บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา [๑๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นภิกษุณีสุนทรีนันทามีครรภ์กับนายสาฬหะ หลาน มิคารมาตา. นางได้ปกปิดไว้จนมีครรภ์อ่อนๆ เมื่อครรภ์แก่แล้วนางจึงสึกออกมาคลอดบุตร. ภิกษุณี ทั้งหลายได้ถามเรื่องนั้นกับภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า นางสุนทรีนันทาสึกไม่นานนัก ก็คลอดบุตร ชะรอยนางจะมีครรภ์ทั้งเป็นภิกษุณีกระมัง เจ้าข้า? ถุล. อย่างนั้น เจ้าข้า. ภิก. ก็แม่เจ้ารู้อยู่ว่าภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก เหตุไฉนจึงไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่คณะ เล่า? ถุล. โทษอันใดของเธอ นั่นเป็นโทษของดิฉัน การเสื่อมเกียรติอันใดของเธอ นั่นเป็น การเสื่อมเกียรติของดิฉัน การเลื่อมยศอันใดของเธอ นั่นเป็นการเสื่อมยศของดิฉัน การเสื่อมลาภ อันใดของเธอ นั่นเป็นการเสื่อมลาภของดิฉัน ไฉนดิฉันจักบอกโทษของตน การเสื่อมเกียรติ ของตน การเสื่อมยศของตน การเสื่อมลาภของตน แก่คนเหล่าอื่นเล่า. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า แม่เจ้าถุลลนันทา รู้อยู่ซึ่งภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก ไฉนจึงไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่คณะเล่า. ครั้งนั้นแลนางภิกษุณี เหล่านั้นแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลความเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกินนั้น ทรงทำธรรมีกถา แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา รู้อยู่ว่าภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก ไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่คณะ จริงหรือ?. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีถุลลนันทารู้อยู่ว่าภิกษุณี ล่วงอาบัติปาราชิก ไฉนจึงไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่คณะ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดย โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อ ความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกภิกษุณี จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า ดังนี้:-พระบัญญัติ ๖.๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด รู้อยู่ว่าภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก ไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่ คณะ ในเวลาที่ภิกษุณีนั้นยังดำรงเพศอยู่ก็ดี เคลื่อนไปแล้วก็ดี ถูกนาสนะแล้วก็ดี ไปเข้ารีต เดียรถีย์เสียก็ดี ภายหลังนางจึงบอกอย่างนี้ว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนดิฉันรู้จักภิกษุณีนั่น ได้ดีทีเดียวว่า นางเป็นพี่หญิง น้องหญิง มีความประพฤติเช่นนี้และมีความประพฤติเช่นนี้ แต่ดิฉันไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่คณะ แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่อวัชชปฏิจฉาทิกา หาสังวาสมิได้.เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ. สิกขาบทวิภังค์ [๑๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เองก็ดี คนอื่นบอกแก่เธอก็ดี เจ้าตัวบอกก็ดี. คำว่า ล่วงอาบัติปาราชิก คือ ต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง ในปาราชิก ๘. คำว่า ไม่โจทด้วยตน คือ ไม่โจทเอง. คำว่า ไม่บอกแก่คณะ คือ ไม่บอกแก่ภิกษุณีอื่นๆ [๑๔] พากย์ว่า ในเวลาที่ภิกษุณีนั้น ยังดำรงเพศอยู่ก็ดี เป็นต้น อธิบายว่า ภิกษุณี ผู้ดำรงอยู่ในเพศของตน ตรัสเรียกว่า ผู้ยังดำรงเพศอยู่ ผู้ถึงมรณภาพ ตรัสเรียกว่า ผู้เคลื่อนไป ผู้สึกเองก็ตาม ถูกผู้อื่นนาสนะเสียก็ตาม ตรัสเรียกว่า ผู้ถูกนาสนะ เข้าไปสู่ลัทธิเดียรถีย์ ตรัส เรียกว่า เขารีดเดียรถีย์. [๑๕] สองพากย์ว่า ภายหลังนางจึงบอกอย่างนี้ว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนดิฉันรู้จัก ภิกษุณีนั่นได้ดีทีเดียวว่า นางเป็นพี่หญิง น้องหญิง มีความประพฤติเช่นนี้ และมีความ ประพฤติเช่นนี้ แต่ดิฉันไม่โจทด้วยตน นั้น คือ ไม่โจทเอง. คำว่า ไม่บอกแก่คณะ คือ ไม่บอกแก่ภิกษุณีอื่นๆ [๑๖] บทว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน. คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วแล้วไม่ควรเพื่อจะเป็นของเขียว สดขึ้นได้ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นแหละ รู้อยู่ว่าภิกษุณีล่วงปาราชิกธรรมแล้ว เมื่อเธอ ทอดธุระว่าจักไม่โจทด้วยตน จักไม่บอกแก่คณะดังนี้เท่านั้น เธอย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นธิดาของ พระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก. บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศที่ พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุณีนั้น เพราะ เหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.อนาปัตติวาร [๑๗] ภิกษุณีไม่บอกด้วยเกรงว่า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความ วิวาท จักมีแก่สงฆ์ ๑ ไม่บอกด้วยเข้าใจว่า สงฆ์จักแตกกัน สงฆ์จักร้าวรานกัน ๑ ไม่บอกด้วย แน่ใจว่า ภิกษุณีนี้เป็นคนร้ายกาจ หยาบคาย จักทำอันตรายแก่ชีวิต หรือพรหมจรรย์ ๑ ไม่พบ ภิกษุณีอื่นๆ ที่สมควรจะบอก จึงไม่บอก ๑ ไม่ประสงค์จะปกปิด แต่ยังมิได้บอก ๑ ไม่บอกด้วย สำคัญว่า จักปรากฏด้วยการกระทำของเขาเอง ๑ ภิกษุณีวิกลจริต ๑ ภิกษุณีอาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ จบ. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๖๐-๒๒๙ หน้าที่ ๘-๑๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=160&Z=229&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=3&A=160&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=2 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=12 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=3&A=188 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10773 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=3&A=188 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10773 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.006 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pj6/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pj6/en/horner
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]