ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
             [๙๔๑] กิญจนะ ๓ เป็นไฉน
             กิเลสเครื่องกังวลคือราคะ กิเลสเครื่องกังวลคือโทสะ กิเลสเครื่องกังวล
คือโมหะ เหล่านี้เรียกว่า กิญจนะ ๓
             [๙๔๒] อังคณะ ๓ เป็นไฉน
             กิเลสเพียงดังเนินคือราคะ กิเลสเพียงดังเนินคือโทสะ กิเลสเพียงดังเนิน
คือโมหะ เหล่านี้เรียกว่า อังคณะ ๓
             [๙๔๓] มละ ๓ เป็นไฉน
             มลทินคือราคะ มลทินคือโทสะ มลทินคือโมหะ เหล่านี้เรียกว่า มละ ๓
             [๙๔๔] วิสมะ ๓ เป็นไฉน
             ความไม่สม่ำเสมอคือราคะ ความไม่สม่ำเสมอคือโทสะ ความไม่สม่ำ
เสมอคือโมหะ เหล่านี้เรียกว่า วิสมะ ๓
             [๙๔๕] วิสมะ ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
             ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ เหล่านี้เรียกว่า วิสมะ ๓
             [๙๔๖] อัคคิ ๓ เป็นไฉน
             ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ เหล่านี้เรียกว่า อัคคิ ๓
             [๙๔๗] กสาวะ ๓ เป็นไฉน
             น้ำฝาดคือราคะ น้ำฝาดคือโทสะ น้ำฝาดคือโมหะ เหล่านี้เรียกว่ากสาวะ ๓
             [๙๔๘] กสาวะ ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
             น้ำฝาดทางกาย น้ำฝาดทางวาจา น้ำฝาดทางใจ เหล่านี้เรียกว่า กสาวะ ๓

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๔๒.

[๙๔๙] อัสสาททิฏฐิ ความเห็นผิดอันประกอบด้วยความยินดี เป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็น อย่างนี้ว่า กามทั้งหลายไม่มีโทษ ดังนี้ เขาจึงบริโภคกาม นี้เรียกว่า อัสสาททิฏฐิ ความเห็นผิดอันประกอบด้วยความยินดี อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่ามีอัตตาตัวตน เป็นไฉน ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยะเจ้า ไม่ฉลาดใน ธรรมของพระอริยะเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะเจ้า ไม่ได้เห็น สัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป ย่อมเห็น เวทนาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขารเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนใน วิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มี ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่ามีอัตตาตัวตน มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด เป็นไฉน ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณะ หรือพราหมณ์ผู้รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศ ให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลกนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดย วิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ สัสสตทิฏฐิ จัดเป็น อัสสาททิฏฐิ สักกายทิฏฐิ จัดเป็นอัตตานุทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ [๙๕๐] อรติ ความไม่ยินดี เป็นไฉน ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความ กระสัน ความดิ้นรน ในเสนาสนะอันสงัด หรือในอธิกุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ ความไม่ยินดี

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๔๓.

วิเหสา ความเบียดเบียน เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ก้อน ดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง ศาตราบ้าง เชือกบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ความบีบคั้น ความบีบคั้นยิ่ง ความเบียดเบียน ความเบียดเบียนยิ่ง ความทำให้เดือดร้อน ความ ทำให้เดือดร้อนยิ่ง ความทำร้ายสัตว์อื่น อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิเหสา ความเบียดเบียน อธัมมจริยา ความประพฤติไม่เป็นธรรม เป็นไฉน ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางกาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางวาจา ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ความ ประพฤติไม่เป็นธรรมทางใจ ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ นี้เรียกว่า อธัมม- *จริยา ความประพฤติไม่เป็นธรรม [๙๕๑] โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก สภาพที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือ ข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่ เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดีแก่บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้โน้มน้าวไปตามบุคคล เหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว นานัตตสัญญา สัญญาต่างๆ เป็นไฉน สัญญาที่เกี่ยวด้วยกาม สัญญาที่เกี่ยวด้วยพยาบาท สัญญาที่เกี่ยวด้วย ความเบียดเบียน นี้เรียกว่า นานัตตสัญญา สัญญาต่างๆ อกุศลสัญญา แม้ ทั้งหมด ก็เรียกว่า นานัตตสัญญา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๔๔.

