้อง พร้อม ความที่จิตถูกต้องพร้อม นี้ชื่อว่า ผัสสะ. คำว่ากำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่ง ผัสสะโดยปริญญา ๓ ประการ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.
ว่าด้วยปริญญา ๓ ประการ
ญาตปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนย่อมรู้ซึ่งผัสสะ คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่านี้จักขุสัมผัส นี้ โสตสัมผัส นี้ฆานสัมผัส นี้ชิวหาสัมผัส นี้กายสัมผัส นี้มโนสัมผัส นี้อธิวจนสัมผัส นี้ปฏิฆ สัมผัส นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต นี้ผัสสะ อันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต นี้ผัสสะเป็นสุญญตะ นี้ผัสสะเป็นอนิมิตตะ นี้ผัสสะเป็น อัปปณิหิตะ นี้ผัสสะเป็นโลกิยะ นี้ผัสสะเป็นโลกุตตระ นี้ผัสสะเป็นอดีต นี้ผัสสะเป็นอนาคต นี้ผัสสะเป็นปัจจุบัน นี้เรียกว่าญาตปริญญา. ตีรณปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาซึ่งผัสสะ คือ ย่อม พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของ ลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของไม่มีอำนาจ เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุง แต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิ เป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส เป็นธรรมดา เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรม เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็น ของชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา. ปหานปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในผัสสะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ฉันทราคะในผัสสะใด ท่านทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้น ฉันทราคะนั้นจักเป็นของอันท่าน ทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภาย หลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา โดยประการอย่างนี้. นี้เรียกว่า ปหานปริญญา. คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่งผัสสะด้วยปริญญา ๓ นี้. คำว่า ไม่เป็นผู้ ตามติดใจ มีความว่า ตัณหาเรียกว่าความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ความติดใจนั้นอันบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้ไม่ติดใจ. บุคคลนั้นไม่ติดใจ คือ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่นในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช- *บริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบัน- *กาล ทิฏฐธรรม สุตธรรม มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม คือ เป็นผู้คลาย ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละ สละคืนความติดใจแล้ว คลาย ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืน ความกำหนัดแล้ว หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยความสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ตามติดใจ. [๖๓] คำว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้น มีความว่า กรรมใด คือ ธีรชน ย่อมติเตียนกรรมใดด้วยตน ธีรชนย่อมติเตียนตนเพราะเหตุ ๒ ประการ คือ เพราะกระทำ และเพราะไม่กระทำ. ธีรชนติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำ อย่างไร? ธีรชนย่อมติเตียน ตนว่า เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต ไม่ทำ มโนสุจริต. เราทำปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำอทินนาทาน ไม่ทำความ งดเว้นจากอทินนาทาน เราทำกาเมสุมิจฉาจาร ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำมุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจากมุสาวาท เราทำปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา เราทำผรุส วาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ ไม่ทำความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ. เราทำอภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา เราทำพยาบาท ไม่ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมา- *ทิฏฐิ ธีรชนย่อมติเตียนตน เพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ธีรชนย่อม ติเตียนตนว่า เราไม่ทำความบริบูรณ์ในศีล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่หมั่นประกอบในความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ไม่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่เจริญสติ ปัฏฐาน ๔ ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔ ไม่เจริญอิทธิบาท ๔ ไม่เจริญอินทรีย์ ๕ ไม่เจริญพละ ๕ ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗ ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่เจริญมรรค ไม่ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ธีรชนย่อมติเตียนตน เพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้. ไม่ทำกรรมที่ ตนติเตียนอย่างนี้ คือ ไม่ยังกรรมนั้นให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่กระทำกรรมนั้น. [๖๔] คำว่า ธีรชนย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์ มีความว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วย ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ คำว่า ธีรชน คือ บุคคลผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรง ผู้ดำเนิน ด้วยปัญญา (บัณฑิต) ผู้มีปัญญา ผู้มีความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทำลาย กิเลส. ธีรชนละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ติด คือไม่ติดพัน ไม่เข้า ไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ในทิฏฐารมณ์ สุตารมณ์ มุตารมณ์ วิญญาตารมณ์ เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าธีรชนย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ธีรชนพึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่ เป็นผู้ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้น ย่อมไม่ติดใน ทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์. [๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย พึงข้าม โอฆะได้ เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาทประพฤติอยู่ ย่อม ไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า. [๖๖] คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ... พึงข้ามโอฆะได้ มีความว่าสัญญา ได้แก่ กาม- *สัญญา พยาปาทสัญญา วิหิงสาสัญญา เนกขัมมสัญญา อัพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา สัญญาใดเห็น ปานนี้ คือ ความรู้พร้อม ความเป็นคืออันรู้พร้อม นี้เรียกว่า สัญญา. คำว่า กำหนดรู้สัญญา แล้ว มีความว่า กำหนดรู้สัญญาด้วยปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา. ญาตปริญญาเป็นไฉน? มุนีย่อมรู้สัญญา คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า นี้กามสัญญา นี้พยาปาทสัญญา นี้วิหิงสาสัญญา นี้เนกขัมมสัญญา นี้อัพยาปาทสัญญา นี้อวิหิงสาสัญญา นี้รูปสัญญา นี้สัททสัญญา นี้คันธสัญญา นี้รสสัญญา นี้โผฏฐัพพสัญญา นี้ธัมมสัญญา นี้เรียกว่า ญาตปริญญา. ตีรณปริญญาเป็นไฉน? มุนีทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาสัญญาโดยความเป็น ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นของอื่น (เป็นของไม่มีอำนาจ) เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็น อุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง ฯลฯ เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็น ของชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา. ปหานปริญญาเป็นไฉน? มุนีพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในสัญญา. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ฉันทราคะ ในสัญญาใด ท่านทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้นเสีย ฉันทราคะนั้นจักเป็นของ อันท่านทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี ในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา ด้วยประการอย่างนี้. นี้เรียกว่า ปหาน- *ปริญญา. คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว คือ กำหนดรู้สัญญาด้วยปริญญา ๓ นี้. คำว่า พึงข้าม โอฆะได้ คือพึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วงเลย ก้าวล่วงกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้สัญญาแล้วพึงข้ามโอฆะได้. [๖๗] คำว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย มีความว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ ความยึดถือด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้เรียกว่า ความยึดถือด้วยตัณหา ฯลฯ นี้เรียกว่าความยึดถือด้วยทิฏฐิ. คำว่า มุนี มีความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ บุคคล ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือ ผู้ถึงญาณที่ชื่อว่า โมนะ. โมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็น มุนี) มี ๓ อย่าง คือ โมเนยยธรรมทางกาย ๑ โมเนยยธรรมทางวาจา ๑ โมเนยยธรรมทางใจ ๑. โมเนยยธรรมทางกายเป็นไฉน? การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย. กายสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์ กายปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละ ฉันทราคะในกาย ความดับแห่งกายสังขาร ความบรรลุจตุตถฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย. นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย. โมเนยยธรรมทางวาจาเป็นไฉน? การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา. วจีสุจริต ๔ อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ วาจาปริญญา มรรคอันสหรคด้วยปริญญา การละ ฉันทราคะในวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา. นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา. โมเนยยธรรมทางใจเป็นไฉน? การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ. มโนสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ จิตตปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละ ฉันทราคะในจิต ความดับแห่งจิตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ. นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บัณฑิตทั้งหลาย ได้กล่าวบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ว่า เป็นมุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้ เป็นมุนี เป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง. บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวบุคคลผู้เป็น มุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ว่า เป็น มุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี ผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว. ชนผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี ๓ อย่างนี้ ชื่อว่ามุนี มุนีมี ๖ จำพวก คือ อาคารมุนี อนาคารมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี มุนิมุนี. อาคารมุนีเป็นไฉน? ชนเหล่า ใด เป็นผู้ครองเรือน มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่า อาคารมุนี. อนาคารมุนีเป็นไฉน? ชนเหล่าใดออกบวช มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนา อันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่าอนาคารมุนี. พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี. พระอรหันต์ ทั้งหลายชื่อว่าอเสขมุนี. พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี. พระตถาคตอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ชื่อว่ามุนิมุนี. