ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
กุกกุฬกถา
[๖๓๙] สกวาที สังขารทั้งปวง เป็นดุจเถ้ารึง (ร้อนระอุ) ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. สุขเวทนา สุขทางกาย สุขทางใจ สุขเป็นทิพย์ สุขของมนุษย์ สุข ในลาภ สุขในสักการะ สุขในการไป สุขในการนอน สุขในความเป็น ใหญ่ สุขในความเป็นอธิบดี สุขของคฤหัสถ์ สุขของสมณะ สุขมี อาสวะ สุขไม่มีอาสวะ สุขมีอุปธิ สุขมีอามิส สุขไม่มีอุปธิ สุขไม่มีอามิส สุขมีปีติ สุขไม่มีปีติ สุขในฌาน สุขคือความหลุดพ้น สุขในกาม สุขในการออกบวช สุขเกิดแต่ความวิเวก สุขคือความสงบ สุขเกิดแต่ ความตรัสรู้มีอยู่ มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า สุขเวทนา ฯลฯ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้มีอยู่ ก็ไม่ต้องกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น [๖๔๐] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สังขารทั้งปวงเป็นทุกขเวทนา เป็นทุกข์ทางกาย เป็นทุกข์ทางใจ เป็น ความโศก ความร่ำไร ทุกขโทมนัส อุปายาส (ความคับแค้น) หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๔๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของ ร้อน อะไรเล่าชื่อว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักขุ เป็นของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน จักขุวิญญาณเป็นของร้อน จักขุสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความรู้สึกเสวยอารมณ์ อันใด เป็นสุขก็ ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน ร้อนด้วยอะไร ร้อนด้วยไฟ คือราคะ ด้วยไฟคือโทสะ ด้วยไฟคือโมหะ ร้อนด้วยชาติ ด้วย ชรา มรณะ ด้วยโศก ด้วยปริเทวะ ด้วยทุกข์ ด้วยโทมนัส ด้วย อุปายาส เรากล่าวว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ฉะนี้ โสตะเป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ ฆานะเป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลาย เป็นของร้อน ฯลฯ ชิวหาเป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ มโน เป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน มโนวิญญาณเป็นของร้อน มโนสัมผัสเป็นของร้อน ความรู้สึกเสวย อารมณ์ อันใด เป็นสุข ก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน ร้อนด้วยอะไร ร้อน ด้วยไฟคือราคะ ด้วยไฟคือโทสะ ด้วยไฟคือโมหะ ร้อนด้วยชาติ ด้วยชรา มรณะ ด้วยโศก ด้วยปริเทวะ ด้วยทุกข์ ด้วยโทมนัส ด้วยอุปายาส เรากล่าวว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ฉะนี้ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? @๑. วิ. ม. เล่ม ๑ ข้อ ๕๕ หน้า ๖๒ ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น สังขารทั้งปวงก็เป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้นน่ะสิ [๖๔๒] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการอะไรบ้าง รูปทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ ที่ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพึงใจ มีลักษณะน่ารัก ยั่วกามเป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด เสียงทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ กลิ่นทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งฆานวิญญาณ ฯลฯ รสทั้งหลายอันเป็น วิสัยแห่งชิวหาวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพะทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่ง กายวิญญาณ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพึงใจ มีลักษณะน่ารัก ยั่วกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการ เหล่านี้แล ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น [๖๔๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของพวกเธอ พวกเธอได้ดี ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอแทง ตลอดแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นนรกชื่อว่า ฉผัสสายตนิกา ในนรกชื่อว่า ฉผัสสายตนิกานั้น บุคคลเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย จักษุ ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะไม่น่าปรารถนา มิได้เห็นรูปที่มี ลักษณะน่าปรารถนา ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะไม่น่าใคร่ มิได้เห็น รูปที่มีลักษณะน่าใคร่ ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะไม่น่าพึงใจ มิได้ @๑. สํ. สฬา. ข้อ ๔๑๓ หน้า ๒๗๘ และ อํ. นวก. ข้อ ๒๓๘ หน้า ๔๒๙ เห็นรูปที่มีลักษณะน่าพึงใจ ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยโสต ฯลฯ ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยใจ ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ ที่มีลักษณะไม่น่าปรารถนา มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่า ปรารถนา ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะไม่น่าใคร่ มิได้รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่าใคร่ ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะ ไม่น่าพึงใจ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่าพึงใด ดังนี้ เป็น สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น สังขารทั้งปวงก็เป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้นน่ะสิ [๖๔๔] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของพวกเธอ พวกเธอได้ดีแล้ว ขณะเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอแทง ตลอดแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นสวรรค์ชื่อว่า ฉผัสสายตนิกา ในสวรรค์ชื่อว่า ฉผัสสายตนิกานั้น บุคคลเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยจักษุ ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะน่าปรารถนา มิได้เห็นรูปที่มี ลักษณะไม่น่าปรารถนา ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะน่าใคร่ มิได้เห็น รูปที่มีลักษณะไม่น่าใคร่ ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะน่าพึงใจ มิได้ เห็นรูปที่มีลักษณะไม่น่าพึงใจ ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยโสต ฯลฯ ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยใจ ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ ที่มีลักษณะน่าปรารถนา มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มีลักษณะไม่น่า ปรารถนา ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่าใคร่ มิได้รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะไม่น่าใคร่ ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่มี ลักษณะน่าพึงใจ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มีลักษณะไม่น่าพึงใจ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น [๖๔๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นทุกข์ สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง มิใช่ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นทุกข์ สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจ เถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น [๖๔๖] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ทาน มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่เป็นที่ฟูใจมีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯลฯ พรหมจรรย์ มีผลไม่น่าปรารถนา มี ผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่เป็นที่ฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น วิบาก หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ทาน มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุข เป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า ทานมีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ก็ต้องไม่กล่าวว่า สังขารทั้งปวง เป็นดุจ เถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น ส. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯลฯ พรหมจรรย์ มีผลน่าปรารถนา มีผล น่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า พรหมจรรย์ มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผล ไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ก็ต้องไม่กล่าวว่า สังขารทั้งปวง เป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น [๖๔๗] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ความสงัดของบุคคลผู้ยินดีแล้ว ผู้มีธรรม อันได้สดับแล้ว เห็นอยู่ เป็นสุข ความไม่เบียดเบียนคือความสำรวม ในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก ความคลายกำหนัดคือความล่วง กามทั้งหลายเสียได้ เป็นสุขในโลก การที่นำอัสมิมานะออกเสียได้ นี่แลเป็นสุขอย่างยิ่ง ๑- สุขยิ่งกว่าความสุขนั้น เราได้ถึงแล้วนั้นเป็น สุขเต็มที่ทีเดียว วิชชา ๓ เราได้บรรลุโดยลำดับแล้ว ข้อนี้แล เป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงไม่มีระยะว่างเว้น
กุกกุฬกถา จบ.
-----------------------------------------------------
@๑. ขุ. อุ. ข้อ ๑๕ หน้า ๘๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๖๗๘๐-๖๙๒๐ หน้าที่ ๒๘๐-๒๘๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=6780&Z=6920&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=37&A=6780&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=37              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=639              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=37&A=4640              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4166              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=37&A=4640              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4166              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv2.8/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]