ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
วิมุจจติกถา
[๗๓๘] สกวาที จิตมีราคะหลุดพ้นได้ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. จิตสหรคตด้วยราคะ เกิดพร้อมกับราคะ ระคนด้วยราคะ สัมปยุตด้วย ราคะ ปรากฏพร้อมกับราคะ แปรไปตามราคะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของ คันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของ นิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๓๙] ส. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จิตมีราคะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งราคะและจิต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔๐] ส. จิตมีเวทนา ฯลฯ จิตมีสัญญา ฯลฯ จิตมีเจตนา ฯลฯ จิตมีปัญญา หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ หลุดพ้นได้ทั้งสอง คือ ทั้งราคะและจิต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔๑] ส. จิตมีผัสสะ มีราคะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งราคะและจิต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔๒] ส. จิตมีเวทนา มีราคะ ฯลฯ จิตมีสัญญา มีราคะ ฯลฯ จิตมีเจตนา มีราคะ ฯลฯ จิตมีปัญญา มีราคะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งปัญญาและ จิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งราคะและจิต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔๓] ส. จิตมีโทสะ หลุดพ้นได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จิตสหรคตด้วยโทสะ เกิดพร้อมกับโทสะ ระคนด้วยโทสะ สัมปยุตด้วย โทสะ ปรากฏพร้อมกับโทสะ แปรไปตามโทสะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หลุดพ้นได้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔๔] ส. จิตมีผัสสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จิตมีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งโทสะและจิต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔๕] ส. จิตมีเวทนา ฯลฯ จิตมีสัญญา ฯลฯ จิตมีเจตนา ฯลฯ จิตมีปัญญา หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จิตมีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งโทสะและจิต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔๖] ส. จิตมีผัสสะ มีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งโทสะและจิต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔๗] ส. จิตมีเวทนา มีโทสะ ฯลฯ จิตมีสัญญา มีโทสะ ฯลฯ จิตมีเจตนา มี โทสะ ฯลฯ จิตมีปัญญา มีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้ง ปัญญาและจิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หลุดพ้นทั้งสอง คือทั้งโทสะและจิต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔๘] ส. จิตมีโมหะ หลุดพ้นได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จิตสหรคตด้วยโมหะ เกิดพร้อมกับโมหะ ระคนด้วยโมหะ สัมปยุตด้วย โมหะ ปรากฏพร้อมกับโมหะ แปรไปตามโมหะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔๙] ส. จิตมีผัสสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จิตมีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งโมหะและจิต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๕๐] ส. จิตมีเวทนา ฯลฯ จิตมีสัญญา ฯลฯ จิตมีปัญญา หลุดพ้น ได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จิตมีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งโมหะและจิต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๕๑] ส. จิตมีผัสสะ มีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งผัสสะและ จิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งโมหะและจิต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๕๒] ส. จิตมีเวทนา มีโมหะ ฯลฯ จิตมีสัญญา มีโมหะ ฯลฯ จิตมีเจตนา มีโมหะ ฯลฯ จิตมีปัญญา มีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้ง ปัญญาและจิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งโมหะและจิต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๕๓] ส. ไม่พึงกล่าวว่า จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ หลุดพ้นได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จิตที่ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ หมดกิเลส หลุด พ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ถ้าอย่างนั้น จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ก็หลุดพ้นได้น่ะสิ
วิมุจจติกถา จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๗๗๘๐-๗๘๖๙ หน้าที่ ๓๒๑-๓๒๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=7780&Z=7869&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=37&A=7780&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=43              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=738              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=37&A=5253              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4324              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=37&A=5253              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4324              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv3.3/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]