[๙๕๒] อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เป็นไฉน ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความกวัดแกว่งแห่งจิต ความ พล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน โกสัชชะ ความเกียจคร้าน เป็นไฉน การปล่อยจิต ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโน- *ทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความทำโดยความไม่เคารพ ความทำโดยไม่ติดต่อ ความทำโดยไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้ง ธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนืองๆ ความประมาท ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า โกสัชชะ ความเกียจคร้าน ปมาทะ ความประมาท เป็นไฉน การปล่อยจิต ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโน- *ทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความทำโดยความไม่เคารพ ความทำโดยไม่ติดต่อ ความทำโดยไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้ง ธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนืองๆ ความประมาท ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย ความ ประมาท กิริยาที่ประมาท สภาพที่ประมาท อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ ความประมาท [๙๕๓] อสันตุฏฐิตา ความไม่สันโดษ เป็นไฉน ความอยากได้มากยิ่ง ของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัช และบริขาร ตามมีตามได้หรือด้วยกามคุณ ๕ ความปรารถนา การปรารถนา ความไม่สันโดษ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันใดมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อสันตุฏฐิตา ความ ไม่สันโดษ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๔๕.

อสัมปชัญญตา ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ โมหะ อันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญตา ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ มหิจฉตา ความมักมาก เป็นไฉน ความอยากได้มากยิ่งของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนา- *สนะ คิลานปัจจยเภสัช และบริขาร ตามมีตามได้หรือด้วยกามคุณ ๕ ความ ปรารถนา การปรารถนา ความมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มหิจฉตา ความ มักมาก [๙๕๔] อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต เป็นไฉน ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่ ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ ความ ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต เป็นไฉน ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว ความ ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต ปมาทะ ความประมาท เป็นไฉน การปล่อยจิต ความเพิ่มพูน การปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความทำโดยความไม่เคารพ ความทำโดยไม่ ติดต่อ ความไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความ ทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความ ไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนืองๆ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ประมาท สภาพที่ประมาท อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ ความประมาท

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๔๖.

[๙๕๕] อนาทริยะ ความไม่เอื้อเฟื้อ เป็นไฉน ความไม่เอื้อเฟื้อ สภาพที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ความไม่ถือเอา กิริยาที่ไม่ถือเอา สภาพที่ไม่ถือเอา ความไม่มีศีล ความไม่ยำเกรง อันใด นี้เรียกว่า อนาทริยะ ความไม่เอื้อเฟื้อ โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก สภาพที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือ ข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ สภาพที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่ เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ทุศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดีแก่บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้โน้มน้าวไปตามบุคคล เหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่าปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว [๙๕๖] อัสสัทธิยะ ความไม่มีศรัทธา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีปัญญา ไม่มีศรัทธา ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่มีศรัทธา กิริยาที่ไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่ปลงใจเชื่อ ความไม่เลื่อมใสยิ่ง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัสสัทธิยะ ความ ไม่มีศรัทธา อวทัญญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้ถ้อยคำด้วยอำนาจความตระหนี่ อันกระด้าง เป็นไฉน มัจฉริยะ ความตระหนี่ ๕ คือ อาวาสมัจฉริยะ ความตระหนี่ที่อยู่ กุลมัจฉริยะ ความตระหนี่ตระกุล ลาภมัจฉริยะ ความตระหนี่ลาภ วัณณมัจฉริยะ ความตระหนี่วรรณะ ธัมมมัจฉริยะ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่ กิริยาที่ ตระหนี่ สภาพที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น ความปกปิด ความ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๔๗.

ไม่เอาใจใส่ อันใด ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อวทัญญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้ ถ้อยคำด้วยอำนาจความตระหนี่อันกระด้าง โกสัชชะ ความเกียจคร้าน เป็นไฉน การปล่อยจิต ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโน- *ทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความทำโดยความไม่เคารพ ความไม่ทำโดยติดต่อ ความไม่ทำให้มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนืองๆ ความประมาท ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า โกสัชชะ ความเกียจคร้าน [๙๕๗] อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เป็นไฉน ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความกวัดแกว่งแห่งจิต ความ พล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน อสังวร ความไม่สำรวม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถือ อนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงครอบงำ บุคคลนั้น ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวม ในจักขุนทรีย์นั้น ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรส ด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและ โทมนัส พึงครอบงำบุคคลนั้น ผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวม มนินทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น ไม่รักษามนินทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมในมนินทรีย์นั้น นี้เรียกว่า อสังวร ความไม่สำรวม ทุสสีลยะ ความเป็นผู้ทุศีล เป็นไฉน ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทั้ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๔๘.

