บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ทสกนิเทศ [๑๐๒๖] ในทสกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสวัตถุ ๑๐ [๑๐๒๗] อาฆาตวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน อาฆาตวัตถุ ๑๐ คือ ๑. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เราแล้ว ๒. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ๓. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา ๔. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่ รักที่ชอบพอของเราแล้ว ๕. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็น ที่รักเป็นที่ชอบพอของเรา ๖. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่ รักที่ชอบพอของเรา ๗. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว ๘. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่ รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ๙. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ๑๐. ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่ควร เหล่านี้เรียกว่า อาฆาตวัตถุ ๑๐ [๑๐๒๘] อกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นไฉน อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ ๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์ ๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์ ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ๔. มุสาวาท พูดเท็จ ๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ ๘. อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา ๙. พยาบาท ปองร้ายเขา ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม เหล่านี้เรียกว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐ [๑๐๒๙] สัญโญชน์ ๑๐ เป็นไฉน สัญโญชน์ ๑๐ คือ ๑. กามราคสัญโญชน์ ๒. ปฏิฆสัญโญชน์ ๓. มานสัญโญชน์ ๔. ทิฏฐิสัญโญชน์ ๕. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ ๖. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ๗. ภวราคสัญโญชน์ ๘. อิสสาสัญโญชน์ ๙. มัจฉริยสัญโญชน์ ๑๐. อวิชชาสัญโญชน์ เหล่านี้เรียกว่า สัญโญชน์ ๑๐ [๑๐๓๐] มิจฉัตตะ ๑๐ เป็นไฉน มิจฉัตตะ ๑๐ คือ ๑. มิจฉาทิฏฐิ ๒. มิจฉาสังกัปปะ ๓. มิจฉาวาจา ๔. มิจฉากัมมันตะ ๕. มิจฉาอาชีวะ ๖. มิจฉาวายามะ ๗. มิจฉาสติ ๘. มิจฉาสมาธิ ๙. มิจฉาญาณ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ เหล่านี้เรียกว่า มิจฉัตตะ ๑๐ [๑๐๓๑] มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ ๑. ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ๒. ความเห็นว่า การบูชาพระรัตนตรัยไม่มีผล ๓. ความเห็นว่า การบูชาเทวดาไม่มีผล ๔. ความเห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มี ๕. ความเห็นว่า โลกนี้ไม่มี ๖. ความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี ๗. ความเห็นว่า มารดาไม่มี ๘. ความเห็นว่า บิดาไม่มี ๙. ความเห็นว่า สัตว์ที่จุติและเกิดไม่มี ๑๐. ความเห็นว่า สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นแจ้ง ประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก เหล่านี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ [๑๐๓๒] อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ ๑. ความเห็นว่า โลกเที่ยง ๒. ความเห็นว่า โลกไม่เที่ยง ๓. ความเห็นว่า โลกมีที่สุด ๔. ความเห็นว่า โลกไม่มีที่สุด ๕. ความเห็นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ๖. ความเห็นว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ๗. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ๘. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก ๙. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่ เกิดอีกก็มี ๑๐. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ นี้เรียกว่า อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๓๕๐๗-๑๓๕๙๙ หน้าที่ ๕๗๙-๕๘๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=13507&Z=13599&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=35&A=13507&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=75 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1026 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=35&A=10669 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=13095 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=35&A=10669 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=13095 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila#pts-s966
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]