บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
๕. อินทริยวิภังค์ [๒๓๖] อินทรีย์ ๒๒ คือ ๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์ ๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์ ๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์ ๗. อิตถินทรีย์ ๘. ปุริสินทรีย์ ๙. ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์ ๑๑. ทุกขินทรีย์ ๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ๑๔. อุเปกขินทรีย์ ๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์ ๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์ ๑๙. ปัญญินทรีย์ ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ [๒๓๗] ในอินทรีย์ ๒๒ นั้น จักขุนทรีย์ เป็นไฉน จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ ๑- นี้เรียกว่า บ้านว่าง บ้าง นี้เรียกว่า จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ เป็นไฉน กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า กายินทรีย์ มนินทรีย์ เป็นไฉน มนินทรีย์หมวดละ ๑ คือ มนินทรีย์เป็นผัสสสัมปยุต ฯลฯ ๒- มนินทรีย์ หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า มนินทรีย์ [๒๓๘] อิตถินทรีย์ เป็นไฉน ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายรู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ หญิง ภาวะหญิง ของหญิง อันใด นี้เรียกว่า อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ เป็นไฉน ทรวดทรงชาย เครื่องหมายรู้ว่าชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย ภาวะชาย ของชาย อันใด นี้เรียกว่า ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน ชีวิตินทรีย์มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ อรูปชีวิตินทรีย์ ในชีวิติน- *ทรีย์ ๒ อย่างนั้น รูปชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่อง กันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตอินทรีย์ คือชีวิต ของ รูปธรรมนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า รูปชีวิตินทรีย์ @๑. ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณีปกรณ์ ภาค ๑ ข้อ (๕๑๖) เป็นลำดับไป @๒. ความที่ ฯลฯ พึงดูในขันธวิภังค์ ข้อ (๗๔) เป็นลำดับไป อรูปชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่อง กันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของ นามธรรมนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อรูปชีวิตินทรีย์ [๒๓๙] สุขินทรีย์ เป็นไฉน ความสบายทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็น สุขอันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ เป็นไฉน ความไม่สบายทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กาย สัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอัน เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ เป็นไฉน ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิด แต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์ [๒๔๐] สัทธินทรีย์ เป็นไฉน ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา อินทรีย์คือศรัทธา สัทธาพละ อันใด นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความ ประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่- *ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์- *คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ [๒๔๑] อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยัง ไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อ ทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้ แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อัญญา- *ตาวินทรีย์อภิธรรมภาชนีย์ จบ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๓๓๒๔-๓๔๓๒ หน้าที่ ๑๔๓-๑๔๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=3324&Z=3432&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=35&A=3324&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=19 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=236 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=35&A=3282 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=3141 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=35&A=3282 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=3141 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb5/en/thittila
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]