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง แต่เป็นผู้เปล่า ไม่ใช่ผู้รู้ ส่วนบุคคลใด เป็นบัณฑิต ถือธรรมอันประเสริฐ ละเว้นบาปทั้งหลาย เหมือนคนที่ถือเครื่องชั่งตั้งอยู่ ฉะนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นมุนี เรียก ว่าเป็นมุนี โดยเหตุนั้น และบุคคลใด ย่อมรู้โลกทั้ง ๒ บุคคลนั้น เรียกว่าเป็นมุนี โดยเหตุนั้น. บุคคลใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรม ของสัตบุรุษ ในโลกทั้งปวง ทั้งภายในภายนอก ก้าวล่วงธรรมเป็น เครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่าข่าย ดำรงอยู่ เป็นผู้อันเทวดาและ มนุษย์บูชา บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วย ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ. มุนีละความติดด้วย ตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ติด คือไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติด พัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออก สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้วในความยึดถือทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือ ทั้งหลาย. [๖๘] คำว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ มีความว่า ลูกศร ได้แก่ลูกศร ๗ อย่าง คือ ลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะ ลูกศรคือมานะ ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือความโศก ลูกศรคือความสงสัย. ลูกศรเหล่านี้ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น เรียกว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว คือ ถอน ชัก ดึง ฉุด กระชาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืน ลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก ดับ เย็นแล้ว เสวยสุข มีตนดุจพรหม อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว. คำว่า ประพฤติอยู่ คือ ประพฤติอยู่ เที่ยวอยู่ เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป. คำว่า เป็นผู้ไม่ประมาท คือ เป็นผู้ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลง ฉันทะ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตส่าห์ ความเป็นผู้ขยัน ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ ความเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสเร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุด ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึง อนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงให้สมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือ เราพึงอนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงให้ปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้ บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงให้วิมุติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุติขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงให้วิมุติญาณทัสนขันธ์ที่ยัง ไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุติญาณทัสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญาโดย อุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท คือ ความไม่พอใจ ความพยายาม ความอุตส่าห์ ความ เป็นผู้ขยัน ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ ความเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องให้ กิเลสเร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุด ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท ใน กุศลธรรมนั้นว่า เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้ พึงละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ พึง เจริญมรรคที่ยังไม่เจริญ หรือพึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้งแล้ว โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทประพฤติอยู่. [๖๙] คำว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า มีความว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้ คือ อัตภาพของตน ไม่หวังโลกหน้า คือ อัตภาพในปรโลก. ไม่หวังโลกนี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของตน ไม่หวังโลกหน้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและ วิญญาณของผู้อื่น. ไม่หวังโลกนี้ คือ อายตนะภายใน ๖ ไม่หวังโลกหน้า คือ อายตนะ ภายนอก ๖. ไม่หวังโลกนี้ คือ มนุษยโลก ไม่หวังโลกหน้า คือ เทวโลก ไม่หวังโลกนี้ คือ กามธาตุ ไม่หวังโลกหน้า คือ รูปธาตุ อรูปธาตุ. ไม่หวังโลกนี้ คือ กามธาตุ รูปธาตุ ไม่หวังโลกหน้าคืออรูปธาตุ. ไม่หวัง ไม่อยากได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่รักใคร่ ไม่พอใจ ซึ่งคติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่หวัง โลกนี้และโลกหน้า. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย พึงข้าม โอฆะได้ เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาทประพฤติอยู่ ย่อมไม่ หวังโลกนี้ และโลกหน้า ดังนี้.
จบ คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๔๘๗-๑๓๑๐ หน้าที่ ๒๑-๕๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=487&Z=1310&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=29&A=487&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=2              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=30              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=29&A=498              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=2055              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=29&A=498              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=2055              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/ati/tipitaka/kn/nm/nm.2.04.olen.html

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]