ทางกายและวาจา นี้เรียกว่า ทุสสีลยะ ความเป็นผู้ทุศีล [๙๕๘] อริยอทัสสนกัมยตา ความไม่อยากเห็นพระอริยะเจ้า เป็นไฉน บรรดาบทเหล่านั้น พระอริยะเจ้า เป็นไฉน พระพุทธเจ้าและพระสาวก ของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระอริยะเจ้า ความไม่ต้องการจะพบ ความไม่ต้องการ จะเห็น ความไม่ต้องการจะเข้าใกล้ ความไม่ต้องการจะสมาคมกับพระอริยะเจ้า เหล่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อริยอทัสสนกัมยตา ความไม่อยากเห็นพระอริยะเจ้า สัทธัมมอโสตุกัมยตา ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม เป็นไฉน บรรดาบทเหล่านั้น พระสัทธรรม เป็นไฉน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เรียกว่า พระสัทธรรม ความไม่ต้องการจะฟัง ความไม่ต้องการจะสดับ ความไม่ต้องการจะ เรียน ความไม่ต้องการจะทรงจำซึ่งพระสัทธรรมนี้ อันใด นี้เรียกว่า สัทธัมม- *อโสตุกัมยตา ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม อุปารัมภจิตตตา ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี เป็นไฉน บรรดาบทเหล่านั้น ความคิดแข่งดี เป็นไฉน ความคิดแข่งดี ความคิด แข่งดีเนืองๆ กิริยาที่คิดแข่งดี กิริยาที่คิดแข่งดีเนืองๆ สภาพที่คิดแข่งดีเนืองๆ ความดูถูก ความดูหมิ่น ความดูแคลน ความคอยแสวงหาโทษ อันใด นี้เรียกว่า อุปารัมภจิตตตา ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี [๙๕๙] มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ เป็นไฉน ความระลึกไม่ได้ ความตามระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความ ระลึกไม่ได้ สภาพที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม อันใด นี้เรียกว่า มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ โมหะ อันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๔๙.

เจตโสวิกเขปะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต เป็นไฉน ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความกวัดแกว่งแห่งจิต ความ พล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า เจตโสวิกเขปะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต [๙๖๐] อโยนิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เป็นไฉน ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ความทำไว้ในใจ โดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาตัวตนว่าเป็นอัตตาตัวตน ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ใน สิ่งที่ไม่งาม ว่างาม หรือความนึก ความนึกเนืองๆ ความคิด ความพิจารณา ความทำไว้ในใจ แห่งจิต โดยผิดจากความจริง นี้เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย กุมมัคคเสวนา การเสพทางชั่ว เป็นไฉน บรรดาบทเหล่านั้น ทางชั่ว เป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ นี้เรียกว่า ทางชั่ว การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี การชอบใจ ความชอบใจ ซึ่งทางชั่วนี้ ความเป็นผู้โน้มน้าวไปตามทางชั่วนี้ อันใด นี้เรียกว่า กุมมัคคเสวนา การเสพทางชั่ว เจตโสลีนัตตะ ความย่อหย่อนแห่งจิต เป็นไฉน ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน สภาพที่ย่อหย่อน ความซบเซา กิริยาที่ซบเซา สภาพที่ซบเซาแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า เจตโสลีนัตตะ ความ ย่อหย่อนแห่งจิต

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๒๕๗๙-๑๒๗๙๒ หน้าที่ ๕๔๑-๕๔๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=12579&Z=12792&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=35&A=12579&w=เธ”เธฑเธ‡เน€เธ™เธดเธ™&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=68              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=926              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=35&A=9879#941top              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=12602              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=35&A=9879#941top              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=12602              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila#pts-s908

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]